น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน


สิ่งที่นักศึกษาเหล่านั้นได้ยินอยู่ทุกวัน ว่าแนวคิดตะวันตกดีอย่างนั้น อย่างนี้ โดยอาจไม่มีโอกาสหันมามองศักยภาพของความรู้ภูมิปัญญาสังคมไทย

 วันนี้ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมอภิปราย เกษตรประณีต ๑ ไร่ ร่วมกับ

  • พ่อจันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้านจากอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา และ
  • คุณ สุครีพ พิพิธกุล ตัวแทนจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น  ที่งานเกษตรภาคอีสาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โดยมี ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย 

 

ท่านอาจจะงงว่าทำไมจึงต้องมาพูดในเรื่องนี้ ทั้งๆที่แค่ได้รับเชิญไปพูดในสถาบันของตนเอง  

ผมกลับถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่ใหญ่อีกก้าวหนึ่ง ของการยอมรับตัวผมในสถาบันของตัวเอง  

ผมทำงานวิจัยกับชุมชน และเครือข่ายปราชญ์ เรื่อง เกษตรยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน มาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี

 แต่ผมก็ไม่เคยได้สร้างผลกระทบใดๆ ในระดับสถาบันการศึกษาที่ผมทำงานอยู่เลย แม้แต่จะเชิญบรรยายเรื่องที่ผมทำอยู่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตแล้ว 

ที่ใกล้เคียงที่สุดของความ เกือบ สำเร็จของการยอมรับ ก็เมื่อเครือข่ายปราชญ์ได้ยกพลไปบุกมหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ในการประชุมวิจัยปลายปี ๒๕๔๗ และอีกครั้งในการประชุมใหญ่ของเครือข่าย
  • เมื่อปลายปี ๒๕๔๘ เพื่อจะหนุนช่วยสร้างความเชื่อมโยงงานของเครือข่ายปราชญ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำงานสะดวกขึ้น  

ผลก็คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่รู้จะรับลูกอย่างไร ก็ออกลูกหลบกันจ้าละหวั่น และพูดตอบอย่างเสียไม่ได้ว่า ไม่มีคน ที่จะมาทำงานด้านนี้

ทั้งๆที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เน้นการพัฒนาภาคอีสาน และนี่ก็เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่ควรจะฉกฉวย  

นี่คือบทแสดงถึงระดับภูมิปัญญาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ถือว่าเป็นขุมปัญญาของภาคอีสาน ผมก็เลยย้อนกลับไปคิดว่านักศึกษาที่ท่านอาจารย์เหล่านี้สอน จะพัฒนาความคิดอะไร ได้ระดับไหน จะมีระดับภูมิปัญญาที่จะทำงานเพื่อพัฒนาภาคอีสานได้ขนาดไหน

และการพร่ำสอนถึงชุดความรู้ที่ถ่ายทอดมาจากตำราต่างประเทศ โดยปราศจากบริบทของสังคมไทยนั้น จะสามารถใช้ในการพัฒนาภาคอีสานได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเน้นใช้สารเคมีที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม การใช้ปุ๋ยเคมีที่ทำให้ลดความสำคัญของการดูแลทรัพยากรดิน และที่ดิน

รวมทั้งวิธีการทำงานกับชุมชนอย่างได้ผล  สิ่งที่นักศึกษาเหล่านั้นได้ยินอยู่ทุกวัน ว่าแนวคิดตะวันตกดีอย่างนั้น อย่างนี้ โดยอาจไม่มีโอกาสหันมามองศักยภาพของความรู้ภูมิปัญญาสังคมไทย และศักยภาพการพัฒนาให้ดีกว่าเดิม มากกว่าระดับความรู้ที่ชาวบ้านที่ไม่เคยเรียนหลักวิชาการที่ลึกซึ้งมาก่อน ได้พัฒนามาอย่างเหงาหงอย ปราศจากการเหลียวแลจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย 

การสอนที่เน้นการจัดการระบบการทำการเกษตรที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ดิน น้ำ พืชพรรณ และการวิจัยที่ละเลยฐานภูมิปัญญาพื้นบ้าน จะทำให้ความคิดกระด้างและไม่ตอบสนองต่อปัญหาท้องถิ่น ทำตามแต่ความคิดในกรอบแคบๆของตัวเอง ก็คงจะได้แค่สอนให้ผู้เรียน มีความคิดหลุดฐานของความเป็นจริง 

จึงไม่น่าแปลกใจว่านักศึกษาเกษตรศาสตร์ ตอบไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร มาทำอะไร และจะไปไหน 

แต่อาจจะตอบได้ว่า สิ่งที่อยู่ในตำราที่เรียนนั้นมีอะไรบ้าง แต่จะเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 ผมเลยมานั่งคิดกังวลไปเองว่า ถ้าเรามีความรู้ไปพร่ำสอนนักศึกษาแบบนั้น นักศึกษาก็คงคล้อยตามไปแบบนั้น อยู่สักพักก็คงจะลืมว่าตัวเองเคยอยู่ในอีสาน และนึกไม่ออกว่าเกษตรกรในภาคอีสานมีหน้าตา ปัญหา อุปสรรค เป็นอย่างไร

โอม.... เพี้ยง อย่างไรก็ขออย่าให้เป็นจริงเลยครับ ห่วงจริงๆ  

คำสำคัญ (Tags): #kmธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 74058เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • อ่านบันทึกของอาจารย์ทำให้นึกถึงบันทึกของผมเมื่อปีที่แล้วครับ (ลิงค์อ่าน)
  • คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าพัฒนากันไปผิดทาง-ยึดติดกับตำรา ยังเชื่อว่าผู้รู้จริงคือนักวิชาการ ฯลฯ เท่านั้น
  • ผมเชื่อว่า "ความรู้นั้นมีชีวิต และขึ้นอยู่กับบริบท"  พวกเราก็เลยหาเวทีเองครับ โดยอาศัยโอกาสจากเครือข่ายต่างๆ เช่นที่ มรภ.เชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งก็ได้ ลปรร.กันทุกฝ่าย
  • ดีใจกับอาจารย์ด้วยนะครับกับ "ความก้าวหน้าที่ใหญ่อีกก้าวหนึ่ง ของการยอมรับตัวผมในสถาบันของตัวเอง"  
ขอบคุณครับที่ทำให้ผมรู้สึกว่ามีแนวร่วม
  • สู้ต่อไปครับแม้จะไม่มีใครมอง
  • มีนักศึกษาที่นี้จำนวนหนึ่งครับ หลังจากปิดภาคเรียนเขาก็กลับไปทำนาที่บ้าน ผมจะยกย่องเชิดชูนักศึกษาเล่านี้ให้นักศึกษาอื่นๆได้รับรู้เสมอแม้ผมจะไม่เคยทำนาเลยก็ตาม

จึงไม่น่าแปลกใจว่านักศึกษาเกษตรศาสตร์ ตอบไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร มาทำอะไร และจะไปไหน 

แต่อาจจะตอบได้ว่า สิ่งที่อยู่ในตำราที่เรียนนั้นมีอะไรบ้าง แต่จะเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

 ผมเลยมานั่งคิดกังวลไปเองว่า ถ้าเรามีความรู้ไปพร่ำสอนนักศึกษาแบบนั้น นักศึกษาก็คงคล้อยตามไปแบบนั้น อยู่สักพักก็คงจะลืมว่าตัวเองเคยอยู่ในอีสาน และนึกไม่ออกว่าเกษตรกรในภาคอีสานมีหน้าตา ปัญหา อุปสรรค เป็นอย่างไร

 

โอม.... เพี้ยง อย่างไรก็ขออย่าให้เป็นจริงเลยครับ ห่วงจริงๆ

ท่านเล่าฮู  ต้องทำหน้าที่นอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนด ตรงนี้อธิบายได้ว่า ถ้าจะทำงานเชิงรุก นั้นเขารุกกันตั้งแต่วิธีคิด วิธีการ วิธีบริหารความเฉื่อยเฉยของสถาบันการศึกษา วิธีหาชนวนของท่านเล่าฮูน่าจะถูกทางแล้ว ผลจะมากน้อยขึ้นอยู่กับวาสนาของบ้านเมือง

การพัฒนาหรือการศึกษาที่ขัดกับรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดี ทำให้ระบบการศึกษาด้านเกษตรล้มเหลวและเกษตรกรรายย่อยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตราบใดวิชาการไม่ถูกประยุกต์เข้ากับสภาพของภาพจริงและปรับเข้ากับรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น..เราคงหาทางกลับบ้านเก่าไม่เจอ..ครับผม
  เนื้อที่1ไร่ ถ้าใช้แนวคิด สวน 4 ชั้น ปลูกพืช 4 ชนิด ลดหลั่นกันลงมา โดยพึ่งพาอาศัยกัน เท่ากับมีสวน 4 ไร่ และจะร่มเย็นมากๆ ตัวชี้วัด คือไส้เดือนครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับที่มาให้กำลังใจ

ผมจะสู้ต่อไปจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท