ชีวิตจริงของอินเทอร์น : ชื่นบานไปกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


วันนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของฝ่ายจัดการความรู้และพัฒนาบุคลากร และ ทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ที่ต้องทำงานด้วยกันราวกับคู่แฝด

ฝ่ายทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้นั้นประกอบไปด้วย ส่วนงานชุมชนแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ชุมชน / ส่วนงานประมวลความรู้และการสื่อสาร / ส่วนงานห้องสมุด / ส่วนงานสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ ส่วนฝ่ายจัดการความรู้ ฯ นั้น มีส่วนงานเดียว ซึ่งดิฉันได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียนให้เข้ามาดูแลทั้ง ๒ ฝ่าย

จากการที่โรงเรียนเพลินพัฒนามีความตั้งใจว่าจะจัดการศึกษา ด้วยแนวทางของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม นั้น ทำให้การทำงานทุกส่วนต้องมุ่งไปเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มงานของตน เพื่อที่ว่าสภาพชุมชนแห่งการเรียนรู้จะก่อเกิดได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

เท่าที่ผ่านมา ๓ ปีนั้น ยังเป็นการจัดตั้งให้เกิดขึ้นในแต่ละห้วงโอกาส แต่ยังไม่เป็นธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตผู้คน

ดิฉันคิดว่าจะเริ่มการประชุมด้วยการเกริ่นให้ทุกคนมองเห็นทิศทางในการมุ่งสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ว่าจะต้องเริ่มจากการที่ทุกคนต้องเป็นบุคคลใฝ่รู้ และเรียนรู้ร่วมกันจากความสำเร็จของแต่ละคน ซึ่งก็คือความสำเร็จร่วมของทุกคน อันเกิดจากการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มงาน ที่เมื่อรวมกันแล้วเรื่องราวเหล่านั้นก็กลายเป็นความสำเร็จขององค์กร นั่นเอง

ในการนำประชุมคราวนี้ดิฉันตั้งจะนำกิจกรรมการ ลปรร. โดยวิธี AI เข้าไปใช้ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับการ “เปิดใจ”รับฟังอย่างชื่นชม อย่างเคารพ และเห็นคุณค่าในกัน และกัน
“เปิดปาก”ชื่นชมจากความรู้สึกที่ออกมาจากใจจริง เพื่อจะได้สัมผัสกับความรู้สึกชื่นบานที่เกิดจากการมองเห็นความงอกงามที่เกิดขึ้นกับทุกคนในกลุ่ม โดยมีเราแต่ละคนเป็นผู้สร้างความดีงามนั้นๆแก่กัน

หัวข้อของสุนทรียสนทนาในวันนี้ คือ “ฉันได้เรียนรู้อะไรจากเพื่อนๆบ้าง สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้นั้นได้สร้างความก้าวหน้าให้ฉันทั้งในด้านการพัฒนาตน และพัฒนางานอย่างไรบ้าง”

เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างชื่นชมกันไปแล้ว ก็มาถึงวาระของการตั้งเป้าหมายที่เราต้องการจะไปให้ถึง ในหน้างานที่แต่ละคนกำลังทำกันอยู่ พร้อมกับการตั้งเป้าการพัฒนาตนให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาหน้างานนั้นๆให้ดียิ่งๆขึ้นไป

เป็นไปได้มากว่าเป้าหมายที่ตั้งขึ้นนั้นจะเป็นเรื่องของสิ่งที่เราแต่ละส่วนงานยังทำได้ไม่เต็มที่ แต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อการ “กำจัดจุดอ่อน”ที่มีอยู่ให้หมดไป และเพื่อการพัฒนาตน พัฒนางานไปอีกขั้น เช่น

• การตั้ง speed guarantee สำหรับฝ่ายสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องทำงานสัมพันธ์กับเวลา และมีหน้างานที่สัมพันธ์กับความต้องการอันหลากหลายของผู้คน

• การตั้ง depth guarantee สำหรับส่วนงานประมวลความรู้ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องการคุณภาพของงานที่ต้องลงลึกไปในเรื่องนั้น

• การตั้ง research guarantee สำหรับงานห้องสมุด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการความรู้ หากได้นำเอาผลของการสำรวจมาทำวิจัย แล้วนำไปปรับปรุงงานได้ก็จะเป็นความก้าวหน้าที่น่าชื่นชม

• การตั้ง network guarantee สำหรับงานชุมชนฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องทำงานประสานกับเครือข่าย และขยายเครือข่ายออกไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้กับทั้งตัวเด็ก ครู บุคลากร และผู้ปกครอง ในหลากหลายรูปแบบ

• การตั้ง vision guarantee สำหรับฝ่ายจัดการความรู้และพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องเข้าไปช่วยสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และคุณค่าที่องค์กรต้องการสร้างให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการทำงานจัดการความรู้กับ KMA ของแต่ละช่วงชั้น และการสร้างฉันทะให้กับผู้นำองค์กรในการประชุมคณะกรรมการปฏิบัติงานโรงเรียน (คปก.) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบันทึกก่อน

หมายเลขบันทึก: 73927เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ครูใหม่ เล่าได้ละเอียดมากครับ ....นับถือ นับถือ
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ...ตอนถัดจากนี้ไปจะเป็นการ AAR การประชุมครั้งนี้ว่าได้ผลอย่างไร ติดตามอ่านได้เลยค่ะ :) ครูใหม่
ได้บรรยากาศเหมือนเข้าไปนั่งในเหตุการณ์จริงนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท