พหุภาคีการพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช


นับว่าผมคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้เข้าไปเห็นสิ่งดีๆที่ภาคประชาชนเขาขับเคลื่อนกันอยู่ ได้เรียนรู้ประสบการณ์อันสูงค่าจากเขา ผมว่าถ้ามีการรับลูกและส่งลูกกันอย่างนี้ การทำงานเพื่อพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชของเราก็จะได้ไปในทิศทางดียวกัน

ผมรับปากท่านว่าจะนำเสนอสาระการพูดคุยแนวทางการเคลื่อนงานพัฒนาของภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ประชุมไปเมื่อ 26 ม.ค. ที่ห้องประชุม พมจ.นครศรีธรรมราช ต่อจากบันทึกก่อนนี้ ซึ่งนับว่าผมโชคดีที่ไม่ต้องทำการบ้านมาก เพราะผมได้รับเอกสารบันทึกการประชุม เกี่ยวกับการหารือระหว่างคุณเอนก นาคะบุตร ที่ปรึกษา รมต.พม. กับพหุภาคีการพัฒนาในจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้จาก คุณรงค์ คงมาก ผู้ประสานงาน สกว.5 จังหวัดภาคใต้

ผู้เข้าร่วมประชุมในวันนั้น ก็มีพี่เอนก นาคะบุตร ที่ปรึกษา รมต.พม. นายธีรศักดิ์ และคณะจาก พมจ.นครศรีฯ 5 ท่าน ผู้แทนจากมูลนิธิ มสช. 3 คน นำโดยคุณดวงพร คุณพัชนี จาก พอช. คุณมานะจาก สสส. คุณภีม จาก มวล. ผู้ใหญ่โกเมศ จากเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง ผู้แทน สช. 3 คน อ.บุญธรรม จากมหาวิชชาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย พระสุวรรณ วัดป่ายาง ผู้แทนเครือข่ายกลุ่มสัจจะฯ คุณณรงค์ คงมาก จาก สกว. และผมเอง จาก กศน. เห็นคนที่มีความหวังดีต่อจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วรู้สึกดีใจมากว่าเรามีเพื่อนร่วมเส้นทางมากมายครับ

สาระการพูดคุยได้มีการต่อภาพการเคลื่อนงานภาคประชาชนให้เห็นภาพ ดังเช่นเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนสามารถถจัดทำแผนแม่บทชุมชนได้ประมาณ 72 ตำบล จากจำนวน 165 ตำบล ซึ่ง 72 ตำบลนี้ก็มีระดับความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน (ยังไม่ได้จัดเกรดระดับความเข้มแข็ง) เครือข่ายขบวนสวัสดิการของ ศตจ.ปชช.ที่ พอช.เป็นพี่เลี้ยง มีพื้นที่ปฏิบัติการในจังหวัดนครศรีธรรมราช 18 ตำบล โดยมีตำบลนำร่อง 8 ตำบล (และคาดว่าทั้ง 18 ตำบลอยู่ในพื้นที่ 72 ตำบลที่จัดทำแผนแม่บทชุมชน) เครือข่ายกลุ่มสัจจะมีพื้นที่ปฏิบัติการ 14 หมู่บ้าน กระจายในพื้นที่ 8 อำเภอ ทุกกลุ่มมีระบบการจัดสวัสดิการชัดเจน แผนงานล่าสุดของเครือข่ายคือการจัดตั้งหมู่บ้านอริยะโดยใช้ชุมชนวัดป่ายาง เริ่มต้น และขณะนี้วัดป่ายางเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐฏิจพอเพียงร่วมกับเครือข่ายกสิกรรม ไร้สารพิษแห่งประเทศไทย เครือข่าย ย-ม-ม-นา ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปฏิบัติการแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองระดับหมู่บ้าน 400 หมู่บ้าน ในปี 2549 อีก 600 หมู่บ้าน ในปี 2550 และอีก 551 หมู่บ้าน ในปี 2551 และในส่วนของ อ.ภีม  จาก มวล.ก็เคลื่อนงานวิจัยและKM  อยู่ในหลายพื้นที่ เช่น ที่ ต.กะหรอ ต.บางจาก ต.ท่าไร่ และ ต.มะม่วงสองต้น

หลังจากที่แต่ละเครือข่าย แต่ละภาคส่วนนำเสนอภาพการเคลื่อนงานของตนในพื้นที่และประเด็นใดแล้ว ก็ทำให้เห็นประเด็นการขับเคลื่อนที่ชัดเจนชัดเจนร่วมกันคือเรื่องสวัสดิการชุมชน  ึ่งที่ประชุมก็มีความเห็นว่าจะใช้ประเด็นสวัสดิการชุมชนนี้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ นำไปสู่การเรียนรู้ประเด็นอื่นเนื้อหาอื่นแบบเชื่อมโยงและบูรณณาการการทำงาน และการเรียนรู้ร่วมกัน

เมื่อได้ต่อภาพการเคลื่อนงานพัฒนาภาคประชาชนเช่นนี้แล้ว ซึ่ง พี่เอนกเองนั่นแหละครับที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยต่อภาพร้อยเรียงให้ที่ประชุม ได้เห็นภาพดังกล่าว จากนั้นพี่เอนกก็ได้เสนอทิศทางการเคลื่อนงานภาคประชาชนในประเด็นสวัสดิการโดยให้จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดนำร่องในภาคใต้ แนวทางคือ อปท. อบต. เทศบาล และอบจ. ต้องเข้ามาร่วมปฏิบัติการอยางจริงจัง โดยทีกระทรวง พม. จะทำภารกิจ  1.ผลักดันให้มี กลไกของ กองทุนสวัสดิการชุมชนระดับจังหวัด 2.มีเงินกองทุนลงมาสนับสนุนอย่างชัดเจนทุกปีโดยเน้นการสมบทจาก อปท.และชุมชนท้องถิ่น 3.เชื่อมโยงสู่การจัดตั้งสภาชุมชนในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญและ ปฏิรูปการเมือง

นับว่าผมคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้เข้าไปเห็นสิ่งดีๆที่ภาคประชาชนเขาขับเคลื่อนกันอยู่  ได้เรียนรู้ประสบการณ์อันสูงค่าจากเขา ผมว่าถ้ามีการรับลูกและส่งลูกกันอย่างนี้ การทำงานเพื่อพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชของเราก็จะได้ไปในทิศทางดียวกัน

ดีใจจริงๆที่เห็นถึงการผนึกกำลังกันจากทุกฝ่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังมีรายละเอียดที่เป็น roadmap การทำงานร่วมกัน ผมจะได้กล่าว เป็นบันทึกต่อไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 75216เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอชื่นชมและให้กำลังใจครับ
  • จะตามเข้ามาเรียนรู้ในบันทึกต่อๆ ไปนะครับ
  • ึ่งที่ประชุมก็มีความเห็นว่าจะใช้ประเด็นสวัสดิการชุมชนนี้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ นำไปสู่การเรียนรู้ประเด็นอื่นเนื้อหาอื่นแบบเชื่อมโยงและบูรณณาการการทำงาน และการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ขอให้พบกับความสำเร็จค่ะ

น้องสิงห์ป่าสักครับ

           ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม อยากจะบอกน้องว่าได้ประสบการณ์ของน้องนั่นแหละครับ เฉพาะอย่างยิ่งตอนที่น้องเป็นครู ศศช.มาประยุกต์ครับ อ่านแล้วอ่านอีกยิ่งอ่านยิ่งเกิดอุดมการณ์ดีครับ ผมให้น้องที่ทำงานเขาเข้าไปอ่านกันครับ KM ทำดว้ยใจ อุดมการณ์ต้องร่วมกันสร้างครับ

อ.อัมพร ครับ

            ผมเชื่อว่าลักษณะอย่างนี้อย่างที่ทำเรื่องหนึ่งแต่มันขยายขอบข่ายไปสู่เรื่องอื่นคงมีเยอะมากแหละครับ นครฯกำลังจะทำเรื่องใหญ่เรื่องนี้ดูครับ ไม่รู้จะหัวหกก้นขวิดอย่างไรอยู่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท