เรียนรู้จาก "นิทาน ..เรียนรู้อะไรมา"


คนเราต้องรู้จักตัวเอง นักปราชญ์ถาม เราตอบไม่ได้ เราคือใคร เกิดมาทำไม แล้วจะไปไหนกัน

          นิทานอีกเรื่องหนึ่งครับที่ผมได้ฟังมาจากท่าน ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา เหมือนกันเห็นว่ามีสาระดีเลยนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

       ลองมาฟังเรื่อง  "บัณฑิตหนุ่มกับความรู้ที่เรียนรู้มานั้นสามารถนำมาใช้ในชีวิต  เพื่อความอยู่รอดได้จริงหรือเปล่า บัณฑิตหนุ่มนั่งบนเรือกลับบ้าน  ชวนคนเรือคุย  ว่าคิดอย่างไรกับคนอิรัก  คนเรือไม่รู้  ก็เลยบอกว่า  คนเรือสูญเสียไป  25%  คิดอย่างไรกับภาคใต้ที่มีปัญหาความขัดแย้ง  วางระเบิดกันรายวันคนเรือก็ไม่ทราบ  บัณฑิตบอกว่า  คนเรือสูญเสียไปอีก  25%  ถามคนเรือถึงเศรษฐกิจยุคนายกทักษิณ  คนเรือก็ตอบไม่รู้อีก  ถามถึงตลาดหุ้นก็ตอบไม่รู้  แถมยังถามกลับมาอีกว่าตลาดหุ้นเขาขายอะไรกัน  ที่เห็นก็มีตลาดขายปลา บัณฑิตก็บอกว่าคนเรือสูญเสียไปอีก  25%  ทันใดนั้นพายุมา  คนเรือเลยถามบัณฑิตว่า  ท่านว่ายน้ำเป็นหรือเปล่า  บัญฑิตบอกว่าไม่มีเวลาไปเรียน  คนเรือบอกว่า  เรือต้องแตกแน่ๆ  เพราะพายุมาเรือจะจมทางรอดคือจะต้องว่ายน้ำเป็น  ว่ายเข้าหาฝั่ง  ชีวิตของคุณกำลังจะสูญเสีย  100%  บัณฑิตหนุ่มได้ฟังเช่นนั้นถึงกับอึ้งพูดอะไรไม่ออก"

       บัณฑิตสมัยใหม่  กระโดดตึกตาย  มีความรู้มากๆ  แต่เกิดปัญหานิดเดียว  ก็ฆ่าตัวตาย                คนเราต้องรู้จักตัวเอง  นักปราชญ์ถาม  เราตอบไม่ได้ เราคือใคร  เกิดมาทำไม  แล้วจะไปไหนกัน                เราไม่รู้ทิศทางของชีวิต  เรามีปัญหาแน่ๆ  คนเราเก่ง  2  อย่าง  คือ                1.  เก่งวิชาชีพ  หาเลี้ยงชีพ  เพื่อบริษัทสร้างชื่อเสียงให้บริษัท  และชาติ

                2.  เก่งเชี่ยวชาญสร้างความสงบสุขให้ตัวเอง เอาตัวรอด

         คนสมัยนี้มักจะหาความรู้แต่ทางด้านวิชาการ พอมีประกาศนียบัตร หรือใบปริญญาเข้าหน่อยก็มักคิดว่าตนเองนั้นเก่งกว่าคนอื่น แต่หารู้ไม่ว่า การที่จะเอาตัวรอดได้นั้น ต้องรู้จัก วิชาการดำเนินชีวิต...คนเก่งหรือไม่เก่งคงไม่ใช่วัดที่ระดับการศึกษาเพียงอย่างเดียว....

 
หมายเลขบันทึก: 74408เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เป็นเรื่องที่ทำให้เราได้หันมามองตัวเองบ้าง ที่ดีจริงๆครับ

สวัสดีค่ะ  คุณ ภูคา

  • เป็นนิทานชีวิต  ที่เล่าได้ทุกรุ่นทุกวัย  ครูอ้อยสอนนักเรียนให้มีความรู้  แต่ความรู้เหล่านั้น  นักเรียนมิได้นำมาใช้ในชีวิตจริงของเขาเลย 
  • ความรู้นั้นมันเป็นเพียงเครื่องมือนำไปสู่การทำงานเลี้ยงชีพ 
  • การดำรงชีพของเขาจริงๆนั้น  เป็นสิ่งที่เขาต้องการต่างหาก
  • ดังนั้น  ครูอ้อยจึงต้องสอนเพื่อสังคม  เพื่อการดำรงชีพด้วย

ขอบคุณค่ะ  นิทานที่ดี  วันนี้นักเรียนต้องได้ฟังค่ะ

ขอบคุณครับ..

  • นายบอน-กาฬสินธุ์ ..หลายสิ่งหลายอย่างสามารถเป็นกระจกให้เราได้เน๊าะ..
  • คุณครูสิริพรครับ...ดีมากเลยครับ ตอนที่ผมเรียนเรื่องวิชาการผมนับได้ว่าเป็นนักเรียนที่เก่งคนหนึ่ง แต่พอถึงกิจกรรมผมไม่ค่อยได้เรื่องเลย..ตอนนั้นมุ่งเรียนอย่างเดียวครับ...แต่พอมาทำงานในบริษัทเอกชน ทำให้ผมนึกเสียดายเวลาที่ผ่านไปว่า "ทำไมไม่มองกิจกรรมบ้าง"เพราะนั่นคือวิชาการใช้ชีวิต ครับ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท