มาตรฐานทางเท้า สำหรับผู้พิการ


เหตุทึ่ต้องคิดเรื่อง มาตรฐานทางเท้า  เพราะเราพูดกันน้อยมาก  จึงมีทางเท้าที่สร้างและออกแบบ ตามความจำกัดของสารพัด

บ่อยครั้งทางเท้าที่พอจะเข้าท่า   ไปๆมาๆ  เริ่มเละ เต็มไปด้วยป้ายปักประกาศ  

ผมอยากเห็นการตกลงเบื้องต้นระดับหนึ่งว่า ต่อไป ทางเท้าที่ทำใหม่ ควรเป็นมิตร เอื้อเฟื้อ ต่อผู้พิการ  หรือ ผู้ที่อยากจะเดินเท้า

ปัญญาส่วนหนึ่ง สังคมเรา ขาดผู้พิทักษ์ประโยชน์ ที่สร้างสรรค์ เพื่อนิเวศวิทยา ของชุมชน  

ชุมชนเองก็ไมได้เห็นภาพฝัน ของทางเท้าที่ดี

ผมลองยกตัวอย่าง  ทางเท้า อย่างน้อย ต้องเผื่อความกว้างให้ รถเข็นผู้พิการ 2  คัน สวนทางกันได้

เวลาเราจะปรับปรุงบ้านเมือง จึงต้องเริ่มนึกถึง จากผู้ที่เสียโอกาส   ยกตัวอย่างที่ทำกันสำเร็จ  คือ สาธารณสถานต่างๆ  จะต้องมีทางลาดผู้พิการ    มีห้องน้ำผู้พิการ   หน่วยงานใดไม่ทำ ถือว่า แย่    ทุกแห่งถูกตรวจสอบ และปรับปรุงกันหมด

ทางเท้าก้เช่นกัน บางทีต้องเริ่มจากบางถนน บางสาย ที่เอื้ออาทร ผู้พิการ 

การเริ่มก็คงต้องเริ่มจาก หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ หน่วยงานรัฐ    องค์กรปกครองท้องถิ่น ที่รับจัดสรรงบประมาณ บริการ สาธารณะ

ในประเทศที่ฉลาดแล้ว เขาส่งเสริม การเดิน  ส่งเสริมทางเท้า   บ้านเราค่อยๆทำไป  ทีละนิด  ก็คงดีเหมือนเขาในที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #ทางเท้า
หมายเลขบันทึก: 75141เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สนข มีมาตรฐานที่ว่าด้วยทางเท้าครับ และได้กล่าวถึงผู้พิการไว้ด้วยครับ

ใครสนใจติดต่อมาได้ครับ

       สวัสดีผู้ที่ได้รับทราบข้อความที่ผมเสนอในนี้ครับ ก่อนอื่นผมคงต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ผมคงไม่อาจแนะนำตัวเป็นชื่อกับทุกคนที่ได้พบความเห็นของผมได้ เพราะกลัวว่าจะมีคนมาปองร้ายถึงตัวผม(แต่ขอบอกแค่ว่า ผมอายุ17)                           

      เข้าเรื่องเลยแล้วกัน ผมเป็นคนสุรินทร์โดยกำเนิดและใช้ชีวิตในสุรินทร์มาแต่เกิด ในสายตาผมนั้นสุรินทร์เป็นเมืองทีน่าอยู่มากในสายตาผม เพราะทั้งถนนก็มี และที่สำคัญที่สุดทางเท้าก็มี  แต่...ขณะนี้สุรินทร์กำลังสร้างความผิดหวังให้กับผมเป็นอย่างยิ่ง เพราะสุรินทร์ขณะนี้ ได้ทุบทางเท้าทิ้งเพื่อให้รถจอดได้มากขึ้น...ในความคิดของผมนั้นถือว่าเป็นความคิดที่ป่าเถื่อน แล้วก็ไร้สติมาก(เห็นแก่ความสบาย/สอนให้คนใช้แต่รถ,ไม่รู้จักเดิน) แสดงว่าในสัตย์สันดานประจำใจของคนไทยนี่เห็นอะไรสบายกูเอาหมด

    เค้าไม่ได้มีแก่ใจคิดเลยว่า "นี่...มันอ.เมืองสุรินทร์" คนที่เค้ามาในเมืองจากอำเภอเล็ก-น้อยและไปกลับประจำวันและไม่ได้มีรถส่วนตัวใช้ก็มี ไม่ใช่นึกอะไรได้กูก็สร้างเลย"เหมือนกับนิสัยคนสุรินทร์()อย่าเอาเยี่ยงอย่างความคิดเช่นนี้เด็ดขาดนะครับ หรือแม้แต่คนไทยเราเองก็ตามก็มีความคิดในเรื่องความขี้เกียจมากเลยทีเดียว" อีกอย่างการที่เรามาบอกว่า "คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหรือความดันอะไร...เนี่ย ก็เป็นผลมาจากการสร้างเมืองแบบนี้แหละครับ" ส่วนการที่คนในประเทศเรามาจัด"มหกรรมเดิน-วิ่ง..."อะไรเนี่ย ถ้าใช้เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง-ราชินีผมเห็นด้วย แต่ถ้ากรณีอื่นๆล่ะก็ ในอุดมคติทางความคิดของผมนั้น ผมคิดว่า เรามาสร้างเมืองให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีทั้งถนนสำหรับรถวิ่ง(ควรมีอย่างน้อย 4 เลนขึ้นไปและต้องเลนละกว้างๆด้วย) พร้อมทางเท้ากว้าง 6-7 เมตรโดยประมาณ(กว้างพอที่จะทำให้เดินแล้วไม่รู้สึกเหม็นควันพิษจากถนน แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องใช้วิทยาศาสตร์ช่วยให้รถวิ่งแบบควันพิษน้อยลงด้วย) จะเป็นการดียิ่งกว่าที่จะมาจัดงานมหกรรมเดิน-วิ่งอย่างที่ว่านะครับ

ขอชื่นชม กับ น้องเด็กสุรินทร์ ที่มีความคิด นำสมัย

ผมขอใช้คำว่า คิดถูกต้องกับ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

หวังว่า หากมีเด็กจังหวัดอื่นๆรู้จักคิด ทำนองนี้ ประเทศไทยเราจะอยู่เย็นเป็นสุข

อยากได้มาตรฐานที่ว่าด้วยทางเท้าครับ เข้าเวปของ สนข หาไม่เจอครับ

ผู้รู้ช่วยแนะนำหน่อยครับ เป็นลิงค์หรืออะไรก็ได้ที่เข้าไปหาข้อมูลได้

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท