ข้าวใหม่ ทำไมปลาถึงมัน


เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ห่วงโซ่อาหารจากธรรมชาติ ที่ท้องถิ่นเรายังคงคำว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ได้เท่าทุกวันนี้ น่าจะเรียกรวมๆว่าคุณของแผ่นดินดีไหม จะเห็นว่าคนอีสานนั้นมีต้นทุนชีวิตอยู่ไม่น้อย ถ้ายอมเรียนรู้วิธีที่จะอยู่ที่จะพัฒนาแผ่นดินเกิด

ข้าวใหม่เมื่อไหร่

ปลามันเมื่อนั้น          

 คำนี้ไม่ได้พูดเล่นๆ แต่คงเป็นกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ ที่ให้ความจริงว่าในช่วงที่ข้าวใหม่เป็นระยะที่ข้าวอุดมไปด้วยวิตามิน มีคุณสมบัติหอม นิ่ม มันอร่อย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิด้วยแล้ว เอาข้าวใหม่มาทำข้าวต้มแม่คุณเอ๋ย..แค่โรยเกลือปะแล่มๆก็อร่อยได้ ส่วนปลามันนั้น หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวเรียบร้อย ขนข้าวใส่ยุ้งฉางแล้ว ก็จะทำการสูบน้ำจากบ่อที่ขุดไว้ในนา ฤดูน้ำหลากจะนำปลาธรรมชาติมาตกคลักอยู่ที่นี่ ในช่วงที่นอนนาเกี่ยวข้าว ได้อาศัยปลาเหล่านี้เป็นอาหารแทบทุกมื้อ ก่อนจะขึ้นนาเข้าบ้าน เขาก็จะสูบบ่อจับปลากัน บางครัวเรือนก็ทำเป็น ปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว ปลาร้า เป็นการพึ่งตนเองด้านโปรตีนสไตส์ไทอีสาน ปลาในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้จะอ้วนท้วนไขมันเต็มพุง นอกจากไม่คาวมากแล้วยังมีรสอร่อยว่าฤดูกาลอื่น ชาวเราจึงสรุปตรงกันว่าเป็นช่วง ข้าวใหม่ปลามัน          

สมัยนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าหาได้สะดวก ชาวทุ่งกุลาร้องไห้จะว่าจ้างรถแมคโครให้ขุดสระน้ำไว้ในท้องนามากขึ้น  นอกจากจะเก็บน้ำไว้ใช้สอยแล้ว บางจุดที่เป็นแหล่งรวมปลาธรรมชาติ จะมีรายได้เสริมจากส่วนนี้ปีละหลายหมื่นบาท เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ห่วงโซ่อาหารจากธรรมชาติ ที่ท้องถิ่นเรายังคงคำว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ได้เท่าทุกวันนี้ น่าจะเรียกรวมๆว่าคุณของแผ่นดินดีไหม  

ะเห็นว่าคนอีสานนั้นมีต้นทุนชีวิตอยู่ไม่น้อย ถ้ายอมเรียนรู้วิธีที่จะอยู่ที่จะพัฒนาแผ่นดินเกิด กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดการความรู้ก็จะก่อหวอดขึ้นมาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงของคนอีสานเอง เข้าทำนองไฟไหม้บ้านไหน ก็เอาน้ำในพื้นที่ตรงนั้นดับ ไม่ใช่วิ่งไปขนน้ำมาจากกรุงเทพ หรือแห่นางแมวขอฝน หรือวิงวอนร้องขอฝนเทียม ทั้งๆที่ฝนตกลงมาให้ฟรีๆปีละไม่น้อยล้านแกลลอน แต่เราไม่ใส่ใจเตรียมภาชนะมากักเก็บน้ำเอาไว้ เหมือนชาวทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีข้าวหอมมะลิกินและขาย มีปลากินและขาย

          

ช่วงนี้ถ้าใครสัญจรผ่านมาทางสาย สตึก - บรบือ ห่างจากสี่แยกอำเภอชุมพลบุรี ประมาณ200เมตร จะมีตลาดปลาที่เกิดขึ้นโดยพ่อค้าแม่ขายในท้องถิ่น ก่อนหน้านี้เป็นเพิงขายปลาเล็กๆ  ต่อมาขยายเป็นตลาดปลากลางทุ่งกุลาร้องไห้ มีคนแวะมาซื้อขายปลานานาชนิดกันไม่ขาดสาย เกิดระบบบริหารจัดการหลายแผนก มีพ่อค้าคนกลางไปเหมาสูบบ่อปลา ขนปลามาให้แม่ค้าประมูลซื้อไปแยกจำหน่ายในลักษณะต่างๆ เช่น ปลาสด ปลาแห้ง ปลาร้า มีมากมายหลายชนิดและขนาดให้เลือกกันทั้งวัน  2ข้างทาง รถจอดกันยาวเข้าๆออกๆ นับเป็นระบบวิสาหกิจชุมชนที่น่าจับตามอง          

บ่ายวันนี้ผมชวนนักศึกษาบูรณาการศาสตร์ไปลุย ให้ไปดูไปเห็นระบบเศรษฐกิจรากหญ้าจะจะกับตา เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ฉบับลูกทุ่ง ดูวิธีเขาบริหารจัดการกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย สังเกตจากการเข้าไปสอบถามข้อมูล ทุกคนจะเล่ารายละเอียดให้ฟังอย่างเต็มใจ อธิบายข้อต่อที่ละเปลาะๆว่าเชื่อมโยงกันขึ้นเป็นระบบที่เหมาะกับพวกเขาอย่างไร? 

เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าข้าวใหม่ปลามันแห่งทุกกุลาร้องไห้ คุณภาพคับหม้อจริงหรือเปล่า เราจึงเลือกซื้อปลาบู่ตัวโตๆมา2กิโล ราคา ก..ละ100บาท ซื้อปลาไหลตัวโตมา2กิโล ราคา ก..ละ120บาท ตั้งใจว่าเย็นนี้จะปิ้งปลาประชดแมว โอ๊ะไม่ใช่.. ปิ้งปลาไหลราดซอสญี่ปุ่น กับต้มยำปลาบู่ใส่ใบส้มเสี้ยว เอาให้เปี้ยวพอดี ซดร้อนๆในยามที่อากาศเย็นอย่างนี้ คงจะสร้างความอบอุ่นให้กระเพาะอิ่มและมีเรี่ยวแรงมานั่งเขียนบล็อก          

ถ้าเราไปซื้อปลามาต้มกินให้อร่อยเฉยๆก็ทำได้ แต่ถ้าจะมองอย่างนักจัดการความรู้ ก็มาคิดต่อไปได้อีกหลายโจทย์ เช่น 

  1. ลักษณะการขุดบ่อล่อปลา ควรมีรูปร่างลักษณะ ความลึกxกว้างxยาว แค่ไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด
  2. ขุดในลักษณะอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด เช่น คันดินที่ได้ ใช้เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก ปลูกเพิงไว้อาศัยทำกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เสริมต่างๆ
  3. ถ้ามีการเลี้ยงปลาในกระชังเสริมในบ่อที่ว่านี้จะมีความเหมาะสมแค่ไหนเพียงใด
  4. ถ้าจะเลี้ยงปลาแรด ปลาบึก ปลาซ๋งฮือ หลี่ฮือ ปลาอื่นๆร่วมด้วยจะมีความเป็นไปได้หรือไม่
  5. ถ้าใช้วิชาการประมงน้ำจืด เทคนิควิธีต่างๆเข้าไปเสริมจะเข้าไปในลักษณะไหนอย่างไร
  6. ค้นหาอะไรบ้างที่เป็นต้นทุนธรรมชาติที่ง่ายต่อการบริหารจัดการ อะไรบ้างที่ควรจะพัฒนาเป็นส่วนเสริมให้ได้ประโยชน์มากขึ้น
  7. พยายามมองให้ออกว่าจะต่อยอดเรื่องนี้ต่อไปให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้อย่างไร
  8. สุดท้าย เราจะเอาความรู้อะไรใส่ลงไปในบ่อดักปลาตำหรับทุ่งกุลาร้องไห้นี้

 เมื่อถึงตรงนี้ ทำให้ผมคิดถึงงานวิจัยเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะ ในการทำงานให้ดีขึ้น ที่ไม่ใช่การวิจัยเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีหรือค้นหาทฤษฎีใหม่ๆ จึงควรเริมต้นด้วยมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัยประเภทนี้ซึ่งจะพลอยทำให้การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยมีความระมัดระวังมากขึ้น และยังอาจจะส่งผลให้เห็นความจริงว่า การวิจัยเพื่อเอาไปแก้ปัญหานั้นต้องทำต่อเนื่อง ไม่ใช่เสร็จโครงการนี้ก็มองหาโครงการใหม่ ที่อาจจะไม่ต่อเนื่องจากเรื่องเดิมที่ทำอยู่ หรือเพียงเพราะวิ่งตามทุนวิจัยเป็นหลักใหญ่.  

      

                           ต้นและใบส้มเสี้ยว

      

หมายเลขบันทึก: 75189เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • มาดูข้าวใหม่ปลามันครับ
  • ที่บ้านพอเกี่ยวข้าวเสร็จ ปลาจะคึกคักมากเกี่ยวเสร็จจับปลาต่อ จับได้ไม่หมดก็ทำหลุมปลาครับพ่อ ปลาเล่นสไลเดอร์ลงหลุม เช้าไปดู จะจับ ต้องดูดีๆครับ จับมั่วอาจตายได้ งูแอบลงไปด้วย
  • ที่บ้านใส่ดินโคลนจากบ่ออื่นมาล่อปลา สาดลงไปในน้ำด้วยครับ ก่อนที่จะเอาดินโคลนไปล่อในหลุมและที่ทางสไลเดอร์ ปลาหมอบ้านผมมากกว่าปลาชนิดอื่น ที่เหลือเป็นปลาช้อน แถมด้วยงู ยิ้ม ยิ้ม
  • ขอบคุณมากครับพ่อสำหรับรูปเฉลยหมูเหมยซาน
 ที่นี่นิยมทำปลาหลุมเช่นกัน คงเป็นชุดภูมิปัญญาท้องถิ่น  แต่อธิบายแบบวิทยาศาสตร์ก็ได้

คุณพ่อครูบาขา.....(นับญาติเรียบร้อยแล้วนะคะ)

  • หว้าอยากทานต้มยำปลาบู่ใส่ใบส้มเสี้ยว ขอเปรี้ยวๆนะคะ
  • คุณพ่อครูบาทำให้หว้าคิดอะไรบางอย่างได้แล้วค่ะ   ถ้าตัดสินใจอย่างไรจะมารายงานค่ะ
  • พี่เดินมาบอกว่าตี 1 แล้วนะ  หว้าคงต้องลาไปนอนแล้วค่ะ  แต่ไม่รู้จะหลับลงหรือเปล่า  ร้านอาหารดังมากเลย   ตรงกับห้องนอนพอดี
สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

ใบส้มเสี้ยว ชาวบ้านเรียกว่า" ส้มพอดี" แปลกตรงที่จะใส่มากน้อยแค่ไหน ความเปรี้ยวจะมาตรฐาน ไม่มากหรือน้อยตามปริมาณ นับว่าแปลกมาก ให้รสกลมกล่อมกว่าน้ำมะนาว แต่รสชาดสูสีกับใบมะขามอ่อน แต่แปลกกว่าตรงที่ เปรี้ยวพอดี อย่างนี้ก็มีในโลกด้วย ใส่เมื่อไหร่ กลายเป็นต้มปลาสมุนไพรเมื่อนั้น

คนชอบเปี้ยว น่านำไปปลูกข้างครัวสัก 1 ต้น

อิอิอิ...นอนไม่หลับ หว้าเคยทานแต่ใส่ใบมะขามอ่อน เอ..ใบส้มเสี้ยวไม่เคยเห็นเลยค่ะ ต้องลองถามหาดูก่อนค่ะ จะปลูกไว้หลังบ้านเลย เสียงเริ่มเงียบแล้ว ราตรีสวัสดิ์ค่ะ (ชอบฟังเพลงนี้จริงๆเลย)

อรุณสวัสดิ์คะ ครูบาฯ

         อากาศเย็น ๆ ได้ซดน้ำต้มยำปลาบู่ สักเฮือก คงทำให้อุ่นขึ้นนะคะ

         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

ชอบอ่านของครูบา

ติดดิน ได้กลิ่นใบไม้ เข้าใจธรรมชาติ เป็นสุขใจค่ะ

อรุณสวัสดิ์คะ ครูบาฯ

         อากาศเย็น ๆ ได้ซดน้ำต้มยำปลาบู่ สักเฮือก คงทำให้อุ่นขึ้นนะคะ

         ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

ทักทาย อรุณสวัสดิ์ ทำไมลงท้ายราตรีสวัสดิ์

เราตัวตนเป็นตัวตั้ง หรือเอาเวลาเป็นตัวตัดสิน

P

  ดีใจที่อาจารย์ชอบอ่าน

ขอให้มีความสุขในการอ่านนะครับ

เราอยู่กับธรรมชาติ ถ้าเข้าใจ เข้าถึง ธรรมมะ +ชาติ

ก็สงบ เรียบง่าย สุข ได้แบบสะดวกสบาย

ใบส้มเสี้ยว  วัวชอบกิน บางทีกินเอาฝักแก่ๆ เมล็ดปนแปมากับมูลวัว เราเอาปุ๋ยไปใช้ เมล็ดก็จะงอกในแปลงผัก หรืองอกตามธรรมชาติ

คนส่วย ที่เลี้ยงช้าง เขาจะลอกเอาเปลือกต้นส้มเสียวมาทุบๆๆๆให้แผ่ออก เส้นใยจะแผ่เป็นผืนนิ่มใช้ปูบนหลังช้าง ก่อนที่จะเอา(แยง) ที่นั่งบนหลังช้างไปวาง/มัด/ผูก ให้เข้าที่ สักกะหลาดจากธรรมชาติช่วยป้องกันผิวหนังช้างไม่เสียดสีกับขาแยงที่ทำด้วยไม้ นี่คืองานวิจัยไทบ้าน ที่รู้คุณประโยชน์จากสิ่งรอบข้างรอบตัว

ส่วนชาวเราน่าจะช่วยวิจัยต่อเรื่องคุณค่าทางเภสัชหรือทางโภชนการ ท่านใดสนใจลองค้นคว้าดูนะครับ ถ้าต้องการต้นเล็กๆไปปลูก ปีนี้มหาชีวาลัยจะทำการเพาะไว้ 10,000 ต้น เราจะทำวิจัยเรื่องพืชอาหารสัตว์ที่คนเอามาใส่หม้อแกงได้ด้วย เห็นไหมครับโจทย์วิจัยที่อร่อยเป็นอย่างไร เอาอย่างนี้ดีไหมครับ อาจารย์ลูกหว้า..

ใบและดอกส้มเสี้ยว เข้ากับยุคเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปี่เป็นขลุ่ย  เป็นทางเลือกที่ดีในกรณีที่ช่วงมะนาวแพง หรือขาดตลาด ชาวบ้านก็จะใช้รสเปรี้ยวจากต้นไม้ชนิดต่างๆ เช่น จันทบุรี ใช้ยอดชะมวง คนอีสานมียอดไม้รับประทานเยอะ ยอดมะกอกเปี้ยวๆหอมๆ คนใต้ชอบยอดมะม่วงหิมพานต์ คนเหนือชอบยอดอะไรบ้างนะ ต้องถามอาจารย์หมอรวิวรรณ

ที่จริงผักยืนต้นในแต่ละท้องถิ่นมีความสำคัญมาก มีหมุนเวียนให้เก็บรับประทานได้ทั้งปี เช่น ยอด ดอก เพกา ดอก ฝักก่อน มะรุม ยอด ดอก ฝักอ่อนดอกแค ฯลฯ  ผักพวกนี้ปลอดสารพิษแน่นอน เพราะคงไม่มีใครอุตริไปฉีดยาใส่ปลีกล้วย ใช่ไหมครับ

ถ้ามีคนสนใจหัวข้อนี้  ก็สามารถหยิบมาเขียนเป็นบทความย่อยเสนอในเวทีบล็อกได้ ต้องการตัวแทนแต่ละภาคเขียนสะท้อนในมุมนี้  ใครสนใจยกมืขึ้น 1-2-3-4

โอ้โฮ้  มีหลายท่าน รีบๆปั่นเลยนะครับ ผักพื้นบ้านยืนต้น 4 ภูมิภาค

เรียน  ครูบาฯ

         ที่กล่าวว่า อรุณสวัสดิ์  เพราะคิดว่า ครูบาฯ คงจะตื่นแล้ว

         และที่ลงท้ายว่า ราตรีสวัสดิ์ ก็เพราะว่า ขอตัวไปนอนต่อหนะคะ

     อ้อ  หลาน ๆ กระโดดตัวลอยร้อง เย้ เลยค่ะ เมื่อรู้ว่า คุณตา อนุญาตให้ขี่นกกระจอกเทศด้วย  ทีนี้ ก็เหลือน่าที่คุณพ่อ คุณแม่ แล้วหละคะ ว่าจะมีโอกาสได้พาหลาน ๆ ไปเมื่อไหร่

ตามมารายงานตัวค่ะ ว่า ตอบคำถามคุณครูขจิต ถูกทั้ง 2 ข้อเลยค่ะ ดีใจมาก ถึง มากที่สุด ค่ะ

  • ทุกอย่างที่ครูบาเขียนในบันทึก  จะเข้ามาในชีวิตความเป็นอยู่ของครูอ้อยในไม่ช้า 
  • ครูอ้อยจะใช้ชีวิตในชนบทนั่นเองค่ะ

ข้าวใหม่  ปลาต้องมันค่ะ

ดีใจที่มีวันนี้ วันที่จะมีเพื่อนบ้านชื่อ ครูอ้อย
  • ทำให้ผมอยากไปเรียนพัฒนบูรณาการศาสตร์

 

ท่านนมินทร์ จะช้าอยู่ใย ถ้าหัวใจไม่เหนื่อยจนเกินไป 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท