นั่งสมาธิ ไม่ใช่ The only way ในการฝึกธรรมะ


ต้องรู้จัก "สำเหนียก" ด้วย

ขอให้เข้าใจว่า  นั่งสมาธิ ไม่ใช่ แนวเดียว (Not the only way) ในการปฏิบัติธรรม   

คนไทย คนเทศ  มากมาย  หลงไปในรูปแบบว่า นั่งสมาธิเท่านั้น คือ ตัวแทนของการปฏิบัติธรรม

ผมขออัญเชิญ  จาก พระไตรปิฎก Cdrom พระวินัยปิฎก เล่ม 1  ตอนที่ 178 ดังนี้

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาส น์ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แลอันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธานสงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ในสถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน

ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่าเราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง

หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.

หมายเลขบันทึก: 74733เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

จาก พุทธพจน์ ที่ว่า "ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก"

ขอกราบ อนุญาต  ขยายความ

นั่นคือ  ขณะเจริญ อานา ฯ  ก็ต้องมีสติกำกับ   ไม่เพียงแค่ ที่ลมหายใจเข้าออก (ดูลม = ดูกาย  เพราะ ลมกระทบกาย ที่ ปลายรูจมูก)   แต่  ยังต้องมีสติ รู้4 อย่าง  คือ "รู้กาย   รู้เวทนา  รู้จิต รู้ธรรม"   อย่างไหนชัดกว่า เราก็ไปรู้ตัวนั้น  (เราชอบเรียกว่า รู้ แทนคำว่า ดู หรือ มีสติ)

การเดินจงกรม  ก็เช่นกัน  ต้อง สำเหนียกด้วยว่า  จิตเป็นอย่างไร    ไม่ใช่ สักแต่เดินเป็น ทหารเกณฑ์ 

เราจะเห็นได้ว่า   ในการกำหนดลมหายใจนั้น  มีการกระทำสองอย่างเกิดขึ้น พร้อมกัน หรือ สลบไปมาอย่างรวดเร็ว  คือ

(ก) ดูลมหายใจ  และ (ข) สำเหนียก  หรือ ดู "กาย เวทนา จิต ธรรม"

คนเรามัก หลงไปทำ อย่างเดียว คือ เอาแต่ดูลมกระทบผิวที่รูจมูก  ---->  หลงออกไปทาง "สมถะ"แบบหัวตอ

 

"สลับไปมาอย่างรวดเร็ว"   

ดูลมเป็นแกนหลัก     ครั้น กายสังขาร (กายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ปวด เหมื่อย คัน  ชา ฯลฯ)   หรือ จิตสังขาร (จิตเกิดอาการไม่สงบ)เกิดขึ้น 

ก็ดูจิตว่า หงุดหงิดไหม   (พร้อมกับดูลมไปด้วยนะ)    เมื่อเราดูลมได้ชำนาญ   เราจะรู้ "ธรรม" ที่เกิดขึ้น  เช่น  หงุดหงิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป  รำคาญใจเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป   ท้อแท้เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป  

เมื่อจิตสงบๆ  จะมี ความคิดจร   ไหลเข้ามา  เราก็ตามดู  ตามรู้ (แต่อย่าอิน)   ดูเฉยๆ    จะเห็นไตรลักษณ์   คือ  ไม่เที่ยง ไม่จริง เป็นทุกข์   

ความคิดจร เป็นกุศล อกุศล  ก็ดูไป รู้ไป  "อย่า วิตก อย่า วิจารณ์"

จิณงนภา ไชยพรมพาณิชย์(หนู)

รำมวยเต้าเต๋อซิ่นซี กายบริหารเต้าเต๋อซิ่นซี ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งได้ไหมค่ะ

  • Satu.....Satu
  • Mee SATI.....Mee SATI
  • Mai Tong Pi Wat Kor Dai Na Krub
  • เข้ามาซึมซับด้วยคนค่ะ
  • เห็นด้วยครับลุงแพนด้า
  • สติปัฏฐาน (มีสติเป็นที่ตั้ง)

รำมวยจีน    เล่นโยคะ   รำละคร  เต้นแอโรบิก  วิ่งมาราธอน ว่ายน้ำ  ตีกอล์ฟ  ทำงาน ซักผ้า ปลูกพืช รดน้ำ  กล่อมลูกนอน  ฯลฯ  ก็มีสติ  กับการเคลื่อนไหวได้ครับ

ตามดู ตามรู้  ไปกับ "กระบวนท่า" ด้วย  และ ก็ "สำเหนียก" ว่าจิตเป็นอย่างไรบ่อยๆ

มวยจีน มีรากมาจากเส้าหลิน คือ  ปรมาจารย์ตั๊กม้อ   พระอรหันต์จากอินเดีย   ทั้งนั้น

ปรมาจารย์เตียซำฮง   ก็แตกแขนงมาจากเส้าหลิน

มือ เท้า กาย ฯลฯ ที่ดัน ยก ฯลฯ เคลื่อนไหว   ก็ให้รู้  และ สำเนียกว่า จิตสบายๆ หรือ กังวล

รำมวยจีน  ถ้าทำแบบ ดูจิต ดูกาย  แบบสำเหนียกไปด้วยกัน   ก็ไม่ต่างอะไรกับ นั่งสมาธิ  หรือ เดินจงกรม นั่นเอง  

รับทราบครับท่านไร้กรอบ เรียกว่าสุงสุดของกระบวนท่าคือ ไร้กระบวนท่า ใช่ไหมครับ และสูงสุดของกรอบ คือ "คนไร้กรอบ" หรือเปล่าครับ ชักงงๆครับ

ไร้กรอบ   นี่ ยากกว่า นอกกรอบครับ

   รักษาสมดุล ระหว่าง  " สมมุติ กับ วิมุติ"

สมมติ  ไม่บกพร่อง  วิมุติไม่เสียหาย   นี่แหละ ไร้กรอบ

ไร้กรอบ  ไม่ใช่ เปียกๆนะครับ

เปียกๆ คือ  ไม่กรอบ

 

  • มาเก็บมุขครับ ไร้กรอบ ไม่ใช่ เปียก ๆ นะครับ
  • เพิ่งรู้นะเนี่ย เป็นมุข 
    P
    ตัวจริงอะเปล่านี่ ?
  • ขอบคุณ หลาน นม. (นครราชสีมา หรือ โคราช...อิอิ) ที่เห็นด้วยกับลุงเน้อ
ที่นี่ ....ได้ทั้งธรรมะ ได้พละกำลัง(ใจ) และยังได้ผ่อนคลาย ...แวะมาทักทายอาจารย์วรภัทร์ครับ ได้ข่าวว่าอาจารย์ไปจุดไฟในใจให้กับหลายๆ ท่านที่ มมส. ขอขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท