การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มีปัญหาซับซ้อนแบบองค์รวม 02


Holistic approach in Breast Cancer recieving Chemoterapy

การดูแลกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์      ปัญหาครอบครัว  และปัญหาเพศสัมพันธ์ 

จากการสูญเสียเต้านมและจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยผมร่วงทุกรายที่มารับยาเคมีบำบัด  ผิวหนังมีสีดำคล้ำลง  เบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลดลง รูปร่างซูบผอม มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์

ยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ในทางลบมากขึ้น 

ฉันใช้วิธีให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยให้สามารถปรับตัวกับภาพลักษณ์ใหม่

ก่อนให้คำปรึกษา    จะต้องประเมินปัจจัยเอื้อที่มีผลต่อการปรับตัว   ต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์  เช่น การมีครอบครัวที่อบอุ่น ผู้ป่วยมีจิตใจเข้มแข็งรู้สึกว่าตนมีคุณค่าต่อครอบครัวและลูกหลาน 

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาพลักษณ์ใหม่ได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีปัญหาครอบครัว

ฉันใช้ความรู้และความเข้าใจในกระบวนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์  เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Lee,1970)

ระยะแรก เป็นระยะที่มีการถูกกระทบ (Impact) ผู้ป่วยยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบทีมีต่อภาพลักษณ์ตนเอง เพราะสนใจและพยายามที่จะลดบรรเทาความรุนแรงจากอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด การดูแลในระยะนี้พยาบาลจะต้องให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ระยะที่ 2 ระยะปิดกั้นตนเอง (Retreat) ไม่พยายามรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พฤติกรรมที่แสดงออกในช่วงนี้ บางคนไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว บางรายมีพฤติกรรมสดชื่นผิดปกติ ภาวะนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้จัดระเบียบภายในตนเอง เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่

ระยะที่ 3 ระยะยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Acknowledgement) ผู้ป่วยเริ่มยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น  ผู้ป่วยอาจมีความโศกเศร้า ต้องการอยู่ตามลำพัง ในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของครอบครัวหรือบุคลากรทางสุขภาพ จะต้องให้กำลังใจ  มีพฤติกรรมแสดงออกอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย เพราะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของผู้ป่วย

ระยะที่ 4 ระยะสร้างภาพลักษณ์ใหม่ (Reconstruction) ระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มที่จะเรียนรู้ภาพลักษณ์ใหม่ของตนเอง สามารถปรับตัวได้

ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศชาย ถามว่า ทำไมผมเป็นผู้ชายถึงป่วย ลูกสาวผมอายุ 12 ปีจะป่วยเหมือนผมไหม เพราะน้องสาวผมก็ป่วยและเสียชีวิตเพราะโรคนี้  เวลากลับบ้านผมพยายามทำใจให้ลืม ทำงานมากๆ ผมไม่บอกใครว่าป่วยเป็นโรคนี้ แม้แต่ลูก ภรรยาผมที่ทำงานที่ญี่ปุ่นและลูกน้องผม ผมเป็นหัวหน้ารับเหมาก่อสร้าง ถ้าลูกน้องผมรู้จะอายมาก

จะเห็นว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์  คือ การรับรู้ว่ามะเร็งเต้านมส่วนมากจะพบในผู้หญิง   ทำไมผู้ชายจึงเป็นโรคนี้ และกังวลว่าลูกสาวจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ เพราะน้องสาวเสียชีวิตเพราะโรคนี้ ผู้ป่วยอยู่ในระยะปิดกั้นตนเอง ไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น

 กิจกรรมการพยาบาลที่ฉันใช้ในการดูแลผู้ป่วย

คือ  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม อุบัติการณ์การเกิดโรค การให้ความรู้เรื่อง  การดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ และแจกคู่มือเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง   เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปให้ลูกสาวเรียนรู้และสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้   การให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง   เพื่อให้การรักษาได้ผลดี ทำให้ผู้ป่วยลดความเครียดได้

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และลดปัญหาด้านจิตใจ สามารถดูแลตนเองได้

ฉันจะจัดให้เข้ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้จากผู้ป่วยที่สามารถปรับตัวต่อภาพลักษณ์ใหม่ได้ดี โดยจัดเข้ากลุ่มทั้งหมด 6 ครั้งๆละ 45-60 นาที แต่ละครั้งจะมีพยาบาลเข้าร่วมประชุมกลุ่มครั้งละ 1-2 คน  มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเข้าร่วมกลุ่มครั้งละ 3-5 คน รวม 16 คน

ปัญหาที่พบ ส่วนมากผู้ป่วยมีอาการขางเคียงของยาเคมีบำบัด  มีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์  มีปัญหาเพศสัมพันธ์และ ครอบครัว 

 ผลลัพธ์จากการทำกลุ่ม  

ผู้ป่วยบอกว่าการเข้ากลุ่มทำให้รู้ว่าคนอื่นก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน ทำให้สบายใจ อยากให้จัดกลุ่มแบบนี้และสามารถรู้วิธีดูแลตนเองจากผู้ป่วยอื่นได้  จากการประเมินผล ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองได้  ร้อยละ 95.54   

หมายเลขบันทึก: 74773เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)
  • ตามมาเยี่ยมชมครับ
  • แนะนำให้ Post ๓-๔ บันทัดแล้ว Enter ครับ ตัวอักษรจะได้ไม่ติดกันเป็นพรืด..จะทำให้อ่านง่าย..ถ้าพิมพ์จาก word ขอให้เพิ่มขนาดของ Font อีก 2 นะครับ
  • กรุณาไปเยี่ยมที่บันทึกนี้ <click> ด้วยครับ
  • และแจ้งชื่ออีก ๒ ท่านด้วยครับ ผมจำไม่ได้แล้ว
  • ผมตามหาคุณอุบลพบแล้ว ตั้งแต่ ๒ วันก่อนครับ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ที่แนะนำการเขียน จะต้องเรียนรู้อีกมาก จึงจะเขียนได้น่าอ่าน

  • คุณอุบล ครับ 
  • นัดพบ blogger คณะแพทย์ มข. ซักวันดีไม๊ ครับ จะได้แลกเปลี่ยนกันได้ ครับ
  • ถ้าสนใจจะได้นัด คุณกฤษณา อีกคน
  • พรุ่งนี้ (วันศุกร์) แวะมาหาผมกับคุณกฤษณาที่ภาคฯ หลังบ่ายสามเป็นต้นไป ได้ไม๊ ครับ ถ้าไปไม่ได้ โทรไปหน่อยนะครับ โทร 63060
  • วันนี้ผม คุณกฤษณา คุณทวนทอง และ อ. สุรพล ได้คุยกัน แลกเปลี่ยนกันไปบ้างแล้ว แวะไปบันทึก อ. สุรพลหน่อยซิ ที่นี่
  • แกะรอยมาเยี่ยมค่ะ
  • มาพบขุมความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ
  • สถิติผู้คนเป็นมะเร็งเยอะขึ้นนะคะ
  • เยอะจนน่ากลัวค่ะ
  • ปัจจุบันดิฉันเลิกทานน้ำแข็ง และทานข้าวนอกบ้านให้น้อยลงค่ะ (มีสารปนเปื้อน + ผงชูรส) เยอะมากค่ะ
  • เคมีในร้านเสริมสวยก็ตัวร้ายนะคะ เพราะแฟชั่น ทำให้เราใช้สารเคมีเยอะขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ
  • ขอบคุณคุณ Bright Lily ที่ให้กำลังใจ Blogger น้องใหม่อย่างดิฉัน
  • ดิฉันรู้สึกประทับใจคุณตั้งแต่ดิฉันเขียน blogใหม่ๆ แล้วจำได้ว่าคุณเป็นคนแรกที่เขียนมาให้กำลังใจ
  • ลองติดตามอ่านต่อไปนะคะ
  • ดิฉันเป็นพยาบาลที่ดุแลผู้ป่วยมะเร็ง
  • แต่ละวันมีผู้ป่วยมากมายที่มารับยาเคมีบำบัด
  • ผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นมากทุกปี ดิฉันคิดว่าโลกเราทุกวันนี้มีสารปนเปื้อนมากมาย
  •  ในปี 2549 คนที่มารับยาเคมีที่ตึกดิฉัน ประมาณ 2,500 คน
  • มาทักทายเอาตัวอย่างรูปมาฝาก
  • เข้าไปดูที่ถามอุบลนะครับ
  • ขอบคุณค่ะคุณขจิตที่เอารูปมาฝาก

 

ปรับปรุงข้อมูลใน Blog ให้น่าอ่านขึ้น

  • วันนี้ ดิฉันได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทีอยู่ในระยะแพร่กระจาย
  • ผู้ป่วยหญิงไทย  เป็นมะเร็งเต้านมด้านขวามาตัง้งแต่ปี 2548 หลังคลอดลูกคนเล็ก 2 เดือน
  • ได้รับยาเคมีบำบัด 12 ครั้งและฉายแสง 28 แสง ที่โรงพยาบาลจังหวัด
  • ต่อมามีตุ่มแดงขึ้นบริเวณเต้านมด้านที่ผ่าตัด แขนขวาบวม
  • นอนราบไม่ได้ ต้องนั่งฟุบที่โต๊ะข้างเตียง
  • จึงมารักษาที่ รพ ศรีนครินทร์เพื่อรับยาเคมีสูตรใหม่
  • แผลใหญ่มาก พยาบาลตองทำแผลเป็นชั่วโมง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ภาพลักษณ์เสียจากแขนบวม (Lymphedema)

  • หลังจากที่ดิฉันเข้าไปนั่งพูดคุยกับผู้ป่วยคนนี้
  • ถามถึงลูก ถึงครอบครัว และถามอาการว่าปวดแผลไหม
  • กินข้าวได้หรือไม่  เพราะแผลจะมีกลิ่นเล็กน้อย
  • นอนอิ่มไหม เพราะตั้งแต่ป่วย ผู้ป่วยนอนราบไม่ได้เลย  ขอบตาเขียว
  • กังวลไหม

ผู้ป่วยนำตาไหลบอกว่ากลัวไม่หาย แต่ก็นึกถึงลูกเล็ก ก็ตองสู้   สามีก็คอยดูแล ตอนนี้ฝากลูกไว้กับป้า

ฉันจึงให้กำลังใจผู้ป่วยว่า เราต้องคิดว่าเราต้องดีขึ้น  แต่เราต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล 

ยกแขนข้างที่บวม เพื่อออกกำลังแขน

รับประทานอาหารให้เพียงพอที่จะต่อสู้กับโรค 

คุณอุบลช่วยแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมให้หน่อยสิค่ะ

ว่าถ้าผ้าตัดเอาเต้านมออกแล้ว ต้องทำเคมีบำบัด มีผลกระทบอะไร

ต่อผู้ป่วยบ้าง และผู้ดูแลต้องเตรียมตัวอย่างไรค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกาโม่

หลังผ่าตัดเต้านม ระยะแรกผู้ดูแลต้องพาเดินออกกำลังกายบ้าง ออกกำลังแขน เพื่อป้องกันแขนบวม

เมื่อรับยาเคมี คนไข้จะเบื่ออาหาร เราต้องหาอาหารอุ่นๆ และที่ผู้ป่วยชอบให้รับประทาน

ถ้าคลื่นไส้ ก็หาน้ำผัก น้ำผลไม้ น้ำเต้าหู้ น้ำขิงป้องกันอาการคลื่นไส้ ให้ดื่ม

หลังให้ยาคนไข้อาจเหนื่อยล้า เราต้องพาเดินออกกำลังกายตอนเช้า อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะได้ลดอาการเหนื่อยล้าได้

แฟนผมเป็นมะเร็งเต้านม ผมจะต้องทำอย่างไร

ผ่าตัดเอาเนื้อไปตรวจแล้วเจอ

คุณเอก

ถ้ารู้ผลชิ้นเนื้อแล้ว แพทย์อาจให้ยาเคมีบำบัดค่ะ

อยากได้วิธีการบริหารแขนเพื่อลดบวมหลังผ่าตัดเต้านมข้างซ้าย ใน 24 ชม.แรกครับ เอาแบบละเอียดนะครับ

คุณวินัยคะ

สามารถบริหารแขนและไหล่ได้ในท่าไต่ผนังและหวีผมนะคะ

เริ่มใช้แขนข้างเดียวกับด้านผ่าทีละน้อย

ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือถ้าจะต้องสัมผัสสิ่งที่ไม่สะอาด

ไม่ควรสวมเสื้อที่รัดแขนด้านที่ผ่า เช่น สร้อย แหวน นาฬิกา

ออกกำลังแขน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดี โดยการบีบลูกบอลยางเล็กๆด้วยมือ

สวัสดีค่ะ  คุณอุบล

  • ปี 51  เป็นคนไข้ประจำที่ห้องรักษ์ปทุมค่ะ  แต่โชคดีที่เป็นแค่เนื้องอก  แต่ก้อนโตมากจึงขอให้คุณหมอผ่าตัดเอาออกค่ะ
  • ปัจจุบันก็เฝ้าระวัง  ทุกๆ 6 เดือนค่ะ
  • เห็นคนไข้ที่มีเนื้อร้ายแล้วน่าสงสารและเห็นใจมาก
  • นึกถึงสภาพจิตใจของตัวเองในวันที่รอฟังผลค่ะ
  • แต่หลายคนที่รักษาโดยใช้เคมีบำบัด  ก็กลับมาสวยสดใส  และใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติ  เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกๆท่านนะคะ
  • และเป็นกำลังใจให้คุณแก้วด้วยค่ะ  กำลังใจของคนป่วยก็อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่  และคำพูดเพราะๆ  ที่มาจากจิตใจที่เมตตาของแพทย์และพยาบาล  เป็นหลักเลยค่ะ

P

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรักษาหายได้ ถ้าพบในระยะเริ่มแรก

สวัสดีค่ะ

  • ขอเป็นกำลังใจให้คุณแก้วค่ะ
  • และขอให้ผู้ป่วยทุกท่าน..ปลอดภัย หายขาดค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผม ป.โท มมส.ครับ ตามมาให้กำลังใจอาจารย์ครับ

สวัสดีค่ะ ขอรบกวนขอความรู้หน่อยนะคะ แฟนดิฉัน(ทอม)เป็นมะเร็งเต้านม ครั้งแรก ตัดทิ้งไปแล้วข้างหนึ่ง พอปี 50 ตรวจเจออีกข้างหนึ่ง คราวนี้ตัดออกสองข้างเลย คุณหมอบอกว่า เป็นระยะสาม มีโอกาสหายขาดหรือไม่แพร่กระจายไหมคะ แฟนรักษาตัวอยู่เมืองนอกค่ะ ประเทศอเมริกา และดิฉันอยากให้กลับมาอยู่เมืองไทย มารักษาต่อที่นี่ จะทำอย่างไร หาโรงพยาบาลเฉพาะทางได้ที่ไหนคะ ตอนนี้ดิฉันไม่รู้จะทำอย่างไร สับสนมาก อยากให้กลับมารักษาเมืองไทย แต่ เริ่มต้นไม่ถูกค่ะ คุณอุบล ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ภาดา

คุณpada

มะเร็งเต้านมรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด มีหลาย รพ รักษาได้

ถ้าที่ กทม ลองไปสถาบันมะเร็ง หรือ รพ รามา จุฬา ศิริราชก็ได้ค่ะ

พี่อุบลคะพอจะมีแหล่งข้อมูลของการป้องกันข้อไหล่ติดมั้ยคะ

รบกวนขอคำแนะนำค่ะ

คุณnathnapa

ข้อมูลมีทุกที่ค่ะ โดยเฉพาะ รพ ศรีนครินทร์ สถาบันมะเร็ง ฯลฯ

คห 19 ที่บอกว่า ถ้าระยะแรก รักษาหายได้

อยากทราบว่า มีกี่ระยะ แต่ละระยะอาการอย่างไร

หากทำการผ่าตัดหน้าอก หลังจากนั้นทำเคมีบำบัด และฉายแสง

ทั้งสองประการมีผลต่อผู้ป่ายอายุมากประมาณ 65 ปี อย่างไรหรือไม่

มีคำแนะนำสำหรับอาหารที่เหมาะสมหรือไม่ครับ

ขอบคุณมากครับ

คุณGott

โรคมะเร็งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
            ระยะที่ 1 : โรคมะเร็งจะอยู่ที่อวัยวะที่เป็นโรคเท่านั้น ไม่มีการลุกลามหรือแพร่กระจายออกไปไหน
            ระยะที่ 2 : โรคมะเร็งจะยังคงอยู่ที่อวัยวะที่เป็นโรค แต่มีขนาดโตขึ้น และเริ่มมีการรบกวนหน้าที่ของอวัยวะนั้น ๆ และ/หรือมีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงเล็กน้อย
            ระยะที่ 3 : โรคมะเร็งมีการลุกลามมากขึ้น อวัยวะที่เป็นโรคมักจะถูกทำลายจนผิดสภาพ และทำ หน้าที่ผิดปรกติไป และมีน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตขึ้นชัดเจน
            ระยะที่ 4 : โรคมะเร็งมีการลุกลามออกไปยังอวัยวะใกล้เคียงและ/หรือแพร่กระจายไปทางกระแสเลือด เกิดมะเร็งแพร่กระจายที่อวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างจากต้นกำเนิดโรค เช่น ปอด ตับกระดูก และ สมอง เป็นต้น 

การตรวจ     

เมื่อมีอาการผิดปกติ และสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็ง  ท่านควรรีบไปพบหมอแผนปัจจุบัน คุณหมอ  ก็จะทำการตรวจร่างกาย และให้การวินิจฉัยว่าท่านเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ หลังจากได้นำเนื้อเยื่อในบริเวณที่สงสัยไปพิสูจน์ จะทำให้ทราบว่าใช่เนื้อมะเร็งหรือไม่แล้ว ยังบอกว่าเป็นมะเร็งชนิดใดอีกด้วย

การรักษาหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งและระยะของโรค ถ้าเป็นระยะเริ่มแรก 1-2 มีโอกาสรักษาหาย

 http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=113

   

การรักษา

  • ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
  • ถ้าก้อนโตมากอาจให้เคมีก่อนผ่าตัด
  • ถ้าก้อนโตไม่มากอาจผ่าตัดก่อนให้ยา

ลองให้แพทย์ดูก่อนนะคะ มะเร็งเต้านมหายได้ถ้าเป็นระยะแรก

สู้ สู้ นะคะ

สวัสดีค๊ะ ตอนนี้แม่ของดิฉันเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ค๊ะ ถามคุณหมอท่านว่า ประมาณ ระยะที่ 2 - 3 แล้ว คือ ก้อนเนื้อขนาด 2.5 ซม.

และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้วด้วย ตอนนี้ผ่าตัดแล้ว รอเวลาจะให้หมอดูแผล วันที่ 7 ม.ค.52 ที่ มอ. จว.สงขลา อยากได้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลคนป่วยค๊ะ ขอรบกวนด้วยค๊ะ

สวัสดีค๊ะ ตอนนี้แม่ของดิฉันเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ค๊ะ ถามคุณหมอท่านว่า ประมาณ ระยะที่ 2 - 3 แล้ว คือ ก้อนเนื้อขนาด 2.5 ซม.

และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้วด้วย ตอนนี้ผ่าตัดแล้ว รอเวลาจะให้หมอดูแผล วันที่ 7 ม.ค.52 ที่ มอ. จว.สงขลา อยากได้คำปรึกษา คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลคนป่วยค๊ะ ขอรบกวนด้วยค๊ะ

โดยทั่วไปแพทย์จะใหยาเคมีบำบัดต่อค่ะ คุณเพ็ญศรี

เตรียมกายและใจให้แข็งแรงนะคะ จะได้สู้กับการให้ยาเคมีบำบัดได้ค่ะ

อยากทราบว่า ใบย่านาง และ ใบบัวบก สามารถรักษาโรคนี้ได้จริงมั้ย หรือมีสมุนไพรอย่างอื่นช่วยกรุณาแนะนำด้วย แต่ก็จะรักษาตามแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่งอยู่แล้ว ขอทราบว่ารายละเอียดการให้ยาเคมีหรือฉายแสง

โทษค่ะ คือดิฉันอยากทราบว่า ท่าบริหารสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีกี่ท่าควรทำอย่างไรบ้างค่ะ

แล้วหลังผ่าตัดกี่วันจึงสามารถใช้ท่าบริหารได้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะพี่ อุบล คนเก่ง  

ดิฉันเป็นพยาบาล สนใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม  ที่ตึกมีผู้ป่วยแต่การดูแลยังไม่ครอบคลุมเป็นระบบเรียนปรึกษาพี่ ขอความรู้จากพี่คะ

จิรรัตน์ หรือตระกูล

จะขอวิธีการบริหารยา TAXOL ว่ามีขั้นตอนการเริ่ม dripยาอย่างไรแบบวิชาการเต็มๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท