สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร


22 มค.50 เวลา9-12.00 น.มีบรรยายวิชาการเรื่อง "สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร" ณ ห้องประชุมตึกอำนวยการชั้น 6 โดยวิทยากร ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส  และผศ.เอนก ยมจินดา        จริยธรรม   เป็นคำศัพท์มี่เรานำมาจากฝรั่ง

สิทธิ เป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่ง  จริยธรรม คล้ายกับคำว่าศีลธรรม ซึ่งโดยปกติมนุษย์มีจริยธรรมอยู่แล้ว แต่กิเลสมาพอกพูน จึงอาจทำให้หลงลืมไป อาจารย์แสวงกล่าวว่า  พยาบาลที่ดีทำมากกว่า 10 ข้อในประกาศสิทธิผู้ป่วยอยู่แล้ว แต่เนื่องจากในวงการแพทย์และพยาบาล ไม่มีใครบอกได้ว่าแพทย์,พยาบาลและบุคลากรทุกคนเป็นคนดี    

      คำประกาศสิทธิผู้ป่วยไม่ใช่กฏหมาย แต่มีฐานอ้างอิงเป็นกฏหมายอยู่ ใช้เฉพาะกลุ่ม

จากการพิจารณาคำประกาศสิทธิผู้ป่วยรายข้อทั้ง 10 ข้อมีบางข้อที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษดังนี้

สิทธิผู้ป่วยข้อ 2 การไม่เลือกปฏิบัติดูเหมือนว่าแพทย์พยาบาลจะเป็นวิชาชีพเดียวที่เลือกผู้รับบริการไม่ได้ ดังนั้น การทำให้ผู้ด้อยโอกาส มีโอกาสนั่นล่ะจึงจะเป็นฝีมือ

          มีประเด็นที่พูดถึง กรณีคนไทยส่วนใหญ่มักติดภาพลักษณ์การแต่งกาย คนที่แต่งตัวดีมักได้รับบริการดี ขัดกับการที่ คนดีในสังคมไทย มักไม่เบ่ง ทำตามขั้นตอน เข้าคิว ไม่วางฟอร์ม

มีตัวอย่างเรื่องเล่า  ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีผู้ป่วยรอแพทย์ตรวจ ซึ่งรอแพทย์นานแล้ว จึงมีคนไปถามพยาบาล

ผู้รับบริการคนแรก      หมอจะมาตอนไหนคะ

พยาบาล                  มาก็เห็น               เว้นช่วงไปอีกระยะหนึ่ง

ผู้รับบริการอีกคน       หมอไปไหนคะ ทำไมยังไม่มาตรวจ

พยาบาล                  ไม่ได้บอก                  

 สักครู่ต่อมา หมอผู้หญิงเดินเข้ามาด้วยรอยยิ้มและกล่าว ขอโทษนะคะที่มาช้าและเข้าไปในห้องตรวจผู้รับบริการคนหนึ่ง เมื่อเห็นหมอมาแล้ว ก็รีบลุกขึ้นเพื่อเตรียมจะเข้าไปตรวจ แต่โดนอีกคนฉุดเอาไว้ และพูดว่า หมอเพิ่งมาถึงเหนื่อยๆ ให้หมอพักก่อนสิ เมื่อพยาบาลเรียกชื่อผู้รับบริการคนแรกเดินเข้าไปตรวจ 

ผู้รับบริการคนแรก หมอไปไหนมาคะ

หมอยิ้ม แล้วพูดว่า     พอดีมีงานเลี้ยง แวะไปซื้อของ เลยช็อปปิ้งต่อค่ะ   จบด้วยดีไม่มีใครต่อว่าหรือโกรธ

เรื่องนี้ได้ข้อคิดอะไรบ้างมั้ยคะ บอกหน่อยได้มั้ย........

อ.แสวงได้พูดถึงการเรียกคำนำหน้าชื่อด้วย ลุง ป้า  อาม่า หรือคำกลางๆ เช่น "คุณ" จะเหมาะกับวัฒนธรรมไทยได้ดีและรู้สึกอบอุ่นกว่า(ยกเว้นไปเรียกคุณหญิงว่าอาม่า อาจมีเรื่อง) 

สิทธิผู้ป่วยข้อ 3 เสมือน Informed concent ซึ่งทางกฏหมายไม่ได้บอกว่าต้องเซนต์ชื่อยินยอมรับการรักษา เพียงแต่เมื่อเกิดเรื่องการนำสืบพยานเอกสารจะง่ายกว่าพยานบุคคล จึงเป็นที่มาของการเซนต์ชื่อในใบยินยอม แต่สาระที่แท้จริงอยู่ที่การอธิบายไม่ใช่ลายเซ็นต์

Informed concent  ทำเพื่อ  right  to  know เพื่อให้เกิด   right  to  Self-determination

การประกอบโรคศิลป ไม่สามารถนำกฏหมายมาใช้แบบตรงไปตรงมา 100 %ได้

มีตัวอย่างทีม Breaking bad news  ที่ศิริราช ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 วันเตรียมผู้ป่วยก่อนเสียชีวิต

ตัวอย่างคำถามที่ต้องใช้ศิลป 

ผู้ป่วยถาม       ผ่าตัดใส้ติ่ง อันตรายไหม

ตอบแบบปิยะวาจา     โดยทั่วไปการผ่าตัดใส้ติ่งก็ไม่มีอันตรายอะไร ยกเว้นบางกรณี แต่ไม่ต้องกังวลใจอะไรหรอก หมอจะดูแลให้ดี

ผู้ป่วยถามต่อ            แล้วจะผ่าตัดดีมั้ย

ตอบแบบจริงใจ         ก็ลองถามญาติ พี่ น้องดูนะ แต่ถ้าเป็นแม่หมอ ก็จะให้ผ่า 

การแจ้งข่าวร้าย  เริ่มจากหลักคือผู้ป่วยก่อน ถ้าเป็นไปไม่ได้(จิตใจไม่พร้อม)จึงเป็นญาติ

                   การบอกก่อน             ถือเป็นคำชี้แจง              

                   บอกภายหลัง            ถือเป็นคำแก้ตัว

Informed concent    ประกอบด้วย   ใคร     เมื่อไหร่         อายุ   

 สิทธิผู้ป่วยข้อ 10 ที่ระบุไว้ที่อายุ 18 ปีนั้น แท้จริงแล้วกฏหมายไม่ได้บอกว่าต้องบรรลุนิติภาวะ  ซึ่งไม่ควรยึดถือโดยไม่คล่องตัวในทางปฏิบัติ โดยอาจยึดที่ 18 ปี แต่กรณีน้อยกว่า 18 ปีต้องมีคำอธิบาย

          ข้อยกเว้นไม่ต้อง Informed concent 

         -กรณีฉุกเฉินต้องช่วยชีวิต                                                                 

        -กรณีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย

สิทธิผู้ป่วยข้อ 7 การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล                  

ความลับเป็นสิทธิส่วนบุคคล สิ่งที่จะทำลายได้ต้องเป็นสิ่งที่เหนือกว่า ได้แก่ประโยชน์สาธารณะ เช่นสามีติดเอดส์ ภรรยาอาจติด และตายได้ ต้องใช้ศิลปในการพูดกระตุ้นให้สามียินยอมด้วยตนเองในการบอกผลแก่ภรรยา 

สิทธิผู้ป่วยข้อ 9 กรณีผู้ป่วยสามารถร้องขอข้อมูลในเวชระเบียนได้                            

 ซึ่งสามารถ  copy ให้ไปได้ กรณีมีข้อความที่ละเมิดสิทธิผู้อื่นต้องตัดออก(ห้ามลบ)

นพ.เอนก ยมจินดา     ได้พูดถึงการสาธารณสุขไทยแบ่งเป็น 3 ยุค (อ้างถึงนพ.ประเวศ วะสี)

          ยุคที่ 1 ยาขอ หมอวาน

          ยุคที่2  Modernized   Healthcare

          ยุคที่3  Humanized   Healthcare 

theme ปีนี้    การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

          ประเด็น         ถ้าคิดว่าผู้ป่วยเป็นพ่อแม่ ลูกหลานเราควรจะปฏิบัติอย่างไร 

                            เอาความดีของยุคที่ 1+ยุคที่2

 Relationship

 Improvement 

 Skill               =             RISK   ซึ่งต้องอาศัยการจัดการที่ดี

หมายเลขบันทึก: 74005เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มิใช่แพทย์แต่เขาเรียกผมว่า หมอ
ถ้าบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขสักครึ่งหนึ่ง ทำได้สักครึ่งหนึ่งของบทความนี้ การแพทย์และสาธารณสุขของไทยคงเจริญกว่านี้อีกมากกว่าครึ่งหนึ่ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท