บทเรียน Mobile KM จากครั้งที่ 1/2550 สู่ครั้งที่ 2/2550


อาจารย์ beeman (แกนนำ Mobile KM) กรุณาช่วยเพิ่มเติมในจุดที่ยังไม่กระจ่างให้ผมด้วยครับ ขอบคุณครับ

         ผมได้เกริ่นนำไว้ในบันทึกที่แล้ว (Link) ว่าพอลงมือปฏิบัติจริงนั้นไม่ง่ายอย่างที่เป็นแนวความคิด

         ปัญหาใหญ่ ๆ ที่เจอก็คือ

         1. เกิดความไม่ลงตัวในการแบ่งเวลากันใช้ห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนระหว่างทีมงานจากคณะศึกษาศาสตร์ จาก GIS และจาก QAU นอกจากนี้ความเร็วของ internet ก็มีปัญหา (ช้ามาก)

         2. เกิดความไม่ลงตัวในการแบ่งเวลาให้กับผู้นำชุมชนมาเข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างทีมงานจากคณะพยาบาลศาสตร์ จาก GIS และจาก QAU

         3. เกิดความไม่ลงตัวในการแบ่งเวลาให้กับ IT man ของชุมชน ระหว่างทีมงานจากคณะศึกษาศาสตร์ จาก GIS และจาก QAU

         ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ในระยะแรกผมก็รู้สึกหนักใจมาก แต่ว่าโชคดีที่มี beeman ไปด้วย จึงมีคนช่วยคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ได้บทเรียน และก็ไม่ผิดหวังครับ ได้มองเห็นแนวทางต่อไปอย่างน่าพอใจ

         ผมจะไม่ขอเล่าว่าได้แก้ปัญหาในครั้งที่ 1 นี้อย่างไร แต่จะขอเสนอว่าในครั้ง (ที่ 2) ต่อไปควรจะร่วมมือกันอย่างไรและควรเตรียมการกันอย่างไร ดังนี้

         1. QAU และ GIS ควรแยกจากศึกษาศาสตร์และมาเตรียมห้องของตัวเองเพื่อเปิดโอกาสให้คณะศึกษาศาสตร์ได้ใช้ห้องคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเต็มที่ทั้ง 2 วัน (ตามเดิม)

         2. QAU และ GIS ใช้ห้องร่วมกันซึ่งอาจเป็นห้องเรียนธรรมดา แต่ต้องเตรียม Computer notebook (Projector เครื่องเสียง จอ และเอกสาร) ไปให้พร้อมสำหรับฉาย VCD หรือ Power Point slide (พยายามจัดให้เสมือนเป็น common room ของ Mobile unit ในบรรยากาศสบาย ๆ)

         3. กลุ่มเป้าหมายของทั้ง QAU และ GIS คือผู้นำชุมชน (ประมาณ 10 คน) และ IT man ของชุมชน (จากโรงเรียน 1 คน จาก อบต. 1 คน จากสถานีอนามัย 1 คน)

         4. GIS มุ่งเรื่องทำความเข้าใจการประยุกต์ใช้ GIS ส่วน QAU มุ่งทำความเข้าใจเรื่อง KM concept และ blog

         5. QAU ควรร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์ในการทำความเข้าใจเรื่อง KM concept โดยในวันเสาร์ประมาณ 11.00 น. (หลังจากร่วมกันสกัดประเด็นปัญหาสำคัญได้แล้ว) ให้ทีมจากคณะพยาบาลศาสตร์พาผู้นำชุมชนมาที่ห้องของ QAUและGIS (common room) เพื่อชม VCD "เสียงกู่จากครูใหญ่" และช่วงเช้าวันอาทิตย์นัดมาดู VCD เกี่ยวกับ KM (ที่ พิจิตร ที่ รพ. บ้านตาก และที่ รร. ชาวนา) เพื่อสกัดองค์ความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของตนเอง (เพิ่มเติม-หลังจากที่ตัวเองได้ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาของตัวเองกับทีมคณะพยาบาลศาสตร์เสร็จแล้ว-เพื่อให้ได้มุมมองใหม่จากผู้อื่นด้วย) (ชม VCD แล้วกลับมาล้อมวงพูดคุยกันต่อที่ห้องของคณะพยาบาล ศาสตร์โดยมีทีม NUKM เข้าร่วมเสวนาด้วย)

         6. ในช่วงแรกนี้ทีมจาก GIS และ QAU (NUKM Team) ควรหาโอกาสออกสำรวจกับทีม Mobile unit เพื่อเตรียมความพร้อมกับพื้นที่ก่อน โดยพุ่งเป้าไปที่ผู้นำชุมชนและ IT man

         7. ทีม Mobile unit ของ มน. ท่านใดที่ว่างจากภารกิจก็ขอเชิญมาทำความเข้าใจเรื่อง KM และ blog (รวมทั้งเรื่อง GIS) ร่วมกันที่ห้องของ QAU และ GIS (common room)

         เป้าหมายที่สำคัญของ Mobile KM ในแต่ละครั้ง (KPI) คือ

         1. ผู้นำชุมชนได้แรงบันดาลใจจาก “เสียงกู่จากครูใหญ่” ได้ KM concept จากกรณี KM ที่พิจิตร ที่ รพ. บ้านตาก และที่ รร. ชาวนา (อย่างน้อย 5 คน)

         2. IT man ของชุมชนสามารถเป็นสมาชิกของ Gotoknow และสามารถติดต่อ ลปรร. กับ มน. และชาว Gotoknow ทั้งมวลได้ (อย่างน้อย 2 คน จาก อบต. 1 คน จากโรงเรียน 1 คน)

         3. ชาว มน. ที่ร่วม Mobile unit จะคุ้นเคยกับ KM concept มากขึ้นและสมัครเป็นสมาชิก Gotoknow มากขึ้น และนำความรู้ความเข้าใจกลับไปประยุกต์ใช้ที่คณะตนเอง (อย่างน้อย 5 คน)

         4. NUKM Team (นำโดย QAU) เข้มแข็งขึ้น (อย่างน้อย 1 คน)

         อาจารย์ beeman (แกนนำ Mobile KM) กรุณาช่วยเพิ่มเติมในจุดที่ยังไม่กระจ่างให้ผมด้วยครับ ขอบคุณครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 75269เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ติดตามอ่านอยู่ 2-3 บันทึกที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
  • ความจริงผมตั้งใจจะเขียนเรื่องเหล่านี้อยู่..แต่ยังเขียนไม่สำเร็จ
  • พอท่านอาจารย์วิบูลย์มาเขียน..ผมก็ดีใจครับ
  • ผมเชื่อมโยงเรื่องนี้ไว้แล้ว..ครับ
  • โดยออกไปสำรวจพื้นที่ออกหน่วยครั้งที่ ๒
  • และหวังว่าครั้งที่ ๒ เราจะทำได้ดีกว่าครั้งที่ ๑ มาก แบบหวังผลเกืน ๑๐๐ % ทีเดียว
  • แต่เกิดปัญหาใหม่ครับ..ยังคิดแก้ไม่ได้..
  • เดี๋ยวค่อยไปเขียนใหม่ในบันทึกต่อไป..แล้วเชื่อมโยงทั้งหมด
  • GIS คืออะไรครับ
  • ติดงานไม่ได้ไปเลยไม่ทราบ
  • ขอบคุณครับ
  • ถ้าได้ปรึกษาร่วมกันแต่เนิ่นๆน่าสนใจมากเลยค่ะ
  • ครั้งต่อไปน่าจะสนุกและได้อะไรมากขึ้น
  • น้องปืนจ้ะ
  • GIS  ย่อมาจาก REGIONAL CENTER OF GEO-INFORMATIC, LOWER NORTHERN REGION
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สำนักงานตั้งอยู่ที่ตึก CITCOMS ชั้น 3 จ้ะ<Web Site> 
  • คราวหน้าไปด้วยกันนะ  

เพิ่มเติมเรื่องชื่อเล็กน้อยนะครับ
จริงๆแล้วชื่อย่อศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร
REGIONAL CENTER OF GEO-INFORMATICS AND SPACE TECHNOLOGY, LOWER NORTHERN REGION NARESUAN UNIVERSITY

ตัวย่อคือ CGISTLN

GIS = Geographic Information System (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)

แต่ทางศูนย์ CGISTLN ทำงานเกี่ยวกับ GIS จึงมักจะเรียกกันว่าศูนย์ GIS ครับ

  • ขอบคุณ คุณทวีสิน  มากนะคะนอกจากปืนแล้วตูนก็รู้น้อยทำให้ได้รู้จัก GIS เพิ่มมากขึ้นไปด้วยค่ะ

เรียนท่านอาจารย์วิบูลย์

  • ผมเขียนบันทึกเพิ่มเติมไว้ ที่นี่ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท