beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

คำถามเก่า..เขียนบล็อกไปทำไมกัน?


เขียนในมุมมองของ beeman

    เมื่อ ๒ วันก่อน ไปช่วยหน่วยประกันฯ อบรมการใช้บล็อก....มีคำถามจากผู้เข้ารับการอบรมว่า..บล็อกนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง นั่นก็คือการประยุกต์ใช้บล็อกได้อย่างกลมกลืนหรือเนียนในเนื้องานของการทำงาน...

   ผมมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว..แต่เพื่อเป็นการทบทวน สำหรับสมาชิกใหม่ๆ จึง..ขอค้นคว้าเรื่องนี้ใน GotoKnow... ใช้คำสั่งค้นหา...ด้านบน..พิมพ์คำว่า "บล็อก" ลงไปในช่องว่างแล้ว..ค้นโดย Google ก็จะพบ ข้อเขียนมากมายเลยครับ

   ลองดูความตั้งใจแรกของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่ต้องการให้บล็อกเป็น

  1. สมุดไดอารี่ อิเล็คทรอนิก..ที่บันทึกเรื่องราว..วิธีการทำงาน ที่เป็นการริเริ่มสิ่งที่แปลกใหม่ในวิธีการทำงาน หรือ ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับงานที่คนอื่นๆ ยังไม่ทราบ
  2. ถ่ายทอด ความรู้ฝังลึก Tacit Knowledge ที่อยู่ในตัวเองออกมา เพื่อลปรร.กับผู้อื่น..

  แต่ถ้าวางกรอบไว้ แน่นหนาแบบนี้..คนที่เข้ามาใหม่จะเกิดอาการเกร็งน่าดูแล้วก็จะห่างหายไป

   ต่อมา ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เกิดไอเดีย.."กลยุทธ์การให้รางวัล"..สร้าง "รางวัลสุดคะนึง" ขึ้นมา..ซึ่งในระยะยาวก็ได้ผลดี...แต่มีคำถามว่า..ให้แค่เดือนละคนจะพอเพียงหรือ..แต่เพื่อไม่ให้เฟ้อจนเกินไปผมว่า..เดือนละคนก็ดีแล้ว..เพราะว่ายังมีรางวัล "จตุรพลัง" อีกเดือนละ ๔ คน..

   ต่อไปผมขอรวบรวมประสบกาณ์ การเขียนบล็อกมาเล่าถึงการประยุกต์ใช้บล็อกในการทำงาน (เป็นเรื่องประโยชน์ซะมากกว่า)นะครับ..

   ในเบื้องต้น

  1. ฝึกหัดเขียนบันทึก..แบบไดอารี่ บันทึกเรื่องราวการทำงานประจำวัน..ในหน้าที่...ในกรณีนี้คือฝึกเล่าเรืองแชร์ให้คนอื่นได้อ่านขึ้น..ฝึกความกล้าในการเขียน..ไม่มีถูกไม่มีผิด, ฝึกการตั้งเป้าหมายในการเขียนบันทึกว่าควรจะเขียนเดือนละกี่บันทึก...ที่สำคัญคือฝึกการถ่ายทอดเล่าเรื่องราวโดยการเขียน..เพราะว่าสมัยนี้ตอนเรียนหนังสือ ข้อสอบจะเป็น choice ส่วนใหญ่ พวกเราจึงไม่ค่อยได้ฝึกการเขียนเท่าไร..ส่วนนี้ก็จะพัฒนาการเขียนที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้..
  2. ในการเขียนบันทึกช่วงแรกๆ พวกเพื่อนๆ ของเราคงได้ติดตามเข้าไปอ่านบ้าง..มีการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน..ข้อนี้ก็เป็นการฝึกให้คนที่เข้ามาอ่าน..ฝึกนิสัยการแสดงความชื่นชมยินดีกับผู้อื่น..การพลอยแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี..หรือการฝึกนิสัยแสดงมุทิตาจิตต่อผู้อื่นด้วย
  3. แสดงตัวตนของเราออกมาจากบันทึกที่เราเขียน..เพราะว่าในบันทึก..มักจะมีเรื่องราวของเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย (ก็เราเป็นผู้เล่า) บันทึกที่เล่าเรื่องราวอย่างนี้ได้ดี คือ บันทึกที่เกี่ยวกับการเดินทางหรือท่องเที่ยว..ไปเห็นอะไรมา..เราก็ใส่ความรู้สึกของเราเข้าไปในตัวอักษรด้วย
  4. ถ่ายทอดความสำเร็จในการทำงาน...เริ่มจากความสำเร็จเล็กๆ ก่อน...เป็นการฝึกการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน..เพื่อจะไปทำงานที่ใหญ่ขึ้นให้สำเร็จ..ความสำเร็จต้องเริ่มจากก้าวแรกก่อน..เสมอ
  5. เรียนรู้ความสำเร็จจากผู้อื่น..แล้วมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของตัวเอง...ในการเริ่มบันทึกใหม่ๆ เราก็ต้องไปหาความรู้จากผู้อื่น..โดยต้องเริ่มเข้าไปอ่านบันทึกของคนอื่น.(ว่าเขามีรูปแบบในการเขียนบันทึกอย่างไรบ้าง) เมื่ออ่านก็ย่อมได้ความรู้..และบางครั้งก็เอามาประยุกต์ใช้กับงานของเราได้อย่างไม่รู้ตัวเหมือนกัน

  ในท่ามกลาง

  1. จะเกิดอาการเป็นโรคติดบล็อก คือ ถ้าไม่ได้เขียนบันทึกวันนี้แล้ว..จะรู้สึกหงุดหงิด..มาถึงตอนนี้ คุณก็จะเป็นคนที่เขาเรียกว่า "Blogger" แล้ว เพราะคุณอาจเขียนบันทึกมาถึง 100 บันทึก โดยไม่รู้ตัว
  2. เกิดมีกลุ่มชน หรือชุมชน "คนคอเดียวกัน" เกิดขึ้น มีคนรู้จักคุณเพิ่มขึ้น..ก็จะเกิดการจับกลุ่มกันเพื่อ ลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) กันเพิ่มขึ้น ในกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน..นอกจากนั้นก็จะเกิด "มิตรภาพ" ใน blogger เกิดความหวังดีซึ่งกันและกัน เรียกว่าเกิด "กัลยาณมิตร" ขึ้นในบล็อกหรือบันทึกเลยทีเดียว
  3. ถึงตอนนี้..เราก็อยากพบตัวตนจริงๆ ของ คนที่เรา B2B กันบ่อยๆ อยากจะเปลี่ยนเป็น F2F บ้างแล้ว คืออยากจะเห็น "ตัวเป็นๆ" ของเขาบ้างแล้ว ซึ่งอาจพบเจอกันในงานต่างๆ..หรือมีการนัดหมายไปพบกัน

 ในเบื้องปลาย

  1. ใช้บล็อกในการเป็นหางปลา เพื่อเป็นที่รวบรวมขุมความรู้ (Knowledge Assets) ส่วนนี้รู้สึกว่า ป้าย (Tag) จะเข้ามามีบทบาทมาก โดยใช้คำสั่ง "ค้นหา" เพื่อให้ได้มาซึ่งขุมความรู้ที่เราต้องการ
  2. นอกจากบล็อกจะเป็นหางปลาแล้ว มันยังเป็นตัวปลาด้วย..เพราะทำให้เกิดการลปรร. ระดับ individual, ระดับหน่วยงาน. ระดับองค์กร, ระดับข้ามองค์กร, และระดับชาติ...ไม่น่าเชื่อว่าบล็อกจะมีพลังเช่นนี้...
  3. บางครั้งบล็อกยังทำหน้าที่เป็นหัวปลาด้วย...อย่างการกำหนดทิศทางด้านใดด้านหนึ่ง กำหนดเป็นทิศทางหรือเป้าหมายให้เดินกันไป..อย่างเช่น ที่สคส.กำหนดทิศทางของการทำ KM เพื่อไปสู่ LO....
  4. ใช้เป็นกลยุทธ์ ที่จะ implement KM เข้าไปในองค์กร แบบว่า "ทำ KM แบบใจสั่งมา ไม่ต้องให้ใครมาบังคับ" ซึ่งส่วนนี้ถ้าพูดแบบเข้าข้างตัวเองหน่อยๆ รู้สึกว่า มน.จะทำได้ดี...เนื่องจากเมื่อคุณเขียนบล็อก คุณก็ต้องไปอ่านบันทึกที่คนอื่นๆ เขาได้เขียนบ้าง..แล้วข้อเขียนหลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่มี KM แฝงอยู่ เราก็จะได้ความรู้ KM ไปแบบไม่ทันรู้ตัว..แล้วนำไปปฏิบัติก้บงานของเราแบบไม่ทันรู้ตัวเช่นเดียวกัน

ในเบื้องท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด)

  1. อย่าไปตก "หลุมดำ KM" อยู่นะครับ..เพราะว่า KM เป็นเพียงเครื่องมือ..เราต้องใช้ KM...พัฒนา "ฅน" พัฒนาที่จิตใจของเขาให้เป็นคนดี (ประมาณ ๒๐ เปอร์เซนต์ขึ้นไป)..ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ LO....เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ก้าวข้าม KM"

   สคส.พยายามไปถึงเบื้องท้ายๆ แล้วครับ

   แต่หน่วยงานอื่นๆ ยังต้องรอให้คนในองค์กร "ปรับตัว" ให้ไปถึงขั้น .."ก้าวไปพร้อมๆ กัน แบบมั่นคง และไม่ผิดทิศผิดทาง"

                                                                          สวัสดีครับ..beeman

BeeMan

BeeMan

หมายเลขบันทึก: 74898เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2007 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ท่านอ. beeman......

  • ขอบพระคุณอย่างมากเลยค่ะ  หว้าจะเก็บบันทึกนี้ไว้เป็นแนวทางให้กับตัวเอง   การเขียนบล็อกเปลี่ยนแปลงตัวหว้ามากเหลือเกิน   
  • หว้าเป็นเพียงอาจารย์เล็กๆคนหนึ่ง  แต่เป็นที่แปลกใจของหลายๆคนว่า ไม่ว่าเราจะไปที่เชียงใหม่ก็มีคนรู้จัก  จะไปที่มหาสารคามหรือขอนแก่นก็มีคนรู้จัก   ทำไม?? เกิดคำถามขึ้นกับหลายคนค่ะ
  • ขณะนี้กลายเป็นโรคติดบล็อกไปแล้วค่ะ  อยู่กลุ่มคนนอนดึกค่ะ    เดี๋ยวนี้ทำงานตอนกลางคืนไม่เหงาแล้ว  เพราะท่านครูบาจะคอยเตือนว่า "ไปนอนได้แล้ว" อบอุ่นจังค่ะ
  • นี่แหละคือพลังของ GotoKnow...
  • พลังของการลปรร. ครับ อ.ลูกหว้า
  • ขอบคุณที่มาลปรร.ครับ
  • ผมก็ติดไปแล้วครับ แต่ผมว่าดีกว่าติดเกมร์ออนไลด์ หรือติดเที่ยวนะครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • ถูกต้องคร๊าบ น้องปืน
  • ถ้าคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น..ที่ติดเกมส์, ติดเกมส์ออนไลน์, ติดเที่ยวกลางคืน, ติดสุรา, ติดผู้หญิง, ติดเว๊ปโป๊เปลือย..
  • มาติดบล๊อก..ดีกว่าเยอะเลยครับ

เรียนท่าน อ.beemanค่ะ..

  • ท่าน อ.หมอสมบูรณ์กล่าวชื่นชมท่านให้ฟังอยู่บ่อยๆค่ะ...
  • บันทึกของท่านชัดเจน...และชัดแจ้ง....ทำให้ผู้บันทึกไม่สับสนและหลงทางค่ะ
  • ขอบพระคุณท่านค่ะ
  • ตอนนี้ก็ติด blog ไปแล้วเช่นกัน
  • บันทึกนี้ ทำให้เห็นภาพการใช้งาน blog ได้อย่างชัดเจน
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ตอนนี้ของมน. พยายามทำให้ไปติดบล็อกกันก่อนครับ..
  • แล้วค่อยพัฒนาขั้นต่อไป..
  • แต่ส่วนที่นำหน้าไป ก็พัฒนาไปถึงขั้นพัฒนาองค์กรแล้ว
  • อย่างเช่นคณะสหเวชศาสตร์ ใช้บล็อกในการทำประกันคุณภาพ โดยใส่ดัชนีชี้วัดไว้ที่ป้าย
  • หรือใช้ลปรร.กันในการทำวิจัยสถาบัน อย่างที่คุณบอยเขียนไว้ในเรื่อง baby research นั่นแหละครับ

ขอขอบคุณ คุณกฤษณา ครับ

  • คิดว่าเขียนวันอาทิตย์แล้วจะไม่มีคนอ่านครับ..พอมีบ้าง..
  • พอรู้สึกว่า บันทึกนี้มีประโยชน์ก็ชื่นใจแล้วครับ..
  • ค่อยๆ พัฒนา..ไปด้วยกันครับ

ขอขอบคุณ คุณมะปรางเปรี๊ยว เช่นกันครับ

  • เพิ่มเติมอีกหน่อยครับ..
  • เดี๋ยวนี้ในมน.บล็อกระบาดไปสู่คณะ และหน่วยงานต่างๆ...ตัวคูณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • อย่างสำนักหอสมุด, คณะเภสัชศาสตร์, คณะทันตแพทย์ศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กองกิจการนิสิต, สภาและองค์การนิสิต, คณะนิติศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ฯลฯ
  • สวัสดีค่ะ
  • สงสัยจะติด blog  แล้วเหมือนกัน เพราะต้องเข้ามาทุกครั้งที่มีเวลา(บางครั้งไม่มีก็ยังเข้ามา) ถึงแม้ไม่ได้มาเขียนบันทึก ก็ขอให้ได้เข้ามาแอบอ่านบันทึกของคนอื่น  มีความสุขค่ะ
  • ยินดีต้อนรับครับ "ครูตุ๊กแก" ชื่อแปลกดี..
  • ที่บ้านเลี้ยงตุ๊กแก..หรือเปล่า..
  • เป็นโรคติดบล็อกก็ดีแล้วครับ..อย่าลืมสอนนักเรียนที่ Learners ด้วยครับ..
  • ถ้าอ่านบันทึกแล้วมีความสุขก็หลับสบายครับ
  • เข้าไปอ่านประวัติแล้ว..อยู่สุพรรณบุรี คงมีสายสัมพันธ์อันดีกับคุณปวีณานะครับ

ที่ผมกลัวที่สุดคือหลุมดำครับ

ตอนนี้ก็มีหลุมดำที่สำคัญอยู่หลายหลุมแล้ว เช้น

  1. คำว่า KM ทำให้คนงงมากจนคิดอะไรไม่ออก
  2. ปลาทูหมื่นปี สับสนพอๆกัน มองเห็นคนเป็นปลาไปเลย
  3. สารพัด "คุณ" ใน KM ที่แยกแยะ จนขาดจากกัน ทั้งที่ควรบูรณาการเป็นคำเดียวกัน
  4. และ แม้แต่การให้คำจำกัดความที่สับสนของ Tacit Knowledge ว่าจะเอาออกมาให้คนอื่นดูได้โดยง่าย แค่มาเล่าสู่กันฟัง ก็ทำให้คนที่ไม่เคยขี่จักรยานสามารถขี่จักรยานล้อเดียวได้ทันที
  5. การทำKM เชิงสมมติ ไม่มีชีวิตจริงในนั้น ที่อย่างมากก็แค่ IM (information Management)
  6. การทำ KM แทนคนอื่น เหมือนทานอาหารแทนกัน คนอดอาหารก็ยังหิวเหมือนเดิม
  7. และโรคติด gotoknow นับถือ เป็นพระเจ้าที่จะบันดาลทุกอย่าง
  8. โรคเจ๊าะแจ๊ะศาสตร์ขึ้นสมอง คุยเรื่องที่มีสาระหน่อยก็บอกว่าเครียดไป
  9. โรคUKMบางแห่งเห็นงานบริหารสำคัญกว่างานวิชาการ และคิดว่างานบริหารจะแก้ปัญหาวิชาการได้ ทั้งๆที่ผู้บริหารบางคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องงานวิชาการ ก็เลยหนีมาเอาดีทางบริหาร แบบขายผ้าเอาหน้ารอด
  10. ฯลฯ

ผมคิดว่าถ้าเราไม่ก้าวข้ามหลุมดำเหล่านี้ งานที่เราทำก็จะติดกับอยู่กับเรื่องเดิมๆ

แล้วเราจะไปไหนกันหรือเปล่าครับ

เดี๋ยวผมจะลองหยั่งเชิงวัดกึ๋นดู ในบล็อกของผมครับครับ

 

     ขอขอบคุณ ท่าน ดร. แสวง รวยสูงเนิน ที่เข้ามาให้ comment นะครับ

  • ช่วงนี้ หลายๆ ท่าน รวมทั้ง beeman ด้วย ก็ติดอยู่ในหลุมดำอยู่นะครับ
  • แต่หลายท่านก็คงพ้นหลุมดำไปแล้ว..
ราณีเพิ่งมาอ่านค่ะ  เห็นของจริงจากที่ท่านอาจารย์ได้เขียนกล่าวข้างต้นอย่างชัดแจ้งเลยค่ะ จะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ  นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีที่สุดตั้งแต่พบมา ไม่มีความแก่งแย่ง ไม่ชิงดีชิงเด่นกัน สุดยอดค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท