BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๑


มงคลสูตร

มงคลสูตร เป็นพระสูตรที่ชาวพุทธรู้จักกันโดยทั่วไป ในโลกหนังสือภาษาไทยมีหนังสือที่เขียนอธิบายมงคลสูตรเกินกว่าสิบเล่ม แต่บางครั้งอาจใช้ชื่ออื่น เช่น มงคลชีวิต มงคล๓๘ หรือมงคลทีปนี ฯลฯ...

มังคลัตถทีปนี คือ ชื่อคัมภีร์เล่มสำคัญของไทย ซึ่งรจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ เป็นหนังสือที่เขียนอธิบายมงคลสูตรเป็นภาษาบาลี และปัจจุบันคณะสงฆ์ไทยใช้เป็นหลักสูตรการเรียนบาลีชั้น ปธ. ๔-๕ และ ปธ.๗ ...

ผู้เขียนเป็นครูบาลีสอน ปธ.๔ ซึ่งต้องแปลคัมภีร์เล่มนี้อยู่หลายปี สอนไปก็คิดและตีความไป จนกระทั้งจับประเด็นได้ว่า มงคลชีวิตทั้ง ๓๘ ประการนี้ มีลำดับต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ และสามารถจัดแบ่งความสำคัญตามลำดับวัยของชีวิตได้...

และเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนี้กับเพื่อนครูบาลีและผู้รู้บางท่าน ซึ่งท่านเหล่านั้นก็เห็นด้วย...ตั้งใจว่าจะเขียนเป็นหนังสือออกเผยแพร่สักเล่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เขียนได้ไม่เท่าไหร่ ก็ยุ่งๆ จึงค้างไว้ และเมื่อจำเป็นต้องล้างฮาร์ดดีส ข้อมูลก็พลอยเลือนหายไปด้วย..

ดังนั้น ผู้เขียนจะใช้บันทึกนี้เล่าเรื่องนี้ไปอีกเรื่องเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ ...โดยจะเริ่มด้วยการแบ่งมงคลทั้ง ๓๘ ตามลำดับวัย ดังนี้

ปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยเริ่มแรกของชีวิต จะต้องประกอบด้วยมงคลเบื้องต้นดังนี้

คาถาแรก การไม่คบคนพาล. การคบบัณฑิต. การบูชาผู้ควรบูชา.

คาถาที่ ๒ การอยู่ในถิ่นสมควร. ความเป็นผู้มีบุญในปางก่อน. การดำรงตนไว้ชอบ.

คาถาที่ ๓ ความเป็นผู้ศึกษามาก. ความมีศิลปะ. ความมีวินัยที่ศึกษาดีแล้ว. ความมีถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต.

.........

มัชฌิมวัย ซึ่งเป็นวัยหนุ่มสาว ทำงานแล้ว มีครอบครัว จะต้องประกอบด้วยมงคลลำดับต่อมาดังนี้

คาถาที่ ๔ การบำรุงมารดาและบิดา. การสงเคราะห์บุตรและภรรยา. ความมีการงานที่ไม่คั่งค้าง.

คาถาที่ ๕ การให้. การประพฤติธรรม. การสงเคราะห์ญาติ. การงานที่ไม่มีโทษ. 

คาถาที่ ๖ การงดเว้นจากบาป. การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา. ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง.

...........

ปัจฉิมวัย ซึ่งเป็นวัยของผู้เข้าสู่วัยกลางคน เริ่มเป็นผู้สูงอายุ จะต้องประกอบด้วยมงคลเบื้องปลายดังนี้

คาถาที่ ๗ ความเป็นผู้เคารพ. ความรู้จักถ่อมตน. ความเป็นผู้ยินดีตามมีตามได้. ความเป็นผู้รู้อุปการคุณ. การฟังธรรมตามโอกาส.

คาถาที่ ๘ ความเป็นผู้อดทน. ความเป็นผู้ว่ากล่าวโดยง่าย. การพบเห็นสมณะ. การสนทนาธรรมตามโอกาส.

คาถาที่ ๙ การมีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส. การประพฤติชีวิตประเสริฐ. การมองเห็นความจริงอันประเสริฐ. การทำความดับทุกข์ให้ชัดเจน.

...........

คาถาสุดท้าย จะเป็นอุดมคติแห่งชีวิต ซึ่งเป็นข้อสรุปในการดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลจริงๆ ดังนี้...

....จิตของผู้ใดโดนโลกธรรม (สุข ทุกข์ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ และนินทา) สัมผัสแล้วไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก ไม่มัวหมอง ปลอดโปร่ง...นี้ จัดเป็นมงคลอันสูงสุด....

อนึ่ง ที่ผู้เขียนตั้งชื่อว่า ปรัชญามงคลสูตร เพราะเรื่องนี้ ผู้เขียนคิดขึ้นเอง มิได้ลอกเลียนแบบมาจากผู้ใด และตามที่ผ่านๆ มาก็ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยเห็นว่า ใครเคยพูดหรือเคยเขียนตามนัยนี้ ....

ยกเว้น ตอนที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าทบทวนเรื่องนี้เพื่อจะเขียนครั้งแรก (ประมาณ ๔-๕ ปีก่อน) ก็พบว่า ในคัมภีร์ ท่านได้จัดลำดับความสัมพันธ์กันเป็นทำนองลูกโซ่ไว้แล้ว เพียงแต่ยังไม่เคยมีใครนำประเด็นนี้ออกมาอธิบายเท่านั้น

ซึ่งผู้เขียนจะนำเรื่องราวเหล่านี้มาเล่าในตอนต่อๆ ไป

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญามงคลสูตร
หมายเลขบันทึก: 75598เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาอ่านครับ
  • ชอบชุดนี้ครับท่าน
  • คาถาแรก การไม่คบคนพาล. การคบบัณฑิต. การบูชาผู้ควรบูชา.

    คาถาที่ ๒ การอยู่ในถิ่นสมควร. ความเป็นผู้มีบุญในปางก่อน. การดำรงตนไว้ชอบ.

    คาถาที่ ๓ ความเป็นผู้ศึกษามาก. ความมีศิลปะ. ความมีวินัยที่ศึกษาดีแล้ว. ความมีถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต.

    .........

  • ขอบคุณครับ

นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

หนูเคยอ่านจากหนังสือตั้งแต่สมัยอยู่ม.ต้นค่ะ เริ่มเลือนๆ แล้วค่ะ ได้มาอ่านจากบันทึกของพระอาจารย์อีกครั้ง รู้สึกดีมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ได้ยินเรื่องมงคลสูตรมานาน...บางครั้งก็สงสัยว่าเป็นของพุทธหรือปล่าว...

ทีแรกผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันครับ....พระอาจารย์....ว่าเป็นแค่ความเชื่อแบบหนึ่ง...

พออ่านดูก็พอเข้าใจว่าเป็นปรัชญา...ปรัชญาแบบที่พาไปสู่สัจจธรรม...

 

ผมรอพระอาจารย์อยู่นะครับ....อิอิ

 

อาจารย์ขจิต...

ชอบชุดเดียวไม่ได้ ต้อบชอบทั้งหมด ถ้าชอบเพียงชุดแรก แล้วชุดที่เหลือไม่ชอบ จะเข้าข่าย สว่างมา มืดไป ...คล้ายๆ ใครบางคน ตอนเด็กๆ ประสบความสำเร็จเพราะมีองค์ประกอบเหล่านี้ แต่พอเข้าสู่วัยทำงานก็เริ่มเสีย เพราะขาดองค์ประกอบที่เหลือ....จ้า

คุณโยมสุธรา....

ยินดีครับ ก็เชิญติดตามอ่านเรื่อยๆ ถ้านำไปเล่าต่อก็จะเป็นกุศลยิ่งขึ้นครับ

คุณโยมขำ....

สงสัยว่าคุณลูกๆ คงจะนอนหมดแล้ว จึงมาใช้เครื่องได้ตอนนี้ 5 5 5 ...สงสัยว่า ช่วงนี้คุณโยมคงจะยุ่ง จึงไม่ค่อยปรากฎชื่อ

เจริญพร

นี่อาจเรียกว่าตาทิพย์อ่ะครับพระอาจารย์...อิอิ

ราวกับว่ามองเข้าไปทะลุใจผมเชียวครับ...5555

ประการแรก...ทนต่อสู้กับอาการไม่สบาย(ไอมีเสมหะ)มา 2 สัปดาห์แล้วครับ...

ประการต่อมา... 3 วันนี้ลงไปช่วยจัดกระบวนการให้พรรคพวก โดยเฉพาะเมื่อวานมีภาระกิจ 3 - 4 อย่างในคราวเดียว...กลับบ้านก็ต้องอาศัยรอลูกหลับ จึงเข้ามาได้อย่างว่า...555

ขณะนี้ผมได้ซื้อสติ๊กเกอร์ตัวอักษรมาติดคีย์บอร์ดเรียบร้อยแล้วครับ...ดึก ๆ จะได้ใช้สมาธิเขียนหลักสูตรบ้าง...อิอิ

คุณโยมขำ...

ยินดีครับ...ที่มีงานยุ่งๆ ทำให้ไม่ต้องเอาเวลามาคิดปัญหาโลกแตก 5 5 5

อาตมาก็เป็นหวัดมานานหลายเดือนแล้ว อันที่จริงก็เป็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนไปสัมมนาที่กรุงเทพฯ เพราะอากาสร้อนมาก แต่เค้ามีเครื่องปรับอากาสช่วย...

กลับมาก็เลยเป็นหวัด เพราะแพ้เครื่องปรับอากาสมาจากกรุงเทพฯ ราว ๒-๓ เดือนแล้วก็ยังเป็นๆ หายๆ ...

เจริญพร

 

นมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ

      หนู่อยู่ในวัยประมาณ มัชฌิมวัยต้นๆ แต่หนูอยากฝึกปฏิบัติคาถาใน ปัจฉิมวัยล่วงหน้าสัก 14-15 ปี ด้วยจะได้ไหมคะ โดยเฉพาะ คาถาที่ ๗ คาถาที่ ๘ หนูว่า การรู้จักถ่อมตนเป็นเรื่องดีที่สำหรับเด็กเหมือนกันนะคะ ผู้ใหญ่จะได้เอ็นดูไม่ต้องถือตัวถือตนแต่เล็กแต่น้อย ส่วนการเป็นผู้ยินดีตามมีตามได้นั้นหนู่ว่าเด็กๆ ควรฝึกไว้ก็ดีนะคะ หนูว่ามันคล้ายๆกับคำว่ารู้จักพอ (พอเพียง, พออยู่พอกิน) หรือเปล่าคะพระอาจารย์ ความเป็นผู้อดทนก็ควรมีในเด็ก เพราะเวลาที่สอบไม่ติด จะได้ไม่คิดฆ่าตัวตายกันดีไหมคะพระอาจารย์ และการได้สนทนาธรรมตามโอกาสก็ดีนะคะ เราจะได้ฉลาดขึ้น ไม่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองเข้าใจนั้น ถูก ทั้งๆ ที่มันผิด และการที่หนูได้เขียนคำถามต่างๆ ถามพระอาจารย์ แล้วพระอาจารย์ตอบ นี่ก็เรียกว่าเป็นการสนทนาธรรมด้วยใช่ไหมคะ

ส่วน คาถาที่ ๙ การมีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส. การประพฤติชีวิตประเสริฐ. การมองเห็นความจริงอันประเสริฐ. การทำความดับทุกข์ให้ชัดเจน หนูว่าคาถาที่ 9 นี้ วิธีทำเป็นสิ่งสำคัญนะคะ หนูสงสัยมานานแล้วคะ เราจะเผากิเลสได้อย่างไรคะ  แล้วเราจะมองเห็นความจริงอันประเสริฐได้อย่างไร และเราจะทำความดับทุกข์ให้ชัดเจนได้อย่างไร หนูคิดว่ามันไม่ง่ายเลย แต่ก็ไม่คิดว่ามันยากเกินไปที่จะค่อยๆ ฝึกไปทีละเล็กทีละน้อย เหมือนเด็กน้อยเริ่มเก็บเงินโดยการหยอดกระปุกวันละบาบสองบาท ส่วนผู้ใหญ่ก็ฝากเงินเดือนละพันสองพันตามแต่กำลังมีมากฝากมากมีน้อยก็ฝากน้อย หนูว่าทุคนเริ่มสะสมสิ่งดีๆ ได้พร้อมๆ กันตามกำลังคาวมสามารถของแต่ละคนจริงไหมคะพระอาจารย์ ^^ (ด้วยความเคารพ)

ต้องขอโทษนะคะที่ต้องถามคำถามที่ฟังดูไม่ค่อยฉลาดออกมา แต่หนูถือคติว่า "ยอมเป็นคนโง่วันนี้วันเดียวดีกว่าเป็นคนโง่ไปทั้งชาติ"  ^^

ด้วยความเคารพพระอาจารย์ผู้ให้ปัญญาเป็นอย่างสูง

(หากมีถ้อยคำได้ที่เป็นการล่วงเกินแก่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอขมา แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงโปรดอโหสิให้หนูด้วยนะเจ้าคะ " วันทามิ สังฆัง ขะมะถะเมภันเต")

                              

ไม่มีรูป
น้ำผึ้ง

อนุโมทนาสำหรับการให้ความสนใจในธรรม....

หลักธรรมะ ในมงคลสูตร ปกติก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมอยู่แล้ว....

ส่วนการนำเสนอในครั้งนี้ เพ่งเฉพาะความสำคัญในลำดับชั้นวัยเท่านั้น...

ดังนั้น ความเห็นของคุณโยมน้ำผึ้ง จึงมิได้แปลกแยกจากเนื้อหาที่นำเสนอไปโดยประการใด....

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท