การสำรวจความพิการ พ.ศ.2550


การสำรวจความพิการ พ.ศ. 2550

ปัจจุบันพบว่าความต้องการใช้ข้อมูลความพิการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้จัดทำโครงการการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2550 ขึ้น ซึ่งทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความพิการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 โดยรวมไว้ในโครงการสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2544 และต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้พิจารณาแยกข้อถามความพิการออกจากโครงการสำรวจเกี่ยวกับอนามัยและสวัสดิการ โดยจัดทำเป็นโครงการสำรวจความพิการและภาวะทุพพลภาพขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนชื่อการสำรวจเป็น การสำรวจความพิการ (สคพ.) โดยมีแผนการสำรวจทุก 5 ปี และทำการสำรวจในทุกจังหวัด แต่ละจังหวัดดำเนินการสำรวจโดยการส่งเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานสถิติจังหวัด ออกไปสอบถามข้อมูลจากครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในการสำรวจทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล โดยไม่รวมถึงครัวเรือนต่างชาติที่ทำงานในสถานฑูตหรือองค์การระหว่างประเทศที่มีเอกสารสิทธิ์ทางการฑูต ครัวเรือนพิเศษ และครัวเรือนสถาบัน โดยสำนักงานสถิติจังหวัดจะทำการสำรวจตลอดทุก ๆ เดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2550

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความพิการ

1.ประชากรที่มีความลำบากหรือปัญหาสุขภาพในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นต่อเนื่องมาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

2. ประชากรที่มีความบกพร่องลักษณะต่าง ๆ

3.ประชากรที่มีความลำบากในการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องความลำบากหรือปัญหาสุขภาพฯ หรือความบกพร่องและผู้ดูแล

4. การใช้เครื่องช่วยและการได้รับสวัสดิการจากรัฐ ของประชากรที่มีความพิการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสำรวจความพิการ

ข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจ จะนำไปใช้วางแผนให้ความช่วยเหลือผู้พิการและจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา การประกอบอาชีพ การแพทย์ การสาธารณสุข และสังคม เพื่อให้ผู้พิการได้รับการพัฒนาสมรรถภาพ เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้เต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมต่อไป

การวางแผนบริหาร และกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศโดยไม่มีข้อมูลสถิติที่แน่นอนและเชื่อถือได้ ก็ไม่ผิดอะไรกับการพยายามขับรถเข้าไปในถนนสายเปลี่ยวและมืดโดยไม่มีแสงไฟช่วยนำทาง ซี่งย่อมเป็นการเสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ อยู่ไม่น้อย ยิ่งถ้าที่นั่งของผู้ขับรถ อุณหภูมิของเครื่องยนต์ ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจต่าง ๆ ของผู้ขับรถด้วยแล้วก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า ทั้งผู้ขับและผู้โดยสารจะเดินทางไปไม่ตลอดรอดฝั่ง

ประเทศพัฒนา เพราะประชาร่วมใจ ให้ข้อมูลที่เป็นจริง

หมายเลขบันทึก: 74106เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท