3 ขั้นตอนของไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน


เป็นกรอบคิดหลัก คือระยะการจัดการชุมนุม (Community Organization) ระยะการเรียนรู้ปัญหาของชุมชน (Problem based Learning) ร่วมกันของชุมชนและทีมนักวิจัย และระยะการเรียนรู้ในการวางแผน นำแผนไปสู่ปฏิบัติจริง และการติดตามประเมินผล (Planning, Implementation and Evaluation Learning)

     ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ซึ่งมี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ เป็นกรอบคิดหลัก คือระยะการจัดการชุมนุม (Community Organization) ระยะการเรียนรู้ปัญหาของชุมชน (Problem  based  Learning) ร่วมกันของชุมชนและทีมนักวิจัย และระยะการเรียนรู้ในการวางแผน นำแผนไปสู่ปฏิบัติจริง และการติดตามประเมินผล (Planning, Implementation and Evaluation Learning) โดยมีลำดับขั้นตอนย่อย ๆ โดยย่อดังนี้


     1. ระยะการใช้แนวคิดในการจัดการชุมนุม (Community Organization) ซึ่งเป็นระยะก่อนการทำวิจัย  (Pre-Research Phase)  ได้แก่ โดยจะประกอบด้วย ขั้นการเลือกเฟ้นชุมชนและพยายามการเข้าถึงชุมชน ขั้นการสร้างความคุ้นเคยขอวตัวนักวิจัยกับชุมชน ขั้นการแสวงหาข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน และขั้นการขายแนวคิด  PAR  แก่ชุมชน ซึ่งอาจจะต้องใช้เทคนิคหลาย ๆ ประการ ที่ผมใช้จะเน้นการพูดคุยเสวนาวงเล็ก ๆ ใช้ภาษาชาวบ้านที่สื่อกันง่าย ๆ แล้วขยายเป็นวงใหญ่ขึ้น เครื่องมือที่สำคัญคือการจับประเด็นที่สามารถสร้างพลัง (Empowerment) แก่ชุมชนได้ แล้วนำมาตีแผ่ ก่อนขยายไปสู่ประเด็นปัญหาอื่น ๆ ในภาพรวม

     2. ระยะการเรียนรู้ปัญหาของชุมชน (Problem based Learning) ร่วมกันของชุมชนและทีมนักวิจัย ซึ่งจะเป็นระยะเริ่มต้นของการทำวิจัยจริง ๆ (Research Phase) โดยจะเริ่มต้นด้วยการศึกษาวิเคราะห์ชุมชนร่วมกับชุมชน ขั้นต่อไปคือการพัฒนาทีมวิจัยในพื้นที่ และเริ่มการวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการ PAR และร่วมกำหนดแนวทางแก้ไขเสียใหม่ ก่อนที่จะ ได้ดำเนินการารออกแบบการวิจัยและเก็บข้อมูลที่เหมาะสม ต่อด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมของชุมชน เน้นว่าเพียงแค่การวิเคราะห์ ยังไม่ควรอภิปรายผล หรือยังไม่ต้องสอดแทรกประเด็นความคิดของทีมนักวิจัยเข้าไป

     3. ระยะการเรียนรู้ในการวางแผน นำแผนไปสู่ปฏิบัติจริง และการติดตามประเมินผล (Planning, Implementation and Evaluation Learning) เมื่อได้ผ่านระยะที่สองและได้มีการเรียนรู้ปัญหาของชุมชนร่วมกันแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องพัฒนาทีมวิจัยในพื้นที่พร้อม ๆ กับทีมนำของชุมชนในการวางแผนชุมชน การกำหนดโครงการหรือกิจกรรม รวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ของแผนงาน และรูปแบบวิธีการในการเชื่อมต่อเพื่อแสวงหางบประมาณ แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะคอยสนับสนุน รวมถึงการวางแผนเพื่อติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการที่จะเกิดขึ้น และเมื่อได้มีการนำไปปฏิบัติจริงแล้วก็จะมีการกำหนดทีมงาน วางตัวบุคคลที่รับผิดชอบ และทีมงานในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานของทีมปฏิบัติเป็นระยะ ๆ ตามที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ และได้นำมาเสนอต่อที่ประชุม เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา ก่อนที่จะวนกลับไปในระยะที่สองอีกครั้งหากมีความจำเป็น และจะวนต่อไปเรื่อย ๆ เรียกว่า "เรียนรู้ไป พัฒนาไป"

     ในปัจจุบัน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ในภาพรวมจะยังอยู่ที่ระยะที่ 1 และกำลังจะเข้าสู่ระยะที่ 2 อย่างเต็มรูปแบบ ใน 3 พื้นที่หลัก คือ ชุมชนบ้านเกาะเรียน ชุมชนบ้านลำกะ และชุมชนบ้านลานช้าง จากนั้นพื้นที่อื่น ๆ ก็จะได้หมุนวนเข้าสู่ระยะที่ 2 ในช่วงเวลาที่ถัดไปเช่น ชุมชนเทศบาลปากพะยูน ชุมชนเทศบาลเขาชัยสน และชุมชนตำบลนาปะขอ (บางหมู่บ้าน) รวมถึงมีหลาย ๆ พื้นที่ที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการในระยะที่ 1 ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 7523เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท