Sensing….การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านอายตนะทั้ง 6


อาจารย์ ดร. วรภัทร์ นำเสนอใน workshop ท่านพูดเน้นเฉพาะคำว่า Sensing แต่จริง ๆ แล้วท่านนำเสนอ หลักการเรียนรู้ หรือ กระบวนการเรียนรู้ที่ ว่าต้องเกิดที่ “ใจ” ก่อน และ นำหลักการของทฤษฎีตัว ยู (U Theory) มาบอกพวกเรานั่นเอง โดยไม่เอ่ยถึงชื่อของทฤษฎีเลย

มมส

     ท่านที่เข้าร่วม KM workshop ในวันที่ 24 ที่ผ่านมาที่ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตนักวิทยาศาสตร์ประจำองค์การนาซ่า ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้แก่ชาว มหาวิทยาลัยมหาสาคามนั้น  คงจะได้ยินการเน้นย้ำคำว่า Sensing ในหลายตอนของ workshop ว่ามีความสำคัญอย่างไร ? พร้อมด้วยตัวอย่างง่าย ๆ ต่าง ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า เรื่อง Sensing นี้ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน   รูปที่ผมนำมาใส่ไว้ข้างบนนี้  ผมคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เรื่องของ Sensing ของท่านอาจารย์ นายแพทย์จิตเจริญ หรือ JJ ทำให้ท่านจับภาพนี้ไว้ให้ผมได้ใช้ประโยชน์ พร้อมบรรยายภาพว่า โฆษกหนุ่ม แห่ง มมส.
         เบื้องหลังการทำหน้าที่ของผมในวันนั้นเกิดจากความจำเป็น เนื่องจากพิธีกรมืออาชีพที่เราขอความร่วมมือไปแจ้งกลับมาว่าติดราชการงานอื่น ไม่สามารถมาช่วยได้ เราปรับแผนเชิญพิธีกรมือสองที่ขณะนั้นอยู่ที่นครนายก ดูแลนักกีฬาโดยเฉพาะนักชกจาก มมส. ในมหกรรมกีฬาปัญญาชน โดยคาดจากประวัติการเข้าร่วมงานมหกรรมกีฬาครั้งที่ผ่าน ๆ มาว่าพิธีกรท่านนี้น่าจะกลับมาช่วยเราได้ทันในวันที่ 24 แต่ในวันที่ 22 ขณะที่เรากำลังประชุม BAR เราก็ได้รับแจ้งว่า นักกีฬามวยของเราในปีนี้ผ่านเข้ารอบและมีโอกาสลุ้นเหรียญ พิธีกรที่เราหวังจึงกลับมาช่วยเราเลยมาไม่ได้ สมาชิกในที่ประชุม ต่างก็ยินดีที่เป็นครั้งแรกที่นักชกจาก มมส. จะมีโอกาสลุ้นเหรียญ  แต่ใครละจะทำหน้าที่เป็นพิธีกร สอบถามกันไปมาในที่ประชุมไม่มีใครอาสาหรือพร้อมที่จะรับ  นั่นคือที่มาว่าทำไมผมจึงต้องเป็น โฆษกหนุ่มแห่ง มมส. ในวันนั้น  ผมทำไปโดยอาศัย Sensing เช่นเดียวกัน ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ
          จำได้ว่าเรื่อง Sensing นี้เคยอ่านในหนังสือ The Inner Path of LO & KM ของ ดร. วรภัทร์  วันนี้จึงย้อนกลับมาอ่านอีกครั้ง รู้สึกเข้าใจมากขึ้น มองเห็นว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ ดร. วรภัทร์ นำเสนอใน workshop ท่านพูดเน้นเฉพาะคำว่า Sensing แต่จริง ๆ แล้วท่านนำเสนอ หลักการเรียนรู้ หรือ กระบวนการเรียนรู้ที่ ว่าต้องเกิดที่ ใจ ก่อน และ นำหลักการของทฤษฎีตัว ยู (U Theory) มาบอกพวกเรานั่นเอง โดยไม่เอ่ยถึงชื่อของทฤษฎีเลย <p align="left"> </p>

หมายเลขบันทึก: 74845เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เสมือนหนึ่งใน AAR ข้อแรกของผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท