beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ทิศทางการจัดการความรู้ในชุมชน (1)


ทำไม KM จึงทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
 

 

 

   2 วันมานี้ (17-18 พ.ย.48) ได้แอบไป (สังเกตการณ์) เข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้ ดังภาพ

    วันแรกไปได้แค่ช่วงเช้า ส่วนวันที่สองไปได้แค่ถึงพักเบรกแรก แต่แค่นี้ก็มีเรื่องมาให้เขียนบันทึกมากมาย

 
     

    วันที่สอง ผู้ร่วมงานคงจะมาสายกันไปหน่อย เริ่มแรกเลยมีการบรรเลงเพลงไทยโหมโรง โดยท่านอาวุโส (จริง) ทั้งวงมีอายุรวมกันเกือบพันปี ไม่เชื่อก็ลองดูจาก 2 ภาพ นี้

     
     
     
     

    ต่อจากนั้นก็มีการเสวนากันในหัวข้อ "ทิศทางการจัดการความรู้ในชุมชน" โดยมีอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้ดำเนินรายการ วิทยากรประกอบด้วยใครบ้างเชิญชมจากภาพกันครับ

     
 

 
    ภาพจากซ้ายไปขวา
  1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช     จากสคส.
  2. คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์   จากสสจ.พิจิตรและเลขาฯ มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร
  3. อาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด จากสคส.
  4. นพ.สมพงษ์ ยูงทอง   จากรพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์
 

    ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เปิดประเด็นในทำนองปุจฉา วิสัชชนา ว่า (ผมแต่งเติมเอง)

 

 ปุจฉา                           

วิสัชนา

 
  ทำไมชุมชนต้องสกัดความรู้ เพราะความรู้ทำให้พัฒนาชุมชนได้ดีขึ้น  
  ทำไมต้องเอาความรู้ไปพัฒนาชุมชน

เพราะโลกปัจจุบันเข้าสู่ยุคต้องใช้ความรู้เป็นฐาน หรือ ยุค Knowledge based Society ต้องรู้จักเอาความรู้และประสบการณ์ของชุมชนมาแลกเปลี่ยนกัน สกัดเป็นขุมความรู้ แล้วเอาความรู้เหล่านั้นกลับไปใช้ใหม่ เรียกว่าเป็น "วงจรความรู้"

 
  KM คือ อะไรหรือเป็นอย่างไร KM ก็คือ การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  
  ทำไม KM จึงทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะ KM เป็นศีลธรรม (หมอประเวศ วะสี) ทำให้เห็นคุณค่าของความเป็นคนมีความรู้ ทำให้เกิดความเคารพซึ่งกันและกัน  
 

KM มีหลักการอะไรหรือไม่

KM มีหลักการที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เชื่อว่าทุกคนมีความรู้ แต่เน้นความรู้ภาคปฏิบัติ เรียกว่า "actionable Knowledge" เป็นความรู้ในทางปฏิบัติหรือประสบการณ์ที่เรียกว่า "Tacit  Knowledge" หรือ "ความรู้ฝังลึก" ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในบุคคล เราต้องเอาความรู้เหล่านี้ออกมา โดยใช้เทคนิคในการเล่าเรื่องเรียกว่า "Story telling" ความรู้เหล่านี้จะได้มาต้องฝึกสังเกต และเมื่อสังเกตได้ความรู้แล้ว สิ่งสำคัญก็คือ "การจดบันทึก" (จุดสำคัญอยู่ที่ตรงจดบันทึกนี่ด้วย ถ้าไม่มีการจดบันทึก story telling ก็จะหายไป ความรู้ที่จะนำกลับไปถ่ายทอดต่อไปก็จะไม่เกิด วงจรความรู้ก็จะถูกตัดขาด)

 
  ทราบมาว่า KM เป็นของต่างประเทศแล้วเราเอามาปรับใช้ มีความแตกต่างกันหรือไม่

การจัดการความรู้ หรือ KM ในต่างประเทศส่วนมากเขาทำกันในหน่วยงาน และเขาระแวงกันเรื่อง "ความรู้" เพราะเขาถือว่า "ความรู้คืออำนาจ" แต่ของไทยเรากลับนำระบบการจัดการความรุ้เข้าสู่ชุมชน (เป็นผู้นำทางด้านนี้) แล้วพบว่ามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ดี สนุก และไม่มีการหวงความรู้ และความรู้เหล่านั้นเมื่อนำมาสกัดเป็นขุมความรู้ แล้วก็นำกลับไปถ่ายทอดให้กับชุมชน เรียกได้ว่า ไม่มีการหวงวิชากัน (ผิดกับสมัยก่อนมีการหวงวิชา และขาดการบันทึก ทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ากว่าประเทศตะวันตก..beeman) (ref : Geoff Parcell)

 
  การจัดการความรู้ในชุมชนก่อให้เกิดความรู้ได้อย่างไร

จริง ๆ ตัวความรู้มันมีอยู่แล้วในระดับปัจเจกหรือระดับบุคคลในชุมชน มันซ่อนอยู่เป็นความรู้ฝังลึก หรือ Tacit Knowledge เรา (คุณเอื้อ/คุณอำนวย) เพียงแต่ไปค้นหาให้พบ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สกัดออกมาเป็นขุมความรู้ (ถอดบทเรียน/ถอดหลักสูตร/ถอดความรู้) แล้วก็เอาความรู้นั้นกลับไปถ่ายทอดให้ชุมชน (เช่น เป็นโรงเรียนเกษตรกร โรงเรียนชาวนา ฯลฯ สอนกันเป็นรุ่น ๆ เรียกว่า "วิทยากร" เป็นวิทยากรแถว 1 แถว 2 แถว 3 แถว 4) ชุมชนก็ได้เรียนความรู้ที่เป็นของตัวเอง ได้พึ่งพาตัวเอง ภูมิปัญญาของตัวเอง ใครจะไปรู้เรื่องตนเองได้ดีกว่าเรา เพราะว่าถ้าเรามัวหวังพึ่งคนอื่น สังคมก็จะถึงซึ่งอันตราย

 
       

    แค่ผมสกัดความรู้จากวิทยากรเพียงท่านเดียว ก็ใช้เนื้อที่มากแล้ว คงต้องมีตอน 2 ต่อไปกับวิทยากรอีก 2 ท่าน หรือ อาจจะต้องมีตอน 3 ครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 7491เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2005 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

beeman สมลักษณ์จับประเด็นมาอธิบายขยายความได้ยอดเยี่ยมมากครับ   ขอแก้นิดเดียว Geoff Parcell นะครับ

และขอขอบคุณสำหรับน้ำผึ้งครับ

วิจารณ์

   ได้กลับไปแก้ไขแล้วครับ ขอบคุณครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท