ธรรมชาติของจิตในพระพุทธศาสนา


"เบญจขันธ์ > กิเลส> อุปทาน 4 > เกิดความรู้สึกเป็นสุข-เป็นทุกข์-เฉยๆ"

ปกติแล้วขบวนการธรรมชาติของจิตเมื่อกระทบกับปรากฏการณ์ต่างๆ อันเป็นขันธ์ห้า แล้วจะเกิดปฏิกิริยาขึ้นภายในจิตรวดเร็วมาก จนเราอาจไม่รู้ตัว ไม่ทันสังเกต เพราะขาดการเผ้าสังเกต จึงเกิดเป็นอารมณ์ที่ถูกปรุงแต่งให้ผิดเพี้ยนไปจากสภาพที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เรียกว่า อวิชชา นั่นคือขาดความรู้อันเป็นปัญญาทางพุทธศาสนาที่แท้จริง จิตของเราก็เลยเอาขันธ์ห้านี้มารวมกับความหยาก จึงเกิดกิเลส ที่เรียกว่า โลภ โกรธ หลง จิตใจก็เลยไปยึดติดเอาผลที่เกิดจากการปรุงแต่งเกิดเป็นอุปทาน 4 ประเภท คือ

  1. กามุปทาน คือ การยึดติดในกามและของรักใคร่ ติดพันในสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ สิ่งบำรุงบำเรอสบายใจ อันทำให้เกิดความรักกัน โกรธกัน เกลียดกัน อิจฉาริษยา
  2. ทิฎฐปาทาน คือ การยึดติดในความคิดเห็นเดิมๆ ที่มีอยู่ แล้วเกิดเป็นความดื้อดึง ไม่ยอมละความไม่ถูกต้องที่มีอยู่ และไม่ยอมรับในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ดีกว่า
  3. ลีลัพพตุปาทาน คือ การยึดติดในการปฏิบัติที่มีจุดมุ่งหมายที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งที่งมงาย ไร้เหตุผลหรือความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันไม่ใช่ความรู้ในทางพุทธศาสนา
  4. อัตตวาทุปาทาน คือ การยึดติดในความมีหรือความเป้นเจ้าของตัวตน โดยยึดเอาตัวตนเองเป็นใหญ่ กระทำการต่างๆ ด้วยสัญชาตญาณเพื่อการอยู่รอดของตนเอง พึ่งตนเองเป็นสำคัญ

ฉะนั้นจิตที่เป็นอวิชชาเมื่อไปหลงยึดติดในสิ่งที่มากระทบเข้ามาในระบบ ในที่สุดก้จะถูกพัฒนาการเป็น ความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ

เบญจขันธ์ > กิเลส> อุปทาน 4 > เกิดความรู้สึกเป็นสุข-เป็นทุกข์-เฉยๆ

หมายเลขบันทึก: 74810เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณครับในสรัตถะชีวิตที่มีประโยชน์
  • ปกติคุณวิชิตสนใจศึกษาเรื่องธรรมะมากหรือเปล่า เพราะเห็นมีบันทึกจำนวนไม่น้อยที่เขียนในทำนองนี้
  • เคยอ่านไตรภูมิพระร่วงบ้างหรือเปล่า...น่าสนใจมากครับ  ถ้ายังไม่เคยอ่าน ว่าง ๆ ลองศึกษาดูนะครับ

ปกติผมศึกษาธรรมะตามสะดวกครับ ไม่รู่ว่ามากหรือน้อย

มันก็แปลกดีนะครับ...

คนเราสามารถเข้าใจอะไรได้เยอะแยะ มากมาย แต่กับจิตใจตัวเอง กลับเข้าใจได้ยากจริง ๆ ...

 

สวัสดี ว่าที่ ดร.วิชิต

  • วันนี้ (4 พ.ย.53) ค่อย ๆ พิจารณาธรรมประจำวัน มาติดตรงอุปทาน จึงค้นด้วย Google ทำให้ได้มาพบบันทึกนี้อีก
  • โอ้โฮ! สุดยอดแก่นธรรมจริง ๆ
  • เคยมาอ่านแล้วครั้งหนึ่งแต่เห็นไม่ชัด วันนี้ชัดขึ้นนะ สาธุ สาธุ 

 

ท่าน ดร. ภูฟ้า

ขอบคุณมากครับ สาธุๆๆๆ

ข้อ 4 .... น่ากลัวนะครับ แก้ไขกันลำบาก "ผู้มีปัญญาอยู่เพื่อ... แต่ผู้มีอัตตาตนอยู่เพื่อ..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท