เป้าหมาย 6 ประการ ของระบบสุขภาพชุมชน


ได้อ่านคอลมน์พิเศษของ ศ.นพ. ประเวศ วะสี แล้วรู้สึกอย่างทำให้บรรลุเป้าหมายที่ท่านแนะนำค่ะ เพราะเป็นสิ่งที่นำพาไปสู่สุขภาพชุมชนที่เข้มแข็ง

   การมองเรื่องระบบบสุขภาพชุมชน จะมีพลังต่อเมือทุกฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกัน ควรเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้งไม่ใช้เอาวิธีการ เช่น การวิจัย นวตกรรม การจัดการความรู้ เป็นตัวตั้ง  แล้วเอาวิธีการเป็นเครื่องมือที่ทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย

   เป้าหมายร่วมกันของระบบสุขภาพชุมชน

   1. สำรวจและช่วยเหลือผู้ที่ถูกทอดทิ้งทุกคนในชุมชน เช่นคนแก่ คนตาบอด

    2. รักษาคนที่เป็นหวัดเจ็บคอได้ทุกคน โดยการดูแลตนเอง การดูแลคนในครอบครัวหรือในชุมชน โดยไม่ต้องไป รพ. ซึ่งทำได้ดีกว่าการรักษาใน รพ . ถ้าทำได้จะทำให้ลดภาระลงและมีเวลาดูแลผู้ป่วยอื่น

     3. รักษาคนเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับกรวินิจฉัย และคนที่ได้รับการวินิจฉัยก็ดด้รับการรักษาที่ไม่ดี ควรสำรวจชุมชนและวินิจฉัยคนเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหมดทุกคนเป็น 100 %

    4. ดูแลผู้สูงอายุได้ที่เป็นโรคเรื้อรังได้ที่บ้าน ถ้ามีการยี่ยมบ้าน ดูแลและแนะนำจะมีความสุขประดุจขึ้นสวรรค์

    5. ควบคุมโรคที่พบบ่อย เช่นไข้เลือดออก ชุมชนที่เข้มแข็งจะสามารถป้องกันได้

     6. ชุมชนสร้างเสริมสุขภาพ ชุมชนเข้มแข็งจะสร้างเสริมสุขภาพ ได้ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง  สร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย ควบคุมกาดื่มเหล้า มีดภชนสการที่ดี

      เป้าหมาย 6 ประการนี้เป็นเป้าหมายที่เป็นแนวทางที่สำคัญจริงๆค่ะในการดำเนินงานสุขภาพชุมชน ที่ทุกภาคส่วนกำลังร่วมพลังที่จะทำให้หมู่บ้านประชาชนสามารถเข้มแข็งได้ด้วยตนเอง เกิดการมีส่วนร่วมเพราะจะนำมาซึ่งความยั่งยืนต่อไปค่ะ

  

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 75038เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 07:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คุณปราณีเสนอ "เป้าหมาย" ที่ชัดเจนดีมากครับ สามารถใช้กระบวนการ "จัดการความรู้" เป็น "เครื่องมือ" สร้างผลลัพธ์ (ผลกระทบ) ที่เกี่ยวเนื่องทั้งเรื่องสาธารณสุข และเรื่องการพัฒนาสังคม/ความมั่นคงของมนุษย์ ...Good idea จริงๆ ครับ
ขอโทษครับ ลืมอ่านข้อความในกล่องว่าเอามาจากบทความอาจารย์หมอประเวศ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องขอขอบคุณที่ทำให้ผมได้ "หัวปลา" หรือ Knowledge Vision ไปใช้เดินงานต่อไปได้ครับ
การดำเนินงานเกี่ยวกับระบบสุขภาพของชุมชนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่โยนภาระให้กับกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายเดี่ยวเพราะระบบสุขภาพนั้นเกี่ยวข้องกับคน ตั้งแต่เกิดไปจนตาย ผมจึงอย่างเห็น "สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของสุขภาพ ซึ่งตรงกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด มิใช่สิ่งที่รัฐยัดเยียดให้กับประชาชนเหมือนเช่นทุกวันนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท