SAR-ON-BLOG : ดัชนีที่ 9.1


องค์ประกอบที่ 9

ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษาพึงพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถาบัน


  9.1 การประกันคุณภาพภายใน
  9.2 ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายใน
  9.3 การจัดการความรู้ในองค์กร

ดัชนีที่ 9.1 การประกันคุณภาพภายใน
ปฏิบัติการที่ดี

     สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในซึ่งประกอบด้วย ระบบการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ


เกณฑ์การตัดสิน หลักฐานอ้างอิง
1. มีระบบและกลไกในการประกันคุณภาพ 9.1.3 (01) คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์
  9.1.3 (02) คณะกรรมการประกันคุณภาพ สำนักงานเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์
  9.1.3 (03) คณะกรรมการประกันคุณภาพ ภาควิชาภาษาตะวันออก
  9.1.3 (04) คณะกรรมการประกันคุณภาพ ภาควิชาภาษาตะวันตก
  9.1.3 (05) คณะกรรมการประกันคุณภาพ ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา
  9.1.3 (06) คณะกรรมการประกันคุณภาพ ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์
  9.1.3 (07) รายงานประจำปีงบประมาณ 2548 (ระบบการประกันคุณภาพ)
2. มี (1) + มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 9.1.3 (08) โครงการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
  9.1.3 (09) โครงการจัดประชุมการประกันคุณภาพการศึกษา
  9.1.3 (10) รายงานการประชุมคณะกรรมการประกันคุณภาพ
  9.1.3 (11) รายงานการประชุมผู้บริหารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
  9.1.3 (12) เอกสารการเข้าร่วมกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
  9.1.3 (13) เก็บมาฝากจากดอกแก้ว ฉบับที่ 1
  9.1.3 (14) เก็บมาฝากจากดอกแก้ว ฉบับที่ 2
3. มี (2) + มีการประเมินคุณภาพภายในของทุกหน่วยงานย่อย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 9.1.3 (15) ผลการประเมินตรวจสอบการประกันคุณภาพฯ ของทุกหน่วยงานภายในคณะฯ
4. มี (3) + มีการเผยแพร่ผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง 9.1.3 (16) เว็บไซต์เผยแพร่ผลการประเมิน
  9.1.3 (17) บันทึกข้อความนำส่งผลการประเมินรายงานคณะกรรมการประจำคณะฯ ทราบ
5. มี (4) + มีการนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงาน 9.1.3 (18) ผลการประเมินเกี่ยวกับการจัดการประเมินให้ครบทุกหน่วยงานย่อย
  9.1.3 (19) ผลการประเมินเกี่ยวกับการคำนวณรายรับจริง
  9.1.3 (20) ผลการประเมินเกี่ยวกับการประเมินการปฏิบัติงาน
  9.1.3 (21) ผลการประเมินเกี่ยวกับด้านสารสนเทศ
  9.1.3 (22) ผลการประเมินเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ


การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแล :
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล :
เบอร์โทรภายใน : 2011
ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ผลการดำเนินงาน :
คณะมนุษยศาสตร์ มีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย รองคณบดี ตัวแทนสาขาวิชา หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย และตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านการประกันคุณภาพ เพื่อเป็นผู้พิจารณา กลั่นกรองนโยบาย แผนงาน กิจกรรม/โครงการ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ และยังมีคณบดี เป็นที่ปรึกษา
มีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจตลอดปีงบประมาณ นอกจากนั้นทุกหน่วยงานย่อยภายในคณะ มีการจัดทำการประเมินคุณภาพครบทุกหน่วยงานอีกด้วย โดยระดับสาขาวิชา จะทำการประเมินตนเอง ระดับภาควิชาและสำนักงานเลขานุการนั้น จะดำเนินการประเมินตนเอง/ตรวจสอบ ครบทุกหน่วยงาน เพื่อจะได้นำผลการประเมินตรวจสอบฯ กลับมาปรับปรุงและพัฒนา ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงาน

TOWS Analysis :
ภาวะคุกคาม T : - คณาจารย์ของคณะฯ มีภาระการสอนมาก เวลาว่างไม่ค่อยตรงกัน และต้องเดินทางไปสอนนอกคณะฯ ทำให้หาเวลาการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการประกันคุณภาพทำได้ยากและมีผู้เข้าร่วมน้อย
- ระบบและเกณฑ์ในการประกันคุณภาพของ สมศ. มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และระยะเวลาที่จะใช้เกณฑ์ใหม่กระชั้นชิด ทำให้เตรียมการทำงานลำบากและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
- เกณฑ์ใหม่ของ สมศ. ดูเหมือนจะเหมาะแก่การประเมินระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าระดับคณะ ทำให้เมื่อนำมาใช้ประเมินคณะ คะแนนหลายข้อจะน้อยและไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ
โอกาส O : หน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยมีการจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอและให้ข้อมูลที่จำเป็นในการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
จุดอ่อน W : - อาจารย์และเจ้าหน้าที่บางส่วนอาจยังไม่เข้าใจหรือไม่ใส่ใจเรื่องการประกันคุณภาพมากนัก
จุดแข็ง S : - คณะฯ ได้ดำเนินการด้านการประกันคุณภาพมาเป็นเวลาหลายปี และบุคลากรมีความคุ้นเคยกับแนวคิดในการประกันคุณภาพ และเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพมากขึ้น
- คณะฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
- คณะฯ มีระบบและกลไกด้านการประกันคุณภาพที่ชัดเจน มีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดูแลโดยตรง และมีคณะกรรมการประกันคุณภาพของคณะฯ
- คณะฯ มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานย่อยจัดทำการประเมินตนเอง

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :
- จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- จัดโครงการสรุปผลการประเมินประจำปีการศึกษา 48 เพื่อสรุปและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนางาน


การประเมินตรวจสอบ (CAR)

ปีที่แล้ว : ในครั้งนี้ : ปีต่อไป :
ข้อสังเกต/เสนอแนะ :
  • จากการสัมภาษณ์แต่ละหน่วยงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  และมีความพยายามนำการประกันคุณภาพมาใช้ในหน่วยงาน เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
คำสำคัญ (Tags): #sar-on-blog
หมายเลขบันทึก: 74664เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท