คนพัฒนาผี ผีพัฒนาคน


“ผี” นั้นอยู่ภายในใจ ในความคิดของคน ที่มีความสำคัญมากกว่าปัจจัยภายนอก เช่น กฎ ระเบียบ ต่างๆ

จากข้อเขียนของคุณศิริลัคนา เปี่ยมศิริ เรื่อง “คนกับผี” ทำให้ผมได้แนวคิดว่า “ผี” ก็มีความสำคัญกับการจัดการความรู้ ในการสร้างศรัทธาในสิ่งที่ตนเองยังไม่รู้จัก หรือยังไม่ซาบซึ้ง

คนในโบราณได้ใช้ “ผี” ในการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ในระเบียบ โดยป้องกันการ “ผิดผี” คำว่า “ผี” นี้มีหลายความหมาย ตั้งแต่สิ่งไกลตัว เช่นหมายถึง

1. เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าประจำทรัพยากรต่างๆ ประจำสถานที่ แม้กระทั่ง ต้นไม้ชนิดต่างๆ เช่นต้นตะเคียน กล้วยตานี ที่เป็นลักษณะของ “ผี” ระดับสูง แบบ เทพ หรือ เจ้า

2. วิญญาณที่ล่องลอย ยังไม่ไปผุดไปเกิด ที่เป็น “ผี” ระดับต่ำ

3. วิญญาณของบรรพบุรุษ ที่คอยติดตามดูแลลูกหลาน ที่ถือเป็นผีที่อยู่ระดับกลางๆ ต้องการการเคารพ บูชา มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน

การที่คนพัฒนา “ผี” ขึ้นมาในสังคม ก็มีหลายวัตถุประสงค์ โดยส่วนใหญ่เน้นการเป็นผู้คอยควบคุมดูแลให้คนทำในสิ่งที่ดีในสังคม คนมีแนวโน้มที่จะกลัว และนับถือ “ผี” มากกว่าการนับถือคน หรือแม้แต่กฎ ระเบียบต่างๆ ในสังคม

จึงมักมีการพูดว่า “อายผี” หรือกลัว “ผิดผี” ที่จะทำให้มีอันเป็นไป ที่อาจน่ากลัวมากกว่าการถูกจับ หรือ ถูกลงโทษโดยกฎหมาย

อันเนื่องมาจาก “ผี” นั้นอยู่ภายในใจ ในความคิดของคน ที่มีความสำคัญมากกว่าปัจจัยภายนอก เช่น กฎ ระเบียบ ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว

ดังนั้น จึงมีการผสมผสานการใช้ “ผี” ตามความเชื่อ ร่วมกับ ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม เพื่อความสงบสุขของสังคม

แต่บางทีเราก็ใช้ “ผี” ในการสร้างปัญหาให้กับสังคม ได้เช่นกัน

ดังนั้น ในการจัดการความรู้ ก็อาจพัฒนาการใช้ “ผี” เพื่อการพัฒนาได้เช่นกัน อยู่ที่ระบบการบริหารจัดการ “ศรัทธา” และความเชื่อ ในทางที่ดี

แต่ควรลดการใช้ผี เพื่อความ “งมงาย” และ “อบายมุข” ในหลายๆรูปแบบ ที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน

ทำให้ “ผี” เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่แพ้การใช้ประเพณี เพื่อการพัฒนาอย่างถูกต้องและมีพลังในทุกด้าน ลองพิจารณาดูนะครับ ว่าเราจะใช้ “ผี” ในมุมใดได้บ้าง จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

หมายเลขบันทึก: 75406เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

        ที่บ้านหนองบัวเจ้าป่า อำเภอสตึก ใช้ "ผี" เป็นประโยชน์ในแง่ของการสร้างความรัก ความสมานฉันท์ในหมู่เครือญาติและชุมชน ด้วยประเพณีวันเลี้ยงผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ  คล้ายประเพณีโดนตาของคนที่พูดภาษาเขมรในบ้านเรา

       ทุกปีในวันเลี้ยงผีนี้ ลูกหลานเหลนโหลนในตระกูลและในหมู่บ้านจะต้องกลับมาทำพิธีไหว้ผี ไหว้พ่อแม่  และพบปะสังสรรค์ระหว่างญาติ ๆ

        ทำให้ญาติพี่น้องรักใคร่ไม่เหินห่าง มีเวลาได้พูดคุย อรมสั่งสอน เล่าเรื่องดีสู่กันฟัง เป็นสร้างความรักและกระตุ้นเตือนให้ทำดีที่หาได้ยากในยุคนี้ค่ะอาจารย์

       ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ ดร. แสวง

บังเอิญอาตมาค่อนข้างใกล้ชิดกับ ผี จึงเข้ามาอ่าน น่าสนใจ ครับ ...

ตอนแรกเรียนบาลี สงสัยว่า ผีแปลว่าอะไร จึงถามน้องเณรเปรียญรูปหนึ่ง ว่า ผี แปลว่าอะไร ?

น้องเณรอธิบายไว้น่าสนใจ เค้าบอกว่า

ผี แผลงมาจากคำว่า พี่ แปลว่า ผู้รู้ก่อน

อธิบายว่า พี่ ย่อมรู้ร้อนรู้หนาว รู้เปรี้ยวรู้เค็ม ก่อนน้องฉันใด ..ผี ก็ย่อมรู้ว่ามันมีจริงหรือไม่ ตายแล้วไปไหน ฉันนั้น..ดังนั้น ผี จึงแปลว่า ผู้รู้ก่อน

อาตมาฟังแล้วรู้สึกประทับใจ จึงนำมาเล่าให้อาจารย์อ่านเล่นๆ ครับ

เจริญพร

  • อายผี..แต่อย่าผิดผี..นะคะอาจารย์
  •   เคยเห็นแต่ในภาพยนตร์ เรื่อง นางนาก  และอีกหลาย ๆ เรื่อง มีทั้งน่ารักน่ากลัว  จริง ๆ แล้ว ผีเป็นอย่างไร ก็ตั้งแต่ดิฉันเกิดมาก็ไม่เคยเห็นผีหรอกคะ  แต่ก็ไม่อยากจะเห็นนะคะ

 

  • ผี ก็มีความสำคัญในการจัดการความรู้ อาจารย์ก็..ฟังแล้ว  ขนลุกเลยค่ะ
  • คนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยจะอายผีแล้วครับอาจารย์
  • คนด้วยกันยังไม่อาย ผิดผี ผิดคน เป็นเรื่องที่น่าจะต้องแก้ไขในส่วนจิตสำนึก
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ ติดตามอ่านของอาจารย์เสมอ
  • ผมก็เพิ่งเข้าใจเมื่อไม่นานนี้เองครับ
  • หากพูดโก้ๆ ก็พอจะบอกได้ว่า กำลังใช้ยุทธศาสตร์ทางจิตวิญญาณนะครับ
  • บางครั้งก็อธิบายไม่ได้  แต่สามารถใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาได้ดีมาก และไม่ใช่เรื่องเสียหายหรืองมงายแต่อย่างใด

แล้วทำมัยต้องไปพึ่งผีด้วย   ทำมัยคนถึงไม่พัฒนาคนละค่ะ

 

ผีจะมีจริงหรือไม่นั้นไม่สำคัญเท่ากับเราได้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมหรือไม่

ผมไม่ขอตอบมากกว่านี้นะครับ เพราะผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท