การจัดการเทคโนโลยีด้วยกฎหมาย(2) Interconnection charge


ต้องเข้าใจถึงเทคโนโลยีนั้นๆด้วย / เพื่อนำไปเป็นแนวคิดในทางกฎหมายใช้พิจารณาถึงสิทธิและความรับผิดชอบในการกระทำใดๆ / จึงเท่าให้เกิดการคิดค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อของ IC (Interconnection Charge)

หลังจากที่ได้เสนอหลักการนำกฎหมายมาใช้จัดการเทคโนโลยีแล้วนั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ เราจะต้องเข้าใจถึงเทคโนโลยีนั้นๆด้วย เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจถึงหลักการทำงาน, ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน และผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนั้นเราจำเป็นจะต้องทราบถึงผลประโยชน์ที่เกิดจากเทคโนโลยีเหล่านั้นว่าได้ส่งผลประโยชน์ในด้านใดให้กับใคร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เราจะสามารถนำไปพิจารณาถึงภาระและความรับชอบต่อสังคมที่จะเกิดจากเทคโนโลยีนั้น เพื่อนำไปเป็นแนวคิดในทางกฎหมายใช้พิจารณาถึงสิทธิและความรับผิดชอบในการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้นๆต่อไป 

ตอน  Interconnection Charge (IC) 1

ในการโทรศัพท์บางครั้งจำเป็นต้องมีการติดต่อข้ามกันระหว่างโครงข่ายของผู้ให้บริการ ทำให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายกันเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้ในทุกโครงข่าย

การเชื่อมต่อโครงข่าย หมายถึง การที่มีโครงข่ายที่มากกว่า 2 โครงข่ายขึ้นไปทำการเชื่อมต่อวงจรสื่อสารเพื่อให้ผู้รับบริการของในแต่ละโครงข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยหากไม่มีการเชื่อมต่อโครงข่าย ผู้ใช้บริการที่อยู่ต่างโครงข่ายจะไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ที่อยู่โครงข่ายอื่นได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อโครงข่ายจึงมีความจำเป็นมากในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนว่ามีโครงข่ายเพียงโครงข่ายเดียว เพราะสามารถติดต่อกับผู้ใช้งานโครงข่ายอื่นๆได้หมดทุกโครงข่าย

โดยรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายสามารถแบบออกเป็น 4 แบบหลักๆ ดังนี้

1. Simple interconnection เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายที่ง่ายที่สุด โดยคือการเชื่อมต่อระหว่าง 2 โครงข่ายกันโดยตรงนั่นเอง

2. Transit interconnection เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายที่ต้องผ่านโครงข่ายกลาง

3. By-pass interconnection เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเลือกโครงข่ายที่จะเชื่อมต่อได้ โดยอาจใช้โครงข่ายของตนในการเชื่อมต่อที่เป็นการเชื่อมต่อผ่านภายในโครงข่ายตนเองหรือใช้โครงข่ายกลางในการเชื่อมต่อถึงกันก็ได้

4. Transit by-pass interconnection เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเลือกโครงข่ายที่จะเชื่อมต่อได้ โดยอาจใช้โครงข่ายของตนเชื่อมต่อกับอีกโครงข่ายโดยตรงหรือใช้โครงข่ายกลางในการเชื่อมต่อถึงกันก็ได้

                ดังนั้นเมื่อต้องมีการติดต่อสื่อสารข้ามโครงข่ายมากกว่า 2 โครงข่ายเกิดขึ้น ทำให้ต้องมีต้นทุนในการสร้างและดูแลรักษา โดยในอดีตการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้งโครงข่ายต้นทางเท่านั้นที่จะได้รับเงินค่าบริการ ในส่วนของโครงข่ายผู้รับจะไม่ได้รับค่าบริการใดๆ ซึ่งทำให้ผู้บริการไม่อยากลงทุนในการขยายโครงข่ายเพื่อที่จะรับปริมาณการใช้งานจากเครือข่ายอื่นๆเท่าที่ควร เพราะเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ได้ประโยชน์หรือว่าอาจจะมีประโยชน์น้อย จึงเท่าให้เกิดการคิดค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อของ IC (Interconnection Charge) IC คือการคิดค่าเชื่อมต่อโครงข่าย เพื่อให้โครงข่ายฝ่ายรับได้รับผลประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารในครั้งนั้นด้วย โดยทางโครงข่ายต้นทางจะเป็นผู้จ่ายค่า IC ให้กับโครงข่ายฝ่ายรับ ซึ่งจะทำให้ฝ่ายรับเต็มใจในการขยายช่องทางการสื่อสาร เพราะว่าสามารถเป็นช่องทางรายได้อีกทางหนึ่ง

                ในส่วนผลกระทบของผู้ใช้บริการโครงข่าย จะไม่ได้รับผลกระทบในทางตรง เพราะค่า IC นี้ทางผู้ใช้บริการโครงข่ายจะไม่ต้องจ่าย แต่จะเป็นการจ่ายกันเองระหว่างผู้ให้บริการโครงข่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะส่งผลในทางอ้อมกับผู้ใช้บริการโครงข่ายเพราะต้นทุนค่าติดต่อสื่อสารจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่าใช้บริการอาจจะต้องเพิ่มตามไปด้วย แต่ในแง่ดีก็จะทำให้มีการเชื่อมต่อโครงข่ายกันอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารข้ามกันได้ทุกเครือข่ายและมีคุณภาพที่ดีด้วย

หมายเลขบันทึก: 75028เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 03:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แล้ววิธีการคิดค่าเชื่อมต่อที่เป้นต้นทุนที่แท้จริงควรจะคิดจากอะไรคะ

 ใครควรมีหน้าที่แบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

1.รัฐ

2.ผู้ประกอบการคนใดคนหนึ่ง หรือรวมกันจัดตั้งเป็นกองทุน

3.ผู้บริโภค

เดี๋ยวขอไปศึกษา แล้วจะตอบ

ในบทความถัดไปนะครับ

ผู้ประกอบการจะป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายโดยเป็นการตกลงกันเองระหว่างผู้ประกอบการว่าจะคิดกันในอัตราเท่าไหร่ ส่วนผู้ใช้บริการก็เสียค่าใช้จาสยตามโปรโมชั่น

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องนี้คะเพราะต้องใช้ในงานอยากได้ลึกเลยอ่ะคะ

อัตราแล้วแต่ตกลงกันระหว่างผู้ให้บริการ แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ กทช.กำหนด

ถ้าตกลงกันไม่ได้ กทช.จะเป็นผู้ตัดสิน

ประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/00189161.PDF

รู้ล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 1 บาท ข้ามระหว่าง AIS,DTAC,TRUE (อาจจะไม่update)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท