แนวทางขับเคลื่อนขบวนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช


เพราะประเด็นสวัสดิการชุมชนที่ได้เซ็ทหรือกำหนดขึ้นนี้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ อาจจะมีบางองค์กรบางหน่วยงานเกิดความลังเล ว่าจะมาร่วมกันขับเคลื่อนได้ตรงไหน ด้วยวิธีการอย่างไร สุดท้ายก็จะตัดสินใจว่าจะร่วมด้วยดีไหม เพราะว่านอกขอบข่ายเนื้อหาหรือฟังชั่นของหน่วยงานตนเอง ซึ่งตรงนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่แต่ละหน่วยงานจะต้องกลับไปคิดเป็นการบ้าน เชื่อมงานฟังชั่นของตนเองเข้ากับประเด็นสวัสดิการชุมชนให้ได้ คือถ้าไม่ win - win กับทุกหน่วยงานอาจจะมีปัญหากับบางหน่วยงานได้ ที่ประชุมให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

เมื่อพหุภาคีพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชพูดคุยงานที่แต่ละภาคีหน่วยงานองค์กรขับเคลื่อนอยู่ หยิบยกขึ้นมากองให้เห็นซึ่งหน้ากันแล้วกัน จากบันทึกที่แล้ว

จากนั้นก็พูดคุยถึงการเชื่อมโยงการพัฒนาหรือบูรณาการ ทั้งประเด็นการขับเคลื่อน หรือเนื้อหาการขับเคลื่อน และวิธีการหรือยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทั้งในหน่วยงานตนเองและกับต่างหน่วยงาน เพราะประเด็นสวัสดิการชุมชนที่ได้เซ็ทหรือกำหนดขึ้นนี้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์   อาจจะมีบางองค์กรบางหน่วยงานเกิดความลังเล ว่าจะมาร่วมกันขับเคลื่อนได้ตรงไหน ด้วยวิธีการอย่างไร สุดท้ายก็จะตัดสินใจว่าจะร่วมด้วยดีไหม เพราะว่านอกขอบข่ายเนื้อหาหรือฟังชั่นของหน่วยงานตนเอง ซึ่งตรงนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่แต่ละหน่วยงานจะต้องกลับไปคิดเป็นการบ้าน เชื่อมงานฟังชั่นของตนเองเข้ากับประเด็นสวัสดิการชุมชนให้ได้ คือถ้าไม่ win - win กับทุกหน่วยงานอาจจะมีปัญหากับบางหน่วยงานได้ ที่ประชุมให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก

หลังจากนั้นที่ประชุมก็ได้ตกลงร่วมกันในแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาขบวนสวัสดิการชุมชน  ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีลำดับขั้นตอนการขับเคลื่อนดังนี้

ขั้นที่ 1 ประชุมหารือในกลุ่มภาคีสนับสนุนทั้งในส่วนจังหวัดและส่วนกลาง
ขั้นที่ 2 ประชุมหารือระหว่างภาคีสนับสนุนกับผู้แทนชุมชนท้องถิ่นในเครือข่ายต่างๆเพื่อกำหนดแผนการ สำรวจข้อมูลสวัสดิการในระดับองค์กรชุมชนทุกเครือข่าย และจัดระดับความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน/พื้นที่ตำบลที่ทำแผนชุมชน
ขั้นที่ 3 จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนงานสวัสดิการและการพัฒนาภาคประชาชนอย่างบูรณาการ  จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยแบ่งคณะทำงานออกเป็น 3 คณะ ได้แก่ ทีมวิชาการ ทีมขับเคลื่อนต่อยอดจากแผนแม่บทชุมชนสู่สวัสดิการชุมชนท้องถิ่น และทีมประสานขบวนภาคประชาชนกับภาคีสนับสนุน
ขั้นที่ 4 จัดเวทีใหญ่สร้างความเข้าใจในระดับจังหวัดเพื่อให้ทุกฝ่ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าร่วมขบวนการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและมีพลัง
ขั้นที่ 5 คัดเลือกพื้นที่ขับเคลื่อนงานด้านสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นและดำเนินการขับเคลื่อน
ขั้นที่ 6 งานสมโภชน์ขบวนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น 

ผมจะต่อเรื่องนี้ด้วยบันทึกหน้าอีกสักบันทึกครับ ทำเป็นตารางเวลาให้เข้าใจง่ายขึ้น

บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนครับ 

หมายเลขบันทึก: 75526เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดิการหรือคุณภาพชีวิตที่ดี คงเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา มีความหมายกว้าง ครอบคลุมหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และจิตใจ

การเคลื่อนขบวนของทีมจังหวัดนครฯน่าสนใจมากค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ 

แต่ในบางเรื่อง การหนุนเสริมจากนโยบายส่วนกลางก็สำคัญ เพราะเกินกำลังพื้นที่ (เนื่องจากส่วนกลางไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นในบางเรื่องอย่างแท้จริง เช่น การจัดการทรัพยากร)

เพิ่งเปิดแพลนเน็ตของตัวเองได้สำเร็จ  ขอสมัครรับบล็อคของอาจารยด้วยนะคะ

ประเด็นสวัสดิการชุมชนที่ได้เซ็ทหรือกำหนดขึ้นนี้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ น่าจะเป็นจุดร่วมได้ดีเลยนะคะ

เข้ามาเยี่ยมเยียนค่ะ

  • ตามมาชื่นชม....เยี่ยมยอดครับ
  • รออ่านบันทึกต่อไปนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

อ.ปัทมาวดี ครับ

              ค่อยๆเป็นค่อยๆไปแบบทำไปเรียนรู้ไปนะครับอาจารย์ ยังต้องใช้ชุดความรู้อีกเยอะมากที่จะใช้จัดการครับ

              กำลังใจและแรงหนุนเสริมอาจารย์นับเป็นเรื่องสำคัญมากครับ

              ขอบคุณที่นำบล็อกผมเข้าสู่แพลนเน็ตของอาจารย์ครับ

คุณหมอนนทลีครับ

          ก็คิดว่าเช่นนั้นครับ....มสช.คุณดวงพรก็มาช่วยอยู่ครับ

น้องสิงห์ป่าสักครับ

          ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท