CoP : “Pain the fifth Vital sign” เริ่มกิจกรรมแล้ว


จากการประชุมคณะกรรมการ km ของคณะฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 สรุปว่าในปี 50 จะทดลองใช้ km เพื่อผลักดันให้มี CoP เกิดขึ้นอย่างน้อย 5 CoP  ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือ
CoP “Pain the fifth Vital sign” หรือความปวดเป็นสัญญาณชีพที่ 5

ความเป็นมาของ CoP : “Painthe fifth Vital sign”
·        ในอดีต การประเมินและบันทึกความปวดไม่มีระบบที่ชัดเจน โดยมีการบันทึกบ้างใน Nurses note
·        ปี 2547 ได้มีการปรับปรุง graphic sheet เดิม ให้มีช่องบันทึกความปวดได้ และได้ทดลองใช้ graphic sheet ใหม่ในหอผู้ป่วย 3  3ฉ และ 5ค ซึ่งได้ผลดี
·        ต้นปี 2548 ได้รับอนุญาตจากทางโรงพยาบาลให้ใช้ graphic sheet ใหม่ แทนอันเดิมได้ทั้งโรงพยาบาล
·        จากการติดตามผลการใช้งานเบื้องต้นใน 14 หอผู้ป่วย พบว่ามี 9 แห่ง ที่ทำการบันทึก ความปวดใน graphic sheet ใหม่ ส่วนอีก 5 แห่ง ยังไม่มีการบันทึก
·        กันยายน 2549 “วันคุณภาพศรีนครินทร์ ได้ทดลองจัด sharing เรื่องการประเมินและบันทึกความปวด(อ่านที่นี่) โดยมีตัวแทนจาก 13 หอผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของ CoP : เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการประเมินและบันทึกความปวดระหว่างหอผู้ป่วย
เป้าหมาย: เพื่อเพิ่มอัตราการบันทึกความปวดของทุก ward ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพการดูแลผู้ป่วยต่อไป
BAR: ก่อนเริ่มกิจกรรม ได้ติดตามผลการประเมินและบันทึกความปวดอีกครั้งระหว่างเดือนธันวาคม 2549 พบว่าบาง ward มีการบันทึกเพิ่มขึ้น แต่ยังมีบาง ward ที่ยังไม่ได้บันทึก pain score ใน graphic sheet

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใน CoP นี้มีใครบ้าง
คุณเอื้อ : อ.สุรพล วีระศิริ CKO ของ KM คณะแพทย์และ อ.สมบูรณ์ เทียนทอง
คุณอำนวย : คุณกาญจนา
คุณลิขิต : คุณสุดารัตน์
ผู้ช่วยคุณลิขิต: คุณวัฒนา
คุณกิจ ประกอบด้วย : หัวหน้า ward และ ตัวแทน เกือบทุก ward
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แผนการดำเนินงาน: จะมีการแลกเปลี่ยนและประเมินตนเองทุก 1 เดือน ในช่วง 4 เดือนแรก</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

   
   
   
   

 

</span></span>

คำสำคัญ (Tags): #cop#pain#ความปวด
หมายเลขบันทึก: 75138เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

อาจารย์คะ

เฝ้ารอว่าข่าวที่คุณติ๋วบอกว่าอาจารย์กำลังดำเนินกิจกรรมอยู่นั้นคืออะไร  แล้วก็คลอดแล้วนี่เอง อีกหน่อยยอดรางวัลคุณเอื้อจะหนีไปไหน  ใช่ไหมคะคุณติ๋ว เพื่อน ๆ

อยากเห็น CoP แบบนี้ใน ม.เชียงใหม่บ้างจัง

ตามมาอ่านมาเชียร์ค่ะ....ยินดีกับ มข.นะคะ...ดีใจไชโย....จะตามอ่านค่ะเพื่อเป็นตัวอย่างให้ ม.อ.ด้วย

เรียน ท่าน อ.หมอสมบูรณ์  เทียนทองค่ะ...

  • เรียกเป็นทางการไหมคะ...
  • ไม่ได้ๆ....เปิดตัวทั้งที...นี่...ต้องยิ่งใหญ่หน่อย...ให้สมกับที่รอคอยค่ะ....(นี่ขยักคำว่า ศ.สมบูรณ์ไว้แล้วนะคะเนี่ย  ด้วยเกรงว่าไม่ได้ตามเจตนารมย์)
  • เห็นภาพถ่ายแล้ว...ไม่ผิดหวังที่รอคอยค่ะ..
  • เห็นแววตาคุณวัฒนาเมื่อเย็นนี้แล้ว...เธอมีไฟคุขึ้นแล้วค่ะ...จะแอบบอกว่าเอาพัดมากระพือแล้วค่อยเติมฟืนเข้าไป....รับรองโชติช่วงชัชวาล...แฮ่ๆ....เมื่อเย็นฉันสบโอกาส...แอบราดน้ำมันก๊าซเธอไปแล้วค่ะ...รับรอง..ฉลุย...
  • ที่เหลือใจเย็นๆค่ะ...ฉันจะเป็นกำลังใจอยู่ข้างๆเองค่ะ...เพื่อบ้านเรา......

ลืมไปค่ะ..ฝาก อ.สมบูรณ์บอกคุณอิ่งอ๊อบค่ะ

  • "คุณอิ่งอ๊อบ....เป็นไงคะ...แจ๋วไหมคะ...ไม่ได้เตี๊ยมกันน่ะเนี่ย...ขอบอก"
  • ตามมาชื่นชม งานคุณภาพของ มข.ครับ มีแถมกลิ่นน้ำมันก๊าซด้วย
  • อยากอ่าน Cop แบบนี้ของ มอ.บ้างจังเลย ว่าไง คุณเมตตา พอจะมีโอกาสมั้ย
-ขอชื่นชมค่ะ คณะแพทยศาสตร์ มข, เป็นตัวอย่างที่ดีของคณะอื่นๆได้ค่ะ ขอแอบเก็บไปฝันต่อนะคะ

มาตอบคุณไมโต...ขออนุญาต อ.สมบูรณ์ นะคะ...แถวนั้นถิ่นคุณ นี่คะคุณไมโต...ถ้าคุณช่วยล่ะ...มีแน่ๆ

-  ยินดีด้วยนะคะกับชุมชนนักปฏิบัติของคนเจ็บปวด

- คงจะเป็นอานิสงค์กับคนที่ปวดทั้งหลาย หายทุกข์หายโศกและหายทรมานเสียที

  • สวัสดีครับทุกคน มี  P P P P P P
  • ดูแล้วเหมือนคุยกันหลายๆ คน ดีนะ
  • ก่อนที่จะเริ่มต้น CoP นี้ได้ต้องตั้งท่านานมาก เหมือนอุ้มท้องหลายเดือนกว่าจะกคลอดได้
  • ในที่สุดก็คลอดมาจนได้ ทุลักทุเลพอสมควร แต่ก็โชคดีที่ไม่ พิการ
  • รายละเอียดการแลกเปลี่ยนเมื่อวานนี้ ผมจะพยายามให้แต่ละ ward เขา ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนตรงนี้ ซึ่งได้สอนวิธีการใช้ บล็อกไปแล้ว อยู่ที่เวลา ว่าเขาจะมีเวลาเข้า web ได้แค่ไหน
  • ส่วนหัวข้อที่ share จะเขียนให้ใน ความเห็นถัดไป ต้องไปทำงานก่อน ครับ

หัวข้อที่แต่ละ ward ได้แลกเปลี่ยนกันสรุปได้ดังนี้

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความปวดสามารถใช้อะไรได้บ้าง เพื่อให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย
  2. ถ้าประเมินบ่อยกว่าทุก 4 ชม. จะบันทึกที่ไหน อย่างไร
  3. เช่นเดียวกับการประเมินก่อนและหลังให้การรักษาจะบันทึกที่ไหน
  4. บาง ward ประเมิน vs ทุก 12 ชม. จะ O.K. ไม๊
  5. การประเมินและบันทึกจะทำไปกี่วัน จึงจะเลิก
  6. การส่งจดหมายเชิญประชุม ให้สะดวก รวดเร็ว จะทำอย่างไร

ประเด็นที่ทาง ward ต้องการความช่วยเหลือ คือ

  1. ต้องการเครื่องมือประเมินทุกอย่างไว้ที่ ward
  2. ต้องการให้มีการ audit การบันทึกบ่อยขึ้น เป็น ทุก 3 เดือน โดยทีมงานจากวิสัญญีฯ

จากนั้นมีการ set KPI ร่วมกันว่าจะมีอะไรบ้าง  

สมาชิกทุกท่าน
เชิญแลกเปลี่ยนตามหัวข้อข้างบนได้เลยครับ และให้ความเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ตามสบาย ครับ

เยี่ยมไปเลยครับ

ผมขออนุญาตดูวิธีการนะครับ จะได้เอามาทำทาง มอ. บ้างครับ 

  • อ. เต็มศักดิ์ ครับ
  • มอ. ทำได้เยี่ยมอยู่แล้ว ที่ผมไปเห็นมาและได้บันทึกไว้ที่นี่ ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ผมฝันว่า ทางม.อ.จะมี CoP แบบนี้ด้วยครับ

  • ผมคิดว่าคงเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับ มอ. ที่จะทำ ครับ
  • หากลุกมาทำได้วันไหน ที่อื่นจะหนาว ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท