สร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้


4.3 คลังความรู้ ควรมีทั้งคลังความรู้ที่เป็นความรู้ในตำราเพื่อเก็บไว้ใช้อ้างอิง คลังความรู้ที่เป็นBest practice คลังความรู้ที่เป็นInnovation และคลังความรู้ที่เป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (Expert network)หรือจัดทำเป็นแผนที่ศักยภาพของมนุษย์ (Human Mapping)
ข้อเสนอแนะในการปรับใช้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 ในร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10

สร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้

 
  1. การจัดระบบเพื่อให้เกิดการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลนโยบาย

1.1     มีระบบเหมืองข้อมูลรวม(Data mining) ที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ทำให้สามารถวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลที่ให้ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูได้ง่าย

 

1.2     มีการกำหนด KPIs อย่างเหมาะสมเพื่อใช้วัดผลงานและติดตามงาน โดยมีตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่แสดงให้เห็นได้เป็นตัวเลข ชั่งตวงวัดได้ง่าย ที่ไม่มองแค่ผลผลิต(Outputs)เท่านั้น แต่ควรมองไปถึงผลลัพธ์(Outcomes) ผลกระทบ(Impacts)และผลลัพธ์บั้นปลาย(Ultimate outcomes)ได้ด้วย

 

1.3     ตัวชี้วัดเชิงปริมาณอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะวัดความสำเร็จของงาน ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงคุณภาพไว้ด้วย เนื่องจากระบบสุขภาพหลายเรื่องไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถเล่า บอก กล่าว เขียน พรรณนาออกมาให้เห็นภาพของความสำเร็จได้

 

1.4     การนิเทศติดตามงานเชิงบวก  ไม่ควรต้องการแค่ตัวเลขเท่านั้น แต่ควรมีการค้นหาสิ่งดีๆ ความสำเร็จ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ด้วยพร้อมทั้งมีเวทีที่จะเผยแพร่ชื่นชมผู้ที่สร้างผลงานเหล่านั้นด้วย

 

1.5     มีระบบเปรียบเทียบผลงาน (Benchmarking) กันอย่างสร้างสรรค์ ทำให้แต่ละพื้นที่มีข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบผลงานกันได้ จะทำให้ได้ Best practice หรือ Innovation ออกมา และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากBest practiceหรือ Innovation ที่เกิดในพื้นที่

 
  1. สร้างและสนับสนุนให้เกิดองค์การเรียนรู้และการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้ในองค์กรสุขภาพต่างๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในทุกระดับ

2.1     เข้าใจแนวคิด หลักการของKM โดยเน้นการจัดการความรู้ในตัวคน (Tacit knowledge) มากกว่าความรู้ในตำรา (Explicit knowledge) ไม่ใช่ไปเน้นแต่การถอดความรู้มาเก็บเป็นตำรา ใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งผิดทิศผิดทางของการจัดการความรู้ที่ไปเน้น เข้าเครื่อง มากกว่า เข้าคน ผลทางสุขภาวะทางจิตวิญญาณและความสัมพันธ์ของคนจะไม่เกิดขึ้น

 

2.2     ใช้เครื่องมือและรูปแบบการจัดการความรู้ที่หลากหลาย ไม่ใช่เน้นแค่การจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติเท่านั้น อาจใช้เพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องเล่าเร้าพลัง สุนทรียสนทนา ทบทวนหลังปฏิบัติ สุนทรียสาธก สุนทรียทัศนา เป็นต้น หรือจะใช้หลายอย่างบูรณาการไปก็ได้

 

2.3     ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่ไปเน้นแค่เวทีแลกเปลี่ยนในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น กลุ่มที่จะมาแลกเปลี่ยนก็ควรจะมาจากส่วนที่หลากหลาย ทั้งในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยกันเอง เจ้าหน้าที่จากแต่ละกระทรวงหรือร่วมกับประชาชนกับชุมชนก็ได้

 

2.4     มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของการจัดการความรู้คืองานดีขึ้น คนดีขึ้น และวิธีปฏิบัติดีขึ้นหรือนวัตกรรมมากขึ้น

 
  1. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา

3.1  ควรพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to research : R2R) เพราะจะทำให้ได้งานวิจัยที่สอดคล้องกับงานประจำ นำไปปรับปรุง พัฒนางานประจำที่ทำอยู่ได้

 
  1. พัฒนาระบบข้อมูลสาธารณสุขให้ทันสมัย เชื่อถือได้ เอื้อต่อการเข้าถึงและการนำไปใช้ประโยชน์

4.1     จัดทำคลังความรู้ด้านสุขภาพของชาติ (Health Knowledge Asset Center) ที่เก็บคลังความรู้ที่สกัดมาจากความรู้ในตัวคนหรือความรู้ฝังลึกมากกว่า ไปเก็บเอาความรู้ในตำรามารวบรวมกันไว้อย่างเดียวโยไม่ได้ผ่านการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งความรู้ที่ไม่เหมาะกับบริบท ทำให้ไม่มีใครดึงเอาไปใช้

 

4.2     มีกลไกการบริหารจัดการเพื่อให้มีการกระตุ้นให้นำเอาความรู้ในคลังความรู้ ไปใช้ พัฒนา ต่อยอด และมีการทบทวนความทันสมัยของความรู้อยู่เป็นระยะๆ เพราะความรู้ที่ดีต้องปรับได้เปลี่ยนได้ คือปรับให้เหมาะกับสถานการณ์และเปลี่ยนให้ทันกับความต้องการของลูกค้า

 4.3     คลังความรู้ ควรมีทั้งคลังความรู้ที่เป็นความรู้ในตำราเพื่อเก็บไว้ใช้อ้างอิง คลังความรู้ที่เป็นBest practice  คลังความรู้ที่เป็นInnovation และคลังความรู้ที่เป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (Expert network)หรือจัดทำเป็นแผนที่ศักยภาพของมนุษย์ (Human Mapping) ทางด้านสุขภาพเพราะด้วยข้อจำกัดหลายด้าน อาจทำให้ไม่สามารถถอดความรู้ในตัวคนจากผู้รู้จริงได้ทั้งหมด การทำเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญจะช่วยได้มาก   โดย นายแพทย์พิเชฐ  บัญญัตินายแพทย์ 8 ด้านเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก จังหวัดตาก
หมายเลขบันทึก: 74226เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท