Coaching


ทักษะที่สำคัญของที่ปรึกษา ผู้เยี่ยมสำรวจ

จากการประชุมสามประสาน (วิทยากร ผู้เยี่ยมสำรวจ ที่ปรึกษา) ของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 25 – 26 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในความรู้ ทักษะ ของที่ปรึกษา ผู้เยี่ยมสำรวจ โดยแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนในหัวข้อทักษะ การสังเกต การประเมินสถานการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงาน การทบทวนเวชระเบียน และการโค้ช จากประสบการณ์ของกลุ่มขอสรุปทักษะในการ coach ที่ใช้เสมอขณะเข้าเยี่ยมให้คำปรึกษาโรงพยาบาล ได้ดังนี้

หากเปรียบกับการเล่นฟุตบอลจะทำให้มองเห็นภาพโค้ชได้ชัดเจนมากขึ้น โค้ชไม่ใช่คนเล่นเอง แต่จะทำอย่างไรให้เขารู้ว่าเป้าหมาย “เป็นผู้ชี้ช่อง”คือการพาลูกไปเข้าประตู ทำให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ว่าวิธีที่จะไปสู่เป้าหมายมีหลายวิธีแล้วแต่รพ. เช่นบางครั้งใช้วิธีเลี้ยงลูก บางทีก็ยิงระยะไกล การโค้ชที่ดีขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของโค้ช อาจใช้เทคนิคพูดทีเล่นทีจริง หรือยกตัวอย่างเรื่องเล่าประกอบให้รพ.ได้คิดเอง โค้ชต้องรู้ความต้องการของรพ.ต้องการผ่านการรับรอง หรือต้องการพัฒนา เพราะรพ.มักถามว่า ต้องการAccredit ต้องทำแค่ไหน โค้ชต้องทำให้เขาเห็นว่า HA เป็นเครื่องมือ ส่วนเป้าหมายอยู่ที่รพ.การเริ่มด้วยประเด็นเชิงบวกจะสร้างบรรยากาศที่ดี

โค้ช ควรคิดอยู่ในใจเสมอว่า เราด้อยกว่ารพ.ทุกอย่าง ยกเว้นเป้าหมายของกิจกรรม/มาตรฐาน มาตรฐานต้องมีความยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับบริบทของรพ. ที่ปรึกษาต้องไม่หวังดีแต่ประสงค์ร้ายกับรพ. เช่นเห็นว่ารพ.ยังทำไม่ดี เลยบอกให้แก้ไขปรับปรุงทุกอย่างโดยไม่ได้เป็นวิธีคิดที่เกิดจากเขาเอง ไม่ทำให้เขารู้สึกเสียหน้า ไม่ใช้ศัพท์เทคนิค และไม่ลงเชิงลึกทางวิชาชีพ และต้อง EMPOWER ทีมงานให้สามารถพัฒนาต่อ ถึงจะสรุปว่าประสบความสำเร็จของโค้ช

คำสำคัญ (Tags): #โค้ช
หมายเลขบันทึก: 74984เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2007 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
โค้ช เปรียบเป็นผู้ชี้ช่องทาง   และ  ให้กำลังใจ   รวมทั้งเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี   ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท