เรียนรู้จากหน้างาน : การประเมินแบบมีส่วนร่วม (3)


แม้วันนี้จะเป็นเวที่ที่ 3 แต่พวกเราก็ยังต้องเรียนรู้และปรับกระบวนการกันอย่างต่อเนื่อง

   ตอนที่ 1  / ตอนที่ 2     

           วันนี้ (25 มกราคม 2550) ทีมงานของเราจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 7 คน (หน.สายัณห์ เกีรยติกำแหง,หน.วิโรจน์ พ่วงกลัด,คุณกมลรัตน์ นาคคำ ,คุณสราญจิต หรุ่นขำ,คุณสมเดช สิทธิยศ คุณสายัณห์ ปิกวงค์ และผม)  และทีมงานสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร จำนวน 4 คน (คุณประหยัด ปาตีสกุล, คุณสมพร  จันทร์ประทักษณ์,คุณเชิงชาย เรือนคำปา และคุณสุบิน แก้วเต็ม- ภาพที่ 1)

          ได้เข้าร่วมเรียนรู้การประเมินแบบมีส่วนร่วม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน หมู่ที่ 4 ตำบลลานดอกไม้ อำเภอมือง จังหวัดกำแพงเพชร วันนี้เป็นเวที่ที่ 3 ของพวกเรา

           ภาพที่ 1
ทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

แนะนำกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน

        กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบล ลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร  ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มฯ คือ กล้วยกวน  ดูภาพประกอบนะครับ


สมาชิกดำเนินการผลิตร่วมกัน


วัตถุดิบผลผลิตหลักนอกจากกล้วยน้ำว้าแล้วก็คือมะพร้าวครับ เป็นผลผลิตจากท้องถิ่น

 


ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ

 
ป้ายประชาสัมพันธ์ของกลุ่มฯ ครับ

 


กระบวนการของวันนี้เราทำอะไรกันบ้าง

     ขั้นตอนที่ 1

     เริ่มต้นกระบวนการโดยคุณสมเดช  สิทธิยศ เป็นคนนำเข้าสู่กระบวนการ และทบทวนข้อมูลของกลุ่ม  เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และดึงข้อมูลจากกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ

  • วันนี้คุณสายัณห์ ปิกวงค์ ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลทั้งเนื้อหาและกระบวนการอยู่ด้านหลังกานสนทนา  ส่วนด้านหน้า คุณสมเดช ก็ทำการบันทึกรายละเอียดจากกระบวนการกลุ่มไปพร้อมกันเพื่อให้กลุ่มได้เห็นข้อมูลไปด้วย

     ขั้นตอนที่ 2      

     ผมเป็นคนดำเนินกระบวนการ โดยวันนี้ได้ทดลองนำแบบประเมินที่เป็นแบบปริมาณสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว นำมาย่อส่วนแล้วทำเป็นแบบประเมินหน้าเดียว ให้กลุ่มได้ทราบรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมด และได้ร่วมประเมินตนเอง โดยใช้เกณฑ์ประเมิน 3 ระดับคือ  ระดับดี - ปานกลาง - ต้องปรับปรุง

  50012504
(คลิกดูแบบประเมินภาพใหญ่)


สมาชิกกลุ่มร่วมกันประเมินตนเอง(ผมมองอยู่ห่างๆ)

     ขั้นตอนที่ 3 

       จากนั้นพี่สราญจิต หรุ่นขำ  ดำเนินกระบวนการเพื่อให้กลุ่มได้ระดมความคิดเห็นหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มต่อจากผม  ทั้งในประเด็นที่กลุ่มสามารถดำเนินการเองได้ และต้องการรับการสนับสนุนจากภายนอก

  • หลังจากประเมินโดยใช้การสนทนากลุ่มแล้ว มีประเด็นที่ยังตกหล่น พี่กมลรัตน์ นาคคำ และคุณสุบิน แก้วเต็ม ก็ร่วมกันเก็บข้อมูลเพื่อเติมโดยการสัมภาษณ์จากสมาชิกกลุ่มที่ทราบข้อมูล

        


          AAR...ตามธรรมเนียมปฏิบัติ สุดท้ายทีมงานของนักส่งเสริมการเกษตรทั้งสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง ก็ร่วมกันสรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันต่อ หลังจากดำเนินการประเมินกลุ่มฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พี่สายัณห์ ปิกวงค์ เริ่มก่อน จากนั้นก็ผม และหลายๆ คนได้ ลปรร.และสรุปบทเรียนกัน ผลออกมาสรุปได้ดังนี้ครับ

  • การวางแผนปฏิบัติของทีมอำเภอ  ต้องทำงานเป็นทีม การประเมินแบบมีส่วนร่วมนี้ไม่สามารถดำเนินการด้วยนักส่งเสริมเพียงลำพังแล้วผลงานออกมาดีได้  ดังนั้นต้องร่วมมือกัน แบ่งบทบาทหน้าที่กันตามความถนัด
  • มุมมองในประเด็นของการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน วันนี้อาจพอมองออก  แต่นักส่งเสริมฯ อย่าลืมมองในส่วนของการส่งเสริมอาชีพที่ต่อเนื่องจากกิจกรรมของกลุ่มฯนี้ด้วย เช่น การส่งเสริมและจัดเก็บข้อมูลการปลูกกล้วยน้ำว้า การปลูกมะพร้าว เป็นต้น
  • ทั้ง 3 ขั้นตอน ต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน และต้องใช้ข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้าให้มากที่สุด เช่น ขั้นตอนที่ 3 ก็จะต้องนำผลจากการประเมินตนเองของกลุ่มฯ จากขั้นตอนที่ 2  โดยดูข้อมูลจากการประเมินว่ากิจกรรมใดที่ต้องปรับปรุง แล้วจึงร่วมกันหาแนวทางพัฒนา เป็นต้น จะได้มีทิศทางการประเมินที่ชัดเจน  และไม่ใช้เวลามากนักได้อย่างคุ้มค่า ไม่เป็นการดำเนินการซ้ำซ้อน
  • ประเด็นของการโยนคำถาม ต้องชัดเจน ตัวอย่างจากการโยนคำถามในขั้นตอนที่ 3 ต้องถามเพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าจะต้องดำเนินกิจกรรมหรือต้องทำอะไร ที่จะนำไปสู่การพัฒนากลุ่มฯ ได้  แล้วจึงค่อยจำแนกว่ากิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ด้วยตนเอง/ขอรับการสนับสนุน  แต่หากใช้คำถามว่ากิจกรรมใดที่ทำได้ด้วยตนเองได้  ผลที่ได้จะกลายเป็นการถามย้อนกระบวนการกลับไปในขั้นตอนที่ 1  คือจะได้เพียงข้อมูลทั่วๆไปในการวิเคราะห์ SWOT  เพราะจะได้คำตอบเหมือนๆ กัน แต่ไปไม่ถึงกิจกรรมที่จะต้องพัฒนา

         

   

        
ภาพบรรยากาศในการสรุปบทเรียนร่วมกันในวันนี้

<p style="text-align: center">50012511
 (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)</p>
<p>          แม้วันนี้จะเป็นเวที่ที่ 3 แล้ว แต่พวกเราก็ยังต้องเรียนรู้และปรับกระบวนการกันอย่างต่อเนื่อง วันนี้จึงได้สรุปบทเรียนกระบวนการประเมิน ซึ่งเริ่มจะเริ่มลงตัว ว่าจะต้องมี 3 ขั้นตอนกิจกรรมหลัก คือ </p><ol>

  • การสร้างความคุ้นเคยและการทบทวนข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  • การประเมินตนเองโดยกลุ่ม และใช้ประเด็นการประเมิน 7 ประเด็น ( ตามภาพด้านล่างนี้ )  และ
  • </ol><p>                                  50012504  (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)</p><p>     3.  กลุ่มฯ ร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน</p><p>          เป็นบทเรียนที่ได้จากหน้างานในวันนี้ครับ </p><p>บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ</p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

    หมายเลขบันทึก: 74360เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ตามอ่านอย่างวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อนำไปปรับใช้ครับ

    การโยนคำถามในเวทีกระบวนการ เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เกิดการกระตุ้นเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนมากขึ้น วันนี้ได้ความรู้เรื่องนี้จากงานเขียนท่าน   ครับ

    เรียน ครูนงเมืองคอน

         ขอบพระคุณมากครับทีแวะเข้ามา ลปรร. และให้กำลังใจ

    เรียน ท่าน ผอ.เม็กดำ1

    • ยินดีที่ได้ ลปรร. ครับ
    • การโยนคำถามดูเหมือนจะง่ายนะครับสำหรับท่านที่ชำนาญแล้ว  แต่บางท่านที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ก็ฝืดเหมือนกัน ต้องฝึกกันบ่อยๆ  
    • ขอบพระคุณมากครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท