การจัดการความรู้ที่มุ่งสู่สังคมแห่งความรู้อย่างมีคุณภาพของมหาชีวาลัยอีสาน


ป็นสังคมความรู้ทีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมาด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มาใช้ประโยชน์ โดยองค์กร ชุมชน สังคมก็ต้องเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยคุณภาพ

                  โลกยุคปัจจุบัน แข่งขันกันด้วยการสร้างนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยหลัก สำหรับนำมาใช้ขับเคลื่อนความอยู่ดีกินดีและความสุขของคนในสังคม และแข่งขันร่วมมือกับสังคมอื่นประเทศอื่น ไม่ใช่แข่งขันกันด้วยการสั่งสมปัจจัย (Factors accumulation) เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ  ทุน หรือ แรงงานเป็นปัจจัยหลักเหมือนสมัยก่อน   

              การสร้างนวัตกรรมต้องอาศัยความรู้เป็นกิจกรรมสร้างความมั่งคั่งจากความรู้นั้น ยิ่งดำเนินการโดยตัวปัจจัยหลักคือนวัตกรรม จะทำให้ความรู้ยิ่งงอกงามและอยู่ในสภาพ ยิ่งใช้ยิ่งงอกงาม แต่การสร้างความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติ ทุน และแรงงาน ยิ่งดำเนินการตัวปัจจัยหลักยิ่งหร่อยหรอลงไป อยู่ในสภาพ ใช้แล้วหมดไป   การพัฒนาในแนวทางที่สร้างนวัตกรรมโดยอาศัยความรู้จึงเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และในขณะเดียวกัน การพัฒนาในแนวทางที่สร้างนวัตกรรมโดยอาศัย ทรัพยากรธรรมชาติ ทุน และแรงงาน เป็นปัจจัยหลักแล้วเป็นการก่อให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพราะใช้แล้วหมดไป จึงก่อให้เกิดปัญหาการขาดความสมดุลของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความผันผวนของภูมิอากาศ เกิดภัยแล้ง และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ขึ้นมากมายอย่างที่พบเห็นกันอยุ่ในปัจจุบัน 

                  เช่นเดียวกับมหาชีวาลัยอีสานที่ได้มุ่งสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการพัฒนาในแนวทางที่สร้างนวัตกรรมโดยอาศัยความรู้ไม่ว่าจากแหล่งใดก็ตาม ทั้งตัวคน ที่เป็นนักวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ และ ที่เป็นคุณกิจจากฐานการเรียนรู้ในเครือข่าย เอกสาร งานพิมพ์ต่าง ๆ  อินเทอร์เน็ต และนำแนวคิดของ ศ...ประเวศ วะสี และข้อสังเกตท่านอาวุโสอีกหลายท่านมาออกแบบ ตลอดระยะเวลา25 ปี ที่พิสูจน์ได้ว่ามหาชีวาลัยอีสานไม่ได้นับหนึ่งใหม่ แต่ได้ทำหน้าที่พัฒนาสังคมส่วนท้องถิ่นอย่างเข้าหา เข้าถึง คลุกคลีอยู่กับปัญหาในวิถีชีวิตและสังคมชนบทไทย ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านโครงการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ พอสมควรเช่น  

  • โครงการโรงเรียนชุมชนอีสานของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI.)
  • โครงการเกษตรประณีตร่วมกับภาคีปราชญ์ชาวบ้านอีสาน
  • โครงการจัดการความรู้ระดับชุมชนของสถาบันจัดการความรู้ระดับชุมชน(สคส.)
  • โครงการวิจัยสายพันธุ์ไม้โตเร็วเพื่อการใช้เนื้อไม้และกลั่นน้ำมันร่วมกับ CSIRO Forestry and Forest Products Australian Tree Seed Centre
  • โครงการวิจัยการบริหารน้ำร่วมกับสถาบันIWMI International Water Management
  •  โครงการวิจัยบริบทสารสนเทศท้องถิ่นอีสานของสถาบันคีนันแห่งเอเชีย
  • โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ICTชุมชนสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร,
  • โครงการวิจัยการใช้ไม้ยืนต้นเป็นพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้ง(สกว.)
  • โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต ร่วมกับสถาบันวิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • โครงการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาแบบHome-Schoolของสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
  • โครงการฝึกอบรมเกษตรกรต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • โครงการวิจัยพืชสมุนไพรร่วมกับกรมวิชาการเกษตรฯ
  • โครงการวิจัยการเลี้ยงโคพันธุ์ซาฮิวาลและทดสอบการพัฒนาพันธุ์ไก่ไข่ร่วมกับกรมปศุสัตว์
  • โครงการวิจัยไผ่หมาจูร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร 
  • โครงการพัฒนาการระบบการเรียนแบบโครงการสำหรับผู้เรียนของโรงเรียนบ้านเม็กดำ, 
  • โครงการวิจัยชุมชนเป็นสุขของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมเสริมสุขภาพ(สสส.)
  • โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการปลูกไม้เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อม
  • โครงการศึกษาแนวทางพึ่งตนเองด้านปัจจัยพื้นฐาน เช่น ทำเกษตรประณีต ผลิตอิฐดินซีเมนต์ ผลิตถ่าน และน้ำควันถ่าน ปลูกป่า ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ปลูกสมุนไพร เลี้ยงโค เลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงผึ้ง ฯลฯ

                กล่าวโดยรวมมหาชีวาลัยอีสานได้ทำหน้าที่ถอดรหัสเศรษฐกิจพอเพียงเชิงประจักษ์โดยการส่งเสริมและพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น ได้รู้จักวิธีการจัดการความรู้ การเรียนรู้วิธีทำงานอิงระบบ การเรียนรู้ผ่านสื่อICT. โดยมีภาคีในเครือข่าย สมาชิกในโครงการการจัดการความรู้KM.ชุมชน และนักศึกษาบูรณาการศาสตร์เข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการติดตามงานประกอบการพัฒนาระบบเรียนรู้ของชุมชนผ่านแผนงานต่างๆ  ด้วยการที่จะทำให้ภาคชุมชนก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมความรู้ได้นั้น ต้องมีความเข้าใจว่าความรู้นั้นมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

                ความรู้ฝังลึก  ที่เกิดจากการปฏบัติ เอาใจใส่ เอากาย เอาสมองเข้าสัมผัส เพื่อจะมีชีวิตอยู่รอดอย่างแบบที่ปราชญ์ชาวบ้านทำ

                ความรู้ที่แจ้งชัด  ที่เกิดจากการเรียนกันในการศึกษาในระบบ ทั้งจากการศึกษาภาคบังคับ ระดับปริญญาตรี และสูงกว่า  ซึ่งจะเป็นหลักคิดที่สามารถจะถอดรหัสเป็นตัวหนังสือ หรือเป็นสูตรต่าง ๆ  และต้องผสมผสานความรู้ที่ฝังลึกกับความรู้ที่แจ้งชัดเข้าหากันให้ได้

                 ความรู้จานด่วน คือความรู้ที่สามารถซื้อสำเร็จรูป หรือเป็นเทคโนโลยีแล้วเอามาประยุกต์ใช้  

                มหาชีวาลัยอีสานตระหนักดีว่าสังคมความรู้ที่ดี จะต้องผสมผสานหาความพอดี ระหว่างความรู้ทั้ง 3 ประเภทนี้ให้ได้ และเป็นสังคมความรู้ทีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมาด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มาใช้ประโยชน์ โดยองค์กร ชุมชน สังคมก็ต้องเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยคุณภาพ ทั้งคนและองค์กรจึงต้องร่วมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยกฏระเบียบต่าง ๆ และปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ  สุดท้ายทั้งคน องค์กรแลวัฒนธรรมต้องมุ่งพัฒนาความรู้และความอยู่ดีมีสุขในความหลากหลายวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องนั่นเอง 

หมายเลขบันทึก: 74430เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมว่าต้องเริ่มรวบรวมอย่างเป็นระบบได้แล้วครับ

ทำไปเรื่อยๆงานจะไม่หนัก

เพราะยังต้องมีวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นขั้นๆอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท