ธรรมวัยเกษียณ : อาศรม


   เมื่อผมเข้าไปศึกษาแนวคิดบางอย่างในฮินดูธรรม มีฮินดูธรรมอันหนึ่งที่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าผมพอใจกับเรื่องดังกล่าวนั้นคือ อาศรม โดยที่หลักนี้เป็นหลักสำคัญกับการครองชีวิตแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงวัยคือ

   ๑. พรหมจารี  วัยสำหรับการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพียรศึกษาทั้งคดีโลกและคดีธรรมด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวทางเพศ มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ตลอดถึงผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย (ประมาณ อายุที่ ๑๒-๒๕ ปี)

   ๒. คฤหัสถ์ คือ วัยสำหรับการมีเหย้ามีเรือน หลังจากที่ศึกษาหาความรู้มาอย่างเพรียบพร้อม ก็ต้องสืบทอดวงศ์ตระกูล เลี้ยงดูบุตรธิดาและบริวารให้อยู่อย่างเป็นสุข ซื่อสัตย์ยุติธรรม มีความอดทนในการทำงาน (ประมาณ อายุที่ ๒๖-๕๐ ปี)

   ๓. วานปรัสถ์ คือ วัยของการสละสิ่งต่างๆให้กับบุตรธิดาให้บริหารจัดการกันเอง ส่วนตนเองเข้าไปอยู่ป่า ฝึกจิตให้บริสุทธิ์ หรือหาความสงบทางจิตเพื่อมุ่งหมายสิ่งสูงสุดในความเชื่อของตน (ประมาณ อายุที่ ๕๑-๗๕ ปี)

   ๔. สันยาสี คือ วัยของการพยายามให้บรรลุความหลุดพ้น ไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นวัยที่พร้อมจะให้ความรู้กับผู้ฝึกฝนทั้งหลาย (ประมาณ อายุที่ ๗๖ เป็นต้นไป)

------------------

   ข้อคิด วัยเกษียณอายุราชการของไทยที่ ๖๐ หรือเลยกว่านั้น น่าจะเป็นวัยวานปรัสถ์และสันยาสี หากนำหลักนี้ไปใช้ก็หมายความว่า เป็นวัยที่มีชีวิตอยู่เพื่อให้ไม่ใช่มีชีวิตอยู่เพื่อเอา เพราะไม่รู้จะเอาอะไรอีก เหลืออีกไม่เท่าไรก็ไปจากกัน หากจะยังคงเหลือให้เหลือเพียงรอยยิ้ม ความอิ่มใจ หรือรอยประทับในใจของผู้ที่จะเดินตามต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมวัยเกษียณ
หมายเลขบันทึก: 75210เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท