วางแผนการจัดการศึกษาอาชีพ นำไปสู่ การเทียบความรู้และประสบการณ์


แต่การที่นำเอากิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต มาเข้าสู่การเทียบความรู้และประสบการณ์ ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการทำให้กระบวนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมีความสมบูรณ์

          วันน้ีตอนเช้ามีการประชุม แผนปฏิบัติงานการจัดการศึกษาอาชีพ โดยมีคนหน้างาน ครูอาสาสมัครฯ ตัวเล็กๆ  9  ชีวิต  มานั่งเสนอแผนงานการจัดการศึกษาอาชีพในแต่ละตำบล ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่หลากหลายอาชีพ

           สำหรับผมซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่ ตำบลไชยมนตรี  ทั้งหมด  5  หมู่บ้าน และตำบลมะม่วงสองต้น  ทั้งหมด  6  หมู่บ้าน ปีน้ีผมควบ  2  ตำบลเลยครับ...  ก็มีแผนในการจัดการศึกษาอาชีพให้กับชาวบ้านทั้ง  2  ตำบล โดยอาศัยฐานข้อมูลที่มีอยู่ในพื้นที่  คือ องค์การบริหาร ส่วน ตำบล และจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่จะมา บูรณาการงานร่วมกัน เช่น สำนักงานเกษตร  สำนักงานพัฒนาชุมชน  และข้อมูลจาก ในหมู่บ้าน คือจากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม และ จากการดำเนิน วิถีชีวิตชุมชน ของแต่ละหมู่บ้าน 

           ในขั้นต้นวันน้ีได้นำรายละเอียดของการศึกษาอาชีพมาคุยกัน โดยในส่วนของผมได้ เสนอจัดการศึกษาอาชีพ ในพื้นที่ดังน้ี

ตำบลไชยมนตรี
  • กลุ่มเลี้ยงโคพันธ์ุพื้นเมือง   2  กลุ่ม  ในหมู่ที่  4  และหมู่ที่  2
  • กลุ่มปุ๋ยหมัก  1  กลุ่ม  ในหมู่ที่  4
  • กลุ่มเพาะเห็ด  1  กลุ่ม  ในหมู่ที่  4
  • กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ  5  กลุ่ม  ในหมู่ที่  1,2,3,4,5

          นอกจากกลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ยังต้องดูแลส่งเสริมกลุ่ม  ที่มีอยู่แล้ว  เช่น  กลุ่มเพาะชำกล้าไม้   กลุ่มแม่บ้าน  หมู่ที่  4 ก็ยังต้องดูแลศูนย์เรียนรู้อาชีพต่าง ๆ ด้วย  ตอนน้ีกำลังประสานกับ พี่นันทา  แก้วแสง  เกษตรตำบลไชยมนตรี  เพื่อที่จะพัฒนาศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยี  ของหมู่ที่  5  ตำบลไชยมนตรี ให้เป็นห้องสมุด สำหรับการเรียนรู้อาชีพ  ซึ่งหากบูรณาการกันได้ ก็จะเป็นโครงการ ที่จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่อย่างมาก

ตำบลมะม่วงสองต้น 

           ในพื้นที่ตำบลมะม่วงสองต้น  เป็นพื้นที่ใหม่ที่ผมเพิ่ง เข้ามารับผิดชอบในปีน้ี  ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อการจัดกิจกรรม การศึกษาอาชีพ จากครูอาสาสมัครฯ คนเก่า และข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบล  และ จากหน่วยงานภาคี เครือข่าย ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่  โดยใช้กิจกรรมการศึกษาอาชีพ คือ

  • กลุ่มเลี้ยงโค  2  กลุ่ม   หมู่ที่  1,2 
  • กลุ่มเพาะเห็ด  1  กลุ่ม  หมู่ที่ 1
  • กลุ่มน้ำหมักชีวภาพ  6  กลุ่ม  หมู่ที่  1,2,3,4,5,6

          สำหรับพื้นที่ตำบลน้ี  ก้ได้ประสานงานกับ  องค์การบริหาร ส่วนตำบล และพี่วีนา  ยีระเหม  เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ในเรื่องของการ บูรณาการการทำงานร่วมกัน

           หลังจากที่แต่ละตำบลได้ นำเสนอกิจกรรมการจัดการศึกษาในพื้นที่แล้ว  ก็เป็นการกำหนดหลักสูตรซึ่งตรงน้ีผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก  จริงๆแล้ว เรื่องของเนื้อหาหลักสูตรพวกเราน่าที่จะมา ตั้งวงคุย อย่างเป็นงานเป็นการสัก  1  อาทิตย์ เพราะเป็นเรื่องที่หลากหลาย    มาก  และที่สำคัญ  เป็นเรื่องที่เราจะต้องละเอียดอ่อนมากเพราะ หากเราจะ "ช้อน" กลุ่มเป้าหมายจากการจัดกิจกรรม การศึกษา อาชีพเข้าสู่ระบบ การเทียบความรู้และประสบการณ์  ของหลักสูตร ขั้นพื้นฐาน  ก็ต้องมาดูว่า กิจกรรมใด  ตรงกับเนื้อหา สาระใด   ของหมวดวิชาใด เทียบได้กี่หน่วยกิจ   ต้องสะสมใด้กี่หน่วยกิจ  จึงจะเทียบได้ใน  1  หมวด  ผมคิดว่า เราน่าจะมานั่งคุยกัน  เพราะ รื่องของ การศึกษา ตลอดชีวิต  มันทำได้ทุกเรื่อง  แต่การที่นำเอา กิจกรรมการศึกษา ตลอดชีวิต  มาเข้าสู่การเทียบความรู้และ ประสบการณ์  ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการทำให้ กระบวนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมีความสมบูรณ์   ที่สำคัญคือสามารถที่จะยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ย  9.5  ปีให้กับประชาชน  สนองตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของ   กศน. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  และนโยบายของรัฐบาล

 

หมายเลขบันทึก: 75742เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท