มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ผู้ป่วยสูงอาย แฟ้มประวัติ ยาปฏิชีวนะ วิตามิน K และ อาการเลือดไหลไม่หยุด


กลับมาแล้วค่ะ หลังจากหายไปนานหนึ่งเดือนเต็มๆ

กลับมาถึงแวนคูเวอร์เมื่อวานเย็น วันนี้ก็มี study club ที่โรงเรียนพอดี คราวนี้ไม่ค่อยมึนเรื่องเวลาเปลี่ยนเท่าไหร่ คงเป็นเพราะเมื่อคืนบังคับตัวเองไม่ให้นอนเร็ว 

............................................................................................. 

ขอมาบันทึกสั้นๆเรื่อง กรณีศึกษาจาก study club ที่ไปฟังมาวันนี้ค่ะ

อ. เอียน แมททิว ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมช่องปากมาพูดเรื่องการอ่านและแปล medical chart/medical record/hospital chart เวลารักษาดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา หรือ เวลาผู้ป่วยถูกส่งตัวมารักษาที่คลินิก

.............................................................................................. 

กรณีที่อ.ยกมานั้น มีผู้ป่วย dementia ท่านนึง มาที่คลินิก มหาวิทยาลัย ญาติผู้ป่วยขอให้ถอนฟัิน (ซี่กรามบนขวา) ซึ่งผุแบบไม่สามารถอุดหรือทำอะไรได้แล้ว ... จริงๆค่า INR (การแข็งตัวของเลือด)  3 กว่าๆ สูงไปหน่อย (อยากให้อยู่ประมาณ 2.5) แต่ตอนนั้นเป็นช่วงใกล้ๆคริสต์มาส ญาติผู้ป่วยยืนยันว่าอยากให้ถอน และทำฟันปลอมต่อ เตรียมต้อนรับเทศกาลและงานรวมญาติ

อ.เห็นว่า ถอนซี่นี้ใช้คีมดึงธรรมดา ไม่มีการผ่าใดๆ ก็ตัดสินใจทำ  ทุกอย่างในวันนั้นก็ผ่าไปด้วยดี

.................................................................................. 

หลังจากผู้ป่วยกลับไปที่บ้านพักกึ่งรพ. (extended care facility) ได้วันนึง พยาบาลโทรตามเรียก อ. เอียน ว่าเลือดที่แผลไหลไม่หยุด

อ.เลยติดต่อให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรพ. acute care ที่ใกล้ที่สุดเพื่อไปดูอาการ และ ให้เลือด

อ. ดูที่แผล และ ช่องว่างฟันที่ถอนไป (socket) ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ  ทุกคนคิดว่าคงเป็นเพราะ ผู้ป่วยเป็น dementia ไม่รู้เรื่องก็เอาลิ้นดุนแผลเล่นไม่หยุด พอเลือดจะแข็งตัวก็เอาลิ้นไปดุนๆอีก  อ. ก็ใส่ยา เย็บปิดปากแผลไป เฝ้าดูอาการ

ผ่านไปชม. มาดูอีกที เลือดก็ยังไม่หยุด แถมค่า INR ขึ้นไปเป็น 6 กว่าๆ อ. ก็ให้เลือดต่อ เย็บปากแผลอีกครั้ง เป็นแบบนี้สองรอบ หาสาเหตุไม่เจอ แฟ้มประวัติที่รพ. acute care ก็ไม่มีข้อมูลล่าสุดของผู้ป่วยคนนี้  อ. โทรไปหาแพทย์ประจำตัวที่ extended care facility คุยกันช่วยกันคิด

ปรากฎว่า สองคนสรุปว่า ยา antibiotic ที่แพทย์ประจำตัวให้เป็นชนิดที่ฆ่าแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้ร่างกายไม่มีการดูดซึม วิตามิน K ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เลือดแข็งตัว

ก็เปลี่ยนยาและ อาการผู้ป่วยก็ดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ

..................................................................................

point ของอ.ที่เล่ามาคือ การดูแลรักษาที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ รพ. acute care นั้น มีบันทึกใน แฟ้มผู้ป่วย ที่ extended care facility แค่บรรทัดเดียวคือ - ผู้ป่วยถูกส่งตัวไป admitted ที่ รพ.acute care เนื่องจากเลือดไหลไม่หยุด -  จบ

ถ้าทพ.คนไหนในอนาคต ไปดูแลผู้ป่วยคนนี้ที่ extended care ก็จะไม่ทราบประวัติการรักษาครั้งนั้นอย่างระเอียดเลย ถ้าไม่ถามต่อ อ. เอียน เลยเชียร์ให้มีการบันทึกข้อมูลแบบelectronic มากๆ แบบที่ access ได้ทุกที่ที่มี internet ถ้ามี password ซึ่งตอนนี้มีหลายรพ. ได้นำมาใช้แล้ว อ.บอกว่า ก่อนไปคลินิก คืนนั้นอ.สามารถอ่านประวัติผู้ป้วยได้ล่วงหน้าจากที่บ้าน

.................................................................................. 

สำหรับผู้เขียนนั้น ไม่ตื่นเต้นกับเรื่อง paper-less record เท่าไหร่ เพราะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จะบอกแบบอายๆว่า เป็นครั้งแรกที่ได้เรียนรู้ว่า amoxicillin บางชนิด มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อ. ภาคศัลย์จะเขกหัวเราไม๊เนี่ยะ แต่ทำไมจำไม่ได้ว่าเคยเรียน (ว๊ะ) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 75504เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คิดถึงจังเลยคุณ มัทนา

เรียนหนักมากหรือคะ  ไม่ได้อ่านบันทึกนานแล้วค่ะ ครูอ้อยอาจจะไม่เข้าใจ  เรื่องที่เขียน  แต่บอกคำเดียวว่า  คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย คิดถึงครู และ ชาว gotoknow เช่นกันค่ะ กลับไปเมืองไทยมาแต่ยุ่งมากๆค่ะ พอว่างก็ไปพักต่างจังหวัดที่ไม่มี internet (สัญญาณโทรศัพท์ยังไม่มีเลยค่ะ)  ได้เข้ามาอ่าน gotoknow 2 ครั้งเอง ต่อไปนี้จะกลับมาสู่สภาพปกติแล้วค่ะ

 

รพ.acute care นี่เป็นอย่างไรหรือคะ ... ขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก ... และคนของเขารู้ได้อย่างไร ว่า รพ.ไหน รักษาอะไร เขารักษากันเฉพาะเรื่อง เฉพาะโรคหรือเปล่าคะ

สวัสดีค่ะพี่หมอนนท์ รพ.ที่นี่ถ้าไม่ใหญ่จริง (รพ. จังหวัด, รพ. ศูนย์) จะมีไม่ครบทุก ward ค่ะ เค้่าจะแยกไปเลยเป็น รพ.หญิง, รพ. เด็ก, รพ. ผู้สูงอายุ (extended care), รพ. ที่เป็นศูนย์ rehab เวลามัทพูดถึง รพ. acute care ก็คือ รพ.แบบบ้านเราที่มีห้องฉุกเฉิน มีห้องผ่าตัด ค่ะ แล้วจำนวนโรงพยาบาลที่นี่ก็ไม่มากเท่าบ้านเราค่ะ มีแต่รพ.รัฐเท่านั้น ในเมืองแวนคูเวอร์นี้มีประชากร 2 ล้านคน มีรพ. แบบรวมทุก ward แบบบ้านเราแค่ 5 รพ.เองค่ะ แล้วก็มี รพ. เด็ก กับ รพ. หญิง อยู่ในรั้วเดียวกันอีก นับเป็น 2 รพ.เพิ่มขึ้นมา รวมเป็น 7

ส่วน extended care home/facilities/hospital หรือ assisted living facilities นี่ แล้วแต่ว่ามีผู้ป่วยกี่คน พยาบาลประจำกี่คน เครื่องมือมากน้อย แค่ไหน ก็จะจดทะเบียนต่างกันว่าเป็นสถาพยาบาลชนิดไหนค่ะ แบบนี้มีอยู่หลายที่หน่อย มากกว่า 20 แห่งได้ค่ะ มีทั้งของรัฐและเอกชนด้วยค่ะ

คนของเค้าจะหา primary care physician หรือ primary care provider อื่นๆ ก่อน แล้วก็จะ refer ต่อๆกันไปเอง เค้าก็จะรู้ว่าต้องไปที่ไหนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท