ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ความสนใจที่ศึกษาเกษตรกรรมแบบประณีต : ตอนที่ 3


เป็นข้อเสนอที่สนใจในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการความรู้เกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหัวข้อที่ผมมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับที่จะทำการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ จึงได้กำหนดเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ และได้ร่างข้อเสนอ (Proposal) เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้พิจารณา อีกทั้งผู้ที่มีความสนใจในการที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว

 

ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าหากท่านจะกรุณาให้ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นเพิ่มเติมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการการศึกษา และการพัฒนาชุดความรู้สู่การพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน เป็นเนื้อหาที่ต่อจากเมื่อวันก่อนครับ และจากความสำคัญตามที่กล่าวมาในสองตอนแรกผมจึงได้นำมากำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยดังนี้

 

1. เพื่อศึกษาแนวคิด ประสบการณ์การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรกรรมแบบประณีต

 

2. เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ (KM) ในกระบวนการผลิตเกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

3. เพื่อศึกษารูปแบบ และความเชื่อมโยงของกิจกรรมที่มีความเหมาะสมในการผลิตเกษตรกรรมแบบประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

นอกจากนั้นยังมีคำถามวิจัย ดังนี้

 

1. การจัดความรู้ (KM) ช่วยให้การทำเกษตรกรรมแบบประณีตประสบผลสำเร็จได้อย่างไร

 

2. เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมแบบประณีตมีกระบวนทัศน์ต่อระบบการผลิตของตนอย่างอย่างไร

 3. มีหลักคิดทางด้านวิชาการอย่างไรบ้าง ที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรูปแบบที่หลากหลาย มีความสอดคล้อง และเหมาะสมแก่เกษตรกรแต่ละคน และพื้นที่มากที่สุด

4. เหตุใดเกษตรกรรมแบบประณีตจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน และรูปแบบที่หลากหลาย

 

5. จะดำเนินการอย่างไรให้เกษตรกร ได้หันมาทำเกษตรกรรมแบบประณีตมากยิ่งขึ้น

 

6.  เกษตรกรรมแบบประณีตทำให้เกษตรกรมีความสุขได้อย่างไร

 

7. เกษตรกรรมแบบประณีตส่งเสริมให้สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อย่างไร     

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

 

1.  ได้แนวทางการเปลี่ยนความคิด ของเกษตรกรในการทำเกษตรกรรมแบบประณีต อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำสู่การขยายผลต่อไป

 

2.  ได้รูปแบบ (Model) ของการจัดการชุดความรู้ (นวัตกรรม) ในเรื่องของดิน น้ำ  แสง และ                   การเลือกสรรกิจกรรมการผลิต สำหรับเกษตรกรรมแบบประณีต

 

3. ได้รูปแบบ (Model) ความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิตที่มีความเหมาะสมในการทำเกษตรแบบประณีต

 

4. เกษตรกรได้แนวทางการผลิตของเกษตรกรรมแบบประณีต เพื่อขยายผลในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5.  เกษตรกรสามารถมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

ครับจากความมา วัตถุประสงค์ คำถามการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังกล่าวอันจะนำไปสู่การศึกษาการจัดการความรู้เกษตรกรรมแบบประณีต อย่างไรก็ตามความเป็นมาทั้งหมดอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการมองของกระผมเพียงส่วนเดียว อาจจะไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ดังนั้จึงใคร่ขอความกรุณาผู้รู้ทุกๆ ท่านช่วยกรุณาเติมเต็มให้ด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

29 มกราคม 2550   
หมายเลขบันทึก: 75173เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นแนวคิดที่ดี
  • อาจจะต้องเพิ่มเติมในบางประเด็น เพื่อให้เห็นคำถามวิจัยชัดขึ้น
  • มาให้กำลังใจครับ
  • ขยันมากครับเห็นให้เด็กช่วยจัดสถานที่

ขอบคุณมากครับทั้งท่านเม็กดำ 1 และอาจารย์ขจิต

ผมกำลังเพิ่มประเด็นเพื่อให้คม และชัดเจนมากขึ้นครับ และจะต้องสู้ต่อไป

 

ด้วยใจจริง

ควรเปลี่ยนรูปแบบตัวหนังสือ คนแก่อ่านยาก

เรียน คุณอุทัย

เมื่อได้ฟังคุณอุทัย เสนอความก้าวหน้าของการศึกษา และสิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ข้อคิดเห็น และในฐานะที่ดูแลหลักสูตรพัฒนฐุณณาการศาสตร์อยู่  คงต้องขอให้คุณอุทัยเร่งความขยันขึ้นอีก อาจารย์เตรียมไม้เรียวไว้แล้ว  ถ้าไม่เห็นความก้าวหน้าภายใน 2 อาทิตย์นี้ เอาเป็นว่า ภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นี้ อาจารย์ อยากเห็น การปรับคำถามการวิจัย ที่ชัดขึ้น ตามข้อเสนอของอาจารย์แสวง  ทั้งนี้คุณอุทัยต้องให้ชัดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการวิจัย  คือ

งานของคุณอุทัย ต้องการจัดการความรู้เกี่ยวกับเกษตรประณีต เราอยากรู้ว่าคนทำเกษตรประณีตอยู่แล้ว  รู้เรื่องเกษตรประณีตในเรื่องใดบ้างแล้ว รู้เรื่องน้ำ ดิน พันธ์พืชอยู่อย่างไรบ้าง

งานของคุณอุทัย ไม่ใช่การวิจัยด้านการเกษตร  แต่เป็นการจัดความรู้ด้านการเกษตร เน้นเกษตรประณีต

งานของคุณอุทัย  อย่าลืมเรื่อง ของการใช้ KM เป็นเครื่องมือ ของการกระจายความรู้ของการทำเกษตรประณีต ไปสู่คนที่ทำเกษตรประณีตอยู่แล้ว และต้องการทำให้ดีขึ้น  หรือคนที่อยากจะทำเกษตรประณีตจะทำได้อย่างไร

อย่าลืม  Comunity of practice ที่เกี่ยวกับเกษตรประณีตจะต้องเป็นอย่างไร  งานของคูรอุทัยควรคิดถึงประเด็นเหล้านี้ ด้วย

 สิ่งที่อาจาย์อภิชัยถาม มีความสำคัญอย่างยิ่ง ว่างานของคุณอุทัย เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาเอกได้อย่างไร? 

การสร้างองค์ความรู้ใหม่ คุณอุทัยต้องบอกให้ได้เกี่ยวกับ การใช้ ความรู้ของ KM + ความรู้ของผู้ทำเกษตรประณีต+ การปฏิบัติของผู้ทำเกษตรประณีต ในประเด็นของ KM = องค์ความรู้ใหม่ ??  ใช่หรือไม่

 อาจารย์อยากเห็นผลความก้าวหน้าของการทำงาน ว่ามีความชัดเจนยิ่งขึ้น ภายใน 23 กพ.นี้คะ

สุธิดา

  • ขอบคุณมากครับท่านครูบาสุทธินันท์ อาจารย์ ดร.แสวง และอาจารย์ดร.สุทธิดา ที่กรุณาชี้แนวทางครับ
  • ผมกำลังเร่งดำเนินการปรับแก้ครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

เรียน คุณอุทัย

ตอนนี้ได้ข้อมูลจากครูบาหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ หรือยังว่าที่ บุรีรัมย์ มีใครบ้าง ที่ทำเกษตรประณีต  มีกี่ราย อยู่ที่ไหนบ้าง  อย่าลืม plot ลงในแผนที่ว่าผู้ที่ทำเกษตรอยู่ที่ไหน?

แต่ละคนปลูกพื๙อะไรบ้าง  ทำไม  พืชชนิดใดไว้กิน พืชชนิดใด มีเหลือกิน  ทำไม เหลือกิน

ทำไมต้องเลือกพื้นที่มหาสารคาม เป็นพื้นที่ในการศึกษา  ทำไมไม่เป็นสุรินทร์  ศรีสะเกษ อุบล กาฬสินทร์  Why???

อย่าลืมจัดระบบข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับเกษตรประณีต

Good luck, keep working hard

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท