เปิดใจครูใหญ่โรงเรียนชาวนา เดชา ศิริภัทร


บทสัมภาษณ์โดย ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์ เมื่อหนึ่งปีเศษมาแล้ว
เปิดใจครูใหญ่โรงเรียนชาวนา เดชา ศิริภัทร
ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์  ไปสัมภาษณ์คุณเดชา ศิริภัทร ไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน ๔๗     และนำมาลงในหนังสือ ชื่อ “ปริศนาแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น”  ที่จะเผยโฉมในงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒  ในวันที่ ๑ ธค. ๔๘ นี้ เป็นภาคผนวก    ผมเห็นว่าเข้ากันได้กับเรื่องของโรงเรียนชาวนา ที่ผมเอามาลง บล็อก เป็นตอนๆ    จึงขออนุญาตเธอ เอามาลงไว้    ดังต่อไปนี้
ภาคผนวก
ผู้เขียน (ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์) ได้มีโอกาสสนทนากับคุณ เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการ มูลนิธิข้าวขวัญ ในช่วงที่ติดตามเรื่องราวของคุณ สินชัย กับการปรับปรุงพันธุ์ข้าว (ในปี พ.ศ. 2547) ผู้เขียนพบว่าคำสนทนา[1]นั้นมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยความลึกซึ้งจากประสบการณ์ของท่าน
การสนทนากับคุณเดชา[2] ได้จุดประกายให้ผู้เขียนฉุกคิดถึงแง่มุมหลายประการที่อยู่ในเรื่องเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของเรื่อง กระบวนทัศน์ และโรงเรียน ชาวนา นอกจากนี้ เนื้อหาของการสนทนายังมีคุณค่าเกินกว่าที่ผู้เขียนจะรับรู้เพียงคนเดียว ผู้เขียนได้ขออนุญาตท่าน ตีพิมพ์คำสนทนาดังกล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย และได้รับอนุญาต จึงขอกราบขอบพระคุณคุณ เดชา ศิริภัทร เป็นอย่างสูง ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง
ชาวนากับการทำเกษตรอินทรีย์ “......การต่อสู้ของชาวนา ต้องต่อสู้กับอธรรม ซึ่งมีอำนาจ-เงินทุนมาก การต่อสู้ต้องใช้อีกมิติที่สูงกว่า คือ เรื่องของจิตใจ ความเชื่อ เราคงไม่ต้องสู้อย่างโดดเดียว เพราะเรามีแม่ธรณี, แม่คงคา.......... เทพ พรหมต่าง ๆอยู่ฝ่ายเรา แต่หากชาวนายังคงมีกิเลสมาก แต่ไม่มีปัญญา ก็ไปไม่รอด จึงต้องช่วยให้ชาวนามีปัญญาซะก่อน คนน่าจะมีปัญญา ไม่ต้องรอให้ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ถามว่าเหนื่อยมั้ยที่ทำงานต้องสู้กับหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายบริษัท-นายทุน และทางราชการ ซึ่งก็มีความคิดในเรื่องของการพัฒนาไปแบบหนึ่ง (ตอบว่า) ไม่เหนื่อยหรอก คือ เราต้องรู้เป้าหมายของชีวิตของเรา ถ้าแค่ทำเพื่อตัวเอง ก็ไม่ยากเท่าไหร่ เมื่อเรารู้เท่าก็อาจจะปลีกวิเวก ไปหาความสุขเฉพาะตนได้ แต่เรายังทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะยังมีอุเบกขาไม่พอ คือเห็นแล้วยังทนไม่ได้ เมื่อเห็นปัญหาที่รู้ว่าเราพอจะช่วยได้ การช่วยคนอื่นไม่ใช่ว่าเราจะทุกข์ แต่ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน เป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสูง
                        การปฏิบัติธรรมไม่ต้องออกบวชก็ได้ หากทำงานแบบรู้เท่าทันว่า ถ้าไม่ทำอย่างนี้จะเกิดอะไรขึ้น และถ้าทำจะเกิดอะไรขึ้น ทำแล้วไม่สำเร็จก็เท่าทุน แต่ถ้าสำเร็จก็จะเกิดผลดีขึ้น เป็นกำไร หากทำได้เช่นนี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรม หากเราทำเฉพาะแค่เพื่อตนเอง ก็ไม่ได้ยกระดับจิตใจ การทำเพื่อคนอื่นด้วยเป็นการยกระดับจิตใจของตนเอง จะมีความสุข การทำแบบนี้มองอีกอย่างคือ เป็นการทำเพื่อสังคม มองเห็นง่ายว่าไม่ได้มีผลประโยชน์แก่ตัวเอง แต่มองได้อีกอย่างคือ เป็นการทำเพื่อตนเองด้วย คือยิ่งทำยิ่งมีความสุข จิตใจยิ่งผ่องใส ยิ่งมีปัญญามากขึ้น เพราะฉะนั้น จะได้ทั้งสองอย่าง ไม่มีความเครียดในการทำงาน  เพราะคิดแล้วว่า ถ้าไม่สู้ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ถ้าสู้มีแต่จะดีขึ้น
                        จากการทำงานมันมองเห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับชาวนาบางราย จากชาวบ้านที่ไม่รู้เทคนิคทางเลือกอะไร เคยทำนาได้ไร่ละไม่เกิน 60 ถัง กลายเป็นทำนาได้ไร่ละ 160 ถัง หากเราไม่สั่งสมความรู้มาร่วม 20 ปี เราคงไม่สามารถทำเช่นนี้ให้ชาวนาเห็นได้ การทำให้ข้าวพันธุ์พื้นบ้านจากเดิมผลผลิตไม่เกินไร่ละ 60 ถัง มาเป็น 160 ถัง พูดไปก็ไม่มีใครเชื่อว่าจะเป็นไปได้ (อย่างที่สินชัยทำ) ในโลกนี้หรอก ดังนั้นสิ่งที่เราทำนี้ มันเป็นกำไรทั้งหมดนั่นแหละ จะได้กำไรมากหรือกำไรน้อยอยู่ที่ปัจจัยอื่นๆด้วย ถ้าได้น้อยก็ไม่เสียใจ เพราะมันอยู่ที่ปัจจัย มันเป็นเช่นนั้นเอง ได้มากก็ไม่ดีใจ ภูมิใจ เพราะเหตุปัจจัยมันเป็นเช่นนั้น เราเข้าใจมากขึ้น ใจก็อุเบกขามากขึ้น
                        เมื่อ 10 ปี ก่อน เรายังพูดอย่างนี้ไม่ได้ แต่ตอนนี้เริ่มเห็น แต่ก่อนมันมืด ไม่เห็นหนทาง ตอนนี้เริ่มเห็น มองเห็นแสงไฟริบหรี่ ๆ มีความหวัง แต่ก่อนเมื่อยังมืด เราก็คิดว่าเอาแหละ เราก็จะงมไปเรื่อยๆอย่างนี้แหละ เพราะถ้าไม่ทำอะไรมันตกเหวแน่ ต้องออกไปจากตรงนี้แล้ว ไม่งั้นเมื่อตลิ่งพังก็จะมาถึงเรา เพราะมันกำลังพังไล่หลังมาแล้ว ตรงนี้ได้จากตรงที่เราเคยไปบวชที่สวนโมกข์ คือ เอาปัญญาขั้นต้นมาใช้ ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ ตรงนี้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)ส่วนใหญ่ ยังทำไม่ได้มาก เพราะไม่ปฏิบัติธรรม หากเพียงแต่อ่านธรรมะแล้วไม่เคยปฏิบัติ ถึงเวลามีปัญหา มีเรื่องก็ไม่สามารถจะควบคุมจิตใจของตนเองได้ เพราะจิตมันไว พวก NGO ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องเชิงลบ เช่น ต่อสู้คอรัปชั่น ต่อสู้ระบบเผด็จการ หรือคนที่ทำงานในแนวต่อสู้ ต่อต้าน เช่น พวกที่ต่อสู้กับการทำลายสิ่งแวดล้อม คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะเครียด จะกินกาแฟ สูบบุหรี่ หรือกินเหล้าจัด หรือเป็นโรคกระเพาะจากความเครียด เราเห็นใจว่าเขาเครียด เพราะทำงานยาก มองเห็นความหวังว่าจะชนะยาก แต่เรื่องอะไรที่เราจะไปทำร้ายตัวเอง ทำงานต่อสู้แบบไม่เครียดก็ได้ แต่ต้องฝึก ทำไปหัวเราะไป ชนะก็ดี ไม่ชนะก็แล้วไป จะทำให้ทำงานได้ทนนาน
                        คนเราหากไม่ฝึกตนเมื่อเผชิญภาวะยากลำบาก จิตใจก็จะไหลลงต่ำเหมือนน้ำต้องหันไปหาที่พึ่ง คืออบายมุขทั้งปวง เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยว ฯลฯ แม้จะทำงานเรื่องดี ตั้งเป้าหมายดี แต่พอเจอปัญหาหนักก็จะรับไม่ไหว เพราะงานพวกนี้รายได้ก็ต่ำ เวลาก็ใช้เยอะ มันยิ่งทับถม เช่นปัญหาส่วนตัว ครอบครัวนิดเดียว  ปัญหาตกงาน ก็ทำให้ใจเสียไปเลย เป็นห่วงพวกทำงาน NGO เพราะงานที่ทำเป็นเรื่องหนักเรื่องยาก และตัวเองก็ไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำงานไปหนัก ๆ เข้ามันจะท้อ ถ้าไม่ออกจากงาน ก็ต้องทน อยู่ก็จะมีทุกข์ ผมคิดว่าน่าจะมีโรงเรียนมาเปลี่ยนความคิด NGO ด้วยกัน ซึ่งก็คงยาก               
ถ้าเราไม่พร้อม หรือไม่ทำตัวให้ใจนิ่ง ก็จะทำงานและมีทุกข์มาก ใครอยู่ไม่ได้ต้องออกไป หรือปัญญาไม่มีต้องสู้ไปตามเกมส์ของเขา แบบเลือดเข้าตา ก็ไม่มีทางชนะเขาได้
                        หน่วยราชการทางเกษตรตอนนี้ที่มาส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ ก็ทำโดยไม่จริงใจ และไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ไม่ชัดเจน เช่น บอกว่าไม่เลิกสารใช้เคมีก็ได้ เขาพูดว่าไม่ต้องเลิกสารเคมีทั้งหมดหรอก แค่ให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีก็พอแล้ว มันเป็นการมองแบบแยกส่วน ถามว่ามองชาวบ้านเป็นกระดูกสันหลังของชาติมั้ย ก็ไม่ได้มองเห็นอย่างนั้น แต่มองเห็นว่าเป็นแค่รากหญ้า เหมือนเดิม ไม่ได้ขอให้มายกย่อง แค่ขอให้มองเห็นว่าเสมอกัน ก็ยังไม่มองเลย แค่ชาวนาเขาจบ ป.4 ก็ดูถูกเขาแล้ว
                        การทำงานด้วยกันอย่างทำตัวไม่เท่าเทียมกัน มันไม่มีทางแก้ปัญหาชาวบ้านได้ ในเมื่อไม่ให้ชาวบ้านเป็นพระเอก ในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน ไม่ยกย่องนับถือตั้งแต่ต้น นี่เป็นจุดอ่อนของสังคมไทยที่มองคนแบบแค่เปลือกนอก และแม้แต่การนับถือปราชญ์ชาวบ้าน ก็ไม่ได้นับถือจริง ที่ยกย่องครูบาทั้งหลาย ก็พูดไปอย่างนั้นแหละ เพื่อเอาประโยชน์จากปราชญ์ชาวบ้าน ลับหลังก็นินทาทั้งนั้น นอกจากคนตัวจริงที่มีปัญญา อย่าง คุณหมอวิจารณ์ อาจารย์ประเวศ อาจารย์เสน่ห์ ฯลฯ ท่านเหล่านี้นับถือจริง แต่พวกคนทั้งหลายที่ตามกระแสไม่ได้นับถือจริง และชาวบ้านเองที่เป็นปราชญ์ก็มีน้อยมาก ส่วนใหญ่พอได้เทคนิคอะไรไปแล้ว มักไปติดเทคนิค ติดเครื่องมือ ปราชญ์จริงจะมองกระบวนทัศน์ จิตวิญญาณ  ปราชญ์ต้องคิดถึงอะไรที่สูงกว่าวิทยาศาสตร์ขึ้นไป อย่าไปติดเทคโนโลยี เราทำงานมา 20 ปี เห็นได้ชัดว่าปราชญ์ชาวบ้านมีน้อยลงทุกที เหลือไม่เท่าไหร่ บางคนทำท่าว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ก็มีคนนอกเข้าไปแทรก ถูกดึงไปอีกทาง ทำให้หลงเข้าไปในกระแสวิถีที่รัฐบาลต้องการชี้นำ
โรงเรียนชาวนา กับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์
คุณ เดชา เล่าถึงโรงเรียนชาวนา ว่า  “....เพิ่งทำโรงเรียนชาวนาได้ 2 ปี   ปัญหาชาวนาเริ่มต้นจาก IRRI (สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ) และรัฐบาลส่งเสริมให้ชาวนาใช้ข้าวพันธุ์ใหม่ แทนข้าวพันธุ์พื้นบ้าน แล้วชาวนาก็ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยากำจัดศัตรูข้าว เหมือนคนใช้ยาเสพติดที่ต้องใช้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่นพอชาวนาใส่ปุ๋ยเคมี NPK (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม) ลงไปในนาที่มีธาตุอาหารข้าวครบ ซึ่งปกติในดินดีจะมีธาตุอาหาร สำหรับข้าวอย่างน้อย18 อย่าง เมื่อชาวนาใส่ปุ๋ย NPK ลงไปเยอะ ๆ ต้นข้าวก็จะดูดแร่ธาตุอาหารตัวอื่นมาด้วย เพื่อให้สมดุลกับ NPK ที่ดูดขึ้นมา พอนานๆไป ต้นข้าวก็ใช้ NPK ในดินไม่หมด NPK เหลือตกค้างอยู่ในดิน แต่ธาตุอาหารอื่นหายไป น้อยลงไปเรื่อย ๆ ดินก็แข็ง อินทรีย์วัตถุในดินก็หมด ในขณะเดียวกันก็ดินก็สะสม NPK มากขึ้น เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมยิ่งใส่ปุ๋ยเคมีมากผลผลิตข้าวยิ่งลดลง เพราะว่าธาตุอาหารในดินไม่สมดุลแล้ว พอธาตุอาหารในดินไม่สมดุล ข้าว ซึ่งอ่อนแอจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดิน โรคและแมลงก็เข้าแทรกแซงระบาดทำลายต้นข้าว ยิ่งต้องใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูข้าวฉีดเยอะ ๆ เหมือนคนที่ต้องกินยาเยอะ เพราะไม่มีภูมิคุ้มกัน ร่างกายไม่แข็งแรง แต่เจ้าหน้าที่เกษตรฯก็มาสอนให้ชาวบ้านลดการใช้ยาฆ่าแมลง ชาวบ้านจะลดการใช้ยาฆ่าแมลงได้ยังไง มันติดแล้ว ก็ต้องเอาชาวนามาเข้าโรงเรียน เพื่อใช้เวลาเรียนจากของจริง มาสอนให้จับแมลงมาดู ให้รู้จักแมลงดี แมลงไม่ดี แล้วบอกว่าถ้าแมลงเป็นโทษเยอะกว่าแมลงดีค่อยฉีดยาฆ่าแมลง แต่ชาวบ้านไม่เชื่อหรอก ถ้าคนที่ใช้เคยฉีดยาฆ่าแมลงแล้วก็ต้องฉีดตลอด ฉีดปั๊บแมลงที่ดี ก็ตาย นี่เป็นจุดอ่อนที่เรารู้ เพราะสารเคมีเขา (เจ้าหน้าที่เกษตรฯ) ก็ไม่ได้ห้ามใช้ พอใช้สารเคมีอีกหน่อยต้นข้าวก็อ่อนแอ และก็จำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง มันแก้ปัญหาไม่ได้หรอก เราจึงไม่ใช้วิธีการนี้ ซึ่งมีมานานแล้ว
ตอนหลังเราศึกษาวิจัยพบว่า เกษตรกรต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จึงจะเลิกใช้สารเคมีได้ วิธีเปลี่ยนกระบวนทัศน์ต้องทำกระบวนการเรียนรู้กับกระบวนการกลุ่ม ซึ่งเราพยายามหาว่าวิธีปฏิบัติแบบไหนจะสะดวกและมีประสิทธิภาพที่สุดที่สุด พบว่าชาวนาบางกลุ่มที่ผ่านโรงเรียนเกษตรกรที่กรมส่งเสริมฯ ไปทำมันได้ผล ชาวนาเลิกใช้สารเคมี เราก็ไปดูว่าทำไมเขาถึงเลิกใช้สารเคมี เราจึงพบว่าโรงเรียนเกษตรกรบางแห่ง เราเปลี่ยนความคิดชาวนาได้นะ ถ้าทำดี ๆ
เราก็เลยกลับมาลองเปลี่ยนมาใช้หลักสูตรของเราที่จะไม่ใช้สารเคมีฆ่าแมลงในนาข้าว และไม่ใช้ปุ๋ยเคมีด้วย และใช้วิธีการเดียวกันกับที่โรงเรียนเกษตรกร แล้วเราก็เอาหลักศาสนาพุทธมาประยุกต์ ทำให้เป็นวัตร (ประจำ) คือชาวนาในกลุ่มมาพบเจอกันทุก 7 วัน เป็นกลุ่มๆ พอทำได้ 1 ปี เรารู้เลยว่า อ๋อ! เป็นอย่างนี้เอง มันได้ประโยชน์ตรงที่เอาชาวบ้านมาเป็นกลุ่ม มาเจอกัน มาเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกระบวนการเรียนรู้จากของจริง การเรียนรู้เป็นกลุ่มจะทำให้ได้กัลยาณมิตร หลังจากนั้นกระบวนทัศน์ของชาวนากลุ่มนี้มันเปลี่ยน เห็นชัดเจน แต่ปีเดียวยังไม่พอ เพราะเรียนรู้เรื่องเทคนิคไม่พอ ยังมีเครื่องมือไม่พอ ก็ต้องมีเครื่องมือรุ่นที่ 2-3 ไปเรื่อย ๆ ให้ได้ชาวนาคุณภาพขั้นสูง ๆ ให้ชาวนาเปลี่ยนได้ขนาดเปลี่ยนพันธุ์ข้าวได้เองเลย เลิกใช้ทั้งเรื่องยาฆ่าแมลง ใช้สมุนไพรมาแทน ปุ๋ยอินทรีย์ต้องทำเองได้ พันธุ์ข้าวก็ต้องควบคุมได้ ทำเองได้ กระบวนการสร้างเทคนิคพวกนี้จะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ชาวนาก่อน แล้วชาวนามาหาเครื่องมือ-เทคนิค ที่เรา เราก็สอนวิธีสร้างและใช้เครื่องมือต่อไปให้ ให้ครบวงจร
                        ตอนนี้ชาวนาที่นี่ ก็จะเปลี่ยนจากการปลูกข้าวขายโรงสีแบบที่สินชัยก็เคยทำมาก่อน ตอนนี้ชาวนามาซื้อพันธุ์ข้าวที่สินชัยไปทำพันธุ์ โดยไม่เอาไปขายเป็นข้าวโรงสี ข้าวมันดีเกินไปกว่าที่จะเอาไปขาย-สี กลุ่มชาวนาของเรากลุ่มแรกที่ผ่านโรงเรียนชาวนาก็จะพัฒนาเป็นกลุ่มที่ทำพันธุ์ข้าวขาย พันธุ์ข้าวของเรา ไม่ต้องใช้สารเคมีไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือย่าฆ่าแมลง แล้วผลผลิตก็ขายก็ได้ราคาดี ต้นทุนต่ำ เป็นกระแสให้ชาวนามีทางเลือก ในขณะที่เราก็เอาชาวนามาเข้าโรงเรียนชาวนาเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อให้มาเข้าทางเกษตรอินทรีย์ของเรามากขึ้น ๆ ถ้าเรามีกลุ่ม มีทุกอย่างพร้อม มันก็จะเป็นกระบวนการต่อเนื่องไปอีก ซึ่งเราวางแผนไว้แล้ว แต่จะทำได้เท่าไหร่เราไม่รู้ แต่เราเห็นช่องแล้วตอนนี้มีเครื่องมือใหม่มา มันเหมือนกับ breakthrough เรื่องโรงเรียนเกษตรกร เรื่องกระบวนการเรียนรู้ เราเคยมืดมา 18 ปี มันเห็นชัด เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ก็เลยขยาย พอดีคุณหมอวิจารณ์ (สคส.) มาให้ทำต่ออีก 2 ปี ทำเรื่องนี้อย่างเดียวเลย ให้ชาวนามีเทคนิคให้ครบถึงระดับปริญญาเลย (คือเปลี่ยนพันธุ์ข้าวได้เอง) หลังจากนั้นเราจึงจะไปประเมินดูว่าจะทำอะไรต่อ ก่อนหน้านี้เราคิดว่าเราทำมาแล้วทำทุกวิธีเลย แต่ทำไมไม่ได้ผล ตั้งแต่ทีแรกเราคิดว่าเทคนิคเรามีพร้อมนะ มีชาวบ้านที่ทำพันธุ์ทำเป็นตัวอย่าง ทำได้ที่ 1 ประเทศไทย ทำได้ผลจริง ๆ พิสูจน์ได้ มีคนยอมรับ เช่น มีคุณชัยพร พรหมพันธุ์ทำได้ที่ 1 ประเทศไทย เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ สาขาทำนา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ไม่มีชาวนาเอาอย่าง มหาอยู่ สุนทรชัยก็ไม่มีใครเอาอย่าง เราคิดไม่ตกว่า เมื่อชาวนาฝ่ายเรามีทุกอย่าง ทำไมชาวนาไม่เอาอย่าง ชื่อเสียงก็มีนะ ออกทางสื่อต่าง ๆ คนรู้จักทั้งประเทศเลย รางวัลก็ได้ระดับชาติ สื่อก็เผยแพร่ว่าทำนาด้ผลดี คุณชัยพรทำนาได้กำไรปีละ 5 แสน เงินเยอะ เวลาก็ใช้น้อย มีเมียเป็นผู้ใหญ่บ้าน ลูกก็ได้เรียนดี ๆ แต่ไม่มีชาวนาเอาอย่าง! เพราะกระบวนทัศน์ไง
                        แค่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ชาวนาไม่เอาแล้ว ชาวนาคิดว่าถึงดีไงก็ไม่เอา เพราะกระบวนทัศน์ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช่เพราะชาวนาใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลง เพราะมันได้ผลดีนะ แต่อยู่ที่วิธีคิดว่าปุ๋ยยาเนี่ยมันต้องดีแน่ หากไม่ดีจะโฆษณาได้ไง ไม่งั้นฝรั่งมันมาขายได้ไง ไม่งั้นรัฐบาลจะส่งเสริมให้ชาวนาใช้ได้ยังไงได้ยังไง มันไปเชื่อแบบไสยศาสตร์ ถ้าไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ยังเลิกใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงไม่ได้หรอก ไม่นึกว่ามันจะเป็นปัญหาระดับลึกถึงขนาดนี้
                        มีบางคนวิจารณ์ว่าหากเราไม่ใช้ปุ๋ยเคมี-ยาฆ่าแมลง ทำนาเหมือนรุ่นปู่ยาตายายสมัยก่อนนั้น เราก็ย้อนอดีตเป็นคนล้าสมัยซิ แล้วคนของรัฐบาล ก็พูดว่าประเทศไทยเรานี่ใช้ปุ๋ยเคมีน้อยกว่าอเมริกา ใช้น้อยกว่า ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ แสดงว่าเราไม่พัฒนาเลย เขามองว่าการที่เราใช้ปุ๋ยเคมีต่อพื้นที่น้อยแปลว่าไม่พัฒนา แต่เขาไม่ไปมองพวกเกษตรกรที่เลิกใช้ปุ๋ยเมี-ยาฆ่าแมลงในประเทศเหล่านั้นว่าเขาเพิ่มขึ้นเร็วมาก กระบวนทัศน์นี้ไปด้านเดียวกับชาวนาไทย เหมือนซอฟแวร์โปรแกรมเดียวกัน มันรับได้ต่อกันติดปุ๊บ แต่พอใส่โปรแกรมผิดไปจากเดิม มันไม่รับเลยละ มันดีดปุ๊บออกมาเลย ทุกอย่างนี้เกิดจากระบวนทัศน์ กระบวนทัศน์แบบเดคาร์ตส แบบนิวตัน มันทำให้คนคิดแยกส่วนอยากเอาชนะธรรมชาติ เดคาร์ตส บอกว่าพระเจ้าตายแล้วด้วยซ้ำ
                        ถ้าชาวนาไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์ มันจะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ไอนสไตน์กล่าวว่า โลกจะอยู่รอด คนต้องเปลี่ยนกระบวนวิธีคิดโดยสิ้นเชิง อาจารย์ประเวศ วะสียกมาพูดหลายครั้ง วิธีคิดแยกส่วนจะทำให้โลกแตกสลาย แม้แต่คนดี ๆ ถ้าคิดไม่ถูกมันทำลายโลกหมดเลย หากช่วยโลกโดยวิธีผิด เหมือนกับแทนที่จะไปช่วยให้ชาวนาช่วยตัวเองได้ กลับคิดจะยกหนี้ให้ ไม่มีเงินก็เอาสวัสดิการให้ หากทำวิธีนี้ โลกไม่รอดหรอก
                        โรงเรียนชาวนา เริ่มต้นยาก ต้องมีแรงจูงใจก่อนในช่วงขั้นต้น จนถึงช่วงสุดท้ายมีแรงบันดาลใจ ไม่ต้องเอาผลประโยชน์มาล่อ เริ่มต้นจากเข้าไปในหมู่บ้าน ประชุมเพื่อขอความรู้ชาวบ้าน ถามไถ่สภาพการทำนา-ชีวิต รายจ่าย-หนี้สิ้นเป็นยังไง ตัวเลขที่ออกมา (หนี้สิน) แย่เลย ถามว่าอนาคตอยากให้ลูกเป็นชาวนาไหม ชาวนาก็บอกว่า”ไม่เอา” เป็นชาวนามีความหวังมั้ย ชาวนาตอบว่า”ไม่มี” เห็นชัดเลยว่าปัจจุบันสภาพชาวนาเป็นอย่างนี้ ขั้นต่อมาก็ให้ชาวบ้านคิดย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่ทำนาปีแบบเดิม ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ให้ชาวนาลองไล่ดูว่าในนามีพันธุ์ข้าวอะไรบ้าง “มีสิบ ๆ พันธุ์ (พื้นบ้าน)” ถามว่าใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาฆ่าแมลงไหม ก็ตอบว่า ”ไม่” ถามว่าเมื่อปลูกข้าวได้ข้าวแล้วทำอะไร “เอาไว้กิน”  ที่เหลือล่ะ “ทำบุญ แจกกันบ้าง ขายบ้าง ไม่มีหนี้สิ้น”  ถามว่า มีปลาไหม “ปลาเยอะ” ครอบครัวล่ะ  “อยู่กันดี” แล้วลูกล่ะ  “ทำนาต่อจากพ่อแม่” คือทุกอย่างมันสวยไปหมด (ทอดเสียง) แล้วเริ่มต้นของปัญหาปัจจุบันมันมายังไง รัฐบาลก็เอาคลองชลประทานมาให้ เอา ถนนมาให้ พันธุ์ข้าวต้นเตี้ยมาให้ เอา ปุ๋ยเคมีมาให้ ฯลฯ
ตอนเริ่มต้นปลูกข้าวต้นเตี้ย-นาปรังใหม่ ๆ ก็ใช้ปุ๋ยเคมีนิดเดียว ต่อมาปัญหาเยอะขึ้น ควายหายไป ลูก ๆ ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกลับมาทำนาแล้ว โรงเรียนล้างสมองเด็ก ตัวชาวนาเองยิ่งทำนายิ่งจน ก็ให้ลูกเรียนไปเป็นใหญ่เป็นโตอย่ากลับมาเป็นชาวนาเลย หนี้สินก็ค่อย ๆ เกิด ธกส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ) ทำให้ชาวนาค่อย ๆ มีหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อมองดูให้ดีจะเห็นว่า พันธุ์ข้าวสมัยใหม่ที่รัฐบาลเอามาให้ทำให้เกิดอะไรขึ้น มันเห็นได้ชัดเลยว่า ทำให้เกิดสิ่ง ร้าย ๆ นี้ขึ้นมา คำถามสุดท้ายคืออนาคตต้องการอย่างไร? “อยากเป็นเหมือนอดีต” ไม่มีหนี้สิน ทุกคนในครอบครัวอยู่ด้วยกัน มีปลาในน้ำ มีผักจากนากิน ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเมี-ยาฆ่าแมลง ให้มีกำไรจากการทำนา แต่ถนนยังอยากเอาไว้ ทีวีก็เอา, ลูกไปโรงเรียนได้ แต่ลูกจะกลับมาทำนาก็ได้ หรือไปทำงานข้างนอกก็ได้ ไม่ใช่ว่าต้องไปทำงานข้างนอกอย่างเดียวเหมือนปัจจุบัน เอาอดีต-ปัจจุบันมาผสมกันเข้าเป็นแบบนี้ เราก็บอกชาวนาว่าถ้าอยากเป็นแบบนี้ อะไรที่ต้องทำก่อน? ชาวนาก็บอกว่า ต้องลดต้นทุนการทำนาเพราะต้นทุนมันสูงมาก ต้นทุนมีอะไรบ้าง และอะไรที่น่ากลัว ชาวบ้านบอกว่า “ยาฆ่าแมลงน่ากลัว ตายกันเยอะ” เดี๋ยวนี้ไม่กล้าฉีดเอง ต้องจ้างคนอื่นมาฉีด คนที่รับจ้างฉีดบางคนก็บอกไม่ว่างมาฉีดให้ ก็กลัวตายเหมือนกัน (หัวเราะ) ยิ่งแล้วไปใหญ่ ปัญหาหลายซับหลายซ้อน เราก็เริ่มชวนว่า เรื่องปัญหายาฆ่าแมลงมาเรียนกันไหม ใช้เวลา 4 เดือน หากได้จำนวนชาวนาที่กำหนดก็จะใช้วิธีการให้ความรู้แบบชาวนา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย เช่นเลี้ยงข้าว แจกเสื้อ แต่ว่าต้องมาโรงเรียนให้ครบ 6 ครั้งแรกก่อน หากไม่ครบไม่ได้เสื้อเป็นกรรมสิทธิ์ ใช้วิธีล่อก่อน เรารู้ว่าหากชาวนามาโรงเรียนครบ 6 ครั้งแล้วจะติดโรงเรียนในที่สุด พอเข้ามาปุ๊บก็จะได้เป็นกลุ่มนักเรียนชาวนา กลุ่มเล็ก ๆ ซัก 25 คน – 30 คน เป็นกลุ่มคุณภาพ เป็นหัวหอก เมื่อเห็นผลกลุ่มอื่นๆก็จะค่อย ๆ มา กลุ่มแรกนี้ก็จะเลื่อนขึ้นไปอีกขั้น พอเริ่มโรงเรียนชาวนาแบบนี้แบบนี้ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลง เริ่มกลับมาร่วมมือกัน ลงแขก ดำนา ที่เห็นนาดำตรงนี้ชาวบ้านมาลงแขก (ดำนาในแปลงทดลอง หน้ามูลนิธิข้าวขวัญ) ไม่ได้จ้างหรอก แต่ก่อนต้องจ้าง พอมีโรงเรียนชาวนาไม่ต้องจ้างเลย งานรื้อบ้าน งานการอะไรไม่ต้องจ้าง ชาวบ้านมาทำให้ เลี้ยงข้าวอย่างเดียว แม้แต่ประเพณีที่ชาวนาทิ้งไปหลายสิบปี เช่น พิธีทำขวัญข้าวแม่โพสพ ชาวบ้านก็มาทำรูปปั้น ถือรวงข้าวที่มูลนิธิฯ ชาวบ้านก็มาทำให้  แม่โพสพใส่ผ้าถุงอย่างดีเลย สิ่งเหล่านี้จะกลับมาได้เอง ส่วนวิธีคิดก็เปลี่ยนไปแล้ว ที่เคยคิดว่ามันล้าสมัย กลายเป็นคิดว่า “แม่โพสพเป็นแม่...ทำยังไงจะเอาคืนมาได้” ประเพณีเดือนสิบ วันที่ 12 ตุลานี้ จะทำอย่างใหญ่เลย สารทเดือนสิบ ชาวบ้านไม่ได้ทำมาหลายสิบปี ตั้งแต่ปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ผมเองยังลืมเลย ชาวบ้านเขาฟื้นขึ้นมาใหม่ แม้แต่ขนมโอกาสพิเศษ เช่น ขนมกง เห็นเลยว่าสิ่งดี ๆในอดีต กลับคืนมา ชาวบ้านกลายเป็นคนละคน ไม่น่าเชื่อ ที่ทำงานยากที่สุดเลยเพราะเป็นบ้านเกิดผมแท้ ๆ แล้วต่อมาเราไปทำโรงเรียนชาวนากับกลุ่มเขมร กลุ่มลาว 2 กลุ่ม เป็นคนละวัฒนธรรมกัน พอปลุกย้อนอดีตกลับไป 30 ปี สิ่งดีๆกลับมาได้ทำให้ทึ่ง ไม่น่าเชื่อเลย แสดงว่าการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง ต้องมีผลดีมากแต่ต้องใช้เครื่องมือให้ครบกระบวนการ มีเครื่องมือต้องนำไปใช้ครบ เอาแค่ส่วนเหนึ่งไปไม่ได้ facilitator หรือ คุณอำนวยก็ต้องดี เทคนิคการทำนาก็ต้องดี การมีส่วนร่วมของนักเรียนชาวนาก็ต้องดี ท่าทีเราก็ต้องดี ทุกอย่างต้องพร้อม เสร็จแล้วให้ชาวบ้านเป็นพระเอก-นางเอกจริง ๆ ก็จะเกิดผลดีตามมา แต่ถ้าทำขาดตกบกพร่อง ก็จะไม่ได้ผลสำเร็จอย่างนี้หรอกอย่างนี้หรอก แบบที่กระทรวงเกษตรฯทำหรือ กศน. (กรมการศึกษานอกโรงเรียน) ทำ ก็ไม่ได้ผลแบบนี้หรอก ได้แต่เทคนิครูปแบบโรงเรียนชาวนาอย่างเดียว แต่นี่เป็นนวัตกรรม (innovation) เป็นสิ่งที่เราค้นพบใหม่ เช่นเทคนิคการพัฒนาพันธุ์ข้าว แบบที่แกะข้าวกล้อง พัฒนาพันธุ์ข้าวได้เยอะมาก เพียงแต่นักเรียนชาวนาของเรายังเรียนอยู่ขั้นประถม คือ หลักสูตรควบคุมศัตรูข้าวโดยชีววิธี คิดว่าหากคนทำโรงเรียนชาวนากันจริง ๆ เอาไปช่วยกันทำ ต่างองค์กรต่างไปทำแล้วนำผลมาแลกเปลี่ยนกัน มันจะเป็นอีกขบวนการหนึ่งเลย ขบวนการโรงเรียนชาวนานี่ มันจะพลิกสถานการณ์ปัญหาชาวนา ไม่ต้องไปตั้งวิทยาลัยอะไรแบบนั้น ตั้งโรงเรียนชาวนาง่าย ๆ ในหมู่บ้านนี่แหละ เรียนในนา เรียนใต้ต้นไม้ มีอาหารกลางวันให้กินร่วมกัน มีคุณอำนวยจัดกระบวนการพา ก็พาชาวบ้านนั่นแหละ มันไม่ต้องใช้เงินมากมายเลย อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) ก็จะเข้ามาร่วมทำเอง เงินเขามี แต่กระบวนการต้องมีคนไปช่วย ทำเล่น ๆ ไม่ได้ ไม่ได้ผล ซึ่งจะทำให้หมดความเชื่อถือจากชาวนา ก็จะเลิกกันไปเลย ต้องทำให้ชาวนามีความเชื่อถือ ศรัทธา ไม่ต้องรีบ ทำยังไงก็ได้ให้ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ ทำช้าแต่ให้แน่น    NGO ส่วนมากใจร้อน ชอบเร็ว ฐานไม่แน่นจะล้ม ปัญหาชาวนาที่เกิดมา 30-40 ปี แก้ไม่ได้ในวันสองวันหรอก ใช้เวลาเป็น 10 ปี ก็ต้องใช้ แต่ใช้ยังไง ให้แก้ได้จริง! ไม่ใช่แก้ปุ๊บ ๆ แล้วก็ล้มไป เพราะตอนนี้หากฐานไม่แน่นจริง จะไปเจอปัญหาใหม่ คือ GMOs ซึ่งจะร้ายแรงกว่าเดิม ปัญหาสารเคมีเนี่ย เรารู้เท่าทันมันแล้ว แต่ GMOs ยังไม่รู้ทัน มันจะอันตรายมาก ต้องสู้สองทาง คือ ยั้งให้อยู่และหาทางเลือก หากพลาดอาจถึงสิ้นชาติทีเดียว ชาวบ้านจะแพ้เลย น่าห่วง GMOs ปลูกเมล็ดเดียวจะกระจายไปทั่ว คุมไม่อยู่ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้! แล้วผลกระทบเป็นลูกโซ่ เมื่อไม่รู้แล้วไปเสี่ยงทำไม เสี่ยงในเรื่องที่บริษัทที่อเมริกามีสิทธิบัตรหมดทุกอย่าง ไม่มีทางชนะ ไม่มีทางกำไร มีแต่จะขาดทุน
            กลุ่มนักเรียน โรงเรียนชาวนา ยังสร้างเครือข่าย ติดต่อเฉพาะในกลุ่มเดียวกัน เช่น ไปต่อในอำเภออื่นที่มีโรงเรียนชาวนาด้วยกัน มีกระบวนการเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผลัดกันไปเยี่ยมทุก 3 เดือน คนที่มีกระบวนทัศน์เดียวกันจะกลมเกลียวกันมาก ชาวนาทั่วไปในหมู่บ้านเดียวกันยังไม่เห็นกลมเกลียวแบบนั้น แต่เรากำลังพยายามจะต่อไปถึงเด็ก ๆ ซึ่งสมองยังไม่ถูกล้างมาก ให้เด็กมาร่วมกิจกรรม ให้เห็นคุณค่าในสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ ให้เขาภูมิใจ ตรงนั้นผมยังเห็น ส่วนคนอายุกลาง-แก่ เป็นไม้แก่ดัดยาก
เราไม่เก่งเรื่องสังคม เราเก่งเรื่องเทคโนโลยีเกษตรยั่งยืน เราไม่ได้เรียนรู้เรื่องสังคมเลย แทบทุกคนจบมาสายเทคนิคและวิทยาศาสตร์ มีผู้จัดการคนเดียวจบสายสังคมฯ กว่าที่เราจะรับความคิดว่าเรื่องสังคมฯ มันจะแก้ปัญหาของชาวนาได้ ใช้เวลานาน   ต้องลดความเป็น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (specialist) ของเราลงเยอะเลย จนยอมเลยว่า ทำแล้วขยายตัวไม่ได้ เช่น เอาเรื่องตลาด (เป็นตัวนำ) ก็แล้ว เอามาตรฐานอินทรีย์ให้ส่งออกนอกได้ก็แล้ว มันไม่ได้ขยายจำนวนชาวนาอินทรีย์ ทั้ง ๆ ที่ตลาดดีกว่า ผลิตกันไม่ทันตลาด มันยังไม่ขยาย   คิดดูซิ คนน่ะ ที่ไหนมีบ้างที่ตลาดขยายแล้วคนไม่ทำให้ จนเรายอม คิดว่าไม่ไหวแล้ว พองานวิจัยออกมาเราจึงรู้ว่าแบบนี้เอง กระบวนทัศน์นี่เอง ถ้าเราไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์จะเปลี่ยนอะไรไม่ได้ พอดีผมเคยไปบวชมา เลยได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ถ้าเราไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์เราไม่มาทำ NGO หรอก อยู่ทำธุรกิจที่บ้านเอาเปรียบชาวนาต่อไปดีกว่า บ้านผมเป็นเจ้าของที่ดินใหญ่ ร่ำรวยจากเป็นเจ้าของที่นามา 3 ชั่วคน ถ้าเราไม่เปลี่ยนกระบวนทัศน์เราก็ยังเอาเปรียบชาวนาต่อไป เพราะคิดว่าสบายดี พอเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เลยคิดว่าต้องมาใช้หนี้ชาวบ้าน มันจะคิดคนละแบบเลย มีความสุขที่ใช้หนี้ชาวบ้าน ส่วนชาวบ้านเองก็ถูกล้างสมองให้เอาเปรียบกันเอง เขาก็จะเอาเปรียบกันเอง คือ ไม่ได้คิดจะช่วยกันหรอก ที่ถูกเอาเปรียบ คือคนที่ยังเอาเปรียบใครไม่ได้ ยังไม่มีโอกาส หากมีโอกาสก็จะเอาเปรียบเหมือนเขานั่นแหละ เพราะฉะนั้นชาวบ้านไม่ใช่บริสุทธิ์ เพราะถูกล้างสมอง จนกระทั่งเป็นคนที่ไม่เป็นชาวบ้านอย่างในอดีตแล้ว ทำอย่างไรให้เขากลับเป็นชาวบ้านเหมือนเดิม คือต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้เป็นแบบแต่ก่อน ที่เคยดีให้กลับคืนมา เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้
พอปีกลายเราทำโรงเรียนชาวนาได้ผลอย่างที่เล่า เลยเขียนโครงการเรื่องการจัดการความรู้มาขยายทำโรงเรียนชาวนา 4 อำเภอ เป็นจุดเปรียบเทียบกันว่า แต่ละวัฒนธรรม ลาว 2 กลุ่ม เขมร 1 ไทย 1 ถ้าเราเอากระบวนการโรงเรียนชาวนานี้ไปใช้จะได้ผลเหมือนกันไหม เราเชื่อในกระบวนการนี้ว่ามันสามารถจะเข้ากับวัฒนธรรมทุกกลุ่มได้ มันจะสามารถไปเปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้ เราก็จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ชาวนาเป็นการพิสูจน์ จึงเลือกเอาที่มันแตกต่างทั้งภูมิประเทศ ชุมชน วัฒนธรรมให้แตกต่างกันไปเลย โดยเอาคนของเราเอาไปทำงานด้วย เป็นคุณอำนวย ซึ่งได้ผล แต่ยังไม่ได้สรุป เพิ่งทำได้ 6 เดือน
                        กระบวนทัศน์เดิมของชาวนานี้เขาจะร่วมมือกัน และมองเห็นว่าจุดยืนเขาอยู่ตรงไหน กระบวนทัศน์ปัจจุบันจะแข่งขันกันโดยไม่เห็นอะไรเลย เห็นแต่เงิน เรื่องของวัตถุนิยม
                        เรากำลังศึกษาอยู่ว่า เมื่อกระบวนทัศน์เปลี่ยนแล้ว อะไรจะเปลี่ยนบ้าง แต่วัฒนธรรมจะดึงเรียกกลับสิ่งที่ตัวเองมีซึ่งหลากหลาย กลับคืนมา คุณค่าแท้เขาจะดึงกลับมา ซึ่งมันมีความหลากหลาย ไม่ใช่ monoculture (วัฒนธรรมเดี่ยว) ทุกคนภูมิใจ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน มันจะเกิดขึ้นมา เรื่องพวกนี้ผมยังเข้าไม่ค่อยถึง ผมไม่ได้เรียนมาทางสังคมฯ ผมฝันว่าชาวบ้านน่าจะฟื้นเรื่องศักดิ์ศรี ถ้าชาวบ้านรู้สึกว่าตัวเองไม่มีศักดิ์ศรี ก็จะแก้ปัญหาชาวบ้านไม่ได้จริง ศักดิ์ศรีกินไม่ได้ก็จริง แต่มันเป็นคุณค่าสุดท้ายแล้วล่ะ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีศักดิ์ศรี ปัญหาอื่นจะหมดไปเลย ไม่งั้นจะมีปมด้อย คนมีปมด้อยนี่ยังไงก็ต้องพึ่งคนอื่นเขา เช่น ปมด้อยว่าไม่จบปริญญา ว่าตัวเองไม่ได้เรียนสูงๆ ว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ สารพัดปมด้อย ถ้าเรามีศักดิ์ศรีก็จะทำให้คิดได้ว่าไม่ต้องคิดเรื่องปมด้อย เพราะเรามีอย่างอื่นตั้งเยอะ ทำไมต้องไปพูดถึงเรื่องนี้ (ที่เป็นปมด้อย) เรื่องเดียวเท่านั้น เราต้องภูมิใจในถิ่น รู้ประ
หมายเลขบันทึก: 7531เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2005 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท