โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 39 เอาวัว - ควายไปหลับนอน


"แทนที่เราจะไปซื้อขี้วัว ขี้ควายตามคอกของชาวบ้าน ให้เสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เสียทั้งเงินทั้งเวลา เราน่าจะเปลี่ยนมาใช้วิธีนำเอาวัว ควายมาทดลองผูกไว้ให้มันนนอนในแปลงนาดู แต่เผอิญว่าผมไม่มีวัว ควาย สักตัว ก็เลยไปจ้างควายของชาวบ้านมาทดลองนอนดู โดยจ้างตัวละ 2 บาท ต่อคืน โดยเจ้าของต้องมานอนเฝ้าด้วย โอ้โฮ ! ปรากฏว่ามีกองขี้ควายเต็มไปหมด .... ผมจึงมั่นใจได้ว่า นี่แหละ! คือหนทางที่จะนำชาวไร่ชาวนาไปสู่อิสรภาพและความเป็นไทอย่างแท้จริง"

       เรื่องหลับนอนพักผ่อนกายาเป็นสิ่งจำเป็นที่ทั้งคนและโคจะต้องมี  จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายและนิสัยว่าสันหลังสั้นหรือยาว

        การนอนที่เห็นว่าจำเป็นนั้นจะมีประโยชน์มากขึ้นถ้าสามารถไปสร้างคุณค่าและมูลค่าต่อสถานที่นอน  โดยเฉพาะมูลค่าจากการขี้และการเยี่ยว 

        อย่างเพิ่งตกใจค่ะ  ว่าการขี้ เยี่ยวมีคุณค่าต่อสถานที่นอนได้อย่างไร  เพราะในกรณีของคนถ้าขี้เยี่ยวใส่ที่นอนหล่ะเป็นเรื่องยุ่ง เป็นเด็กคงให้อภัยได้แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่คงขายไม่ออกกันก็คราวนี้

       การขี้เยี่ยวในที่นอนที่ให้ประโยชน์ที่ว่านี้ คือการขี้เยี่ยวของวัว ควายค่ะ

       ด้วยในวันนี้ได้พบเจอบทความดีๆ ที่พูดถึงเรื่องเล่า สองข้างทางได้ประทับใจจ๊อดเอาม๊ากมาก 

     เป็นเรื่องเล่า สองข้างทาง  ของคุณอักขณิช  ศรีดารัตน์ ในนิตยสาร ฅนรักวัว ฉบับที่ 10 เดือนธันวาคม 2549  ที่เล่าถึงเรื่อง  เอาวัว - ควายไปหลับนอน ภูมิปัญญาไทยไม่สงวนสิทธิ์

      ว่าแรกเริ่มของการเอาวัว - ควายไปหลับนอนนี้เนื่องมาจาก พ่อวาทย์ หมื่นจินะ แห่งบ้านทองใหม่หรือบ้านใหม่ หมู่ที่ 8 ต.ส้าน (ไม่ระบุอำเภอและจังหวัด) ประสบปัญหาดินเสื่อม เพราะต้นทุนทางธรรมชาติถูกทำลายและใช้สารเคมีในการทำการเกษตร  จึงหันมาใช้ปุ๋ยคอกจากขี้วัว ขี้ควายอีกครั้ง  แต่ประสบปัญหาไม่มีวัวควายเป็นของตนเอง ขี้วัว ขี้ควายราคาแพงแล้วยังแถมต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มเติมเข้าไปอีก

     วันหนึ่งไปเห็นที่นามีขี้วัว ขี้ควาย ถ่ายตกหล่นไว้ในแปลง  ไอเดียใหม่จึงบรรเจิด "แทนที่เราจะไปซื้อขี้วัว ขี้ควายตามคอกของชาวบ้าน ให้เสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้น เสียทั้งเงินทั้งเวลา  เราน่าจะเปลี่ยนมาใช้วิธีนำเอาวัว ควายมาทดลองผูกไว้ให้มันนอนในแปลงนาดู แต่เผอิญว่าผมไม่มีวัว ควาย สักตัว ก็เลยไปจ้างควายของชาวบ้านมาทดลองนอนดู  โดยจ้างตัวละ 2 บาท ต่อคืน โดยเจ้าของต้องมานอนเฝ้าด้วย  โอ้โฮ ! ปรากฏว่ามีกองขี้ควายเต็มไปหมด .... ผมจึงมั่นใจได้ว่า นี่แหละ! คือหนทางที่จะนำชาวไร่ชาวนาไปสู่อิสรภาพและความเป็นไทอย่างแท้จริง"

        ณ วันนี้พ่อวาทย์และผองเพื่อน ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงวัวเลี้ยงควายขึ้น นอกจากทุกคนได้ประโยชน์จากการหลับนอนของวัวควายแล้วยังมีเวลาและโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือเกื้อกูล ฟื้นฟูภูมิปัญญาและวิถีชีวิตดั้งเดิมให้กลับคืนสู่ชุมชน

                เพราะเป็นตัวอย่างดี ๆ  อย่างนี้นี่เองถึงการรันตีได้ว่า ไม่สงวนสิทธิ์  พี่น้องบ้านเราใครยังไม่มีวัว ควายและไร้ปุ๋ยคอกน่าจะเอาวิธีนี้ไปใช้นะค่ะเพราะได้กำไรทั้งสองฝ่าย ที่เรียกได้ว่ากำไรเกินค้มจริง ๆ ค่ะ

      ขอบคุณค่ะ

       

หมายเลขบันทึก: 74431เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เป็นความคิดที่ดีครับ ได้ผลครับ ที่บ้านนอนเป็นฝูงหลายร้อยตัว แต่นอนได้เฉพาะหน้าแล้งครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต

         บางครั้งชาวบ้านอย่างเราก็คิดไม่ถึง อาจเป็นเพราะไม่ชอบคิดและคุ้นเคยกับการซื้อหา

        ถ้าสามารถขยายความคิดนี้ไปถึงชาวบ้านจะดีมากเพราะการให้วัวควายไปนอนที่ทุ้งนาในหน้าแล้งนี่เหมาะสมแล้วเพราะเป็นช่วงว่างเว้นจากการปลูกพืชและเว้นระยะเวลาให้ดินฟื้นตัวและเตรียมรับการปลูกพืชในฤดูกาลต่อไป เราจะได้ไม่ต้องไปรบกวนดินให้มากกว่าที่เป็นอยู่

       จริงหรือเปล่าค่ะ

       ขอบคุณค่ะ

ผมอยากเห็นกลไกการคิดและการทำงานที่ชัดเจนที่อยู่หลังการเขียนนึ้ด้วยครับ

งานนี้เป็เพียงประเด็นแลกเปลี่ยน

ส่วนแกนของงานต้องเป็นระบบและชัดเจนครับ

 จริงๆแล้ววันหนึ่งๆวัว นอนตั้งหลายครั้งครับ แต่ละครั้งมีความหมายมากครับ  แต่ผมก็ยังไม่รู้หมดหรอกครับ  รู้เพียงว่าตอนกลางวันมันนอน เพื่อเอาอาหารกลับมาเคี้ยวอีกครั้งครับ( เอ..ถ้าคนเรา สามารถเอาอาหาร กลับออกมาเคี้ยวให้ละเอียดอีกครั้ง   จะเป็น ยังไง น้อ)

อาจารย์แสวงที่เคารพ

        ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ช่วยชี้แนะ เพระยังรู้สึกว่ายังขาดอะไรอย่างที่ยังไม่ได้พูดถึง แต่ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าค่ะว่า

        โดยวิธีการและวิธีคิด  พ่อวาทย์ต้องการให้ชาวนาชาวไร่หันกลับมาสู่วิถีธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้วิถีดั้งเดิมในการทำการเกษตรและทำมาหากินแบบพอเพียงภายใต้เงื่อนไขการพึ่งพาอาศัยกันภายในกลุ่มสมาชิก จึงได้นำแนวคิดไปเผยแพร่และขยายผลสู่คนรอบข้างและมีคนทำตาม จากนั้นจึงขยายผลไปสู่ชุมชนภายใต้ความร่วมมือขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมเป็นสมาชิก ร่วมเป็นที่ปรึกษา ร่วมเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้า อบต. เกษตรตำบล ครู และเจ้าหน้าที่อนามัย กลายเป็นการทำงานที่ประสานความร่วมมือได้ในทุกเรื่องทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคงในชุมชน

         ขอบคุณค่ะ

พี่พงษ์ค่ะ

         ที่วัวกินแล้วนอน เพื่อให้กระเพาะจัดระบบเรียงอาหารเพื่อนำกลับมาเคี้ยวเอื้องและเป็นพักเหนื่อยไปในตัว  ถ้าคนเราขย้อนเอาอาหารกลับออกมาเคี้ยวอีกครั้งคงพะอืดพะอมเอาเหลือหลาย ดาคนหนึ่งที่ไม่ขอใช้วิธีนี้อย่างแน่นอน กลัวน้ำหนักลด เดี่ยวคนเขาจะจำไม่ได้

       ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท