เมื่อผู้ป่วยมารับ Insulin


ใช้กระป๋องยาเก่า ใส่น้าแช่แข็งไว้ และนำมาใส่ Insulin ให้ผู้ป่วยถือกลับบ้าน

     เนื่องจากยา Insulin มีการเก็บที่ค่อนข้างซับซ้อน (สำหรับผู้ป่วย) คือต้องเก็บในตู้เย็นที่ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง จึงเป็นข้อแนะนำสำคัญที่เวลาเภสัชกรจ่ายยาให้ผู้ป่วยที่ต้องเน้นย้ำเรื่องนี้

        ซึ่งจากหลายครั้งที่ผ่านมาของโรงพยาบาลธาตุพนมยังไม่พบว่าผู้ป่วยบ้านไม่มีตู้เย็น หรือเดินทางไกลมาก เราจึงเพียงนำยาใส่ถุงและให้ผู้ป่วยถือกลับบ้าน  แต่ในปีที่ผ่านมาที่ห้องยามีการพูดคุยหลายครั้งว่าน่าจะมีวิธีการที่ดีกว่านั้น เพราะเคยเห็นหลายๆโรงพยาบาลที่นี่ใช้วิธีนำกระป๋องยาเม็ดขนาดใหญ่หน่อย (เช่นกระป๋องยาพาราขององค์การเภสัชกรรมที่ใช้แล้ว) มาใส่น้ำประมาณครึ่งหนึ่งแล้วใส่ในช่องแช่แข็งไว้ เมื่อผู้ป่วยมารับยาก็นำ insulin ใส่ไว้ในกระป๋องแล้วให้ผู้ป่วยถือกลับบ้าน

       เรื่องนี้เคยคุยกันกับเภสัชกรที่โรงพยาบาลโพนสวรรค์ (รพ.ชุมชนใน จ.นครพนม) เมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน ที่ใช้วิธีการเดียวกัน  แต่สามารถตอบคำถามว่าใส่ไปในน้ำแข็งก็ทำให้ยาเสื่อมได้เหมือนกันถ้าเย็นจัด(แช่แข็ง)  โดยเค้าทำการทดสอบโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิในกระป๋องทุกครึ่งชั่วโมง พบว่ามีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 2-8 องศา ได้นานถึง 3 ชั่วโมงครับ   และแต่เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลายกับกลายเป็นว่ายาเปียก ก็เลยต้องใส่ยาในถุงที่เป็นถุงซิปให้เรียบร้อยก่อน จึงใส่ในกระป๋อง

        ปัจจุบันที่ห้องยาธาตุพนมก็ยังใช้วิธีการนี้เหมือนกัน แต่ไม่ทุกรายครับ (ให้เฉพาะบ้านไกล และได้ยาไปมากเกิน 1 เดือน) เพราะตามข้อมูลทางผลิตภัณฑ์ ระบุว่า Insulin สามารถอยู่นอกตู้เย็นได้ 1 เดือน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยใช้ยาไม่ถึงเดือน(ผู้ป่วยฉีด insulin จะนัดเดือนละครั้ง) จึงไม่ต้องใส่ตู้เย็นก็ได้ แต่ต้องไม่ตากแดด หรืออยู่ในที่ร้อนๆ  นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาเราได้เปลี่ยนอุปกรณ์ฉีดให้ผู้ป่วยทุกคนเป็นแบบปากกาฉีด (Novopen)ซึ่งห้ามนำตัวปากกาใส่ตู้เย็น และขนาดยามีแค่ 3 CC ส่วนใหญ่จึงใช้หมดก่อน 1 เดือนครับ

 

ภก.เอนก  ทนงหาญ   ผู้เล่าเรื่อง

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชน#tacit#knowledge
หมายเลขบันทึก: 7496เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ตั้งแต่นี้ไม่มีเบาหวานอีกแล้ว
                ป้าละมัย โปธิปัน  แกอยู่บ้านสันจำปา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย   เป็นสตรีสูงอายุ  วัย 60 กว่า  แต่ก็ดูแก่เกินวัยเพราะโรครุมเร้า   โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเล่นงานแกมาถึง 8 ปี  จนอาการหนักหนาสาหัสถึงขั้นเดินไม่ได้ เพราะแข้งบวม ข้อเท้าบวมจนออกสีคล้ำ  เนื่องเพราะน้ำตาลในเลือดสูง  ทำให้เลือดข้น  การไหลเวียนของเลือดจึงติดขัด    แกก็ทนทรมานเหมือนคนป่วยเบาหวานอื่น ๆ   เมื่อแข้งบวมจนออกสีคล้ำแกก็ยิ่งเป็นทุกข์กังวลมากขึ้น  นั่นหมายถึงแข้งต้องเน่าจนตัดทิ้งในอนาคตอันใกล้ คิดทีไรน้ำตาก็ไหลลงอาบหน้า
                ดูรูปร่างหน้าตาแล้ว ป้าละมัยตอนนั้นอ้วนฉุ  เป็นอาการอ้วนแบบบวมน้ำ  สีผิวซีด หน้าตาโรยราหาความแช่มชื่นมิได้  
ต่อมา ญาติคนหนึ่งซึ่งรู้จักสรรพคุณของน้ำว่านหางจรเข้ จึงเอาไปให้แกดื่ม 1 ขวด  แกดื่มครั้งละ 30 ซีซี ทุก เช้า-เย็น  อาการแกก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ  หายจากเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย  รับประทานอาหารก็อร่อยดี  นอนหลับสบาย  รู้สึกแข็งแรงขึ้น  อาการหนักเท้าก็หาย  อาการเท้าและแข้งบวมก็ลดลง  แกรู้ว่าเกิดจากกินน้ำว่านหางจระเข้แน่นอน  จึงส่งข่าวถึงญาติคนนั้น  เขาก็เอามาให้แกอีก  
                เวลาผ่านไป 1 เดือน  ทีมงานว่านหางจระเข้ได้รับการบอกข่าวจึงไปเยี่ยม   แกตะโกนว่า  ตั้งแต่นี้ไม่มีโรคเบาหวานอีกแล้ว พร้อมกับเต้นรำให้ดูอย่างคล่องแคล่ว    ดูหน้าตาแกเบิกบานแช่มชื่น  ไม่เหลือร่องรอยของคนป่วยไว้ให้เห็นแม้แต่นิดเดียว
          เรื่องราวของป้าละมัยหายจากโรคเบาหวานลือระบาดค่อนข้างเร็ว   เนื่องเพราะแกหายเร็วเกินไป  เมื่อแกพบใครในหมู่บ้าน หรือตามร้านตลาด จึงมีแต่คนถาม   ทำไมเดินได้   ทำไมหน้าตาผุดผ่อง  ทำไมดูแข็งแรงดี  ทำไม ๆ ๆ เป็นเรื่องที่แกต้องอธิบายบอกข่าวถึงสรรพคุณของน้ำว่านหางจรเข้แก่ทุก ๆ คน   และแล้วข่าวของแกก็ถึงหูของผู้ป่วยอีกท่านหนึ่งที่เป็นโรคเดียวกัน  แต่อาการค่อนข้างหนักกว่า  คือป้าเรือน อยู่บ้านโฮ่ง ต.แม่พริก  ความจริงป้าเรือนอายุเพียง 50 กว่า ๆ  แต่แกเดิน 3 ขา  ผมก็ร่วง ตาก็มองไม่ค่อยเห็นเพราะเบาหวานขึ้นตา  เข่าก็บวมจนเดินแทบไม่ได้  ทั้งเป็นโรคเส้นหัวใจตีบ ดูท่าทางแกอายุแก่กว่าป้าละมัยไม่น้อยกว่า 10 ปี   แกไปพบหมอแต่ละครั้งต้องขายวัว 1 ตัว  จนวัวฝูงใหญ่ก็กลายเป็นฝูงเล็ก  ถ้าเป็นนานกว่านี้ก็คงหมดวัวทั้งฝูง เมื่อทีมงานของเราไปเยี่ยมป้าละมัย ๆ ก็พาไปหาป้าเรือน  บ้านของแกยกพื้นสูง  เราพบแกค่อย ๆ นั่งเขยิบลงจากบันได  หน้าตาไม่ได้แตกต่างจากผู้ป่วยหนักที่ใส่ชุดโรงพยาบาลนอนอยู่บนเตียงพยาบาล  ป้าเรือนมีน้ำตาลในเลือด 300 กว่า  พวกเราเอาน้ำหางจระเข้ให้แกกินตั้งแต่ต้นเดือน ตุลาคม   เวลาผ่านไปได้ 1 อาทิตย์  เราได้รับโทรศัพท์จากทีมงานซึ่งอยู่ในละแวกนั้นแจ้งว่าป้าเรือนเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าอีกแล้ว   โรคปวดเข่าของแกดีขึ้นมาก  แต่ทางเราก็ยังไม่มีเวลาไปเยี่ยมเยือน  จนกระทั่งถึงวันที่ 11   พฤศจิกายน  ที่ผ่านมา  พวกเราจึงมีโอกาสกลับไปแม่สรวย   เราพบป้าเรือนอีกมาดหนึ่ง  แกใส่ชุดกางเกงและเสื้อวอร์ม ที่นักกีฬาเขาใส่วิ่ง นั่งไขว่ห้างอยู่บนเก้าอี้หน้าบ้าน  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส สดใสเหมือนคนปกติ   แกว่าอาการดีขึ้นมากแล้ว  เดินได้ปกติ  ทั้งยังวิ่งจ๊อกกิ้งได้ตามปกติด้วย  นี่เพิ่งกลับจากวิ่งออกกำลังกาย  ส่วนน้ำตาลในเลือดก็ลดลงปกติ จากเดิม 300 กว่า คงเหลือราว 110 เท่านั้น    เป็นเรื่องเหลือเชื่อจริง ๆ  ว่าเป็นไปได้อย่างไร    ตัวผมเองถึงแม้จะรู้คุณค่าของว่านหางจรเข้  แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมีสรรพคุณมากมายถึงปานนี้  แบบนี้ต้องเรียกว่าน่าอัศจรรย์   ผมปรุงยาเบาหวานขนานหนึ่ง ใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่เกิดในท้องไร่ท้องนาชนิดหนึ่ง  ก็ยกย่องสรรพคุณสมุนไพรชนิดนั้นว่าดีเยี่ยมแล้ว  แต่เมื่อเจอฤทธิ์ของว่านหางจรเข้ นับว่ายังห่างชั้นกันอยู่   จึงอยากแนะนำให้คนป่วยโรคเบาหวานทุกท่านหาว่านหางจระเข้รับประทานกันเถิด   แต่ต้องเป็นสายพันธุ์บาร์บาเดนสิสนะครับ  เป็นชนิดต้นใหญ่กาบใหญ่  สมัยก่อนปลูกกันมาที่ปราณบุรี  แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว  กลับมาปลูกกันมากที่ราชบุรี เพื่อส่งขายให้ญี่ปุ่น  จากนั้นก็ย้อนกลับมาเป็นสินค้าราคาแพงให้คนไทยใช้กันอีกครั้งในคราบของเครื่องสำอาง และและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ที่ราคาหลักพันขึ้นไป   แต่ผมก็เห็นมีปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้างตามหน้าของผู้รากมากดี  ก็คงซื้อพันธ์มาจากที่ใดที่หนึ่ง    ถ้าใครมีก็อย่าลืมปลอกเอาเปลือกออก แล้วรับประทานแต่วุ้นของมัน ก่อนอาหารทุกเช้า-เย็น
                ผมบอกข่าวดีนี้แก่พี่ที่ผมรักคนหนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานมาหลายปี  แต่อยู่จังหวัดทางภาคใต้ของไทย  พี่แกก็กลับเป็นคนคิดมาก  มีข้อโต้แย้งเพิ่มขึ้นว่า การที่น้ำตาลในเลือดลดลงจนต่ำกว่าปกติอาจเป็นอันตรายเพราะร่างกายขาดน้ำตาลจนทำให้ช็อคได้   และการหายจากเบาหวานก็เป็นเพียงการบอกเล่าซึ่งขาดข้อมูลทางการแพทย์รับรอง    ยังไม่มีนายแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดรับรองหรืออธิบายได้ว่าว่านหางจระเข้รักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร    การตั้งข้อสงสัยนี้ทำให้ผมเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตว่า หางจระเข้มีคุณสมบัติอย่างไร  นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกได้ทำการวิจัยบ้างหรือยัง  ผลการวิจัยมีอย่างไรบ้าง  
                เป็นเรื่องน่าทึ่งครับ   ผมพบงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับหางจระเข้พันธุ์บาร์บาเดนสิส ในอินเตอร์เน็ต  แต่ข้อมูลค่อนข้างมากเกินกว่าจะนำมาลงในหน้ากระดาษอันจำกัดนี้ได้    แต่สามารถตอบคำถามได้ว่า ว่านหางจระเข้สามารถช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น  ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายดำเนินไปด้วยดี  ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง  ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะและลำไส้     ช่วยสลายพิษในร่างกาย  ในตับ  ทำให้ตับทำงานได้ตามปกติ    เมื่อตับใหญ่และตับอ่อนได้รับการฟื้นฟูบำรุงให้แข็งแรงขึ้น  จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการที่ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการดีวันดีคืนอย่างผิดหูผิดตา    ก็ในเมื่อตับอ่อนของเขาแข็งแรงดีแล้ว  การผลิตอินซูลินก็ดำเนินการไปตามปกติ  การลดลงของน้ำตาลในเลือดของผุ้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นการทำงานของตับอ่อน   หาใช่เพราะสารใด ๆ ในว่านหางจระเข้ไปลดน้ำตาลในเลือดแต่ประการใด
                ว่านหางจระเข้จึงน่าจะเป็นว่านที่เรียกได้อย่างเต็มเต็มภาคภูมิว่า  ว่านมหัศจรรย์ของโลก  
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  หมอเมือง  01-1795197,  09-9552716, 04-1775539
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท