เมื่อเทคโนฯจากปัตตานี มาเจอกับ เทคโนฯจากพิษณุโลก


          เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 คณะอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ชั้นปีที่ 3 จาก มอ.ปัตตานี มาศึกษาดูงาน ภาควิชาเทคโนโยและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยหัวหน้าภาคเทคโนฯ มน. ได้มอบหมายให้นิสิตปี 3 (รุ่นผม) เป็นผู้รับผิดชอบให้การต้อนรับ โดยเพื่อนๆมอบหมายให้ผมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

          จากการสอบถามความคาดหวังของผู้มาเยือนนั้น นอกจากจะมาเยี่ยมชม ศึกษาดูงานแล้ว ยังต้องการสร้างเครือข่าย และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองสถาบัน

          ซึ่งก็ได้ทีผมเลยละครับ ที่จะยกเครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ โดยเมื่อมาถึงนะครับ เราให้การต้อนรับ และจัดให้ผู้มาเยือนเข้าห้องรับรอง โดยเราก็ได้พูดคุยสร้างความเป็นกันเอง และมีหัวหน้าภาควิชาเทคโนฯ มน. ผศ.ดร.สุภาณี เส็งศรี มากล่าวให่การต้อนรับและพูดถึงภาพรวมของภาควิชาเทคโนฯ มน.

          จากนั้นนะครับเราก็จัดแสดงผลงานของนิสิต มน.ที่เราได้สร้างสรรค์ขึ้นก็ได้รับความสนใจพอสมควรครับ สังเกตจากการสอบถามและกริยาของผู้ฟัง และก่อนที่เราจะเข้าสู่กิจกรรมตามจุดประสงค์หลัก คือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามหัวข้อ ความแตกต่างระหว่างสองสถาบัน ผมวางแผนไว้ว่าจะให้จัดเป็น 4 กลุ่มโดยผสมกันระหว่างนิสิตสองสถาบัน ดังนั้นก่อนจะเข้ากระบวนการหลัก ผมจึงจัดกิจกรรมสันทนาการไป 1 ชุด เพื่อละลายพฤติกรรม สร้างความคุ้นเคย โดยผมบอกผู้นำสันทนาการไว้ว่า ให้หาอุบายให้ทุกคนแบ่งกลุ่มเป็นสี่กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน โดยผสมกันทั้งสองสถาบัน ซึ่งผู้นำสันทนาการก็ทำได้ดีมากเลยครับ

          หลังจากนั้นเมื่อแบ่งกลุ่มแล้วผมก็ให้โจทย์ไปว่า ให้แต่ละกลุ่มพูดคุยกันว่า ทั้งสองสถาบันมีความแตกต่างกันอย่างไร ที่แตกต่างกันนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร และความรู้ที่ได้ในวันนี้จะเอาไปใช้ทำอะไร โดยให้เวลาการคุยกัน 20 นาทีและส่งตัวแทนออกมากลุ่มละ 2 คน 2 สถาบัน เพื่อมาพูดเรื่องดังกล่าว

                                                                                                   

                                                

          ซึ่งก็ปรากฏเหมือนการ ลปรร. ทุกครั้งครับ เวลานั้นไม่พอการพูดคุยเป็นไปอย่างออกรสชาด แต่ละคนแต่ละกลุ่ม เมื่อมีความคุ้นเคยกันแล้วก็ต่างพูดคุยกันตามบรรยากาศที่เอื้ออำนวย สุดท้ายนะครับต้องยอมให้เวลาล่วงเลยไปถึง 40 นาที เมื่อเวลาใกล้เที่ยงการพูดคุยจึงสิ้นสุดลง ตัวแทนกลุ่มก็ออกมาพูดถึงเรื่องราวในกลุ่มให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง

 

          ซึ่งเนื้อหาส่วนมากก็จะเป็นด้านความแตกต่างของหลักสูตร กิจกรรมของนิสิต เครื่องไม้เครื่องมือ ซึ่งก็แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย (ก็สาขาเดียวกัน) ซึ่งสิ่งที่ได้นะครับนอกเหนือจากเปิดหูเปิดตาให้กับนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันแล้ว ยังสามารถสร้างความคุ้นเคยสร้างเครือข่าย "เลือดเทคโนฯ" ซึ่งตรงนี้น่าสนใจมากครับ ว่าเครือข่ายนี้จะพัฒนาไปมากน้อยแค่ไหน หรือ เป็นเหมือนไปไหม้ฟาง ก็ขอฝากอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วยนะครับ

          ซึ่งก่อนจะจากลากันนะครับ เราได้จัดกิจกรรมใจสู้ใจ คือให้เขียนความรู้สึกจากมิตรภาพที่ได้มาเจอกันวันนี้ เปรียบเหมือนการประเมินไปในตัวครับ ซึ่งมีหลายข้อความน่าสนใจมากครับ เช่น

  • รู้สึกดีที่ได้มานั่งคุยกันแบบเป็นกันเอง (ลปรร.)
  • เป็นกันเองมาก ไม่เหมือนที่อื่นที่ให้แต่นั่งฟังอย่างเดียว
  • พึ่งเป็นที่แรกที่ได้พูดคุยกับเพื่อนๆแบบเป็นกันเอง ที่อื่นส่วนมากจะให้นั่งฟังอย่างเดียว

ออ ลืมบอกไปครับ ก่อนที่เค้าจะมาที่ มน. เค้าได้ไปดูสถาบันอื่นที่ กทม.ด้วยครับ และหลังจากเราเค้าจะไปที่เชียงใหม่ต่อ

......................
................................

          จากการสอบถามนะครับ นักศึกษาที่มาดูงานจาก มอ.ปัตตานี นั้น ต้องเสียเงิน(เอง) คนละ 3500 บาท (เยอะจัง) โดยจะใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 1 อาทิตย์ ไปแวะที่ กทม. พิษณุโลก เชียงใหม่ และย้อนกลับไปที่ปัตตานี ไกลน่าดูเลยนะครับ

 

          ผมเคยได้ยินว่าการศึกษาคือการลงทุน เห็นจากการลงทุนของเพื่อนๆจาก ปัตตานีแล้ว ถามว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มไหม ผมไม่ทราบครับ ในขณะที่ค่าเทอมของรุ่นผม ประมาณ 5000 บาท แต่รุ่นน้องผม 10000 บาท มากขึ้นถึง 100 % แต่รุ่นน้องผมเวลาไปดูงานก็ต้องเสียเงินเอง เช่นเดียวกับรุ่นผม เช่นเดียวกับเพื่อนๆจากปัตตานี ผมไม่ทราบว่า ค่าเทอมที่แพงขึ้นถึง 100 % นั้น เม็ดเงินนั้นหายไปไหน รุ่นน้องผมจ่ายเงินมากกว่าผมถึงเท่าตัว แต่ทำไมเงินที่กลับไปเป็นค่าลงทุนทางการศึกษา จึงพอๆกับของผม สงสัยจังเลยครับ 

   

ใครมีคำตอบ ใครมีคำถาม ใครมีอะไรเสนอแนะ เรียนเชิญครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 74113เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กิจกรรมดีๆ แบบนี้ น่าจะจัดขึ้นทุกปี (ถ้ามีงบประมาณเพียงพอ) จะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสถาบันต่างๆ แล้วนำความรู้เหล่านั้น มาพัฒนาภาควิชาฯ ของเรา ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

      ในฐานะรุ่นน้องคนหนึ่ง  ที่ต้องชำระค่าบำรุงการศึกษา  ภาคเรียนละ  10,000 บาท    ณ ตอนนี้กวางก็ยังไม่ทราบเลยคะ พี่ปืน   ว่า เงินที่จ่ายเพิ่มมาจากรุ่นพี่นั้น มากขึ้นเท่าตัว  แต่เม็ดเงินหายไปไหน และสิ่งที่ได้รับจากการที่เราลงทุนไป   เราได้รับอะไรเพิ่มมากขึ้นมาอีก เท่าตัว มากกว่ารุ่นพี่หรือไม่   กวางก็ยังมีข้อสงสัยในส่วนนี้เช่นเดียวกับพี่ปืน เช่นกันค่ะ

ขอขอบคุณ คุณบีเวอร์...

  • เป็นบันทึกที่ให้ทั้งข้อมูล ข้อคิด และโจทย์ให้คิดมากมาย

ปี 2531...

  • กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (2531)... ทางสาธารณสุขป่าบอน (พัทลุง - ทางใต้) จัดดูงานจากป่าบอน-เชียงราย 7 วัน
  • ค่ารถไป-กลับ 400 บาท
  • ข้าว... หากินเอาเอง
  • อาบน้ำ... ปั๊มพ์เอสโซ่ อาบกลางแจ้ง ใครไม่อาบก็ซักแห้งไปเรื่อยๆ
  • พักผ่อน... นั่งๆ นอนๆ บนรถพัดลม เดินทางไปเรื่อยๆ นอนบนรถ เก้าอี้แบบปรับเอนไม่ได้
  • จำได้ว่า พอถึงพิษณุโลกรู้สึกอยากกราบพระพุทธชินราชมาก พอรถเข้าไปจอดในวัด... ผมเดินเข้าไปคนแรกเลย ตอนนั้นเย็นแล้ว เงียบมากๆ แทบไม่มีคนเลย เห็นพระพุทธชินราชแล้วยืนตะลึงไปตั้งนาน
  • และแล้ว... ก็ได้พักในวัดพระพุทธชินราช (นอนศาลา)จริงๆ
  • เสียดายที่ตอนนั้นไม่มีกล้องดิจิตอล และไม่มีบล็อกให้รายงาน

น่าเห็นใจนิสิตนักศึกษาจากปัตตานีที่ต้องลงทุนดูงานกันถึง 3,500 บาท...

  • น่าเห็นใจนิสิต มน. ที่ต้องจ่ายกันมากหน่อย  
  • อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อการศึกษามีแนวโน้มจะมีความคุ้มทุนมากกว่าการลงทุนอย่างอื่นมากทีเดียว...
  •  กิจกรรมดีๆน่าจะมีจัดเยอะๆ เสียดายวิทย์-แพทย์มีที่เดียวในประเทศ ไม่รู้จะไปลปรร.กับใคร อดเดินสายเลย
  • การศึกษาคือการลงทุน การลงทุนเพื่อการศึกษาเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อลงทุนแล้วก็ต้องรับมาให้เต็มที่ให้คุ้มค่ากับการที่ลงทุนไป
  • ค่าเทอมเพิ่มขึ้นอาจเป็นเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น อาจารย์ที่เป็นแม่บ้านอาจมีเงินไม่พอไปจ่ายตลาดอาจสร้างความหิวโหยให้แก่ลูกน้อยได้

 

  • ขอชม จัดภาพสวยมากค่ะน่าอ่านดี

 

 

ตอบ ป้าแนน

  • ใช่ครับ ควรจัดขึ้นทุกปี ผมเคยเสนออาจารย์ทึ่ภาควิชาไปนะว่า หากต้องการจะทราบถึงลำดับขั้นของภาควิชาว่าอยู่ในระดับใดในประเทศ ให้ลองจัดการแข่งขันทางวิชาการดู รับรองว่าได้รู้แน่
  • ก็ไม่เห็นจะเป็นยังไงเลยครับ เสนอแล้ว ผมว่าท่านลืมไปแล้วมั้ง
  • ขอบคุณครับ

ตอบ น้องกวาง

  • เห็นอธิการบอกว่าจะไม่ขึ้นค่าเทอมอีก ๑๐ ปีหากออกนอกระบบ
  • จะไปขึ้นทำไมละครับ ผมว่า ก็เล่นขึ้นซะ ๑๐๐ % ไปแล้ว น้องลองไปถามๆอาจารย์ดูซิครับ คำถามนี้ เพื่อได้คำตอบดีดี
  • ขอบคุณครับ (ถ้าไม่ถามเดี๋ยวพี่ถามให้)

ตอบ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

  • ขอบคุณอาจารย์หมอมากครับ ทุกวันนี้ก็มีคำถามในใจผมมากมายครับ เพียงแต่รอเวลาเหมาะๆบรรยากาศดีดี เดี๋ยวผมก็จะถาม หรือยุให้คนอื่นถาม คอยฟังดูนะครับอาจารย์
  • การศึกษา คือ การลงทุน นั้นผมว่าถูกต้องมากที่สุดครับที่อาจารย์ว่า มันจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
  • แต่ผมก็ยังสงสัยว่า ในขณะที่น้องจ่ายค่าเทอมมากขึ้น แต่เม็ดเงินที่กลับมาภาควิชานั้น น้อยลง (อาจารย์ที่ภาคบอกผมเอง) ยิ่งเดี๋ยวนี้ มหาวิทยาลัยผลักภาระค่าน้ำค่าไฟมาให้คณะจ่ายเองด้วย
  • สงสัยจริงๆครับอาจารย์ เงินมันหายไปไหน

ตอบ น้องแอน

  • เดินสายไปเจอคณะอื่นที่ใกล้เคียง หรือไปดูงาน พวกนิติวิทยาศาสตร์ก็ได้นิครับ
  • ใช่แล้วครับ ต้องได้คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนลงไป น้องว่าน้องได้คุ้มรึเปล่า
  • ขอบคุณครับ (งงกับประเด็นหิวโหย จะมาแนวไหนเนี่ย)

 

ดูเป็นกันเอง อย่างที่พี่ปืนบอกจริง ๆ ค่ะ แต่แอบเห็นใจ ม.ปัตตานีอ่ะ รู้สึกว่าเค้าเดินทางไกลจริง ๆ แต่เรื่องแค่นี้ คงไม่ทำให้เค้ารู้สึกเสียเที่ยวหรอกเน๊อะ เพราะดูแล้วเค้าจะได้อะไรมากมายจากการเดินทางครั้งนี้อ่ะ  เป็นการลงทุนที่ทำกำไรมหาศาล พี่ปืนว่าจริงไหมค่ะ...

  • ต้องดูว่าความรู้ที่เค้านำกลับไปนั้น ต่อยอดได้มากแค่ไหน ยิ่งมากยิ่งได้กำไรครับ
  • ที่มาแล้วกลับไปก็เหมือนได้แค่ทุนเท่านั้น
  • ขอบคุณครับ

ดีจัยที่ได้ไปเยือนมน. คิดถูกมากๆๆที่ได้ไปที่นั่น

หวังว่าเพื่อนจะมาตานีบ้างนะ

รับรองไม่เจอ ระเบิด แน่

เราอยู่มาสามปีแลวยังไม่เคยเห็น

ฮาๆๆๆๆๆ

  • ถ้ามีโอกาสได้ไป ไม่พลาดแน่ครับ
  • ขอบคุณครับ

 

น้อง ๆ อย่าไปซีเรียสเรื่องการลงทุนหรอกจ้า

จะคุ้มหรือไม่คุ้ม มันขึ้นอยู่กับว่า น้อง ๆ ได้กอบโกยความรู้จากอาจารย์(ผู้ที่พร้อมจะให้เรากอบโกยความรู้)ได้มากเท่าไรนั่นเอง

-คนที่ตอบว่าคุ้ม คือ คนที่ได้รับความรู้จนพอใจ

-คนที่ตอบว่าไม่คุ้ม คือ คนที่ยังไม่ได้ความรู้

สำหรับพี่ จ่ายค่าเทอม 26,000 บาท มา 2 เทอมแล้ว พี่ยังคิดว่า ยังไม่คุ้ม เพราะต้องแบ่งเวลาเรียนไปทำงานซะนี่ เพราะถ้าไม่ทำงานก็ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม

ส่วนน้อง ๆ นะเหรอ พี่ให้ความเห็นว่า ควรเรียนให้คุ้มไปเลย ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท