เรียนรู้ด้วยการเก็บตกประเด็นจากการประชุม คบปจ.


“ความร่วมมือแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน”

     เรียนรู้ด้วยการเก็บตกประเด็นจากการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพ จังหวัดพัทลุง (คบปจ.) ครั้งที่ 3/2548 ในวันที่วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2548 ณ ห้องประชุมศรีแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ประเด็น “ความร่วมมือแบบไตรภาคีเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน”

     เริ่มต้นด้วยประเด็นที่นายกาจ ดิษฐาอภิชัย คบปจ.ภาคประชาชน กล่าวว่าจากการที่ได้ประชุมมา 4 – 5 ครั้ง ก็ยังงง ๆ อยู่ และก็ต้องคิดกันต่อไปว่าทำอย่างไรที่จะให้คณะอนุกรรมการบริหาร ฯ ที่มาจากที่อื่น ไม่ใช่วงการสาธารณสุขรู้เรื่องบ้าง เอาล๊ะถึงไม่รู้เรื่องก็จะขอกล่าวถึงประเด็นดังต่อไปนี้

          - น่าจะมีงบพัฒนา อสม.ที่เป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ และมีความจำเป็นที่ต้องให้ อสม.หลุดออกจากการครอบงำของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เป็นพลังของพื้นที่ และหาโอกาสเพื่อทำให้มีบทบาท มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพ

          - ในกรณีของเครือข่ายฯ ไม่ว่าจะเป็น CUP หรือเป็นของอำเภอ เขตพื้นที่รอยต่อ จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ที่จะทำให้คนกลุ่มหนึ่งคิดว่า “เรื่องของสุขภาพ เป็นเรื่องของเขา” จึงน่าจะจำเป็นต้องที่ต้องมีคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา เมื่อมีงบลงไป ก็จะได้ทำให้เป็นการทำงานแบบเบ็ดเสร็จ ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าภาพสุขภาพเขาเอง

          - น่าจะมีงบลงไปเพื่อทำอย่างไร ให้ อปท.เลิกคิดที่จะถม แล้วขุด ขุดแล้วถม และสร้าง อาจจะใช้บารมีของ CEO โดยให้เกิดการทำงานร่วมกันของท้องถิ่น

     ประธาน (นพ.ยอร์น จิระนคร) ก็ได้ชี้แจงว่า เรื่องเกี่ยวกับ อสม. นั้นเห็นด้วย  สำหรับเรื่องเขตพื้นที่รอยต่อฯ ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือไปยังพื้นที่  คุณอนุชาฯ ก็กำลังทำอยู่  แต่ต้องเรียนว่าความพร้อมมีข้อจำกัด  ตอนนี้จะทำเป็นตัวอย่างก่อน  หากพิจารณาว่าเป็นปัญหาแล้วจะพยายามทำให้มากขึ้น โดยให้คุณอนุชาฯ รับไปบูรณาการกับการดำเนินงานตามโครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนที่จังหวัดพัทลุงกำลังดำเนินการอยู่

     ต่อด้วยนายยุสุบ   แหละตี ผู้แทนจากนายกเทศมนตรี กล่าวว่าในฐานะตัวแทนภาคส่วนท้องถิ่น เมื่อได้รับโอนงบ อสม.มา ซึ่งเมื่อ 2 ปีก่อนโรงพยาบาลฯ บริหารจัดการเอง สำหรับปีนี้ ได้ตั้ง อสม.ชุดเดิม ให้มาอยู่กับเทศบาล ซึ่งก็ให้อสม.คิดเอง วางแผนเอง และดำเนินการเองครับ ซึ่งน่าจะได้ประสานกับ จนท.สาธารณสุขการดำเนินงาน แต่พอให้มาแล้วก็หายไปด้วย ไม่ทราบทำไมเหมือกัน ประเด็นนี้ ประธานฯ ก็ได้นำเรียนชี้แจงเรื่อง เงิบ อสม.(10,000 บาท ต่อหมู่บ้าน) ไม่ว่าจะเป็นการเบิกจ่าย หรือการจัดการ จะไม่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่  อสม.จะเป็นคนดำเนินการโดยให้จนท.เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น แต่จะขอดูกันอีกทีในส่วนรายละเอียด ซึ่งนายยุสุปฯ ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าไม่ได้เป็นประเด็นใหญ่ แต่เกรงว่าจะเป็นการครอบงำทางความคิด หมายถึง งบที่ได้มาจะเกี่ยวข้องกับอสม. 20 คนเท่านั้นเอง ไม่ได้คิดถึงชาวบ้านทั้งหมด

     ผมเป็นผู้เข้าร่วมประชุม ก็ได้ขออนุญาตต่อประธานฯ เพื่อชี้แจงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เป็นสิ่งที่ดีมากที่ได้ฟังวันนี้ และแนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินงานของ สสจ.อยู่ขณะนี้ คือการการเชื่อมต่อกันแบบไตรภาคีฯ โดยขอให้พื้นที่ได้เริ่มเชื่อมให้ได้ทวิภาคีก่อน จากนั้นภาคีที่สาม จะเข้าไปจับ หากมีกรณีเช่นที่ว่านี้ก็ติดต่อแจ้งข่าวมาได้ และขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งถ้าเชื่อมติดได้แล้วอย่างอื่นเพื่อการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันก็จะเชื่อมได้หมด

     จากนั้นนายสมบูรณ์   บุญวิสูตร ผู้แทนนายกองค์การบริการส่วนตำบล ก็ได้ขอเชื่อมต่อด้วย และได้นำสนอการทำงานของ อบต.ร่มเมือง ดังนี้

          - แนวทางการจัดการงบฯ อสม. ของ   อบต.ร่มเมือง ตั้งแต่ ปี 2547 –2549 เงินที่ได้ไปใน
หมู่บ้าน ปี 10,000 บาท โดยปกติเป็นโครงการที่คิดโดย อสม.และผู้นำหมู่บ้าน แต่ติดอยู่ที่เขียนโครงการไม่เป็น โดยการจัดการจะมีกรอบใหญ่ๆ 3 อย่าง คือ ซื้อวัสดุ จัดกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และการพัฒนา อสม.แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าบางท้องที่ไม่ได้รับการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่

          - การดำเนินงานสุขภาพจิตของ อบต.ร่มเมือง งบ 20,000 บาท จะเป็นงบฯ จาก อบต.ส่วนหนึ่ง และจะมีงบส่งเสริมสุขภาพจาก อบต. และให้ทำเป็นรูปธรรม และเชื่อมประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กับ อบต.และจะทำเป็นเรื่องๆ ในการพัฒนาร่วมกันโดยการทำงานแบบบูรณาการ ขณะนี้ ตำบลร่มเมืองก็ผ่านการประเมินเป็นตำบลแข็งแรง ตามโครงการ Healthy Thailand แล้วด้วย

หมายเลขบันทึก: 7495เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท