อุปกรณ์ช่วยถ่ายภาพรังสีข้อสะโพกท่าข้าง


สุพัตรา อินทโชติ, ปราณี มณีเลิศ, ชัยวัฒน์ ศรียอง
กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลลำพูน

ใน การถ่ายภาพรังสีข้อสะโพกท่าด้านข้าง ต้องยกขาผู้ป่วยด้านที่ไม่ต้องการถ่ายขึ้นให้พ้นแนวรังสี กรณีที่ผู้ป่วยยกขาเองไม่ได้ ต้องให้ญาติผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงานช่วยยก ทำให้ผู้ที่ช่วยยกขาได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น การวิจัยนวัตกรรมนี้ จัดทำอุปกรณ์ช่วยถ่ายภาพรังสีข้อสะโพกท่าด้านข้าง โดยศึกษาการใช้อุปกรณ์ในผู้ป่วยที่แพทย์ส่งถ่ายภาพรังสีข้อสะโพกด้านข้าง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2549 จำนวน 19 ราย รวบรวมข้อมูลการใช้อุปกรณ์ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสี และการใช้อุปกรณ์ ร้อยละ 78.9 ของผู้ใช้อุปกรณ์ ให้คำตอบว่าใช้ได้สะดวก จัดท่าได้ง่ายถ่ายภาพรังสีที่ได้มีคุณภาพ ทำให้ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวยากได้รับความสะดวก สามารถใช้ปฏิบัติในหน่วยงานได้แต่ยังต้องปรับปรุงให้ฐานมีความมั่นคง ไม่เลื่อน เพื่อให้อุปกรณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 74495เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท