กำลังใจจากแม่ค้าขายข้าวโพดในตลาดสด กับบทสะท้อนความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว


หลายคนคุยกับแม่ค้าแล้ว รู้สึกสบายใจมากกว่าการพูดคุยกับคนในครอบครัว

การไปตลาดที่กาฬสินธุ์ ทำให้ได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา

 

ในความรู้สึกของหลายคนต่อแม่ค้านั้น มักจะคิดว่า แม่ค้านั้น ปากตลาด คือ พูดวิจารณ์ได้ทุกเรื่อง 

ซึ่งบางคนอาจจะติดภาพพจน์นี้ จากการดูละครทางทีวีหลายเรื่อง

 

แต่ แม่ค้าใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นทุกคน แม่ค้าหลายท่านพูดจาตรงไปตรงมา รีบเสนอขายสินค้าที่นำมาขายภายในเวลาที่จำกัด ในระหว่างที่ลูกค้ากำลังเดินเลือกซื้อสินค้าที่วางขายอยู่หลากหลายแผงในตลาด

 

หลายคนคุยกับแม่ค้าแล้ว รู้สึกสบายใจมากกว่าการพูดคุยกับคนในครอบครัว


มีกรณีหนึ่ง หนุ่มน้อยคนหนึ่งเมื่อพูดคุยกับคนในครอบครัวแล้ว ไม่เคยได้ยินคำพูดที่ดีๆ ฟังรื่นหูเลย ได้ยินแต่ข้ออ้างเรื่องเศรษฐกิจ รายได้ เรื่องของปากท้อง ฯลฯ

ทีพูดกับคนอื่นๆ พูดดีทั้งนั้น แต่กับคนในครอบครัว กลับพูดดีๆแบบนั้นไม่ได้

แม่ค้าขายข้าวโพดต้มคนหนึ่ง  ฐานะพออยู่ได้ เธอก็มีปัญหาเรื่องปากท้อง เรื่องรายได้ เช่นกัน และก้บ่นเร่องนี้เหมือนกัน แต่บ่นแล้วก็พูดเพราะๆ

แต่ที่บ้านของหนุ่มน้อยคนนี้ ไม่เคยพูดดี พูดเพราะๆเลย  จนลูกต้องไปคุยกับแม่ค้าขายข้าวโพดในตลาด

 

เมื่อหนุ่มน้อยคนนี้มาหาพรรคพวกที่ตลาดโต้รุ่ง ก็มาพูดคุยปรึกษาหารือกัน

ไปๆมาๆ มีปัญหาเรื่องกลุ้มใจต่างๆ ต้องมาพูดคุยกับพรรคพวกในตลาด พอนายบอนรู้เรื่อง ก็หยิบมาเขียนบันทึกอีกทีหนึ่ง

สังคมเล็กๆกำลังเปลี่ยนไปหรือนี่

 

เจาะ รายละเอียดกันให้ชัดเจน จึงรู้ว่า พ่อของหนุ่มคนนี้ เป็นครู ที่มักจะเครียดทั้งวัน คุณแม่เป็นพยาบาล เวลาดุแลคนไข้ล่ะพูดดีมากๆ แต่กับลูกชาย คนละเรื่องเลย

หนุ่มน้อยตั้งข้อสังเกต ทำไมกับคนอื่นพูดเพราะจัง  ลูกหลานญาติพี่น้อง โดยสายเลือดก็ไม่ใช้

แม่ค้าขายข้าวโพดเลยกลายเป็นคนพุดให้กำลังใจ แก้ต่างให้แทนพ่อแม่ตัวจริง

ข้อสังเกตเล้กๆ ต่อเรื่องนี้

1.สังคมเล้กๆกำลังจะเปลี่ยนไปแล้วหรือ คนในครอบครัวแสดงความห่วงใยกันลดลง
2. ชีวิตคนเราแสนสั้น จะต้องรอเวลาอีกแค่ไหนถึงจะทำดีต่อกัน
3. ความห่วงใยเห็นอกเห็นใจในสภาพสังคมปัจจุบัน คนอยู่ใกล้ๆกัน กลับไม่ใส่ใจ เห็นหัวใจกันบ้างเลย
4. คนที่ไม่เคยพูดดีๆกับคนใกล้ตัว คนในครอบครัว อาจจะลืมไปแล้วว่า เคยพูดดีๆครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

 

หมายเลขบันทึก: 74424เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บางทีเพราะความที่เขามีความห่วงใยในคนใกล้ตัวมากกว่า จึงต้องการจ้ำจี้จ้ำไชมากกว่านะครับ

ลองหาความหมายระหว่างคำ เหมือนการหาความหมายระหว่างบรรทัดเวลาที่เราอ่านหนังสือบางเล่มดูครับ

อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้ว เราย่อมให้ความรัก ความห่วงใย ความหวังดีกับคนในครอบครัวเดียวกันมากกว่า

คำหวานไม่จำเป็นต้องเกิดจากความปราถนาดีเสมอไป เช่นเดียวกับคำดุด่าว่ากล่าวไม่จำเป็นว่าจะเป็นการต้องการทำร้ายเช่นกัน :) 

ความหมายระหว่างคำ มีหลายอย่างซุกซ่อนอยู่จริงๆนะครับ เหมือนความหมายจากข้อคิดเห็นของคุณหน่อย ที่มองเผินๆเป็นข้อความธรรมดาๆ ทั่วๆไป แต่แฝงแง่คิดไว้หลายอย่างทีเดียว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท