บริหารความรู้แบบ DR.SU


ความรู้ได้มาด้วยเงิน แต่ นวัตกรรมต่างหากที่สามารถเปลี่ยนความรู้เป็นเงิน
  ผมตั้งคำถามกับผู้ร่วมงานของผมว่า เราพูดถึงการบริหารความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ บ่อยมากบางองค์กรอยู่มานานนับ20-30ปี มีผลการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป แต่พอพูดถึง KM LO กลับเป็นเรื่องใหม่ จริงแล้วองค์กรเหล่านั้นทำ KM LO อยู่แล้วในแบบที่ควรจะเป็นของพวกเขา เราควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการบริหารความรู้แบบตะวันออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเรียนแบบตะวันตกทั้งหมด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เรามีการจ้างงานแบบตลอดชีพ เรามีระบบพี่สอนน้อง คนในหน่วยงานมากกว่าของทางตะวันตก งานอย่างเดียวมีคนรู้มากกว่าหนึ่งคน เราไม่หวงวิชา   เราชอบคุยกันแบบไม่เป็นทางการ  สิ่งเหล่านี้ทางตะวันตกไม่มี แต่ทางตะวันตกมีระบบ แนวคิด หลักการเชิงระบบที่เรามีไม่เท่าเขา  ที่ผ่านมาถ้าเราวิเคราะห์ถึงการบริหารความรู้แบบไทยๆ แล้วเขียนออกมาเป็นแนวปฏิบัติให้เป็นระบบเราก็จะได้องค์ความรู้ในการจัดการความรู้แบบไทยๆก็จะดีไม่ใช่น้อย แต่คนไทยชอบตามอย่าง ใครว่าดีฉันขอด้วย ผมจะยกตัวอย่างให้ฟังผมเคยถามเพื่อนๆนักเขียนตำรา  เขียนได้ทุกเรื่อง ผมบอกว่าช่วยเขียนความหมายของความเค็มให้ผมอ่านแล้วให้ผมเข้าใจหน่อย เขามองหน้าแล้วยิ้มๆ ของบางอย่างไม่ต้องเข้าใจจากการอ่าน แค่ทดลองก็เข้าใจ ถ้าอยากรู้ถึงความเค็มก็เอาเกลือมาแตะที่ลิ้นก็เข้าใจแล้วไม่ต้องทำเป็นเอกสารหรือตำรา ความรู้ต้องแยกแยะให้ออก ถ่ายทอดให้เป็น และกระบวนการพัฒนาความรู้ต้องทำต่อเนี่อง จากความรู้ในหัวคน ถ้าทำเป็นเอกสารได้ก็ทำ ผู้อ่านต้องอ่านแล้วปฏิบัติจนชำนาญแบบไม่ต้องดูตำราจนกลายเป็นความรู้ในหัวของคนใหม่เราพบว่าคนใหม่มักจะมีองค์ความรู้เฉพาะตนนำมาผสมกับความรู้ที่ได้มากลายเป็นความรู้ใหม่แล้วเขียนเป็นเอกสารอีกครั้ง แล้วถ่ายทอดไป ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะพบว่า ความรู้ในหัวคน กลายเป็นเอกสาร คนอ่านเอกสารปฏิบัติจนชำนาญกลายเป็นความรู้ในหัวใหม่บวกความรู้ของตน ทำเป็นตำราแล้วถ่ายทอดต่อไปเป็นวงจรการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ  แต่เราต้องเข้าใจว่าความรู้จะได้มาต้องใช้เงินและเวลา  แต่นวัตกรรมต่างหากที่จะเปลี่ยนความรู้เป็นเงินและเวลาได้ ดังนั้นความรู้จึงต้องบริหารเพียงแต่จะบริหารแบบตะวันออกหรือตะวันตกก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมครับ
คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 7557เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2005 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันขอร่วมแสดงความคิดเห็นคะ การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัตินั้นสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอและเป็นระบบ หากคุณเอื้อให้การสนับสนุนอย่างชัดเจนและเต็มที่

สิ่งที่ท้าทายสำหรับองค์กรยิ่งกว่า คือ การสร้างความรู้ใหม่และ การสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ในเพียงแง่มุมเชิง R&D ของตัว Products คะ แต่เป็นนวัตกรรมของการบริการในรูปแบบใหม่ด้วยคะ

การสร้างคนให้คิดเชิงสร้างสรรค์ กล้าทดลองทำ ทุ่มเท และ สนุกกับการคิดอะไรใหม่ๆ รู้จัก Work Smarter แต่ไม่ใช่ Work Harder ดูจะเป็นงานที่ท้าทายมากคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท