เวทีหัวหน้าภาค:สมุดความดีภาควิชาจุลชีววิทยา(1)


พวกเราต่างมีความรู้อยู่ในตัวเอง...บริบทของสงขลานครินทร์เองใครจะมารู้ได้เท่าพวกเรากันเอง...ในปีนี้เราจึงจำลองเวทีหัวหน้าภาคแห่งนี้ใช้การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือให้พวกเราแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารงานภาควิชา
           เวทีหัวหน้าภาควิชาเมื่อ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ..เปลี่ยนรูปแบบจากเดิมมาใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันหัวข้อ...บ่มเพาะนักศึกษา:เรียนรู้สมุดความดีของภาควิชาจุลชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ เราเลือกเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ครั้งแรกของปีนี้.... ก่อนจัดมีการประสานไปยังภาควิชาเพื่อให้เตรียมคนเล่าเรื่อง..อยากให้มีนักศึกษาที่ใช้สมุดความดีมาร่วมเล่าเรื่องด้วย...ถึงวันจริง...ภาคจุลชีวฯโดย รศ.ดร.ประเสริฐ สันตินานาเลิศ...มาเล่าเรื่องพร้อมกับน้องนักศึกษาที่น่ารักมากๆ อีกสองคน...หัวหน้าภาควิชาคอยเพิ่มเติมประเด็นต่างๆ....ท่านอธิการบดีบอกดิฉั้นว่า

คุณเริ่มเองเลยผมจะฟังและจะแทรกเองถ้ามีจังหวะ คุณขายไอเดียสำเร็จ เหลือแต่แสดงกระบวนการให้ผมเห็น” ทำเอาดิฉั้นตื่นเต้นกว่าปกติ...กระบวนการจะโดนใจท่านหรือเปล่าเนี่ย!....
       เริ่มต้นด้วย...
วีซีดี KM ขับเคลื่อนประเทศไทย 30 นาที...เป็นความตั้งใจที่อยากให้ท่านอธิการบดีพร้อมๆ หัวหน้าภาคได้มีโอกาสดูวีซีดีม้วนนี้... คิดเข้าข้างตัวเองในเมื่อเวทีนี้จะเริ่มต้นด้วยการใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้....แบบฟังเพื่อน...ชื่นชมความดีของเพื่อน...จึงรวบเหมาเอาว่าเป็น theme เดียวกัน...ได้ผลค่ะ....เสน่ห์ของวีซีดี มัวนนี้สะกดผู้ชมได้ ถ่ายทอด concept การจัดการความรู้พร้อมตัวอย่างความสำเร็จเล็กๆ ได้อย่างตรงประเด็น....
      จากนั้นเริ่มรายการด้วยความประหม่า.....ทำตัวไม่ค่อยถูก...มีท่านอธิการบดี...รองอธิการบดีที่ดูแลงานกิจการนักศึกษา...และหัวหน้าภาควิชาทั้งหมด
40 คน บอกตรงๆมันขัด ขัดกับวิถีเดิมที่เจ้านายสูงสุดต้องมีอำนาจในเวที เปิดเวทีเปิดงานเปิดความคิด...ครั้งนี้กลับรอดูว่าดิฉั้นจะเริ่มอย่างไร....
      ดิฉั้นเริ่มเล่าว่า นำมาให้ชมในวันนี้เพื่อให้นำตัวอย่างการใช้การจัดการความรู้ในภาคส่วนต่างๆ...ที่ศรัทธาในการเรียนรู้ระหว่างกัน ว่าความรู้ในแต่ละคนจัดการนำมาเป็นประโยชน์ได้จริง ถึงตรงนี้ท่านอธิการบดีได้จังหวะพูดเล่าว่าทำไมรูปแบบวันนี้จึงเป็นแบบนี้....ท่านสัพยอก...คุณเมตตาสั่งผมขนาดว่า
ห้ามใส่สูทมาให้ใส่เสื้อสบายๆที่เป็นกันเองผมทำตามที่เธอสั่งทุกอย่าง...ฮากันครืน เสียงหัวเราะเพิ่มบรรยากาศเป็นกันเอง....ช่วยดิฉั้นคลายความประหม่าลงได้...ท่านกล่าว..พวกเราต่างมีความรู้อยู่ในตัวเอง...บริบทของสงขลานครินทร์เองใครจะมารู้ได้เท่าพวกเรา...ปีนี้เราจึงจำลองเวทีหัวหน้าภาคแห่งนี้ใช้การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือให้เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารงานภาควิชา....หัวข้อแต่ละครั้งให้เลือกกันในการประชุมเน้น 3 ประเด็น...คือการบ่มเพาะให้นักศึกษาเป็นคนดี ร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการที่ทุกท่านใช้ในการดูแลลูกศิษย์ของเราให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณค่า พร้อมจะออกไปรับใช้สังคมด้วยจิตสำนึกสาธารณะ พร้อมกับการมีทักษะชีวิตมีภูมิต้านทานที่จะอยู่ในสังคมสลับซับซ้อนอย่างมีความสุขได้อย่างไร ประเด็น...การดูแลนักศึกษาเรียนอ่อนที่เป็นประสบการณ์ร่วมกันของทุกคณะในทุกวันนี้และ..การดูแลนักศึกษาอ่อนภาษาอังกฤษ ....จะทำแบบนี้กัน 6 ครั้งในปีนี้...ตลอดปีเราก็จะถ่ายเทความรู้สู่กัน...และปลายปีจะรวบรวมเป็นความรู้จากประสบการณ์ที่เราแลกเปลี่ยนกันนำเสนอเป็นแบบอย่างแนวปฎิบัติของแต่ละภาควิชา...ท่านพูดแบบลื่นไหลเข้าใจกระบวนการจนดิฉั้นอึ้ง....เรียกว่าท่านทำหน้าที่บอกกล่าว เล่าเรื่องดึงใจหัวหน้าภาควิชาได้ทั้งหมดมาเห็นด้วยกับวิธีการ...เหลือแต่...ระหว่างการดำเนินการแต่ละครั้งที่...ที่จะมีสีสรรมีพลัง..ดึงการแลกเปลี่ยนออกมาให้ได้ดิฉั้นประมวลว่า...ดิฉั้นทำหน้าที่เชิญชวนโน้มน้าวให้ผู้บริหารองค์กรเห็นด้วยกับ การเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการในงานเดิมที่ทำปกติมาใช้วิธี ที่ดิฉั้นเชื่อว่าเป็นวิธีหนึ่งที่พัฒนาคนให้อยากเรียนรู้จากภายใน ยอมรับความสำเร็จของเพื่อนร่วมงาน...ข้ามขั้นไปเป็นความเชื่อใจ ชื่นชมความสำเร็จระหว่างกัน...เน้นคุณค่าของการคิดพัฒนางาน..เคารพการปฎิบัติต่าง.....ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 3 ประการคือ "ผู้นำ" "คุณอำนวยตัวจริง" "คุณกิจหน้างาน" สำหรับวงนี้ดิฉั้นมีความสามารถเป็นเพียงคุณลิขิตมิใช่คุณอำนวยหรือคุณกิจตัวจริง...ต้องมองหาคุณอำนวยตัวจริงมาทำหน้าที่ต่อไป .... บรรยากาศวันนั้นดีเชียวค่ะ จะเล่าในตอนต่อไป
หมายเลขบันทึก: 74979เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2007 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • การมีทักษะชีวิตมีภูมิต้านทานที่จะอยู่ในสังคมสลับซับซ้อนอย่างมีความสุขได้อย่างไร
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประเด็นนี้ครับ
  • ยินดีเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ ครับ
ขอบคุณค่ะคุณ เม็กดำ 1  คงได้ร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ...วันนั้นได้เนื้อหาและบรรยากาศมาก...ค่ะ

ต้องตามอ่านทุกตัวอักษร ไม่มีจังหวะให้วางสายตาเลย เป็นเทคนิคการเขียนที่คงไม่มีใครเลียนแบบได้  คุณเมตตาค่ะ ยิ่งเขียน ยิ่งดี  เรียกว่าเป็นคุณอำนวยยอดลิขิตเชียวหล่ะ  

เห็นด้วยกับสมญาที่อ.ปารมีตั้งให้คุณเมตตามากๆเลยค่ะ อ่านบันทึกนี้แล้ว คราวหน้าที่เจอตัวต้องขอกอดอีกสักครั้ง นะคะ เยี่ยมจริงๆ

ถ้าหัวเรือใหญ่เข้าใจขนาดนี้แล้ว ความคืบหน้ามาแน่นอนค่ะ เพราะเรารับรู้ถึง"พลัง"ของการกระทำเหล่านี้ด้วยตนเองกันแล้วใช่ไหมคะ ดีใจด้วยจริงๆค่ะ

จิตสำนึกสาธารณะ

ชอบมากครับ อยากให้เกิดขึ้นมากๆ

สวัสดีค่ะ คุณเมตตา

  • เห็นความก้าวหน้าของงาน มอ.แล้วชื่นชมค่ะ...อยากให้ที่อื่นๆได้เอามาเล่าแลกเปลี่ยนบ้าง
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆค่ะ
คุณโอ๋คะ..ขอบคุณค่ะทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ...ของคุณเมตตาไม่ค่อยแข็งแรงค่ะ...นี่ถ้าครูภาษาไทยมาเห็นคงกรี๊ดสลบแน่ๆ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
คุณกฤษณาคะ....พยายามทำค่ะ...บางวงก็เป็นคุณอำนวยได้....บางวงเป็นคุณลิขิตในระยะแรก....บางทีก็ชวนผู้ใหญ่คุยแบบคุยไปเรื่อย...คุณเมตตา...เชื่อค่ะว่าบุคคลเรียนรู้นำไปสู่องค์กรเรียนรู้....ถ้าคอมไม่เสีย...ก็จะนำเล่าให้คุณกฤษณาฟังเรื่อยๆ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
อ.ปารมีคะ...ขอบคุณค่ะที่ชม....กำลังพยายามค่ะเมื่อไรที่หนูหมดแรง...อ่อนแอ..รบกวนอาจารย์ด้วยก็แล้วกัน...
น้องบีเวอร์ครับ..ตอนหน้าตามอ่านนะคะมีโฟกัสเกี่ยวกับคำนี้มากๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ
เข้ามาทราบความก้าวหน้าอันต่อเนื่องของ มอ. ครับ ชื่นชมและเป็นแรงใจให้นะครับพี่เมตตา
วันนี้ขอสวมบทบาทยามภาษาไทยสักหน่อยนะครับ เป็นคำว่า ดิฉั้น ในภาษาไทยใช้คำว่า ดิฉัน หากคุณเมตตาต้องการใช้เสียงแบบภาษาพูดควรเป็นคำว่า ดิชั้น ซึ่งเวลาเขียนก็จะแปลกๆซะมากกว่า ผมแนะนำว่าคุณเมตตาใช้คำว่า ดิฉันไปเลยครับ ซึ่งเป็นคำที่ถูกต้อง ส่วนผู้อ่านตอนอ่านเขาจะใส่สำเนียงการอ่านให้คุณเมตตาเองครับ
ขอบคุณค่ะคุณแจ๊ค...แรงใจมากขนาดนี้ทำตายเลย
คุณMitochondria ขอบคุณค่ะ....จะเปลี่ยคำเป็น ข้าพเจ้าคะ...
  • คำว่า ข้าพเจ้า จะดูเหมือนกำลังรายงานอะไรที่เป็นทางการสุดๆ หรือเปล่า
  • ผมว่าคำกลางๆ อย่างที่คุณเมตตาใช้ อย่างคำว่า ดิฉัน นั่นแหละเป็นคำเหมาะสมแล้วครับ เพราะเป็นคำที่เราคุ้นเคยกัน และรู้สึกว่าเป็นตัวตนคุณเมตตาจริง....นะจ๊ะคุณป้า
คุณจิ๊บคะ ใช้อาฮั้น เล้ย....(แซว...แซว..ค่ะ) ใช้ดิฉัน หรือดิชั้น ก็ได้ค่ะ อย่าข้าพเจ้าเลย มันจะดูไม่ช้าย... ไม่ใช่คุณเมตตา แค่เขียนให้ถูกตามหลักภาษาก็พอค่ะ พวกเรายามๆภาษาทั้งหลาย ก็เพียงอยากให้บันทึกฮอต ฮิตของคุณจิ๊บเป็นแบบอย่างที่ดีในการเขียนให้ถูกอักขระเท่านั้นเองค่ะ ภาษาของเราเองแสนจะดีมีเอกลักษณ์ที่น่ารักษาเอาไว้ให้ลูกหลานเรา ใช่ไหมคะ (คุณป้าโอ๋มาเองเลยนะคะเนี่ย)  
อ้อ มีอีกความเห็นค่ะว่า ถ้าเป็นการสะกดผิด น่าจะเปลี่ยนไปเลยดีกว่านะคะ อย่าใช้วิธีขีดออกเลย เพราะการขีดออกน่าจะใช้เพื่อสิ่งที่เราเขียนคลาดเคลื่อนที่เป็นเรื่องเนื้อหามากกว่าไหมคะ เพราะจะได้เปรียบเทียบของเก่าของใหม่ได้ แต่การสะกดผิดนี่ เราควรจะไม่ให้เห็นอยู่เลยจะดีกว่า จะได้ติดตาแต่คำที่ถูกต้องไงคะ ท่านอื่นๆเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ

ค่ะคุณโอ๋....แซวคุณไมโตเล่น ค่ะ...ข้าพเจ้า...อิ...อิ...คงใช้แบบเดิมค่ะ...ขอบคุณค่ะ...วันนี้พี่โอ๋กังวลอะไรกับจิ๊บหรือเปล่าคะ...(เอ๊ะ...หรือจิ๊บกังวลตัวเอง.)แวะเวียนมาดูใจกันดึก เที่ยง...เย็นนี้มาอีกรอบนะคะ....มาอ่านตามหานางฟ้าดีมั๊ยคะ...ตอนที่ 8 ยังไม่เขียนเลยถ้าพี่โอ๋อยากอ่านเดี๋ยวจัดให้..ค่ะ

  • ผมเห็นการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องและเข้มแข็งของอาจารย์เมตตาและชาว มอ. ก็รู้สึกชื่นชม และอยากเห็นบรรยากาศเหล่านี้คึกคักใน มมส
  • พวกเราต่างมีความรู้อยู่ในตัวเอง...บริบทของสงขลานครินทร์เองใครจะมารู้ได้เท่าพวกเรา
  • ที่ มมส ผู้บริหารท่านหนึ่งก็พูดในทำนองนี้เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นอีกประโยคที่ทำให้ผมลุกขึ้มาเขียน blog (ในเวที KM)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท