MPA ม.ราชภัฏสวนสุนันทา / HR (Blog 2)


สวัสดีครับลูกศิษย์ และชาว Blog
มีต่อ
มาขอแอบแจมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ด้วยคนนึงค่ะ
 เรียน  .ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์ ยม นาคสุข                  เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550  อาจารย์จีระ ได้มาพบกับพวกเราอีกครั้ง  วันนี้บรรยากาศเป็นกันเอง สนุก ทุกคนเริ่มโต้ตอบและสอบถามอาจารย์มากขึ้น อาจารย์ยมกรุณาแวะมาเยี่ยม และให้ข้อแนะนำพวกเราในช่วงเวลาสั้น ๆ ด้วย    ได้ดูเทป เปิดอก  ดร. อำนวย วีระวรรณ ซึ่งได้ความรู้มุมมองใหม่ ๆ            เพื่อน ๆ  MPA 3  คงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของ  ... สราวุฒิ  นวมน้อย  ที่พวกเราเรียกกันว่า  โอ๋   ด้วยอุบัติเหตุแล้ว  ถึงแม้จะได้รู้จักกันระยะเวลาสั้น ๆ  แต่คุณโอ๋ก็สนิทสนมกับทุกคน  คุยสนุก  มีความรับผิดชอบสูง  จะมาเรียนสม่ำเสมอ  มีความคิดดี พวกเราอาลัยการจากไปของคุณโอ๋ หากมีสิ่งใดที่ได้ล่วงเกินไว้ขออโหสิกรรม  และขอให้ดวงวิญญาณคุณโอ๋ไปสู่สุคติพวกเราที่มีชีวิตอยู่จะต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่าด้วยการเรียนรู้และทำประโยชน์ให้สังคมต่อไป                 อาจารย์จีระนำ   HR  Architecture   ซึ่งแสดงให้เห็นภาพทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่า ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย  เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  เริ่มด้วยการศึกษา  มีสุขภาพแข็งแรง  มีภาวะโภชนาการที่ดี  มีครอบครัวอบอุ่น  ได้รับการบริโภคข่าวสารที่มีคุณภาพ   ควรเพิ่มคุณธรรมและจริยธรรมด้วยได้เห็นการบูรณาการเรื่องต่าง ๆ กันอย่างลงตัว จะทำให้เกิดการพัฒนาได้ยั่งยืน                   เรื่อง  HR  เรียนไม่รู้จักจบ   ทรัพยากรมนุษย์คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต  องค์กรจะต้องปรับตัวตลอดเวลา อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎี  H R D S   ทฤษฎี  3 วงกลม   ทฤษฎี 8 K’s   เป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออกได้รับความรู้มากขึ้น  ดิฉันขอแสดงความเห็น ในเรื่อง ต่าง ๆ ดังนี้        1.      วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ เป็นผู้นำทางวิชาการและเทคโนโลยีที่สมคุณค่า  เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน  ที่มาของวิสัยทัศน์ ได้วิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส  และอุปสรรค นำ Balance  Scorecard มาใช้ มีการจัด Work Shop เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดมีส่วนร่วม           เป้าหมายขององค์กร  คือ  การศึกษา  วิจัย  และพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีทางการแพทย์     มุ่งพัฒนาระบบบริการตติยภูมิและศูนย์การแพทย์ระดับภูมิภาคของประเทศ     พัฒนาหน่วยงานในสังกัดให้เป็น Center  of  Excellence  /  National  Institute   เร่งแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ  เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี            การทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว  อาจต้องใช้เวลา เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนภารกิจ  จากบริการ เป็นวิชาการ  ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่  ซึ่งเป้าหมายจะสำเร็จได้หากผู้นำทุกระดับให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   สนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้  อย่างจริงจังและต่อเนื่อง   ตัวข้าราชการทุกคนต้องใฝ่รู้  เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร  เพราะหากองค์กรใดพัฒนาด้วยทุนทางปัญญา องค์กรนั้นจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน            2.    การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)   มีผลกระทบกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ อย่างไร    การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก  WTO  ซึ่งมีสมาชิกประมาณ  150  ประเทศทั่วโลกมาจากต่างภาษาต่างเชื้อชาติ    ต่างวัฒนธรรมกัน   มีการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงทางการค้า  นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลาย ๆ ด้านทำให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่เวทีโลก   ได้แก่             1)   การพัฒนาบุคลากร  มีการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ภาษาอย่างน้อยสองภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   เรื่องการคิดเชิงระบบ   เพื่อการเจรจาต่อรองจะได้ไม่เสียเปรียบต่างชาติ   อาจบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของประเทศ   2)   พัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ   นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ  พัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัย  ให้บริการที่รวดเร็ว  มีระบบการเก็บข้อมูลที่ทันสมัย  สะดวกกับการค้นหาอ้างอิง  ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการทำงานของข้าราชการให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์  3)  การแข่งขันในตลาดโลกทำให้ต้องเรียนรู้และพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์  ให้มีคุณภาพเทียบเท่าสินค้าต่างประเทศ   4)   สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการคุ้มครอง   ประเทศไทยมีศิลปะซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบรรพบุรุษ  เป็นภูมิปัญญาไทย จะได้รับการคุ้มครอง    5)  เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นกฎเกณฑ์สำคัญของ WTO มีผลทำให้คนไทยมีจิตสำนึก อนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมบ้าง  เราต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเห็นถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกับชีวิตความเป็นอยู่และช่วยกันสอดส่องดูแล         3)   วัฒนธรรมองค์กรที่ถือปฏิบัติกัน  ได้แก่  การให้ความเคารพผู้มีอาวุโสกว่า มีรุ่นพี่รุ่นน้อง  สายงานหลักเป็นแพทย์  พยาบาล  จะให้การนับถือตามลำดับรุ่น  ข้อดี   คือมีความสามัคคี  ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด  มีความผูกพันธ์กับองค์กร   ข้อเสีย   คือการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงาน / ฝ่าย  จะไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ จะยึดตามลำดับอาวุโส   วัฒนธรรมการประชุม  คือ จะมีการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ  บ่อยมากและเริ่มไม่ค่อยตรงเวลา    ข้อดี  หลายฝ่ายได้มีส่วนร่วมและรับรู้ทุกเรื่อง   ข้อเสีย คือเสียเวลารอคอย  เวลาประชุมจะแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางได้ความคิดหลากหลาย  แต่สรุปไม่ได้                    ถึงแม้การเรียนในห้องกับอาจารย์จะจบลง  แต่การเรียนรู้ยังไม่จบดิฉันเริ่มศึกษาด้วยตนเองจากการอ่านเรื่องที่อาจารย์ได้เขียนไว้ซึ่งมีจำนวนมากต้องค่อย ๆ  ศึกษา  ได้อ่านไม่กี่เรื่องก็รู้ว่ามีประโยชน์มาก  ในวันนี้อาจารย์ได้ต่อยอดความคิดอีกหลายเรื่อง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้   หากทำได้อย่างต่อเนื่องจะสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้  ศรีปัญญา   วัชนาค[email protected]                       
ยม" ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ ศิษย์ จ.อ.สราวุฒิ นวมน้อย

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทาฯ 

ผมขอแสดงความเสียใจ และอาลัยกับการจากไปของ จ.อ.สราวุฒิ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น MPA 3 และเป็นศิษย์คนหนึ่งของผม 

เพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงจ.อ.สราวุฒิ ผมได้นำบทความที่ จ.อ.สราวุฒิ เขียนไว้เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา ดังปรากฎอยู่ในตอนท้ายนี้  

ส่วนสมาชิก MPA 3 ที่เขียนมาขอให้ผมช่วย comment การเขียนให้ ขอเวลาศึกษาอีกนิด  แล้วจะส่งตามมา  

ผมเชิญชวนพวกเรา ร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ จ.อ.สราวุฒิ ด้วยการตั้งใจอ่านบทความของเขา และมองให้เห็นส่วนดี และร่วมจิตส่งความปราถนาดีไปให้เขาร่วมกันหลังจากอ่าน ข้อความจบแล้ว

*************************************

จ่าเอกสราวุฒิ นวมน้อย รหัสนักศึกษา49038010029 ม.สวนสุนันทา เมื่อ พฤ. 18 ม.ค. 2550 @ 22:14 (140532)
เรียน อาจารย์ยม  นาคสุข ที่เคารพอย่างสูง 
ระผมจ่าเอกสราวุฒิ  นวมน้อย นักศึกษาปริญญาโท(รปม.) สาขาการบริหารจัดการ รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2550กระผมมีโอกาสได้รับฟังความรู้จากท่านอาจารย์ในหัวข้อเรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่  ซึ่งประเด็นที่ได้รับ คือ 
  1. ความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมของระบบราชการและเอกชน
  2. ความแตกต่างและเปลี่ยนแปลงใน ด้านโครงสร้างระบบและวัฒนธรรมขององค์การในศตวรรษที่ 20 และ 21  ซึ่งในศตวรรษที่ 21 นี้เน้นเรื่องภาวะผู้นำ( leadership) ของผู้บริหาร การกระจายข้อมูลข่าวสาร  การกระจายอำนาจ (Empowerment)  การลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อสะดวกรวดเร็วและเพิ่มให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 
  3. แนวทางการบริหารองค์การในศตวรรษที่ 21 มีการดำเนินงานอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนด้วยการใช้เครื่องมือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ทันสมัยต่างๆ  เช่น   
  • การกำหนดสมรรถนะหรือคุณสมบัติเชิงพฤติกรรม (Competency) ของบุคลากรที่องค์การต้องการ โดยมีสมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นคุณสมบัติหลัก ทุกคนในองค์การต้องมีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การประสบความสำเร็จ
  •  การบริหารผลการทำงาน (Performance Management) โดยใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เช่น Balanced Scorecard และการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ KPI เพื่อให้ทุกคนในองค์การทำงานในทิศทางเดียวกัน  มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนและเชื่อมโยงต่อกลยุทธ์ขององค์การ 
  • การใช้หลักการ 7 Habits เพื่อพัฒนาตนเอง
  • การสร้างองค์การแห่งการเรียรู้       
ประเด็นแรก  จากการเรียนเรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่  เรื่องที่ข้าพเจ้าให้ความสนใจคือ   หลักการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่  ได้แก่ 
  • การยึดหลักระบบคุณธรรม
  • การใช้หลักความโปร่งใส ทำอะไรต้องตรวจสอบได้ 
  • ารยึดหลักมุ่งผลสัมฤทธิ์ 
  • การยึดหลักสมรรถนะ  หลักความรับผิดชอบ ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน 
  • การยึดหลักสรรหาระบบเปิด 
  • การยึดหลักการบริหารจัดการแนวใหม่  

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์  4 ด้าน  คือ

  • การเมือง (Political) 
  • เศรษฐกิจ (Economy) 
  • สังคม วัฒนธรรม (Social) 
  • เทคโนโลยี (Technology) 

ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกเนื่องจากในภาวะนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อเราไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาล  และกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ชุมชน องค์กร

 ดังนั้นหากเรารู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้เราปรับตัว และเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืนในยุคแห่งโลกาภิวัตน์ เรื่องวิธีการสร้างอำนาจ 5 ประการ คือ

  1. อำนาจสร้างได้ด้วยการให้
  2. อำนาจสร้างได้ด้วยการติ
  3. อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า
  4. อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง
  5. อำนาจสร้างทางนิติกรรม ( อำนาจต้องสร้าง ต้องรักษา ต้องใช้ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ )  

 

สำหรับปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ  ตามความเห็นของข้าพเจ้า คือ

  1. ปัญหาระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) การบริหารที่ไม่ได้ยึดหลักผู้มีความรู้ความสามารถของบุคลากรเป็นหลัก แต่มุ่งเน้นการให้ประโยชน์แก่พรรคพวกเพื่อนพ้อง ทำให้ผู้มีความรู้ความสามารถไม่ประสงค์ประกอบเลือกอาชีพรับราชการ และผู้ที่เป็นข้าราชการขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
  2. ปัญหาการคอรัปชั่น ระบบอุปถัมภ์ทำให้ข้าราชการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่มุ่งแต่หวังผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนที่ตนจะได้รับ การปฏิบัติงานขาดความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีผลงานที่ดี ทำให้ประเทศไม่เจริญก้าวหน้าช้า
  3. ปัญหาระบบการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะเกิดขึ้นไม่ได้   ถ้าภาครัฐยังใช้ระบบการบริหารราชการแผ่นดินรูปแบบเดิมๆ  โดยมีขั้นตอนมากเกินจำเป็น และมีกฎระเบียบและกฎเกณฑ์มากมาย  การแก้ไขปัญหาล่าช้า   ทำให้มาตรฐานการบริการของภาครัฐที่มีต่อประชาชนขาดมาตรฐานที่ดี  ใช้การฝึกอบรมแบบให้ความรู้ทั่วไปไม่พอเพียง และไม่สอดคล้องต่อเป้าหมายและพันธกิจขององค์การ

ประเด็นที่  3  ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาในภาครัฐ        

  1. ผู้บริหารประเทศควรเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้า  ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วต้องมีการเตรียมพร้อมให้ประชาชนได้เรียนรู้วัฒนธรรมสากล มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองการปกครอง ส่งเสริมให้ประชาชนมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดเชิงระบบ และคิดเชิงรุก สร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ
  2. ผู้บริหารประเทศจะต้องเป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ไม่ควรมาจากระบบอุปถัมภ์และควรจะมีความรับผิดและชอบต่อสิ่งที่ได้กระทำ โดยยึดหลักธรรมมาภิบาล และให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
  3. กำหนดและปรับเปลี่ยนระบบนโยบายด้านการศึกษาทั้งระบบการเรียนการสอนและผลตอบแทนของครูให้เหมาะสมกับสภาวะเป็นจริงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  เพื่อต้องการให้ผู้สอนได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในความเป็นครูที่ดี เพราะครูซึ่งเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่สร้างและพัฒนาคน ให้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม การกระทำของครูส่งผลให้ผู้เรียนมีความประพฤติและการปฏิบัติตนเป็นคนดี ทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคมและประเทศชาติ       

                       

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อหวังที่จะให้ประชาชนและประเทศชาติในอนาคตสามารถดำรงอยู่ได้ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทั้งคนเก่ง  ทั้งคนดีและมีความสุขมีมุมมองเชิงรุกสู่อนาคต  สามารถแข่งขัน  และร่วมมือ  อีกทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

จ่าเอกสราวุฒิ  นวมน้อย http://[email protected]

  ผมชื่นชมการเขียนของ จ.อ.สราวุฒิ เป็นการเขียนที่ดี ครอบคลุมประเด็นการนำเสนอ การดำเนินเรื่อง และการปิดประเด็น

 

เนื้อหาดำเนินเรื่อง จับประเด็นได้มาก แสดงให้เห็นถึงการศึกษา ทบทวนสิ่งที่ได้สอน แนะนำไปเป็นอย่างดี

จ.อ.สราวุฒิ เป็นครูผู้สละตัวเอง เป็นบทเรียนให้พวกเราทุกคน ได้ตระหนักถึงการเรียนรู้ เรื่องการวางแผนชีวิตให้รัดกุมยิ่งขึ้น และไม่ประมาท มีสติอยู่เสมอ

 

คุณความดีที่ผมและเพื่อน ๆ นักศึกษาเคยทำมา ขออุทิศให้แก่ จ.อ.สราวุฒิ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย อำนวยพรให้ จ.อ. สราวุฒิ นวมน้อย จงไปสู่ความสงบสุข ด้วยเทอญ 

ให้ทุกศิษย์ที่อ่านทุกคนสงบนิ่ง 1 นาที และส่งจิต ปราถนาดี ไปถึง จ.อ.สราวุฒิ 

ยม "ยินดีต้อนรับ สมาชิกใหม่ คุณ รัตติยา เขียวแป้น และสวัสดีคุณศรีปัญญา"

สวัสดี ครับ ศ.ดร.จีระ นักศึกษา MPA 3 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 ยินดีต้อนรับ เพื่อน สมาชิกใหม่ ที่ปรารถนาเข้ามาจอยด้วย คุณรัตติยา เขียวแป้น   ผมจำได้ว่าคุณรัตติยา ได้ติดตามอ่าน Blog ของผม และตามมาอ่านที่นี่ด้วย  ขอขอบใจที่ให้ความสนใจ และติดตามมา หากจะร่วมแสดงความคิดเห็นใด ๆ ก็ยินดี  

ผมขอแนะนำ ให้เพื่อน ศิษย์ นักศึกษา MPA 3 ได้รู้จัก คุณรัตติยา เขียวแป้น  โดยคลิ๊กเข้าไปที่ชื่อของคุณรัตติยา บริเวณ ตัวอักษรสีน้ำเงินขีดเส้นใต้ ก็จะสามารถเข้าไปศึกษาประวัติ คุณ รัตติยา เขียวแป้น  ได้  

 

และหากศิษย์ MPA 3 มีโอกาสและเวลา ก็สามารถทำ home page แนะนำตัวเอง และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้เช่นกัน 

สำหรับคุณศรีปัญญา  การเขียนพัฒนาขึ้นมาก เปิดประเด็นได้อบอุ่นดี ดำเนินเรื่องและสรุปได้ดี 

และเวลาเรียนตื่นตัวอยู่เสมอ ถึงแม้ ผมไปเยี่ยมในระยะสั้น ก็ยังเห็นความตั้งใจเรียน ใฝ่รู้ ของศรีปัญญา ซึ่งทำได้ดี เป็นแบบอย่างที่ดีครับ

 

ขอให้ศิษย์ทุกคนโชคดี

ยม

081-9370144 

[email protected]

[email protected] http://gotoknow.org/portal/yom-nark
วรวรรณ ส่องพลาย รปม.3 รหัส 49038010035
เรียน ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด เพื่อนๆชาว blog ทุกคน               เมื่อวันที่  21 มกราคม 2550 อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  เป็นอาจารย์สอนนักศึกษา รปม.3 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ในเรื่อง BALANCED SCORECARD และ EMPLOYEES ENGAGAMENT ซึ่งอาจารย์สอนและยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้นักศึกษาฟังและเข้าใจได้โดยง่าย มีการทำ case study เรื่อง  BALANCED SCORECARD โดยเริ่มจากตัวนักศึกษาก่อน ซึ่งทำให้การเรยนไม่น่าเบื่อ และอาจารย์ดูเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มตลอดเวลา                นอกจากจะสอนเรื่อง BALANCED SCORECARD และ EMPLOYEES ENGAGAMENT แล้วอาจารย์สอนถึงเรื่อง  7 อุปนิสัย(seven hubits) เป็นอุปนิสัย ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิต ถ้าเราสามารถนำมาใช้ผสมผสานกันได้ สามารถทำให้เกิดประสิทธิผลได้ 7 อุปนิสัยนั้นคือ              1   ต้องรู้จักเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตัดสินใจด้วยสติ              2     ต้องเริ่มต้นจนถึงจุดจบ และมีเป้าหมายที่จะเริ่มทำก่อน              3   เลือกทำสิ่งที่สำคัญก่อน มองลำดับความสำคัญและทำสิ่งนั้นก่อน              4    คิดแบบ win-win ไม่ต้องคิดจะชนะใคร และไม่ต้องยอมแพ้ใคร              5    ให้พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อน ฟังคนอื่นให้เข้าใจก่อน แล้วเราจะได้รับความเข้าใจตอบแทน              6   1+1 ต้องมากกว่า 2 เหมือนกับทำอะไรต้องรวมพลัง ร่วมมือร่วมใจ           7   ฝึกฝนให้เป็นิสัย เพื่อความชำนาญ และติดเป็นนิสัย            ส่วนเรื่อง BALANCED SCORECARD เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานองค์กร ซึ่งเป็นระบบการบริหารงานและประเมินผลทั้งองค์กร หาจุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร นำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยมุมมอง 4 มุมมอง คือ มุมมองด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการ และด้านการเรียนรู้ โดยทำให้มุมมองทั้ง 4 ด้านมีความสมดุลกัน โดยกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภายในองค์กร มาเป็นกลยุทธ์ในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่เป้าหมายนั้น รวมทั้งการนำ  EMPLOYEES ENGAGAMENT มาสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร และทำให้พนักงานมีความมุ่งมั่น ความสามารถ และอุทิศตนเองเพื่อความำเร็จขององค์กร โดยคำนึงถึง                    Stay  อยู่อย่างเต็มใจ                   Say   พูดถึงองค์กรด้วยความภาคภูมิใจ                   Serve มุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรดีเลิศ           สรุป  ถ้าองค์กรสามรถนำ   BALANCED SCORECARD และ  EMPLOYEES ENGAGAMENTมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ขององค์กร องค์กรนั้นจะได้รับการพัฒนาและสามารถทำพันธกิจ สู่วิสัยทัศน์ที่องค์กรนั้นกำหนดขึ้นได้                                                                                        วรวรรณ  ส่องพลาย                                                                                     รหัส 49038010035                                          [email protected]
นายประเวช ลิกขะไชย รหัส 49038020010
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ก่อนที่อธิบายถึงสิ่งที่อาจารย์ให้ไว้ ผมขอกล่าวถึง จ.อ.สราวุฒิ นวมน้อย (โอ๋) ที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ว่าถ้าดวงวิญญาณของโอ๋อยู่ที่ใด ขอให้จงรับรู้ว่าไว้ด้วยว่าพวกเราชาว MPA 3 ทุกคนรักโอ๋มาก เราจะตั้งใจเรียนให้จบและนำความรู้ไปพัฒนาองค์กร ประเทศ ให้ประสบความสำเร็จ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่โอ๋หวังไว้ จากการเรียนเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 อาจารย์ได้นำ วีดีโอ การสนทนา ชุด เปิดอก ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้ข้อคิดจาก ทำให้มองภาพทั้ง 2 ภาพให้เห็นถึงภัย และอีกด้านการก่อภัย โอกาสที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ผู้บริหาร วันที่ 21 มกราคม 2550 อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง หลักการใช้ Balanced Scorecard มาใช้ในการวางแผนการทำงานปรับปรุงคุณภาพให้ดี 1. วิสัยทัศน์ขององค์กร หรือที่เรียกว่า Vision คือ สิ่งที่แสดงถึงความต้องการของคนในองค์กรเพื่อให้บรรลุประสงค์เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องด้วยองค์กรของผมเป็นองค์กรอิสระ (ธุรกิจส่วนตัว) ซึ่งผมได้ให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ให้เกิดความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กร การนำเอาทฤษฎี 2R และ 3 วงกลม มาให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องมีส่วนประกอบอย่างอื่นด้วยที่จะต้องสัมพันธ์กัน ทฤษฎี HRDS ที่ต้องการให้สังคมอยู่อย่างยั่งยืนและมีความสุข 2. วัฒนธรรมในองค์กร ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่สังคมเห็นการเรียนรู้ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำงานให้เป็นแนวเดียวกัน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและมีประโยชน์ เผชิญหน้ากับความล้มเหลว แสวงหาโอกาส ข้อดี บุคคลากรมีความสามารถเฉพาะด้าน การทำงานที่เป็นทีม เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ข้อเสีย การปฏิบัติงานล่าช้า มีบุคลากรจำนวนมาก บ้างครั้งไม่เป็นที่พอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการ 3. WTO ที่มีผลกระทบต่อระบบราชการ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ประเทศทางทิศตะวันตกวางเอาไว้เพื่อที่จะให้ทุกประเทศในโลกเข้าร่วมการเป็นสมาชิก ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59 จากสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ ภายใต้กระบวนการเปิดเสรีทางการค้าของ WTO อำนาจอธิปไตยของชาติกำลังถูกถ่ายโอนจากคนในชาติไปสู่องค์กรนอกประเทศ ที่ถูกควบคุมโดยประเทศมหาอำนาจเพียงไม่กี่ประเทศ การเปิดตลาด การให้คนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจถูกดำเนินการไม่ใช่ด้วยมติที่เกิดจากกลไกภายในประเทศ จริงอยู่ที่รัฐวิสาหกิจมีปัญหาด้านประสิทิภาพและความโปร่งใสซึ่งจำเป็ฯที่จะต้องได้รับการแก้ไข ขณะนี้ทางออกที่ถูกเสนอสู่สังคมมีเพียงการขายให้กับเอกชนเท่านั้น ซึ่งวิถีทางนี้ไม่เคยพิสูจน์ได้เลยว่าสามารถให้ความมั่นคงด้านสวัสดิการต่าง ๆ ต่อประชาชนได้ ยิ่งถ้าหากเราเข้าไปผูกพันภายใต้ WTO เมื่อใดความเป็ฯไปได้สูงที่เอกชนจะเป็นไปตามหลักการผลักดันของบรรษัทข้ามชาติโดยผ่านทางเงื่อนไข ของ WTO ตั้งแต่ปี 2545 เราได้รับข้อเรียกร้องการเปิดเสรีการค้าบริการจากนานาชาติมามากมาย และ ปี 2546 ประเทศไทยถึงกำหนดที่จะต้องเริ่มให้คำตอบต่อข้อเรียกร้องเหล่านั้น แต่คนไทยผู้ที่จะได้รับผลกระทบกลับไม่เคยมีโอกาสได้ทราบเลยว่าข้อเรียกร้องต่าง ๆ มีอะไรบ้าง มีนัยสำคัญอย่างไร และบริการสาขาไหนที่รัฐบาลจะเปิดให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินการ
พรกมล สมวงศ์ MPA 3 รหัส 49038010014
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ อาจารย์ ยม และอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  ก่อนอื่นก็ต้องขอชื่นชมว่าอาจารย์พจนารถ เป็นผู้หญิงที่เก่งมาก อัธยาศัยดี  มาพบปะนักศึกษาแค่ครั้งเดียว ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกประทับใจอาจารย์มาก ขอตอบคำถามของอาจารย์พจนารถ ดังนี้ วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2550 อาจารย์สอนเรื่อง Balanced Scorecard, Employees  Engagement   เรียนแล้วสรุปดังนี้ Balanced Scorecard  หมายถึงเครื่องมือที่ในการถ่ายทอดและแปลงวิสัยทัศน์ ลงสู่เป้าหมายระดับต่าง ๆ จนถึงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1. ด้านลูกค้า (Customers) 2. ด้านกระบวนงานภายในองค์กร (Intermal Business Processes) 3. ด้านองค์กร (Learning and Growth) และ 4. ด้านการเงิน (Financial) หน่วยงานภาครัฐ ได้นำ Balanced Scorecard มาทดลองปฏิบัติการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ในส่วนราชการไทย ได้กำหนดมุมมองใน Balanced Scorecard  ออกเป็น 4 มุมมอง โดยปรับรายละเอียดองค์ประกอบของแต่ละมุมมองให้สอดคล้องกับสภาพของงานราชการ คือ 1. มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร 2. มุมมองด้านองค์ประกอบภายในองค์กร 3. มุมมองด้านนวัตกรรม และ 4. มุมมองด้านการเงิน และให้นำ Employees Engagement  มาสร้างความผูกพันกับพนักงานในองค์กร โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร จัดการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จต่อไป  สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ได้นำความรู้สึกดี ๆ มาให้นักศึกษา รปม.3   ขอบพระคุณค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ   ดีใจที่จะได้ติดตามเรียนรู้จากอาจารย์ใน G2K

น.ส.ละอองแก้ว จันทร์เทพ รหัส 4903810008 MPA รุ่น 3
เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และ สวัสดีค่ะ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

        จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ เมื่อวันที่  20 มกราคม  2550 เรื่อง Balanced Scorecard และEmployees Engagementรู้สึกภูมิใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์มากๆทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับ Balanced Scorecard และ  Employees Engagement มากขึ้นและ ได้ฝึกทำ Balanced Scorecard ในการนำไปใช้กับชีวิตประจำวันก่อนทำ Balanced Scorecard  ต้อง มี Vision , Mission, Corprate Values มีเป้าหมาย และ นอกจาก นี้แล้วได้รับความรู้เกี่ยวกับอุปนิสัย 7 ประการ ได้แก่  1.  รู้จักเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง 

         2. ให้คิดเริ่มต้นจากจุดจบก่อน  

         3. ให้เลือกทำสิ่งที่สำคัญก่อน  

         4. ให้คิดแบบชนะ  

         5. ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ  

         6. 1+1 ต้องมากกว่า 2   

         7.หัด ฝึกฝนให้เป็นนิสัย   ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์มากในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรได้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
รักษิณา อิ้วสวัสดิ์
สดีค่ะ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข  และอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด จากที่ได้เรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 .. ที่ผ่านมา ประทับใจเกี่ยวกับการยกตัวอย่างวงกลมในหนังสือเล่มหนึ่งที่ไม่มีคำอธิบายแต่มีรูปวงกลมที่อาจารย์เล่าว่า เป็นวงกลมวงหนึ่งที่พยายามหาส่วนที่ขาดหายไปของตัวเอง ไม่ว่าจะพยายามทำอย่างไร จนในที่สุดพบว่า สิ่งที่ตัวเองมีอยู่นั้นดีอยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาสอนใจตัวเองได้ดีค่ะสำหรับการบ้านนั้น  เรียนแล้วได้รู้จักการจัดทำ Balance Scorecard มากกว่าเดิม เนื่องจากส่วนหนึ่งนั้นภาครัฐกำลังตื่นตัวในการจัดทำ ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าการดำเนินงานไ ปในแต่ละด้านตรงเป้าหมายแล้วหรือยังรู้สึกได้ว่าการจัดทำ Balance Scorecard ไม่ได้ใช้แต่ในการประเมินผลของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ภาครัฐสามารถใช้และระบุกลยุทธ์ของตนเองได้ชัดเจนอีกด้วยคิดว่า การจัดทำ Balance Scorecard สามารถได้เปรียบกว่าหน่วยงานที่ไม่ได้จัดทำ เพราะที่สุดแล้วผลที่ได้สามารถนำไปประเมินผลขององค์กร ทำให้เกิดกระบวนการทำงานภายในที่ดี เห็นความสามารถของบุคลากรในหน่วยงาน และระบบข้อมูลข่าวสารขององค์กรอีกด้วยประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ได้ก็คือ ทำให้ทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร มีแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและแก้ไขจุดบกพร่อง เช่น พัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้รวดเร็วขึ้น การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการฝึกอบรมพัฒนาทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ๆ ได้เป็นอย่างดีค่ะ สำหรับ Employees engagement  นั้นการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีย่อมเกิดความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ไม่ว่าจะไม่ได้อยู่องค์กรเดิมแล้วก็ยังพูดถึงในแง่ที่ดีอยู่เสมอ MPA รุ่นที่ 3 ดีใจที่อาจารย์พจนารถได้มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ฟังในหลาย ๆ เรื่อง หวังว่าคงจะได้รับเกียรติจากอาจารย์อีกครั้งในโอกาสต่อไป ขอบคุณค่ะ
น.ส.ละอองแก้ว จันทร์เทพ รหัส 49038010008 MPA รุ่น 3
เรียน ท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

        จากที่ได้เรียนกับอาจารย์เมื่อวันที่  20 มกราคม 2550 ซึงอาจารย์ได้ให้ดูเทป ดร.อำนวย วีรวรรณ ซึ่งได้รู้มุมมองใหม่ๆ และได้พูดถึงทฤษฏี HRDS ทฤษฏี 3 วงกลม ทฤษฏี 8 Ks  และได้มอบหมายให้ทำการบ้าน

1. เขียนเป้าหมายขององค์กร Vision 

2.  วัฒนธรรมแต่ละองค์กร 

3. การค้าโลกหรือ WTO เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไรและมีผลกระทบต่อระบบราชการอย่างไร

        เป้าหมายขององค์กร (Vision)

เป้าหมายของสำนักงานสวนสาธารณะกรุงเทพมหานครคือ กรุงเทพฯเมืองในสวน เนื่องจากสำนักงานสวนสาธารณะมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องสวนและต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 20  สวน และถนนสายสำคัญที่ใช้ต้อนรับชาวต่างชาติในวโรกาสสำคัญๆ อีกหลายสายที่สำนักงานสวนสาธารณะได้ตกแต่งภูมิทัศน์ให้สวยงามตลอดเวลา  เพื่อให้เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของกรุงเทพมหานคร และเพื่อความสุขของคนกรุงเทพมหานครโดยมียุทธศาสตร์   เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยนำกระบวนการประชาชนมีส่วนร่วม และมี ภารกิจ (Mission) คือ เปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 30 ทั่วกรุงเทพมหานคร ปีละ 750 ไร่        วัฒนธรรมขององค์กร   วัฒนธรรมขององค์กรคือสิ่งที่องค์กรประพฤติปฎิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดผลปฎิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมของสำนักงานสวนสาธารณะคือ 1. การปฎิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของคนอื่น             2. การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่มีงานเร่งด่วน ข้อดี 1.  ทำให้มีอิสระ ในการทำงาน  2. สามารถที่จะพัฒนาและเรียนรู้งานทำให้มีทักษะในการปฎิบัติงานมากขึ้น    ข้อเสีย 1.เนื่องจากหน่วยงานจะอยู่กระจายกันทั่วกรุงเทพมหานคร ทำให้ขาดการสร้างความสัมพันธ์กันในองค์กร

        WTO (WORLD TRADE ORGANIZATION)  เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศกำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้าและยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้าและยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและเป็นเวทีเจรจาของประเทศสมาชิก โดยมีหน้าที่ 

1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจา       2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลออุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก       3. เป็นเวทีสำหรับแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก       4. ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ       5. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำและทำการศึกษาประเด็นการค้าสำคัญ        6. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) และธนาคารโลก เพื่อให้นโยบายเศรษฐ์กิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้นความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO มี 3 กลุ่ม คือ มีผลกระทบต่อระบบราชการ คือ1.    การเปิดตลาด1.1                       การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม(รวมสินค้าประมง) เช่น  ลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 33 ภายใน 5 ปี (เริ่ม 1 มกราคม  2538) และห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ถ้าไม่เคยมีการเก็บอยู่ก่อนและไม่ได้แจ้งไว้ในตารางข้อผูกพัน1.2                       ในส่วนของสินค้าเกษตรทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า  โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทนลดภาษีลงเฉลี่ยร้อยละ 36  และ  24  โดยลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 และ 10 ในแต่ละรายการสินค้าภายใน 6 ปีและ 10 ปี สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาตามลำดับและลดการอุดหนุนสินค้าเกษตร ทั้งการอุดหนุนภายในและการอุดหนุนส่งออก1.3                       สิ่งทอและเสื้อผ้าให้มีการเปิดเสรีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแทนการใช้ข้อตกลง สินค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ(MFA) โดยให้ยกเลิกการกำจัดการนำเข้าภายใต้ MFAทั้งหมด 10 ปี  โดยวิธีขยายโควต้าและวิธีการนำรายการสิ่งทอกลับเข้ามาอยู่ในแกตต์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 25382.  กฎระเบียบการค้ามีการปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ เช่น    2.1   ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชโดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้าแต่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ    2.2    ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาดและวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดให้รัดกุมยิ่งขึ้น  เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกัน     2.3   ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุนโดยกำหนดประเภทการอุดหนุนไว้อย่างชัดเจน การอุหนุนประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม การอุดหนุนประเภทใดที่เมื่อทำแล้วอาจถูกมาตรการโต้ตอบ นอกจากนั้นได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนเพื่อการโต้ตอบสินค้าเข้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศผู้ผลิต3.  เรื่องใหม่ ๆ มีการาจัดทำข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางในการนำเนินการในเรื่องที่ยังไม่มีกฎแกตต์กำกับมาก่อนได้แก่       3.1  ทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการต้า(TRIPS)      3.2    การค้าบริการ (GATS)

     3.3  มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs)  กำหนดหลักการสำคัญคือทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเท่ากับการกีดกันการนำเข้าโดยประเทศที่พัฒนาแล้วต้องยกเลิกใน 2 ปี ประเทศที่กำลังพัฒนายกเลิกใน 5 ปี   ไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของ WTO ในจำนวน 150 ประเทศ ดังนั้นหากมองให้กว้างประเทศไทยได้ไปสู่การเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ต้องแข่งขันกับต่างประเทศในการนำสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยไปแข่งขันกับตลาดสากล ตัวอย่างเช่น ข้าว ซึ่งสมัยก่อนไทยส่งข้าวออกเป็นอันดับต้นๆและได้รับการยอมรับจากตลาดสากลมาก แต่ในปัจจุบันหลายประเทศปลูกข้าวเองได้และส่งออกไม่แพ้ไทย เพราะเนื่องจากเขาสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าว และจดสิทธิบัตรก่อนไทย เช่น USA และญี่ปุ่นที่นำพันธุ์ข้าวไทยไปปรับปรุงพันธุ์แล้วจดสิทธิบัตร เนื่องจากการค้าโลกหรือWTO ยอมรับในสิทธิบัตรจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีองค์กรต่างๆที่ตั้งขึ้น เพื่อกำหนดกรอบธุรกรรมระหว่างประเทศ หากประเทศไทยต้องการจะแข่งขันจะต้องมีการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ หลายด้านสิ่งแรกที่เราเสียเปรียบประเทศอื่นๆคือภาษา เนื่องจากการติดต่อกับต่างประเทศจะต้องใช้ภาษาอังกฤษและต้องศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ การใช้เทคโนโลยี และต้องเปลี่ยนทัศคติของบุคลากรของรัฐที่ไปดูงานต่างประเทศไม่ใช่ไปเที่ยวเมื่อกลับมาแล้วต้องนำประสบการณ์ที่ได้จากการไปดูงานนั้นมาปรับใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันกับนานาประเทศ สรุปได้ว่าการพัฒนาประเทศนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐควรจะเป็นผู้นำในการพัฒนาเพื่อช่วยนำพาให้เอกชนเขาอยู่ได้และเป็นผู้ค่อยสนับสนุนอยู่เบื้องหลังหรือเป็นที่ปรึกษาให้กับเอกชน

 
นาย กิตติศักดิ์ ดวงแก้ว
สวัสดีครับ อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 อาจารย์ ได้ให้แนวคิดในเรื่อง การใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องทำตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ กระผมขอแสดงความคิดเห็นว่า หากทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ก็จะเป็นการปลูกฝังอุปนิสัยการเป็นผู้ใฝ่รู้ให้กับตัวเราเอง สำหรับการบ้าน 3 ข้อ กระผมขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้ข้อ 1. สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรเอาไว้ว่า สุขภาพดีทั่วหน้า  การศึกษาได้มาตรฐาน  สื่อสาร  3  ภาษา  ซึ่งมาจากพันธะกิจในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนร่วมถึงการส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น  เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายของคนในชุมชน ด้านการศึกษา ได้เน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ ศาสนา การกีฬา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี  ร่วมถึงภาษาที่สำคัญในอนาคตคือภาษาจีน การพัฒนาอาชีพในท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อสร้างเสริมรายได้ให้แก่ประชาชน และสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใส และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อบริหารและบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อ 2. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเป็นสมาชิก WTO ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรหรือภาคราชการของประเทศไทยนั้น กระผมมีความคิดเห็นว่า การที่ไทยไปเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO และสนับสนุนแนวทางการค้าเสรี ทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น ในการทำงานของระบบราชการ และธุรกิจของไทยจึงเข้าไปอยู่ในรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น และต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมที่จะก้าวไปสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน้าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรดังนี้(1) การเปิดการค้าเสรีทำให้โลกมีการแข่งขันกันกันมากขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้นเกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี ทำให้ราคาสินค้าต่ำลง ผู้ประกอบการต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อสนองความต้องการผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการแข่งขันทางการค้า  ธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจจากต่างประเทศได้ก็จะต้องเลิกกิจการไป ดังนั้น องค์ทางภาครัฐจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในองค์กรภาคราชการและภาคเอกชนให้เป็นผู้มีทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วทางทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษให้ได้ รัฐต้องดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของประเทศ (2) ทางราชการควรทำการปรับปรุงระบบการบริหารราชการให้พร้อมกับความทันสมัย และการปรับตัวทางวัฒนธรรมในการทำงานของภาคราชการ พัฒนาวินัยของราชการ และวินัยทางด้านการเมือง การทำงานที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกภาพ ทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของราชการ และการประสานงานกับเอกชนซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลโดยตรง(3) ควรทำการสร้างจิตสำนึกในการรักและใช้สินค้าไทย ร่วมไปกับการพัฒนาสินค้าไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าจากต่างประเทศ เพราะการที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นสมาชิก WTO ก็จะต้องทำการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าของต่างประเทศลงทำให้ราคาสินค้าลดลง ประเทศไทยส่งสินค้าเข้าไปขายในประเทศอื่นได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาถูกลง คนไทยจะหันไปบริโภคสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ไทยขาดดุลการค้า นำเข้าสินค้าต่างประเทศมากขึ้นและส่งออกได้น้อยลง ธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้จะล้ม มีการปลดคนงานออก และเกิดปัญหาต่าง ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาสังคม ปัญหาด้านการศึกษา ฯลฯ ตามมา     ข้อ 3. การแสดงความคิดเห็นในเรื่องวัฒนธรรมของสำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยการมองวัฒนธรรมองค์กรแบบเหรียญสองด้าน คือ มองทั้งด้านบวก และด้านลบ ข้อดี ได้แก่ วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม คือ มีการทำงานร่วมกัน  และการประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการทำงาน ข้อเสีย คือ อาจเกิดความความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เพราะระเบียบของทางราชการที่ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน  ข้อดี คือ ทุกคนในองค์กรเกิดความรู้สึกรักและเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน เกิดแนวคิดที่หลากหลายในการพัฒนาองค์กรข้อเสีย คือ ความคิดที่หลากหลายอาจทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในองค์กรได้ข้อดี คือ มีแนวทางการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกันในการปฏิบัติงาน ข้อเสีย คือ เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ทำให้ประชาชนที่มาใช้บริการเสียเวลา แนวทางแก้ไขควรมีการว่างระบบใหม่ในบ้างเรื่องเพื่อลดขั้นตอนลงทำให้ใช้เวลาน้อยลงได้ในบ้างเรื่องกระผมคิดว่า การทำการบ้านของ ดร.จิระ ทั้ง 3 ข้อ ทำให้กระผมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากบ้างเรื่องที่ตะกอนไม่เคยนำมาคิด และหาแนวทางแก้ไขปัญหา จากความรู้ที่เพิ่มขึ้นทำให้กระผมตระหนักถึงบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกมากขึ้น ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับ
นาย กิตติศักดิ์ ดวงแก้ว
สวัสดีครับ อาจารย์ พจนารถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม2550 และประทับใจในความเป็นผู้หญิงเก่งของอาจารย์มากครับ จาก เรื่อง Balanced Scorecard Workshop โดยผ่านเครื่องมือต่างๆ โดยองค์กรที่ดีจะต้องมี Vision , Mission, Corporate Values มีเป้าหมาย และ Strategies ขององค์กร และBSC ต้องทำ 4 เรื่องพร้อมกันคือ Financial, Customer, Internal, Learning and Growth ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และในชั้นเรียนได้เรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิต จัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard ซึ่งจะกระทบต่อผลลัพธ์ในอนาคต รวมทั้งการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งอาจารย์ได้จับประเด็นไปที่คุณสมบัติของภาวะผู้นำด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งกระผมเห็นว่ามีส่วนอย่างมากในการสร้างบรรยากาศการทำงาน กระตุ้นให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สุดท้ายนี้ กระผมหวังว่าจากงานที่ได้ส่งในครั้งนี้คงเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตหรือการทำงานไม่มากก็น้อยของกระผม ขอขอบพระคูณครับ
วิไลวรรณ วิไลเลิศ
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ สวัสดีค่ะ อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด        จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550 รู้สึกดีที่ได้รู้เรียนกับอาจารย์ เพราะได้รับฟังประสบการณ์ใหม่และได้รับความรู้มากมาย อาทิเช่น -         Balance Scorecard เป็นกระบวนการในการนำแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ และต้องมีการควบคุมผลการปฏิบัติ  นำมาใช้ในการประเมินผลองค์กร-         Employee Engagement เป็นข้อตกลงที่จะทำให้พนักงานทำงานอยู่ด้วยความสุขใจ พูดเกี่ยวกับองค์กรในแง่ดี และกระตือรือร้นที่จะทำงานให้องค์กร-         ทฤษฎีวงกลม เป็นทฤษฎีที่สอนให้เราพึ่งตนเอง  -         ทฤษฎี 2 วงกลม เป็นทฤษฎีที่สอนให้เราทำในเรื่องที่เราสามารถทำได้ให้ดีที่สุด และปล่อยวางในเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้        และยังได้รับเกล็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ และมีประโยชน์มาก สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ขอบพระคุณค่ะ 

                                                       

พรยุพา คัมภีรญาณนนท์
เรียน      ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                  เป็นสัปดาห์ที่สองที่อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความรู้  ความสามารถทางปัญญาถ่ายทอดออกมาสู่มุมมองแห่งการเรียนรู้  จึงขอขอบพระคุณ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  มา ณ ที่นี้                อีกเรื่องเป็นเรื่องที่พวกเราชาว MPA  3   รู้สึกเสียขวัญ  และเสียใจ  กับการสูญเสียเพื่อร่วมรุ่น  ถึงแม้ว่าเวลาที่อยู่ด้วยกันจะมีระยะเวลาแค่ 7  เดือน  แต่พวกเรารู้สึกเหมือนอยู่กันมานาน    เพราะความห่วงหาอาทรซึ่งกันและกันภายในรุ่น  จึงทำให้พวกเราเหมือนรู้จักกันมานาน   ดังนั้นเพื่อน ๆ  MPA 3  ขอไว้อาลัยให้แก่เพื่อนร่วมรุ่นที่จากไปของ  จ่าเอกสราวุธ  นวมน้อย   ด้วยความอาลัยรัก   จากเพื่อน ๆ  MPA 3  ทุกคน                ขอกลับเข้าสู่การเรียนการสอน   ที่ ศ.ดร.จีระฯ   ให้แสดงข้อคิดเห็น  คือ                  1.  วิสัยทัศน์ขององค์กรแต่ละองค์กรเป็นอย่างไร  ทำไมต้องกำหนดวิสัยทัศน์  เพื่อดูจุดอ่อน  จุดแข็ง  การคาดหวังของประชาชนที่มาใช้บริการนั้น ๆ     เป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองปลอดภัยน่าอยู่   และมีพันธกิจเพื่อให้ประชาชนมีการจัดวางระบบป้องกัน  เตือนภัยจากสาธารณภัย  และเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่  อำนวยการและดำเนินการบรรเทาสาธารณภัย  ภัยฝ่ายพลเรือนที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ  รวดเร็ว  เป็นธรรมให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ที่มีภัย  การจัดหาวัสดุ  อุปกรณ์  เครื่องมือ  ยานพาหนะ  และเครื่องจักรกล  ที่จำเป็นในการป้องกัน  บรรเทา  ระงับและช่วยเหลือผู้ประสบภัย  จัดให้มีการฟื้นฟูสิ่งสาธารณประโยชน์ที่เสียหาย  ร่างกาย  จิตใจ  สิ่งจำเป็นต่อการยั้งชีพพลากรประกอบอาชีพอย่างรวดเร็วทั่วถึง  เป็นธรรมสอดคล้องกับความต้องการ   บูรณาการระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ตามแผนงาน  การดำเนินการ  บุคลากรติดตามประเมินผล  ร่วมกับองค์กรภายในและต่างประเทศ                  จุดแข็งขององค์กร  คือ                  1.  พัฒนาระบบการวางแผน  มาตรการป้องกันสาธารณภัย  ภัยฝ่ายพลเรือนให้มีแผนการปฏิบัติการร่วมเฉพาะพื้นที่ และระดับกลุ่มจังหวัด  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน                2   สนับสนุนให้มีการวิจัย  พัฒนา  และติดตามประเมินผล                3.  สร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูล  อุปกรณ์  ผู้เชี่ยวชาญ  เครือข่าย  พื้นที่เสี่ยงภัย  โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทันสมัย4.  บูรณาการการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสาธารณภัย                5.  ประสานความร่วมมือด้านบริหารจัดการภัยพิบัติกับองค์กรเครือข่ายภายในประเทศ และต่างประเทศ                จุดอ่อนขององค์กร  คือ 1.   เป็นหน่วยงานใหม่ตั้งใหม่  ซึ่งผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9  ตุลาคม 2545    โดยประกอบด้วยส่วนราชการ7 หน่วยงาน   เนื่องจากข้าราชการส่วนใหญ่มาจากหลายหน่วยงาน ซึ่งในแต่ละหน่วยงาน มีพื้นฐาน แนวคิดและทัศนคติ  การทำงานที่แตกต่างกัน และบางหน่วยงานไม่เคยทำงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมาก่อน 2. สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะมีความรุนแรงมากขึ้น  และภัยบางอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น การเกิดคลื่นสึนามิ  ภัยจากการก่อการร้ายในภาคใต้  และภัยจากสารเคมี ที่รุนแรงมากขึ้นแต่บุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ที่มากพอที่จะแก้ไขภัยเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. บุคลากร มีน้อย   แต่ต้องดูแลประชากรทั่วประเทศ 60 กว่าล้านคน ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่จะดูแลได้ทั่วถึงทุกคนหรือทุกครัวเรือน                    สิ่งที่คาดหวังประชาชนจะได้รับ                      การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน  (Public  Awareness)  คือ  การทำให้ประชาชน  ซึ่งอยู่ในภาวะล่อแหลมและเสี่ยงภัย  มีความเข้าใจถึงสภาวะของภัยและแนวโน้มที่จะเกิดเป็นภัยพิบัติขึ้นได้  อีกทั้งยังหมายถึง  การที่ประชาชนรู้ถึงวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมพร้อม  การตอบสนองและการบรรเทาภัยต่าง ๆ  เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตนเองเพื่อ                    1.  ให้ประชาชนทราบถึงความหมายของสัญญาณเตือนภัย                    2.  ให้ประชาชนในชุมชนได้รับทราบถึงความเป็นไปหรือข่าวล่าสุดของหน่วยงาน 2.       องค์การค้าโลก (WTO)  มีผลกระทบกับการบริหารราชการอย่างไร       องค์การระหว่างประเทศทำหน้าที่เจรจาการค้า  และระงับข้อพิพาทของประเทศสมาชิก  ดูแลและรับผิดชอบด้านกฎระเบียบการค้าระหว่างเทศซึ่งจัดทำในรูปแบบระดับพหุภาคี  และประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ 28 ธันวาคม 2537  เป็นสมาชิกอันที่ 59   การเป็นสมาชิก WTO  มีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐอย่างไรนั้น  ก่อนอื่นเราต้องนำ WTO  มาเป็นทักษะและใช้เป็นกรอบแนวความคิดในมองอนาคต เช่นด้านการศึกษา  การเรียนรู้ในวันนี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานและประเทศเพื่ออนาคตของลูกหลานต่อไป  เพื่อให้บุคลากรของชาติเติบโตอย่างมีคุณภาพ  เช่น การพัฒนาบริหารเรื่องเงินกับแรงงาน  โดยส่งข้าราชการไปดูงานต่างประเทศว่าเขามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้วนำกลับมาพัฒนาประเทศในสิ่งที่ยังขาดหายไป  เช่น ภาษา  หรือทักษะในด้านต่าง ๆ ควรมีการฝึกอบรมเพื่อสอนให้บุคลากรคิดนอกกรอบ  สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ  แตกต่างไปจากเดิมพร้อมทั่งการพัฒนาเทคโนโลยีให้ดียิ่งขึ้นไป                     3.  วัฒนธรรมขององค์กรในที่ทำงาน  คือการให้เกียรติผู้มีอาวุธโสกว่า  มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนมีรูปแบบ  และวิธีการดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน  แต่จุดมุ่งหมายเดียวกันคือให้งานนั้น ๆ  ให้สำเร็จผลสูงสุด รวดเร็ว  และไม่มีข้อผิดพลาดตามวัตถุประสงค์เดียวกัน                    ข้อดี     1.  ก่อให้เกิดความรักสามัคคีในการทำงานเป็นทีม                                   2.   การทำงานที่มีขั้นตอนในการทำงาน ลดความผิดพลาดลงได้                             3.   สอนให้คิดอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจในแต่ละเรื่อง                    ข้อเสีย  1.  การแบ่งพรรคแบ่งพวกในแต่ละสายงาน                                    2.  การทำงานเป็นมีขั้นตอนในแต่ละระดับชั้นบางครั้งทำให้เกิดความล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์                               3.   เด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าทำงานไม่ค่อยมีวัฒนธรรมให้รุ่นพี่  หรือบุคคลที่อาวุธโสกว่า                    องค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมด  เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่มีอยู่ในเนื้อหาสาระของบทเรียน  และถ้าเราไม่หยุดนิ่ง  ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสืออาจารย์แนะนำให้อ่าน  หรือบทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์กับ ท่านอำนวย  วีรววรรณ  ก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  หรือการมองถึงอนาคตของประเทศ  และการถูกกล่าวหาสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน   ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน  หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เป็นอย่างดีพรยุพา  คัมภีรญาณนนท์   รหัสนักศึกษา  49038010034  MPA 3

Pornyupa_tew @ yahoo.co.th

 

เรียน      อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด                 หลังจากได้เรียนรู้จากอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  เกี่ยวกับเรื่อง Balanced  Scorecard  ซึ่งแต่เดิมอาจจะรู้เรื่องบ้างเล็กน้อย  แต่ ณ ปัจจุบันพูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า  ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมมีประโยชน์ต่อตนเอง  และสามารถนำมาต่อยอดกับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี  ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ มา ณ ที่นี้                ส่วนเรื่องที่ท่านอาจารย์ให้เขียนขึ้นมานั้น                1.  เรียนแล้วรู้ว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ชี้แนะแนวทาง  หรือมุมมองขององค์กรทั้งในประเทศ  และต่างประเทศสามารถนำมาปรับแนวความคิด  การคิดนอกกรอบ  กำหนดทิศทางในอนาคต                  2.  สิ่งที่คาดหวังว่าจะนำไปเป็นตัวกำหนดทิศทาง  ขับเคลื่อนภายในองค์กร เช่น การทำงานที่สำเร็จยากต้องมีความสัมพันธ์   มีการพัฒนาคน    มีเป้าหมายที่สอดคล้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน    อิทธิพลการในการเปลี่ยนแปลงความสามารถของบุคลากรให้ดูจากทฤษฏี 3 วงกลม                3.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน  การสอน  สามารถนำมาต่อยอดภายในองค์กร  และหน่วยงานได้อย่างมีระบบ  ทำให้กล้าคิด  กล้าตัดสินใจมากขึ้น                                  ความสามารถในการทำงาน  หรือพัฒนาความเป็นผู้นำ  นอกจากจะใช้เวลา  ทักษะ  แนวคิด ประสบการณ์เป็นองค์ประกอบแล้ว  อีกอย่างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างคน  สร้างทีมงาน  และความพึงพอใจในการทำงานเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นยังมีปัจจัยทางด้านเงิน  ผลประโยชน์  ความยุติธรรม  และความเป็นธรรม   มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ                 พรยุพา  คัมภีรญาณนนท์   รหัสนักศึกษา  49038010034  MPA 3Pornyupa_tew @ yahoo.co.th   
นางเสาวรส แสนสุข รหัส 4903801009
เรียน  ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข   และอาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด      จากการเรียนเมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2550 ที่อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องการเป็นผู้ใฝ่รู้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การปลูกฝังตั้งแต่เกิดอย่างไร อนาคตก็จะได้อย่างนั้น ทำให้มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาเป็นวงจรชีวิตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนจะกระทบ สิ่งที่เกิดขึ้นที่หลังการดูบทสัมภาษณ์ VDO  ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้ข้อคิดจาก การเรียนรู้ประสบการณ์ ความเชื่อมั่น บางอย่างที่จะทำ และถ้ามีโอกาสเราก็ควรจใช้โอกาสนั้น เราต้องกล้าที่จะทำ และทำอย่างเต็มที่  การใช้ Balanced Scorecard มาปรับในการทำงานเพิ่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  และที่อาจารย์ได้ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์ขององค์การ วัฒนธรรมองค์กร และ WTO กับผลกระทบระบบราชการ ซึ่งขออธิบาย ดังนี้             1.     วิสัยทัศน์องค์กร  วิสัยทัศน์  หมายถึง การกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้กำหนด

วิสัยทัศน์คือ พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศษสตร์และเทคโนโลยีและวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้คู่คุณธรรม  เพื่อเป็นผู้พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

          ซึ่งในหน่วยงานที่ดิฉันสังกัดอยู่คือ กองอาคารสถานที่และยานพาหนะ มีการกำหนดวิสัยทัศน์คือ บริการด้วยใจ ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี สร้างสรรค์สิ่งดี สิงเหล่านี้งานของเรา  มีหน้าที่ให้บริการยานพาหนะ การใช้อาคารปฏิบัติการ การซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ และการรักษาความปลอดภัย  โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานคือ การให้บริการที่ประทับใจ การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าในการปรับปรุง และพัฒนาทักษะของบุคลากร โดยใช้หลักทฤษฎี 2R และ 3 วงกลมมาใช้ที่เน้นความเป็นจริงและตรงประเด็น เพื่อให้องค์กรมีความคล่องตัวในการจัดการ มีการปรับตัวตลอดเวลา และมีคุณภาพ 2. วัฒนธรรมในองค์กร  อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่าเป็นองค์กรที่ให้บริการ จึงจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลากรให้ทำงานอย่างมืออาชีพและมีความเชี่ยวชาญ เพราะปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่สังคมเห็นการเรียนรู้ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมในองค์กรจึงเป็นลักษณะการบริหารงานแบบทำงานเป็นทีม  จุดแข็ง  คือ  -    บุคลากรในองค์กรมีความสามารถความถนัดเฉพาะทาง

-   มีโครงสร้างนโยบาย ข้อกำหนด

แนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

เพื่อลดความผิดพลาดของงาน-   มีระบบการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ-      มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร-      มีฐานข้อมูลที่เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงาน

จุดอ่อน  คือ

-    การทำงานเป็นทีม เมื่อมีคนมากก็

ย่อมที่จะมีปัญหาในเรื่องของความคิด

การตัดสินใจที่หลากหลาย

-     จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อ

การปฏิบัติ เนื่องจากมีการเกษียณ

ตาย ลาออก จะไม่มีอัตราทดแทน 3. WTO มีผลกระทบต่อระบบราชการไทย    WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59  จากสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ การเป็นสมาชิก WTO มีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐและภาคเอกชน คือ         1. การตลาดเปิด  การลดภาษีศุลากรสินค้าอุตสาหกรรม ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ถ้าไม่เคยมีการเก็บอยู่ก่อน หรือไม่ได้แจ้งไว้ในข้อผูกพัน  สินค้าเกษตร  ทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้เปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน สำหรับประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งภายในและส่งออก สิ่งทอและเสื้อผ้าให้มีการเปิดเสรี แทนการใช้ข้อตกลงสิ้นค้าระหว่างประเทศ โดยให้ยกเลิกการกำจัดการนำเข้าภายใต้ MFA

   2. กฏระเบียบการค้า มีการปรับปรุงและกำหนดการค้าที่สำคัญ ว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัย ให้ประเทศกำหนดระดับความปลอดภัยและตรวจสอบสินค้านำเข้า ให้สอดคล้องกับมาตรฐานประเทศ

   3.ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า กำหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ การออกแบบวงจรรวม  

 

   4. การค้าบริการ กำหนดกรอบตกลงว่าด้วยการค้าบริการ โดยมี

หลักการสำคัญ เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความโปร่งใส การเปิด

เสรีตามลำดับ

 

 

 

 แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเรียน Balanced Scorecard ของอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด                Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือการทำงานที่สำคัญ  ผลการดำเนินงานตามกรอบของ  Balanced  Scorecard    โดยอาศัยมุมมองทั้ง  4  ด้าน  คือ  ด้านการเงิน  ด้านผู้มารับบริการ  ด้านกระบวนการภายในองค์กร  และด้านการเรียนรู้ โดยคำนึงถึง Stay  อยู่อย่างเต็มใจ Say   พูดถึงองค์กรด้วยความภาคภูมิใจ    Serve  มุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรดี         การเรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิต การจัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและปรับการทำงานของเราได้ในอนาคต
นายมงคล กิจสมโภชน์ รหัส 49038010032
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ อาจารย์ยม  นาคสุข    อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด                   การเรียนในวันที่ 20 มกราคม 2550 เริ่มมีบรรยากาศที่ดีขึ้น ความเครียดน้อยลง   อาจารย์นำเทป เปิดอก  ดร. อำนวย วีระวรรณ ซึ่งได้ความรู้มุมมองใหม่ ๆ    อย่างเช่น กล้าที่คิด และทำให้เกิด แม้รู้ว่าจะไม่ได้ประโยชน์ในระยะสั้นก็ตาม การเรียนรู้จากประสบการณ์  การใช้ Balanced Scorecard มาปรับในการทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตดีขึ้น 

และงานที่อาจาย์ได้ให้อธิบาย ดังนี้

 

1.   วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ  การกำหนดจุดหมายปลายทางที่

เชื่อมโยงกับภารกิจ การวิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส  และอุปสรรคองค์กรของผมเป็นองค์กรอิสระ (ก่อสร้าง) ซึ่งมีการกำหนดโครงสร้างของงานที่ชัดเจน แต่จะมีเป้าหมายเดียวกันกับระบบราชการ คือ ความเป็นเลิศ การนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ  มีการนำหลักการจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ Balance  Scorecard การวางแผน   การใช้ทฤษฎี 2 R และ 3 วงกลม  การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีการเรียนรู้  พัฒนาตนเอง และนำกลับมาพัฒนาองค์กรต่อไป

2.   วัฒนธรรมในองค์กร   ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่สังคมเห็นการ

เรียนรู้ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  เพราะฉะนั้นเราต้องมีวัฒนธรรมในการชนะอุปสรรค เพราะการเปลี่ยนพฤติกรรมคนในองค์กรต้องใช้เวลา อย่ารู้ทุกเรื่อง แต่เมื่อรู้แล้ว ต้องนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์

 

ข้อดี  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน มีการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกันมีการแสดงความคิดเห็น การทำงานที่เป็นทีม เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

 

ข้อเสีย การปฏิบัติงานล่าช้า มีบุคลากรจำนวนมาก ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เท่าที่ควร บ้างครั้งไม่เป็ฯที่พอใจของลูกค้าผู้ใช้บริการ

 

3.    WTO ที่มีผลกระทบต่อระบบราชการ   เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ประเทศทางทิศตะวันตกวางเอาไว้เพื่อที่จะให้ทุกประเทศในโลกเข้าร่วมการเป็นสมาชิก ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59  จากสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น การทำงานในระบบราชการของประเทศไทยจึงต้องพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวขึ้นสู่เวทีโลกได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ  ระบบราชการมีส่วนเกี่ยวข้องกับ WTO  คือ

 

1. เป็นการเปิดการค้าเสรี ทำให้โลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น มีสินค้าหลากหลาย ทำให้ราคาสินค้าต่ำลง

             

2. ต้องปรับระบบการบริหารราชการ ปรับวัฒนธรรมในการทำงานของระบบราชการ ให้พร้อมรองรับความทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์

 

3. การปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศที่นำเข้ามาทำให้ราคาสินค้าลดลง ประเทศไทยส่งออกสินค้าเข้าไปขายในประเทศอื่นได้มากขึ้น  สินค้านำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาถูกลง คนไทยจะหันไปซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้า  
วรวรรณ ส่องพลาย รปม.3 รหัส 49038010035
เรียน ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม  นาคสุข อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อนๆชาว blog  ทุกคน                               ก่อนอื่นต้องขอไว้อาลัยให้กับเพื่อนนักศึกษาของพวกเรา คือ จ.อ.สราวุฒิ  น่วมน้อย ซึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต แม้เราจะรู้จักกันเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่เราจะระลึกถึงเพื่อนคนนี้ตลอดไป  ขอเพื่อนจงสู่สุขคติเทอญ               เมื่อวันที่ 20 มกราคม2550 เรียนกับอาจารย์จิระเป็นครั้งที่ 2 ความรู้ที่ได้ในวันนี้เป็นบทความ เรื่อง ดนัยมอบความสุขให้คนไทย ซึ่งดนัย อุดมโชคเป็นนักกีฬาเทนนิสที่อนาคตกำลังสดใส  ดนัยเป็น ROLE MODELl ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีของคนไทย สังคมแห่งการเรียนรู้วันที่เป็นเรื่องการนำแนวคิดการปฏิบัติชาวตะวันตกและตะวันออกที่แตกต่างกันมาผสมผสานกันเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อสร้าง life/work balance ต้องรู้เรื่องวัฒนธรรมข้ามชาติของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่รวมกัน รู้ทฤษฎี HRDS คนเราต้องทำงานด้วยความสุข ได้รับการยกย่อง มีศักดิ์ศรี และอยู่อย่างยั่งยืน ทฤษฎี 3 วงกลมที่ต้องผสมผสานร่วมกันเพื่อปรับใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ เทปสนทนาระหว่างอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และ ดร. อำนวย  วีรวรรณ ที่ ดร.อำนวยเล่าถึงประสบการณ์ทำงานของท่าน และให้ข้อคิดเรื่อง  คนต้องทำงานด้วยความรู้ กล้าที่จะนำความรู้ไปสร้างประโยชน์ แม้ว่าจะมีการต่อต้านและอุปสรรคต่างๆ ก็ต้องมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันสิ่งต่างๆที่ท้าทาย เพื่อต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น   ต้องเป็นประโยชน์ระยะยาว               ส่วนงานที่อาจารย์ที่มอบหมายให้  คือ                          1. วิสัยทัศน์ขององค์กร คือ เป็นสหกรณ์ชั้นนำที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้อยู่ดีกินดี มีการบริการเป็นเลิศ  ในการกำหนดวิสัยทัศน์ได้มาจากการนำ BALANCED SCORECARD ,ROADMAP ,SWOT ANALYSIS    วิเคราะห์   TQA  MILESTONES  มุ่งการพัฒนาทักษะของบุคลากร การเรียนรู้  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี   การสร้างระบบธรรมมาภิบาล มีความรับผิดชอบ พัฒนาระบบงานและบริการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิก การบริการที่ดีและรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึ่งพอใจให้กับสมาชิก ในการบริการที่เป็นเลิศ เมื่อสมาชิกใช้ประโยชน์จากการบริการอย่างถูกต้อง เช่นการออมเงิน การใช้บริการสินเชื่อเพื่อประโยชน์กับตนเองและครอบครัว ก็สามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดีได้  เมื่อองค์กรเจริญเติบโตสามารถป็นองค์กรชั้นนำได้                                                   2. วัฒนธรรมขององค์กร                  1.ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดในการปฎิบัติงาน ทำงานแบบเดิมๆ ไม่ปรับปรุงแก้ไขให้ดี เพราะคิดว่าทำแบบเดิม ดีแล้ว ไม่เสียหาย ผลงานก็มี ซึ่งหากมีการปรับปรุง คิดวิธีการปรับปรุง ทำสิ่งใหม่ๆ ผลที่ได้อาจมีมากกว่า และมีประโยชน์เพิ่มขึ้นได้                 2.  ผู้มีอายุมาก ไม่ค่อยยอมรับผู้บังคับบัญชาที่อายุน้อยกว่า  คิดว่าตนเองมาก่อน อายุก็มากกว่าควรได้ตำแหน่งก่อน  และไม่ควรให้คนมาที่หลังมาบังคับบัญชา  โดยไม่มองว่าหากตนเองมีความสามารถ  จะต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การมอบหมายงานให้ จึงทำเป็นไม่สนใจ ทำให้งานล่าช้า                 3. การโอนคนมาจากหน่วยงานอื่น ธรรมเนียมปฏิบัติ  โดยไม่มีความรู้ในสายงานที่จะมาปฏิบัติจริง  ทำให้การปฏิบัติงานขาดคุณภาพ                            3.  WTO เกี่ยวกับ HR อย่างไร และกระทบต่อการบริหารองค์กรราชการอย่างไร               องค์กรการค้าโลก (WORLD TRADE ORGANIZATION:WTO)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศ  ที่มีการพัฒนา มาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (GENERAL AGREEMENT ON TARIFFS AND TRADE : GATT) ต่อมาจึงก่อตั้งเป็น WTO ซึ่งเป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและร่วมกันจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพ่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรี บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ปัจจุบันมีสมาชิก 150 ประเทศ จากทั่วโลก                        ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิก ลำดับที่ 59 ที่สามารถติดต่อด้านการค้า กันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือร่วมกันหาผลประโยชน์ โดยสามารถที่จะรวมกลุ่มเจรจาต่อรองกันได้  ฉะนั้นประเทศไทยจึงต้องมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการคมนาคม กกระทรงอุตสาหกรรม และกระทรวงต่างประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนที่มีผลประโยชน์จากการค้าเสรีด้วย ดังนั้นแต่ละกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีหน้าที่ร่วมเจรจา ข้อตกลงต่างๆ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบ และจะต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด จึงเป็นหน้าที่ของข้าราชการในหน่วยต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน และเนื่องจากเป็นการค้าระหว่างประเทศ  HR จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก  เพราะในโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์ที่มีแต่การแข็งขันในทุกรูปแบบ  สำหรับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทั้งด้านภาษาต่างประเทศ ความรู้ด้าน IT คอมพิวเตอร์ ความรู้เรื่องการค้า หรือแม้แต่ต้องศึกษาตัวสินค้าต่างๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่ง และเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยสินค้าจะต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ต้องคอยสอดส่องหาข้อมูลเรื่องนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก ต้องรู้เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ   เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์การค้าเป็นข้อมูลและรู้เรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศ  เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ และรับผิชอบ ประสานงาน ทำกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก รวมถึงกระบวนการระงับข้อพิพาท หากเกิดมีปัญหา โดยไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นการเจรจาที่สำคัญเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเจรจาสินค้าอุตสาหกรรม และการประมง การเจรจาสินค้าบริการ หรือแม้แต่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งควรจะต้องได้รับความคุ้มครอง เช่นข้าวหอมมะลิ ไหมไทย นอกจากนี้ในเรื่องการลดภาษีการนำเข้า เวลาประเทศไทยส่งสินค้าไปขายในประเทศอื่นๆ และหากไทยมีการเปิดการค้าเสรี เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขั้น                  WTO กับ HR เป็นขบวนการที่จะต้องควบคู่กันไป เพราะการดำเนินนโยบายต่างๆ ระบบการค้าระหว่างประเทศ หรือการค้าโลกนั้น จะต้องอาศัยข้าราชการ เอกชน ที่มีความรู้ความสามารถ มีวินัย มีการทำงานที่โปร่งใส มีการปฏิบัติที่ดี และมีประสิทธิภาพเพียงพอเข้าใจกฎระเบียบของ trade fecilitation การลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคการค้า มีการเจรจาต่อรอง ลดข้อขัดแย้ง มีการอุดหนุนการค้า ต่างๆ  ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์ ทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการค้าสำคัญต่อการพัฒนา และสนับสนุนประเทศไทยของเราให้พัฒนาได้                  สรุป  การศึกษาจากอาจารย์จิระ เป็นรูปแบบของการให้นักศึกษารู้จักการแสวงหาความรู้ ซึ่งไม่มีวันจบและจะต้องค้นคว้าหาความรู้ตลอดเวลา และต่อเนื่อง ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ  เพื่อให้ทันเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์  และเพื่อการพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อตนเองและองค์กร                                                                                                      วรวรรณ  ส่องพลาย                                                                                              รปม.3   รหัส  49038010035[email protected] 
ปริญญา รื่นเสือ รหัสประจำตัว 49038010006

   กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข, อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อน ๆ รปม. รุ่น 3 ทุกท่าน ก่อนอื่นผมคงต้องกล่าวแสดงความเสียใจกับเพื่อนร่วมรุ่นของเราซึ่งได้จากพวกเราไปแบบที่พวกเรายังตั้งตัวไม่ติด แต่ว่าในความเสียใจนั้นก็ยังมีเรื่องที่น่าประทับใจอยู่ด้วยก็คือ  เราได้เห็นน้ำใจของเพื่อน ๆ พี่ ๆ รปม.รุ่น 3 ที่ได้เดินทางไปร่วมฟังสวดพระอภิธรรมศพในคืนแรกที่ จ.ประจวบฯกันหลายท่าน  ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ความเสียสละ และความสามัคคีของรุ่นเรานะครับ

และลำดับต่อมาผมก็ขอกล่าวถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนกับ อ.จีระและ อ.ยม ในวันเสาร์ที่ 20 ม.ค.50 ที่ผ่านมา  กล่าวคือการเริ่มต้นในช่วงเช้า อ.จีระท่านก็ได้ให้พวกเราวิเคราะห์กันถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ทั้งทางด้านธุรกิจและการเมือง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจกันอยู่ในขณะนั้น และทำให้ทราบถึงการจะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ความรู้ ความสามารถในการบริหารบ้านเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ด้วย บ้านเมืองถึงจะสงบสุข ต่อมา อ.จีระก็ได้นำบทความที่ท่านเขียนมาให้อ่านและสรุปกันซึ่งก็ได้ประเด็นเรื่องของการบริหารจัดการแบบใหม่ที่ผสมผสานกันระหว่าง ตะวันตก ตะวันออก โดยการมองจุดอ่อน จุดแข็งแล้วนำมาประยุกต์ใช้ หรือว่าจะเป็น ชาร์ทวงจรชีวิต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชีวิตที่เริ่มจากจุดเดียวกันนั้น สามารถที่จะแตกต่างกันได้โดยเกิดจากผลกระทบอะไรบ้าง และในช่วงบ่าย อ.จีระก็ได้นำเสนอทฤษฏี 3 วงกลม ซึ่งเป็นทฤษฏีที่จะทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในองค์กรได้นั้นต้องประกอบไปด้วยหลัก 3 ประการ ได้แก่ Context, Competencies และMotivation รวมถึงทฤษฏี 8 K’s หรือทุน 8 ประการอีกด้วย และ อ.จีระก็ได้ให้งานไว้ดังต่อไปนี้

1)ให้หาเป้าหมายขององค์กร : ซึ่งองค์กรของผมนั้นมีเป้าหมาย คือ มุ่งมั่นที่จะผลิตและเสริมสร้างให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษามีความรู้ ความสามารถและเกิดทักษะในเหล่าสายวิทยาการ เพื่อเป็นกำลังพลที่มีศักยภาพในการพัฒนาหน่วยงานและประเทศชาติ อีกทั้งยังได้เสริมสร้างจรรยาบรรณและยึดมั่นใน    ชาติ     ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์  มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และที่สำคัญต้องรู้จักบทบาทการเป็นผู้นำ- ผู้ตามที่ดี รวมทั้งมีร่างกายที่แข็งแรง

2) วัฒนธรรมภายในองค์กร : ซึ่งก็ได้แก่ การออกกำลังกายในช่วงบ่ายวันพุธเนื่องจากความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ว่ากำลังพลนั้นจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมจะปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมาย จึงได้มีการสนับสนุนให้จัดแข่งขันกีฬาภายในหรือการให้กำลังพลออกกำลังกายในช่วงบ่ายวันพุธ ซึ่งก็มี  ข้อดี คือ กำลังพลส่วนใหญ่ได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันภายในองค์กรเนื่องจากมีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน แต่ก็มี ข้อเสีย ก็คืออาจมีกำลังพลบางส่วนที่ใช้เวลานี้ไปทำอย่างอื่นซึ่งผิดวัตุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

3) องค์การการค้าโลก (WTO) มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ : คือองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรี ระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าและยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาของประเทศสมาชิก ซึ่งในข้อตกลงนั้นมีส่วนที่ทำให้องค์กรภาครัฐของประเทศสมาชิกต้องมีการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับกฎเกณฑ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาข้อใดก็ตามจะทำให้ถูกกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษี หรือการยกเลิกการนำเข้าสินค้าของกลุ่มประเทศสมาชิก ข้อตกลงที่ถูกหยิบยกขึ้นมา อาทิเช่น การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเป็นต้น

  สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์ทุกท่านที่ได้เป็นเสมือนแรงผลักดันให้พวกเราทุกคนมีความใฝ่รู้ดั่งที่อาจารย์ได้สอนอยู่เสมอโดยการได้เข้ามา อ่านและเขียน ลงในBLOGของอาจารย์จีระนั่นเอง
วรวรรณ ส่องพลาย รหัส 49038010035(แก้ไข)
เรียน ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม  นาคสุข อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อนๆชาว blog  ทุกคน                               ก่อนอื่นต้องขอไว้อาลัยให้กับเพื่อนนักศึกษาของพวกเรา คือ จ.อ.สราวุฒิ  น่วมน้อย ซึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต แม้เราจะรู้จักกันเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่เราจะระลึกถึงเพื่อนคนนี้ตลอดไป  ขอเพื่อนจงสู่สุขคติเทอญ               เมื่อวันที่ 20 มกราคม2550 เรียนกับอาจารย์จิระเป็นครั้งที่ 2 ความรู้ที่ได้ในวันนี้เป็นบทความ เรื่อง ดนัยมอบความสุขให้คนไทย ซึ่งดนัย อุดมโชคเป็นนักกีฬาเทนนิสที่อนาคตกำลังสดใส  ดนัยเป็น ROLE MODEL ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีของคนไทย,   เรื่องการนำแนวคิดการปฏิบัติชาวตะวันตกและตะวันออกที่แตกต่างกันมาผสมผสานกันเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อสร้าง life/work balance ต้องรู้เรื่องวัฒนธรรมข้ามชาติของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกัน รู้ทฤษฎี HRDS คนเราต้องทำงานด้วยความสุข ได้รับการยกย่อง มีศักดิ์ศรี และอยู่อย่างยั่งยืน ทฤษฎี 3 วงกลมที่ต้องผสมผสานร่วมกันเพื่อปรับใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ เทปสนทนาระหว่างอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และ ดร. อำนวย  วีรวรรณ ที่ ดร.อำนวยเล่าถึงประสบการณ์ทำงานของท่าน และให้ข้อคิดเรื่อง  คนต้องทำงานด้วยความรู้ กล้าที่จะนำความรู้ไปสร้างประโยชน์ แม้ว่าจะมีการต่อต้านและอุปสรรคต่างๆ ก็ต้องมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันสิ่งต่างๆที่ท้าทาย เพื่อต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น   ต้องเป็นประโยชน์ระยะยาว               ส่วนงานที่อาจารย์ที่มอบหมายให้  คือ              1. วิสัยทัศน์ขององค์กร คือ เป็นสหกรณ์ชั้นนำที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้อยู่ดีกินดี มีการบริการเป็นเลิศ  ในการกำหนดวิสัยทัศน์ได้มาจากการนำ BALANCED SCORECARD ,ROADMAP ,SWOT ANALYSIS    วิเคราะห์   TQA  MILESTONES  มุ่งการพัฒนาทักษะของบุคลากร การเรียนรู้  ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี   การสร้างระบบธรรมมาภิบาล มีความรับผิดชอบ พัฒนาระบบงานและบริการเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิก การบริการที่ดีและรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึ่งพอใจให้กับสมาชิก ในการบริการที่เป็นเลิศ เมื่อสมาชิกใช้ประโยชน์จากการบริการอย่างถูกต้อง เช่นการออมเงิน การใช้บริการสินเชื่อเพื่อประโยชน์กับตนเองและครอบครัว ก็สามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีกินดีได้  เมื่อองค์กรเจริญเติบโตสามารถป็นองค์กรชั้นนำได้                                        2. วัฒนธรรมขององค์กร              1.ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงความคิดในการปฎิบัติงาน ทำงานแบบเดิมๆ ไม่ปรับปรุงแก้ไขให้ดี เพราะคิดว่าทำแบบเดิม ดีแล้ว ไม่เสียหาย ผลงานก็มี ซึ่งหากมีการปรับปรุง คิดวิธีการปรับปรุง ทำสิ่งใหม่ๆ ผลที่ได้อาจมีมากกว่า และมีประโยชน์เพิ่มขึ้นได้             2.  ผู้มีอายุมาก ไม่ค่อยยอมรับผู้บังคับบัญชาที่อายุน้อยกว่า  คิดว่าตนเองมาก่อน อายุก็มากกว่าควรได้ตำแหน่งก่อน  และไม่ควรให้คนมาที่หลังมาบังคับบัญชา  โดยไม่มองว่าหากตนเองมีความสามารถ  จะต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การมอบหมายงานให้ จึงทำเป็นไม่สนใจ ทำให้งานล่าช้า            3. การโอนคนมาจากหน่วยงานอื่น ธรรมเนียมปฏิบัติ  โดยไม่มีความรู้ในสายงานที่จะมาปฏิบัติจริง  ทำให้การปฏิบัติงานขาดคุณภาพ                          3.  WTO เกี่ยวกับ HR อย่างไร และกระทบต่อการบริหารองค์กรราชการอย่างไร             องค์กรการค้าโลก (WORLD TRADE ORGANIZATION:WTO)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศ  ที่มีการพัฒนา มาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า หรือแกตต์ (GENERAL AGREEMENT ON TARIFFS AND TRADE : GATT) ต่อมาจึงก่อตั้งเป็น WTO ซึ่งเป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและร่วมกันจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรี บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน ปัจจุบันมีสมาชิก 150 ประเทศ จากทั่วโลก               ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิก ลำดับที่ 59 ที่สามารถติดต่อด้านการค้า กันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือร่วมกันหาผลประโยชน์ โดยสามารถที่จะรวมกลุ่มเจรจาต่อรองกันได้  ฉะนั้นประเทศไทยจึงต้องมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการคมนาคม กกระทรงอุตสาหกรรม และกระทรวงต่างประเทศ รวมทั้งภาคเอกชนที่มีผลประโยชน์จากการค้าเสรีด้วย ดังนั้นแต่ละกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีหน้าที่ร่วมเจรจา ข้อตกลงต่างๆ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบ และจะต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด จึงเป็นหน้าที่ของข้าราชการในหน่วยต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน และเนื่องจากเป็นการค้าระหว่างประเทศ   HR จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก  เพราะในโลกแห่งยุคโลกาภิวัตน์ที่มีแต่การแข็งขันในทุกรูปแบบ  สำหรับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทั้งด้านภาษาต่างประเทศ ความรู้ด้าน IT คอมพิวเตอร์ ความรู้เรื่องการค้า หรือแม้แต่ต้องศึกษาตัวสินค้าต่างๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่ง และเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยสินค้าจะต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ต้องคอยสอดส่องหาข้อมูลเรื่องนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก ต้องรู้เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ   เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์การค้าเป็นข้อมูลและรู้เรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศ  เพราะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ และรับผิดชอบ ประสานงาน ทำกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก รวมถึงกระบวนการระงับข้อพิพาท หากเกิดมีปัญหา โดยไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นการเจรจาที่สำคัญเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การเจรจาสินค้าอุตสาหกรรม และการประมง การเจรจาสินค้าบริการ หรือแม้แต่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งควรจะต้องได้รับความคุ้มครอง เช่น ข้าวหอมมะลิ ไหมไทย นอกจากนี้ในเรื่องการลดภาษีการนำเข้า เวลาประเทศไทยส่งสินค้าไปขายในประเทศอื่นๆ และหากไทยมีการเปิดการค้าเสรี เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขั้น              WTO กับ HR เป็นขบวนการที่จะต้องควบคู่กันไป เพราะการดำเนินนโยบายต่างๆ ระบบการค้าระหว่างประเทศ หรือการค้าโลกนั้น จะต้องอาศัย ข้าราชการ เอกชน ที่มีความรู้ความสามารถ มีวินัย มีการทำงานที่โปร่งใส มีการปฏิบัติที่ดี และมีประสิทธิภาพเพียงพอเข้าใจกฎระเบียบของ trade fecilitation  การลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคการค้า มีการเจรจาต่อรอง ลดข้อขัดแย้ง มีการอุดหนุนการค้า ต่างๆ  ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์ ทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการค้าสำคัญต่อการพัฒนา และสนับสนุนประเทศไทยของเราให้พัฒนาได้                  สรุป  การศึกษาจากอาจารย์จิระ เป็นรูปแบบของการให้นักศึกษารู้จักการแสวงหาความรู้ ซึ่งไม่มีวันจบและจะต้องค้นคว้าหาความรู้ตลอดเวลา และต่อเนื่อง ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ  เพื่อให้ทันเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์  และเพื่อการพัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อตนเองและองค์กร                                                                                                      วรวรรณ  ส่องพลาย                                                                                              รปม.3   รหัส  49038010035[email protected] 
ปริญญา รื่นเสือ รหัสประจำตัว 49038010006

กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข, อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อน ๆ รปม. รุ่น 3 ทุกท่าน อีกครั้งนะครับครั้งนี้ขอนำเสนองานที่ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ที่ได้ให้ไว้ว่าได้อะไรจากการเรียนกับอาจารย์ ในวันอาทิตย์ที่ 21 ม.ค.50 ยอมรับว่า อาจารย์ท่านได้มีความชำนาญ เรื่อง BALANCE SCORECARD และ EMPLOYEES ENGAGEMENT เป็นอย่างมากและยังสามารถยกตัวอย่างขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่งทำให้รู้สึกสนุกกับการเรียน และเข้าใจชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับ BALANCE SCORECARD นี้ ซึ่งเหมาะแก่การไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอย่างยิ่ง เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐได้นำมาใช้นานแล้วแต่ด้วยความที่เข้าใจยาก และขาดการหาความรู้เพิ่มเติมจึงทำให้คิดว่า การทำ BALANCE SCORECARD นี้ยากและน่าเบื่อ

สุดท้ายนี้ผมคงต้องนำวิธีการวางแผนชีวิต My Life’s Scorecard ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนชีวิตของผมก่อนนะครับ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้ให้เกียรติมาบรรยาย และให้แง่คิดหลายๆ อย่าง ซึ่งผมจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
สุภาภรณ์ สุขเกษม MPA.3 รหัส 49038010007
  เรียน อาจารย์จีระ และอาจารย์ยม          ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ยมที่กรุณา COMMENT BLOG ที่ดิฉันส่ง ดิฉันจะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นทั้งในเรื่องการเขียนและการคิด และขอแสดงความเสียใจที่เพื่อนร่วมรุ่น MPA.3 จ่าเอก สราวุฒิ  นวมน้อย (โอ๋) ได้จากพวกเราไปก่อนวัยอันควร พวกเราทุกคนรู้สึกตกใจและนึกไม่ถึงว่าจะเจอพี่โอ๋ในวันที่20 ม.ค. เป็นวันสุดท้าย ขอให้พี่โอ๋ไปสู่สุคติ และพวกเราจะระลึกถึงพี่โอ๋เสมอ  จากการที่เรียนในวันที่ 20 ม.ค.50 กับอาจารย์จีระ ดิฉันได้รับความรู้ที่ใหม่และสด เพิ่มเติมเป็นอย่างมาก เช่น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องมีการผสมผสานกันระหว่างประเทศ ตะวันออกและตะวันตก ซึ่งเราต้องนำในสิ่งที่ดีของทั้งสองมาเป็นแบบอย่าง  เรียนรู้ทฤษฎี 8 K’s  ,ทฤษฎี   5 K’s ,วัฒนธรรมองค์กร , การทำให้แรงจูงใจมีประสิทธิภาพ และ วงจร  HR Architecture ซึ่งเป็นเป็นวงจรที่แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์และอุปทานในการใช้ชีวิตและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ว่าต้องมีการศึกษาที่ดี  สุขภาพที่ดี โภชนาการที่ดี ครอบครัวที่ดี ได้รับรู้สิ่งดีๆจากสื่อที่ดี  มีสมรรถนะที่ดี มีความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต มีโอกาสที่ดี มีค่าจ้างที่ดี และมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี  และช่วงบ่ายอาจารย์ยมได้แวะมาเยี่ยมพวกเรารู้สึกเป็นเกียรติค่ะที่อาจารย์ยมมาพบและทักทายพวกเรา ขอขอบคุณค่ะ และดิฉันขอตอบในสิ่งที่อาจารย์ฝากไว้เป็นการบ้านดังนี้        องค์การการค้าโลก(WTO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า  และยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาของประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก โดยเฉพาะจากการเปิดตลาดการค้าสินค้า ทั้งจากการลดภาษีศุลกากรและการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลการกรของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยและจากการเปิดเสรีตลาดการค้าบริการระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการเจรจารอบอุรุกวัย และกฎระเบียบการค้าที่ได้รับการปรับปรุงให้ชัดเจน รัดกุมและเป็นธรรม กระบวนการระงับข้อพิพาทซึ่งบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก และเป็นประโยชน์แก่ประเทศเล็กๆที่จะไม่ถูกประเทศใหญ่ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจบีบบังคับฝ่ายเดียวดร.ศุภชัย  พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการ WTO ปี2545-2548 ได้มีโอกาสได้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยดูมีศักยภาพมากขึ้นกว่าเดิมเพราะมีคนเก่ง  การที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO  ทำให้ต้องมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎของค์กรและต้องปรับตัวเพื่อสู้กับการแข่งขัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของรัฐ ดังนี้1.เรื่องของบุคลากร ในการพัฒนา และการส่งเสริมในเรื่องภาษา เรื่องไอทีให้มากขึ้นกว่าเดิม และสม่ำเสมอ และการคัดเลือก สรรหาบุคลากรใหม่ให้มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือความซื่อสัตย์ เพราะบุคลากรในหน่วยงานนี้เปรียบเหมือนหน้าตาของประเทศและเป็นการทำงานระดับโลก  ประชาชนฝากความหวังไว้ว่าการเจรจาต่อรองเรื่องการค้ากับประเทศสมาชิกประสบผลสำเร็จ2.เรื่องของการพัฒนาสินค้าและผลิตผลทางด้านเกษตร อุตสาหกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการแข่งขันในเวทีโลกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น 3.เรื่องของระบบการทำงานที่ต้องพัฒนาในเรื่องของความรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการแข่งขัน ตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกเนื่องจากภารกิจที่รับผิดชอบมีมาก4.เรื่องวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกที่ต้องเรียนรู้เพราะมีผลต่อการเจรจาระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกไทยได้รับผลกระทบดังกล่าวเนื่องจากมีหน้าที่ดูแลติดตามการเจรจากับสมาชิก 145 ประเทศในองค์การการค้าโลก เนื่องจากเป็นคณะทำงาน(คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก) โดยงานหลักก็คือการติตตามการปฎิบัติตามพันธะกรณีของประเทศต่างๆรวมทั้งตรวจสอบและสอบถามหากสมาชิกใดไม่ปฎิบัติตามพันธะกรณี  รายงาน แก้ต่างการดำเนินงานของไทยที่ถูกติดตามทวงถามรวมทั้งการฟ้องร้องและหาทางยุติข้อพิพาท  วัฒนธรรมขององค์กรดิฉัน คือ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดมีงานที่มีกำหนดส่งให้แผนกที่ต้องรับงานไปทำต่อ แล้วผู้รับผิดชอบทำไม่ทันเพื่อนในทีมจะช่วยเหลือกันด้วยความเต็มใจ และการมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันในองค์กร เมื่อมีเทศกาลสำคัญต่างๆของแต่ละบุคคล เช่น วันเกิด จะมีการช่วยกันจัดเลี้ยง หรือการลาออกของเพื่อนร่วมงาน จะมีการเลี้ยงส่ง ทุกคนอยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้องส่วนในเรื่องของวิสัยทัศน์ขององค์กรเนื่องจากองค์กรของดิฉันโดนควบกิจการ จึงไม่สามารถทราบวิสัยทัศน์ขององค์กรใหม่ และองค์กรเก่าของดิฉันก็ไม่เคยทราบว่าได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้อย่างไรบ้างเพราะมีบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศและได้ถามผู้ที่ทำงานมาก่อนก็ไม่มีใครทราบสรุป  ถ้าผู้บริหารประเทศมีการศึกษาผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นกับระบบการบริหารประเทศ และนำมาเป็นแนวทางแก้ไข และพัฒนาประเทศ จะทำให้ไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้น และจะให้เกิดการกีดกันทางการค้าในเวทีโลกน้อยลง ผู้ที่มีปัญหาในองค์กรเราควรมีวัฒนธรรมในการเอาชนะ ฝ่าฟัน อุปสรรคในองค์กรให้ได้ ชนะเล็กๆก็ได้ อย่างที่อาจารย์จีระบอกก่อนจะจบการเรียนในวันนั้นอาจารย์จีระได้ถามว่าทำอย่างไรความรู้ที่อาจารย์ให้จะไม่หายไปถ้าอาจารย์ไม่ได้มาสอนแล้ว พวกเราจะ ทบทวนและปฏิบัติค่ะ พร้อมทั้งเสาะหาและศึกษาบทความและทฤษฎีต่างๆของอาจารย์ที่มีอยู่มากมายและยังไม่ได้ศึกษา สุภาภรณ์ สุขเกษม  รหัส 49038010007[email protected] 
สุภาภรณ์ สุขเกษม MPA.3 รหัส 49038010007
  เรียน อาจารย์จีระ  อาจารย์ยม และอาจารย์พจนารถ จากที่ได้เรียนกับอาจารย์พจนารถในวันที่ 21 ม.ค. 50 ที่ผ่านมานั้น ดิฉันรู้สึกประทับใจอาจารย์พจนารถมากค่ะเพราะเป็นผู้หญิงเก่ง ที่มีประสบการณ์มาถ่ายทอดให้พวกเรารู้อย่างมากมาย ทำให้ได้รับความรู้ในหลายๆเรื่อง และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำที่ดีค่ะ มีการทำ WORK SHOP ให้น.ศ.ได้ออกความคิดเห็น และแนวการคิด ซึ่งสรุปได้ดังนี้  ได้เรียนรู้เรื่อง Balanc Scorecard ว่าเป็นเครื่องมือในการบริหารชนิดหนึ่งที่จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างการวัดผลทางด้านการเงิน ทางด้านความพึงพอใจของลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาและการทำ My Life’s Scorecard ทำให้เข้าใจ Balance Scorecard มากยิ่งขึ้น  เรื่อง Employees Engagement ได้เรียนรู้ถึง 7 ปัจจัยในการทำงานที่ควรมี คือ  uTotal Compensation   ค่าตอบแทนทั้งหมด u Culture and Purpose  การตั้งใจ และมีไหวพริบในการทำงาน u Leadership    ความเป็นผู้นำควร การสร้างความน่าเชื่อถือ  ไว้วางใจ u Relationships มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และลูกค้า           u Qualitty of Life   การมีคุณภาพชีวิตที่ดี u Job Tasks   งานที่ท้าทาย น่าสนใจ u Opportunity โอกาสก้าวหน้าในสายงาน การเลื่อนตำแหน่ง เรื่องวงกลมแห่งความกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจัดการไม่ได้ไม่ควรไปกังวลเรื่อง นิสัยทั้ง 7  คือ 1.ต้องรู้แล้วค่อยเลือก  2.คิดตอนจบก่อนแล้วเดินตามที่คิดไว้ 3.ทำในสิ่งสำคัญก่อน 4.คิดแบบ WIN WIN 5.พยายามพูดคุยกับผู้อื่นก่อน 6. ฟังอย่างเข้าใจ 7.ทำนิสัยทั้ง 6 ให้ได้ และเมื่อเรียนแล้วรู้สึกว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรายังทำไม่ได้และไม่ได้ทำ เพราะอาจจะบกพร่องไปบ้าง  และคิดว่าควรเริ่มพัฒนาตนเองและเริ่มทำในสิ่งที่ยังบกพร่องให้ดีขึ้นกว่าเดิม  ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะ นิสัยทั้ง 7 และวงกลมแห่งความกังวลดิฉันคิดว่าเป็นประโยชน์ดิฉันต้องนำไปใช้อย่างแน่นอน      สุภาภรณ์ สุขเกษม  รหัส 49038010007[email protected]   
วิไลวรรณ วิไลเลิศ
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ สวัสดีค่ะ อาจารย์ ยม   นาคสุข        จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์จีระ  เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎี HRDS/ ทฤษฎี 3 วงกลม/ ทฤษฎี 8 K’s และได้มอบหมายให้ทำการบ้าน 3 ข้อ คือ 1.    วิสัยทัศน์ขององค์กร2.    วัฒนธรรมของแต่ละองค์กร3.    การค้าโลกหรือ WTO มีผลกระทบกับการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ในระบบราชการอย่างไร        วิสัยทัศน์         อบต.ละหาร เป็นหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำบลละหารเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีลำคลองไหลผ่านทุกหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ มีถนนทางหลวงแผ่นดินตัดผ่านถึง 3 เส้นทางหลัก และเป็นเส้นทางที่เดินทางออกสู่ทุกภาคของประเทศได้อย่างสะดวก และสะดวกต่อการขนส่งสินค้า จึงทำให้มีหมู่บ้านจัดสรร และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เกิดชุมชนเมืองปะปนกับชุมชนเกษตรกรรมดั้งเดิม ประชากรมีจำนวนมากขึ้น บริการต่างๆ ก็ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ผู้บริหารองค์กรจึงมีความคิดที่จะพัฒนาตำบลให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และต้องการให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง จึงเป็นที่มาของวิสัยทัศน์ที่ว่า แหล่งเกษตรอุตสาหกรรม วัฒนธรรมหลากหลาย    ที่อยู่อาศัยชั้นดี มีคมนาคมสะดวกสบาย พัฒนาให้เจริญไปแบบยังยืน  เป้าหมายขององค์กรก็คือ ต้องการให้ประชาชนทุกคนอยู่ดีกินดี         แต่ทั้งนี้วิสัยทัศน์จะเป็นจริงได้ ต้องมีการปฏิบัติ โดยกำหนดเป็นนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และแตกย่อยเป็นแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่างๆ ต่อไป วัฒนธรรมองค์กร        วัฒนธรรมองค์กร เป็นความคิด ความเชื่อแบบแผนปฏิบัติและการดำรงชีวิตของบุคลากรในองค์การหนึ่งๆ ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรยอมรับและปฏิบัติเป็นประเพณี และใช้เป็นแบบแผนในการปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกขององค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีวัฒนธรรมที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป เช่น ใน อบต.ละหาร จะมีวัฒนธรรมในการเคารพให้เกียรติผู้อาวุโสกว่า วัฒนธรรมในการไหว้ทำความเคารพเมื่อพบผู้อาวุโส และประชาชนที่มาขอรับบริการ วัฒนธรรมในการแต่งกาย พนักงานจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยกันทุกคน ในวันจันทร์จะแต่งชุดข้าราชการ วันอังคารถึงวันพฤหัสบดี จะแต่งกายอย่างไรก็ได้ แต่ต้องสุภาพและเรียบร้อย วันศุกร์ใส่เสื้อสีฟ้าของอบต.(ยกเว้นช่วงนี้ให้ใส่เสื้อเหลืองทุกวัน)เป็นต้น        วัฒนธรรมองค์กรเป็นเครื่องกระตุ้นให้บุคลากรทำงานและการแสดงออกขององค์กรจะอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กร ทำให้องค์กรสำเร็จหรือล้มเหลว ดังนั้นถ้าวัฒนธรรมองค์กรบางอย่างที่มีมานาน แต่ไม่เหมาะสมกับปัจจุบันและสร้างปัญหาให้แก่องค์กร ควรหาทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมนั้น ถ้าวัฒนธรรมองค์กรเรื่องใดที่ดี ส่งเสริมความสำเร็จให้องค์กร ก็ควรยึดถือปฏิบัติและส่งเสริมวัฒนธรรมนั้นๆ  องค์การการค้าโลก หรือ WTO         องค์การการค้าโลก หรือ WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินงานของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาของประเทศสมาชิก   ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 การที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก WTO )ประเทศไทยจะต้องติดต่อสื่อสารกับประเทศสมาชิกเพื่อทำการค้าระหว่างระหว่างประเทศ ดังนั้นบุคลากรที่ทำงานในระบบราชการจะต้องตื่นตัว พัฒนาด้านต่างๆ เช่น ด้านภาษา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการสื่อสารกับต่างประเทศ ถ้าไม่มีความรู้ด้านภาษาดีพอ อาจจะทำให้การสื่อสารล้มเหลว ด้านความรู้ ต้องศึกษาเกี่ยวกับกฎกติกาใหม่ๆของ WTO อยู่เสมอเพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศ และรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องได้ ด้าน IT ต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อที่จะได้ก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น

        การที่บุคลากรจะพัฒนาได้ บุคลากรจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง และต้องได้รับการส่งเสริมจากองค์กร เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาด้านต่างๆ ประกอบด้วย ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอย่างแท้จริง

 

วิไลวรรณ  วิไลเลิศ MPA.3 รหัส 49038020016  [email protected] 
นายกิตติ เพลินจิตต์ MPA.3
สวัสดีครับ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  การที่ได้เรียนกับอาจารย์ทำให้ได้ความรู้มุมมองใหม่ ๆ อย่างเช่น กล้าที่คิด และทำให้เกิดประโยชน์ ทุกคนเริ่มโต้ตอบและสอบถามอาจารย์มากขึ้น และอาจารย์ได้สั่งงานให้ทำส่ง ดังนี้วิสัยทัศน์ขององค์กร1 จัดทำและบริการข้อมูลสารสนเทศการเกษตร 2 จัดทำและรายงานสภาพเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศและต่างประเทศ 3 จัดทำและเสนอยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ 4 ติดตามและประเมินผลแผนงาน / โครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของกระทรวงเกษตรเป้าหมายขององค์กร 1 เพื่อให้ผู้บริหารนำยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนการเกษตรและสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ 2 เพื่อให้ผู้รับบริการได้ข้อมูลและสารสนเทศการเกษตรที่ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ 3 เพื่อให้การปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์วิเคราะห์ WTO มีผลกระทบต่อการบริหารราชการอย่างไรองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)  มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT)  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มกราคม  2538  โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจคือระดับรัฐมนตรี (Ministerial  Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปีณ เดือนมกราคม 2549 WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น  150  ประเทศ  (ประเทศสมาชิกลำดับที่ 150 คือ ตองกาซึ่งจะเสร็จสิ้นการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2549) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่  59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น                 ผลกระทบในภาพรวมต่อการบริหารราชการของประเทศไทย   ผลการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยรวมพบว่า ในจำนวนสินค้า  10  สินค้าภายใต้ข้อผูกพันองค์การการค้าโลก (WTO) สินค้รที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในกรณีเปิดเสรีการนำเข้า  อัตราภาษีร้อยละ  0 มีถึง 6 สินค้า  ได้แก่ เมล็ดถั่วหลือง   กากถั่วเหลือง   น้ำมันถั่วเหลือง   น้ำมันปาล์ม  มะพร้าวผล   และเส้นไหมดิบ                ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นดังกล่าว   จะมีผลทำให้เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ต้องสูญเสียรายได้จากที่เคยได้รับประมาณ  2,250 ล้านบาท   โดยมีเกษตรกรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ  552,000 ครัวเรือน   การสูญเสียรายได้ของเกษตรกรดังกล่าวเป็นผลมาจากราคาสินค้าที่เกษตรกรเคยได้รับในราคาสูง  จะต้องถูกปรับลดลงมาให้เท่ากับราคานำเข้าของสินค้าดังกล่าวเพื่อที่เกษตรกรจะได้สามารถขายสินค้าของตนแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ในห้วงระยะเวลาที่ เกษตรกรผู้ผลิตยังไม่มีเวลาเพียงพอในการปรับระบบการผลิตของตนเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น                อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าอีก  4  สินค้าที่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจาการเปิดเสรีนำเข้าดังกล่าว  สินค้าเหล่านี้ได้แก่  ข้าว  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  น้ำมันมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวแห้ง  สินค้าในกลุ่มที่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบเหล่านี้   เป็นสินค้าที่ราคาภายในประเทศต่ำกว่าราคานำเข้า  เกษตรกรจึงไม่ได้รับผลกระทบ  เนื่องจากยังสามารถแข่งขันได้ นายกิตติ เพลินจิตต์  MPA.3 รหัส 49038020004  [email protected]
นายกิตติ เพลินจิตต์ MPA.3
สวัสดีครับ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  ในวันที่ 21 ม.ค. 50 ที่ผ่านมานั้นซึ่งสรุปได้ดังนี้   ได้เรียนรู้เรื่อง Balanc Scorecard Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ Balanced Scorecard เต็มระบบแล้ว Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (nerve center of an enterprise)” นายกิตติ เพลินจิตต์  MPA.3 รหัส 49038020004    [email protected]
รักษิณา อิ้วสวัสดิ์

สวัสดีค่ะ เรียน ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข  อาจารย์พจนารถ 

ซีบังเกิด เพื่อนๆชาว blog ทุกคน   เป็นอาทิตย์ที่ 2 สำหรับพวกเรา MPA รุ่นที่ 3 ที่ได้เข้ามาแชร์แสดงความคิดเห็น พบว่าอาจารย์ได้เปิด blog 2 เพื่มขึ้น เนื่องจากมีบุคคลอื่น ที่สนใจในเรื่อง HR เข้ามาในblog ด้วย  HR เป็นวิชาที่เรียนรู้ได้สำหรับทุกคนจริง ๆ สำหรับการบ้านขอเรียนเสนออาจารย์ดังนี้ค่ะ         กรมส่งเสริมสหกรณ์มีวิสัยทัศน์คือ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก ทั้งนี้นโยบายของกรมในด้านการปฏิบัติงานคือ สนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์และพัฒนาการบริหารการจัดองค์กร ให้มีคุณภาพมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ส่วนในด้านเงินทุนกรมฯสนับสนุนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้สหกรณ์นำไปพัฒนาธุรกิจ และจัดระเบียบการใช้เงินเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง และท้ายสุดก็คือ ด้านบริหารบุคคลนั้น เร่งรัดพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามภารกิจ เน้นความรู้และความสามารถเป็นหลัก สภาพการทำงานของกรมฯ เป็นการวิเคราะห์องค์กรในสภาวะปัจจุบัน โดยค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ให้องค์กรรู้จักตนเอง รู้สภาพแวดล้อม และวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรต่อไป        องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเวทีเจรจาการค้าและระงับข้อพิพาทของประเทศสมาชิก เป็นองค์กรที่ทำโดยสมาชิก ดูแลรับผิดชอบ กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ประโยชน์ของการมีองค์กรการค้าโลก ทำให้มีการติดต่อระหว่างสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น รวมถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน ต้องมีการเจรจาต่อรองกัน การเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ทำให้ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบขององค์การฯ อย่างเคร่งครัด และดูแลสอดส่องมิให้ประเทศสมาชิกอื่นผิดระเบียบและมีมาตรการการค้าที่ก่อความเสียหายต่อประเทศไทยด้วย ฉะนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทางราชการ จึงต้องพิจารณายังผลกระทบ WTO มีต่อหน่วยงานมากน้อยเพียงใด โดยลักษณะพื้นฐานที่หน่วยงานทุกหน่วยงานจะต้องพิจารณาคือ ความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศของบุคลากร ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบและลักษณะองค์กรของหน่วยงาน ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับผลกระทบ เนื่องจาก เป็นยุคของการแข่งขัน ความเป็นเสรีทางการค้า ทั่วโลกย่อมชิงความได้เปรียบระหว่างกันและกัน        กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับสมาชิกขององค์กร ในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีการปฏิรูปโครงสร้างใหม่แล้วก็ตาม วัฒนธรรมขององค์กรมิได้สูญหายไป  ได้แก่ 1. ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน  โดยพูดถึงกันว่า เราชาวสหกรณ์ ซึ่งทุกคนภูมิใจในคำคำนี้ เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง ข้อดีก็คือ ความผูกพันของบุคลากรในองค์กร การนับถือตามลำดับ รุ่นพี่รุ่นน้อง ข้อเสียก็คือ ยังยึดติดอยู่กับการทำงานแบบเก่า ฯ 2. การทำงานเป็นทีม ซึ่งแต่ละหน่วยงานของกรมฯ จะแบ่งงานกันเป็นทีม มีการตั้งผู้รับผิดชอบงานตามที่ผู้นำองค์กรมอบหมาย ข้อดีก็คือ มีผู้รับผิดชอบในงานที่ทำ มีการแบ่งงานกันทำ ข้อเสียก็คือ ทีมงานจะทำงานแบบเดิมซ้ำ ๆ ไม่สอนงานให้คนอื่น ใครเคยทำแบบไหนก็ทำแบบนั้นเหมือนทุกครั้ง3. มีแนวทางในการปฏิบัติงานที่เป็นกฎระเบียบ มีความชัดเจน ข้อดีก็คือ ทำให้มีแนวทางในการปฏิบัติงาน ข้อเสียก็คือ บางครั้งการเสนองานผ่านหลายขั้นตอน ทำให้งานล่าช้า ซึ่งในส่วนนี้กรมฯ กำลังปรับปรุงโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดงานให้เป็นระบบ เช่น ระบบสารบรรณ ระบบใบลา  เพื่อให้งานมีความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น        และเป็นอาทิตย์ที่ส่ง blog แล้วจิตใจห่อเหี่ยว แต่ไม่ใช่เป็นเพราะเรื่องเรียน แต่เป็นเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสำหรับพี่โอ๋ (จ่าเอกสราวุฒิ นวมน้อย)อย่างกะทันหัน  พวกเราสูญเสียเพื่อนที่ดีไปอีกหนึ่งคนซึ่งทุกคนก็คงรู้สึกเหมือนกัน สุดท้ายนี้ขอให้พี่โอ๋ไปสู่สุขคติเทอญ

                                                        รักษิณา อิ้วสวัสดิ์MPA 3(ภาคพิเศษ)

นางสาวธิติกา ชมะโชติ
      สวัสดีค่ะ  ท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์   และท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  รวมทั้งเพื่อนนักศึกษา รปม. ทุกคน  และที่สำคัญขอไว้อาลัยแด่  พี่โอ๋  พี่ที่น่ารักของ รปม. รุ่น 3  ขอให้พี่ไปสู่สุคตินะคะ      จากการเรียนเมื่อวันที่  20  มกราคม  2550  ท่านอาจารย์จีระได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  โดยให้เรียนรู้ประสบการณ์ของคุณอำนวย  วีรวรรณ  ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้จริงและให้รู้จักมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเมื่อมีโอกาสที่จะทำได้  ต้องกล้าหาญที่จะทำ  นั่นหมายถึงการมีภาวะผู้นำอย่างแท้จริง  และที่ประทับใจมากคือการได้นั่งร่วมสนทนากับท่านอาจารย์จีระในช่วงทานกาแฟ ท่านอาจารย์ได้ให้มุมมองด้านการให้โอกาสคนชั้นแรงงาน  คือ ให้เกียรติและให้โอกาสเขาในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน  ให้เขาได้เห็นคุณค่าในตัวเอง  ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง  ดิฉันภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่านอาจารย์จีระ  รวมทั้งอาจารย์ทุกท่านที่มาสอนในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์  นอกจากนี้ท่านอาจารย์จีระ  ได้ให้หัวข้อทำงานส่งบล็อคไว้ดังนี้ 1.  วิสัยทัศน์ขององค์กร  กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งเป็นกลุ่มงานหนึ่งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร  มีวิสัยทัศน์  คือ  เป็นองค์กรที่เป็นเลิศในการให้บริการและสนับสนุนภารกิจของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในด้านดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการและธุรการทั่วไป  เพื่อสนับสนุนภารกิจของผู้นำฝ่ายค้าน ฯ    2. วัฒนธรรมองค์กร  กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านฯ  มีวัฒนธรรมองค์กร  คือ ทำงานร่วมกันเป็นทีม  โดยทุกคนต้องมีความรู้ลึกในงานของตนเอง  และรู้รอบในงานของผู้อื่น  สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้เมื่อถึงคราวจำเป็น  และสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  อ้างอิงได้  3.  ปัญหาในองค์กร  คือ  การเมืองมีบทบาทมากเกินไปทำให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เกิดความไม่คล่องตัวในการทำงาน  4.  องค์การการค้าโลก หรือ  WTO  มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการ  คือ  ระบบราชการต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระบบการค้าเสรี  โดยจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้เป็นแบบบูรณาการ  สามารถเรียนรู้เหตุการณ์ในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคตได้โดยผ่านการคิดอย่างมีระบบ  ซึ่งจะทำให้เกิดการคิดเป็นทำเป็น  และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรและประเทศชาติจนสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้    
พ.ท.ธีรชัย ไชยมะโน
เรียน   ศ.ดร.จีระ   หงษ์ลดารมภ์    ที่เคารพก่อนอื่นต้องขอไว้อาลัยเพื่อนโอ๋    จ.อ.สราวุธ   นวมน้อย  เพื่อนรักที่จากไปโดยไม่มีวันกลับ  ขอให้เพื่อนจงไปสู่สุขคติเถอะ   และขอให้คำมั่นสัญญากับเพื่อนโอ๋ว่า  จะพยายามศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาการบริหารจัดการ   จนสำเร็จและได้รับปริญญาโทสมตามความตั้งใจให้ได้เหมือนกับที่เพื่อนโอ๋คาดหวังไว้เช่นกัน   ผมให้สัญญาครับ....... เอาละครับ  เริ่มกันเลย  เมื่อวันที่  20  ม.ค.50   ท่าน  ศ.ดร.จีระ ฯ  ให้การบ้านพวกผม  3   ข้อ  ผมขอตอบโดยแยกประเด็นดังนี้ครับ 1. เป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร    กรมการขนส่งทหารบก   เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองทัพบก  จัดอยู่ประเภทหน่วยยุทธบริการ  เนื่องจากหน่วยยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายและประกาศวิสัยทัศน์อย่างเป็นทางการ     เพราะยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด    ดังนั้นจึงอาศัยแนวความคิดที่  ดร.กมล   เงินคล้าย    อาจารย์ผู้สอนวิชาการบริหารองค์กร  และประสบการณ์ของตนเองมาใช้   (ขออภัยท่านผู้อ่านหากมีการผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง  เนื่องจากเป็นความคิดเห็นส่วนตัว)  ขอกำหนดวิสัยทัศน์ของกรมการขนส่งทหารบกไว้ดังนี้      เป็นหน่วยงานที่มุ่งให้การสนับสนุนบริการแก่กองทัพบกในการเคลื่อนย้ายกำลังพล  ยุทโธปกรณ์  สิ่งอุปกรณ์ทั้งในการรบและการช่วยรบ  ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน  เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามภารกิจ    รวมทั้งฝึกอบรมกำลังพลเหล่าทหารขนส่ง  เพื่อให้มีความรู้ สามารถนำหลักนิยมของทหารขนส่งไปใช้ในหน่วยทหารต่าง ๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    กำลังพลมีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการสื่อสารและการขนส่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ  พร้อมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมอันดีงาม  มีวินัยในตนเอง  รักษ์สภาพแวดล้อม  สามารถดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงและอยู่ในสังคมที่หลากหลายได้อย่างสันติสุข    โดยอาศัยทฤษฎี   SWOT   (จุดเด่น คือเป็นหน่วยงานเก่าแก่ตั้งขึ้นสมัย  ร.5  มีประวัติศาสตร์  มีความภาคภูมิใจ  คนมีความรู้เฉพาะด้านมากเป็นที่ต้องการของสังคม      จุดด้อย  คือ  กำลังพลมีคุณภาพชีวิตไม่ดี    ขาดระบบจัดการที่ดี     โอกาส คือ ความพร้อมในการให้บริการให้กับชนทุกระดับตั้งแต่  พระบรมวงศานุวงศ์จนถึงหน่วยงานเอกชน    อุปสรรค  คือ การเสื่อมสภาพของยานพาหนะตามเวลาโดยที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทดแทน )  และ  BALANCED SCORECARD  เป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ที่ชี้วัดการปฏิบัติงาน    เป็นตัวกำหนดวิสัยทัศน์  สำหรับเป้าหมาย  ได้แก่ 1. หน่วยมียานพาหนะที่ทันสมัย  ตอบสนองภารกิจได้ทุกโอกาส    2. กำลังพลมีความรู้สามารถปรนนิบัติบำรุงยานพาหนะได้ทุกประเภท   เรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ 3. กำลังพลมีจริยธรรมที่ดี  ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงได้   2. องค์การการค้าโลก  หรือ WTO  มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์พัฒนาระบบการค้าเสรีและให้ประเทศที่เป็นสมาชิกดำเนินไปตามข้อตกลงทางการค้า (โดยภาพรวม)  และประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ 28 ธันวาคม 2537  เป็นสมาชิกอันที่ 59      โดยมียุทธศาสตร์ของการดำเนินการหลัก ๆ ก็คือ  1. การเปิดตลาดเช่น ลดภาษีศุลกากรที่เป็นอุตสาหกรรม  ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ    ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตร  เปิดเสรีการค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า      2.กฏระเบียบการค้า  มีการตกลงกฎระเบียบที่สำคัญเช่น   มาตรการสุขอนามัยของสินค้าพืชนำเข้า   ข้อตกลงเรื่องการทุ่มตลาด   เป็นต้น  3. เรื่องอื่น ๆ ที่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ของแกตต์กำกับ เช่นทรัพย์สินทางปัญญา    การค้าบริการ  มาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า เป็นต้น  เหล่านี้ส่งผลทั้งทางด้านบวกและลบต่อประเทศไทย  เนื่องจากมีการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศรุนแรงมากขึ้น   ดังนั้น  WTO  จึงเกี่ยวข้องการการบริหารทรัพยากรมนุษย์  กล่าวคือหากเรายังนิ่งเฉย  ไม่ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เราจะเสียโอกาสดังนั้น  ประเทศไทยต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและสามารถดำรงประเทศให้ทัดเทียมกับคู่แข่งต่างประเทศให้ได้    ต้องอาศัยการพัฒนาระบบกับคนไปพร้อมกัน     การแข่งขันในเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ  1.ต้องอาศัยมีความรวดเร็ว    2.ระบบต้องมีประสิทธิภาพ    3.การสื่อสาร    4.CREDIT  ขององค์กร   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวดังนี้    1. ต้องฝึกอบรมคน    อบรมมองผลสำเร็จขององค์กรไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน  อ.พจนารถ ฯ  บอกว่า  การที่มนุษย์จะทำงานได้ดีต้องมีการฝึกอบรม   จัดโครงการ  QC  เพื่อค้นหาข้อบกพร่องของคน  ให้คนมีความศรัทธาองค์กร     ส่งคนไปดูงานเพื่อศึกษา  PROCESS  การทำงานที่ดีนำการดูงานมาพัฒนาระบบในองค์กรให้รวดเร็ว  ทันสมัย    2. พัฒนาคนแล้วก็พัฒนางาน  วางระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง  การบริการ   การตรวจสอบ    ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจะทำให้งานมีความรวดเร็วและทันสมัย  สะดวกสบาย  ประหยัดเวลา  ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น      3.เมื่อคนมีคุณภาพและระบบมีประสิทธิภาพไม่พอ  ต้องสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง  และตรงกับความต้องการของลูกค้า    ภาษา  นับเป็นเรื่องที่สำคัญในปัจจุบัน   เนื่องจากเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นต้องคุยให้รู้เรื่อง     ดังนั้นใครเก่งเชี่ยวชาญด้านภาษาจะได้เปรียบมากที่สุด       4. นอกจากนี้ยังต้องทำให้องค์กรของตนเองมีภาพลักษณ์  (LOOK) ในสายตาของลูกค้าให้มีความน่าเชื่อถือ    แน่นอนและสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้     คนต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ  ต้องให้บริการลูกค้า  ต้องให้ความพึงพอใจของสินค้าและบริการแก่ลูกค้า   เพราะตอนนี้ต้องมองลูกค้าเหมือนพระเจ้า  ผมชอบคำพูดของมหาอัตตมะคานธีที่ว่า ....... ที่มาเยือนเราในสถานที่นี้  เขามิได้พึ่งเรา  เราต่างหากที่จำต้องพึ่งเขา  ..... ในการรับใช้เขา  เรามิได้ช่วยเหลืออะไรเขาเลย  เขาต่างหากเป็นฝ่ายช่วยเหลือเรา  โดยให้โอกาสแก่เราที่รับใช้เขา ......    ครับการพัฒนาคนให้ทันต่อการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา  นับเป็นสิ่งที่ดี  เพราะโลกหมุนอยู่ตลอดเวลา   ต้องเริ่มจากหน่วยงานของรัฐเป็นผู้นำก่อน3.  วัฒนธรรมองค์กรของกรมการขนส่งทหารบก  3  เรื่อง  โดยแยกข้อดีข้อเสียดังนี้            3.1 มีความจงรักภักดีต่อองค์กร   ทหาร คำว่า นาย  เป็นผู้มีบุญคุณและผู้ให้โทษแก่ลูกน้อง ดังนั้นข้าราชการทหารจึงมีความสำนึกในข้อนี้สูงสุด  ข้อดีคือ มีจิตใจทุ่มเทให้กับการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ    เรียกว่าใจเกินร้อย   เสียสละเวลาและอุทิศตนเพื่อให้ผลของงานออกมาดีเลิศ  และประสบผลสำเร็จ   ทหารไม่เคยเสียเกียรติ  ศักดิ์ศรี  ดังนั้นหากผู้ใดโดน นาย  ตำหนิ  ถือเป็นเรื่องใหญ่ข้อเสีย   หากจะมองเป็นการ  เชลียร์ นายเพื่อผลงานของตัวเองก็ไม่ผิดนัก  เรียกว่าเอาใจนายเพราะเมื่อนึกถึงตัวเองเมื่อได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว   ก็จะถูกปฏิบัติเช่นเดียวกัน            3.2 ความมีวินัย  หมายถึง  การประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบแบบธรรมเนียมขององค์กรเนื่องจากทหารมีวินัยในตนเองค่อนข้างสูงกว่าหน่วยงานอื่น  (เพราะถูกฝึกให้มีลักษณะอย่างนั้น)                                      ข้อดี  สามารถกำหนดทิศทางขององค์กรได้ง่าย  ตีกรอบกฏระเบียบ  บังคับใช้                                       ได้ง่ายกว่าองค์กรอื่น  ข้อเสีย  การที่คนแสดงออกก็ฝืนความรู้สึกตนเอง  ไม่                                             เป็นไปตามความรู้สึกที่แท้จริง            3.3  นับถือระบบอาวุโส     เฉกเช่นเดียวกันกับหน่วยงานพลเรือนอื่น ๆ  ต้องให้ความสำคัญรุ่นพี่  รุ่นน้อง   วัยวุฒิ  คุณวุฒิ   ดังจะเห็นได้จากการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งจะมีปัจจัยนี้อยู่ด้วย  สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถือผู้สูงอายุ ให้ความเคารพ นับถือเนื่องจากเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากกว่า   ข้อดี   เป็นระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก  ใช้คุณธรรมเป็นตัวนำ   ทุกคนให้การยอมรับ   ข้อเสีย    เป็นการปิดกั้นผู้มีอาวุโสน้อยแต่มีความสามารถ   ไม่พัฒนาองค์กรได้เท่าที่ควรองค์กรเจริญช้ากระผมขอจบการตอบปัญหาทั้ง  3  ข้อแค่นี้ครับ  ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยวิจารณ์ให้ด้วยครับพ.ท.ธีรชัย    ไชยมะโน  49038010028   รปม.3  ขอบคุณครับ 
นางสาวธิติกา ชมะโชติ
สวัสดีค่ะ  ท่านอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  จากการเรียนเมื่อวันที่  21  มกราคม  2550  วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ทำให้เข้าใจเรื่อง BSC  มากขึ้น  สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้องค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เนื่องจากการทำงานนั้นจะต้องมีตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลได้จริง  การเรียนรู้เรื่อง  BSC  จึงมีความจำเป็นอย่างมากในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน  เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง  สามารถวัดผลงานได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ  รวมทั้งประสิทธิภาพในการทำงาน  นอกจากนี้ยังสามารถนำ  BSC  มากำหนดเป้าหมายในชีวิตส่วนตัว  เช่น  ครอบครัว  การเรียน  ตลอดจนการตั้งเป้าหมายในอนาคตได้ด้วย  นอกจากนี้ท่านอาจารย์พจนารถยังให้ข้อคิดที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  เมื่อท่านสอนว่า  ทุกคนควรจะภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่  โดยไม่ต้องหวังให้ใครมาเติมเต็มชีวิตเรา  เราควรจะทำอะไรด้วยตัวของเราเอง  ไม่ต้องคอยพึ่งพาคนอื่น  เพราะไม่มีใครสามารถเติมเต็มเราได้เท่ากับตัวเราเอง  ดังที่อาจารย์ยกตัวอย่างว่า  มีวงกลมอันหนึ่งซึ่งตามหาส่วนที่ขาดหายไป  แล้ววันหนึ่งก็ตามหาจนพบและเป็นวงกลมที่สมบูรณ์  แต่แล้ววงกลมอันนั้นก็ต้องสะดุดกับตัวเอง  เพราะส่วนที่เติมเต็มนั้นได้โตขึ้น  แต่วงกลมเดิมยังมีขนาดเท่าเดิม  ทำให้วงกลมนั้นกลิ้งไปอย่างไม่คล่องตัว  สุดท้ายส่วนที่เติมเต็มนั้นกลับนำปัญหามาให้  เพราะความไม่สมดุลกัน  คือ  อันหนึ่งโตขึ้น  อีกอันหนึ่งยังอยู่เท่าเดิม  ขอบคุณมากนะคะสำหรับข้อคิดดี ๆ ของท่านอาจารย์พจนารถ 
พ.ท.ธีรชัย ไชยมะโน
เรียนท่าน อ.พจนารถ   ซีบังเกิด  ที่เคารพ  จากการเรียน  Balance  Scorecard  และ  Employees  Engagenebt     ในวันอาทิตย์ที่  21  ม.ค.50    ที่ผ่านมากระผมขอได้สาระความรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ดังนี้ครับ  1. นำไปใช้วัดผลการปฏิบัติงานขององค์กร  ออกมาเป็นตัวเลขซึ่งเป็นรูปธรรมเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพขององค์กร  ความพึงพอใจของพนักงาน   กระบวนการต่าง ๆ สุดท้ายจะบอกได้ว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่   ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชน  อาจารย์ยกเหตุการณ์หลายตัวอย่างขึ้นมา   มีข้อคิดที่ว่า    อย่าถามว่า   ใครผิด    แต่ให้ถามว่า  ทำไมถึงเกิดเหตุ .....    2. วัดประสิทธิภาพของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร   เพราะผู้บริหารเป็นตัวกำหนดทิศทาง  ผลลัพธ์ของการวัดแต่ละครั้งจะเป็นตัวชี้วัดให้ผู้บริหารปรับปรุงในด้านใดบ้าง  ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน  ด้านลูกค้าด้านระบบจัดการภายใน   และด้านการเรียนรู้ความเจริญเติบโต โดยมียุทธศาสตร์เป็นปัจจัย     และ 3.อย่างน้อยที่อาจารย์ให้ทำ  My   Life  Scorecard  ของตนเอง ทำให้ผมรู้เป้าหมายของชีวิต  ว่าควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไร (planning  and processing)  กับชีวิตตนเอง  ตรงนี้มีค่าสำหรับผมมากครับ  เพราะเกิดมาไม่เคยทำ  ไม่เคยวางแผนชีวิตอย่างเป็นกิจจะลักษณะอย่างนี้มาก่อน  ต่อไปผมก็จะวางแผนชีวิตของตัวเอง  แต่อาจจะเน้นไปเรื่องอื่น ๆ เช่น  การวางแผนการเรียนระดับปริญญาเอก   การใช้ชีวิตแบบพอเพียง  เป็นต้น     4. รู้การรักษาคนให้อยู่ในองค์กร  ซึ่งอันนี้ก็สำคัญ   การรักษายอดกำลังพลให้อยู่ในระบบถือเป็นเรื่องสำคัญ ของราชการ    แต่มันจะสำคัญมากขึ้นเมื่ออยู่ในระบบธุรกิจเอกชน  เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์  การชิงไหวพริบ  การคิดสร้างสรรค์ผลงาน   หมายถึง  รายได้  ผลประโยชน์ของบริษัท  ซึ่งคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารควรรู้ ............ จากการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา   เป็นวันที่สนุกมาก  บรรยายกาศก็ดี    อาจารย์สอนแบบสบาย ๆ   ลูกศิษย์ก็ไม่เครียด    ผมชอบอาจารย์ตรงที่ยกตัวอย่างทั้งดีและไม่ดีมา   พร้อมกับบอกวิธีแก้ไขข้อบกพร่องนั้น  ซึ่งบางทีเรามองข้าม  หรือคิดไม่ถึง  เพราะเรามองด้านเดียวเอาความคิดของตนเองเป็นหลัก   ซึ่งสรุปว่าใช่   แต่อาจารย์สอนให้มองเป็นอีกอย่างเช่น  เรื่อง ของการให้อภัย    การรู้จักคิดเหตุและผลของการกระทำ  กรณีของคุณพ่อ  คุณแม่ครูจูหลิง   ทำให้ผมคิดไปอีกหลายชั้น    คิดในแง่ของปรัชญาชีวิต..... ปรัชญาของพุทธศาสนา....... สุดท้ายขอความกรุณาอาจารย์ช่วยวิจารณ์ด้วยครับ   ขอบคุณครับ      พ.ท.ธีรชัย    ไชยมะโน  49038010028  รปม.3  สวัสดีครับ
พรพรรณ นฤมิตเศรษฐกุล
เรียน อาจารย์ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ        ตามที่ท่านอาจารย์ได้ให้ทำ Case study เรื่องปัญหาในองค์กร 2 เรื่อง นั้น ดิฉันได้วิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่พบมี ดังนี้1)  ผู้บริหารเป็นเผด็จการทางความคิดแบบฉันเก่งทุกเรื่อง2)  ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานสั่งงานผิดพลาย มีรายละเอียดดังนี้1)  ผู้บริหารเป็นเผด็จการทางความคิดแบบฉันเก่งทุกเรื่อง      ในการประชุมหัวหน้าทุกครั้ง โดยมีผู้บริหาร (ผู้อำนวยการ) เป็นประธาน และในฐานะประธาน จะเป็นผู้เสนอความคิดทุกเรื่อง และถ้าหากมีผู้เสนอความคิดที่แตกต่าง ก็จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่คัดค้านในความคิดดังกล่าว เนื่องจากไม่รู้ว่าไม่เกิดประโยชน์      ผู้บริหารเคยเป็นนักวิชาการ แล้วต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ผู้บริหาร ก็จะแสดงว่ามีความรู้ในทุกเรื่อง โดยจะบรรยายให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกครั้ง ที่มีการประชุม ซึ่งบางครั้งการบรรยายดังกล่าวไม่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่ถามกล้า เพราะจะถูกว่า ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน จนต้องไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวภายหลัง เป็นต้น 2)  ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานสั่งงานผิดพลาด      หลายครั้งที่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานสั่งงานผิดพลาด และเมื่อเจ้าของเรื่องชี้แจง รวมทั้งมีหลักฐานอ้างอิง ก็ไม่ยอมแก้ไข แต่อ้างว่าต้องการให้คนอื่นลองทำบ้าง ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน เนื่องจากผู้ที่ได้รับคำสั่งต้องสอบถามและหาข้อมูลจากเจ้าของเรื่องเดิม เป็นต้น สรุป ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ดังนั้น องค์กรนี้ จึงมีปัญหาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ทั้งระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติ แต่ปัญหาดังกล่าวนี้อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากองค์กรนี้เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นใหม่เพียง 3 ปี และผู้บริหารระดับสูงก็มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีขอแสดงความเคารพน.ส.พรพรรณ  นฤมิตเศรษฐกุล รหัส 4903801010016
พรพรรณ นฤมิตเศรษฐกุล
เรียน อาจารย์ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพตามที่ท่านอาจารย์ ได้ให้ทำรายงานเรื่อง องค์การการค้าโลก มีผลกระทบต่อประเทศไทยและการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไร นั้น มีดังนี้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)  มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT)  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  1  มกราคม  2538  โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจคือระดับรัฐมนตรี (Ministerial  Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี  และเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเวทีเจรจาการค้าและระงับข้อพิพาทของประเทศสมาชิกเป็นองค์กรที่นำโดยสมาชิก (member driven organization) ดูแล รับผิดชอบด้านกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศซึ่งจัดทำอยู่ในรูปแบบของความตกลงระดับพหุภาคี (Multilateral Agreements)  ณ เดือนมกราคม 2549 WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น  150  ประเทศ  (ประเทศสมาชิกลำดับที่ 150 คือ ตองกาซึ่งจะเสร็จสิ้นการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม 2549) โดยไทยเป็นสมาชิกลำดับที่  59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง นอกจากนี้ยังมีประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก เช่น รัสเซีย เวียดนาม และลาว เป็นต้น

ความสำคัญขององค์การการค้าโลก

 WTO  เป็นเวทีกลางของประเทศสมาชิกในการเจรจาเรื่องการค้า ประเทศในโลกนี้มีประมาณ เกือบ 190 ประเทศ การมีองค์การระหว่างประเทศจึงเป็นเสมือนศูนย์กลางที่ทุกประเทศส่งผู้แทนมาอยู่รวมกันในที่เดียว ประเทศใดจะติดต่อเรื่องใดก็สามารถทำได้ เช่นกรณีขององค์การสหประชาชาติ    ประโยชน์ของการมีองค์การการค้าโลกอีกประการหนึ่งก็คือทำให้มีการติดต่อกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน หรือร่วมกันหาผลประโยชน์ โดยประเทศสมาชิกสามารถรวมกลุ่มกันเจรจาในเรื่องที่ตนเองมีผลประโยชน์ ทำให้เกิดการต่อรองที่มีน้ำหนักมากขึ้น งานสำคัญที่มีกระทบกับประเทศไทย1.       มีเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการในรอบโดฮา ได้แก่ 1.1 การเจรจาสินค้าเกษตร: เป็นหัวข้อการเจรจาที่สำคัญที่สุดของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลกโดยพยายามผลักดันให้มีการยกเลิกการอุดหนุนส่งออก การลดการอุดหนุนการผลิตภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุดหนุนที่บิดเบือนตลาด การเปิดตลาดเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา 1.2 การเจรจาสินค้าอุตสาหกรรมและประมง: พยายามผลักดันให้มีการลดภาษีอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น และการแก้ไขในเรื่อง non-tariff barriers โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองที่ยังมีกำแพงภาษีที่สูง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศที่มุ่งในการเปิดตลาดใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังคงมีกำแพงภาษีสูงในสินค้าสำคัญๆ เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า และประมง เช่นกัน 1.3 การเจรจาสินค้าบริการ: สินค้าบริการก็คือการบริการที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ โดยเป็นการซื้อขายบริการระหว่างบุคคล (ซึ่งอาจเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นคนชาติของประเทศหนึ่งกับบุคคลที่เป็นคนชาติของอีกประเทศหนึ่ง) เป็นหัวข้อการเจรจาใหม่ที่ได้รับการผลักดันจากประเทศพัฒนาแล้วในการประชุมรอบอุรุกวัยและได้มีการจัดทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ(มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538)1.4 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าเรื่อง TRIPS และ Convention on Bilological Diversity (CBD): ร่วมผลักดันประเด็นการเข้าถึงยาในราคาที่ถูกสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยร่วมจัดทำข้อเสนอว่า ประเทศกำลังพัฒนาสามารถบังคับใช้สิทธิ เพื่อทำการผลิตยาที่จำเป็นได้    เรื่อง การขยายการคุ้มครองเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographic Indication: GI) ซึ่งไทยประสงค์จะให้สินค้าไทยบางชนิดได้รับการคุ้มครองในระดับที่เท่ากับไวน์และสุรา เช่นข้าวหอมมะลิ และไหมไทย เป็นต้น  เรื่องการจัดตั้งระบบพหุภาคีสำหรับการแจ้งและการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับไวน์และสุราเรื่อง Tradition Knowledge: ได้เจรจาผลักดันในเรื่อง benefit sharing โดยเฉพาะกับสินค้ายาพื้นบ้าน (traditional medicines)  1.5 การแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติตามพันธะกรณีรอบอุรุกวัยImplementation Related Issues :  เรื่องการให้การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง(Special and Different Treatment: S&D) กับประเทศกำลังพัฒนา: ได้ผลักดันเรื่องการทบทวนบทบัญญัติในความตกลงทั้งหมดที่เกี่ยวกับ S&D เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความชัดเจนให้กับบทบัญญัติเหล่านั้น และผลักดันการเพิ่มความช่วยเหลือทางวิชาการ (technical assistance) และการเสริมสร้างศักยภาพ (capacity building) ให้กับประเทศสมาชิก 1.6 สิ่งแวดล้อม เรื่องสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎเกณท์ของ  และความตกลงหลายฝ่ายเรื่องสิ่งแวดล้อมอื่นๆ1.7 กฎระเบียบของ WTO: เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยเฉพาะการแก้ไขบทบัญญัติในความตกลง Anti Dumping เพื่อให้มีความชัดเจน และเป็นธรรมกับประเทศที่ถูกไต่สวนมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดความชัดเจนของคำว่า ผลกำไรที่เหมาะสม การหามูลค่าปกติเพื่อคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดที่เป็นธรรม การแก้ไขความตกลงเพื่อให้โอกาสประเทศผู้ส่งออกในการพิสูจน์ตนเองได้ว่ามิได้มีการทุ่มตลาดอีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะในกรณีสินค้าที่ถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดมานาน เป็นต้น1.8 กระบวนการระงับข้อพิพาท มีการเสนอให้แก้ไขความตกลง DSU การเพิ่มความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในกระบวนการระงับข้อพิพาทและอื่นๆนอกจากเรื่องทั้ง 8 ดังกล่าวถูกกำหนดให้เจรจาในรอบโดฮาแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่จะต้องดำเนินการต่อ ได้แก่เรื่อง Singapore Issues (การลงทุน  นโยบายการแข่งขัน  ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า)  เรื่องการปฏิบัติตามพันธะกรณี เป็นต้นทั้งนี้ ปฏิญญารัฐมนตรีฯ กำหนดให้การเจรจาทุกเรื่องสิ้นสุด ณ วันที่ 1 มกราคม 2548 (2005) ยกเว้นเรื่องการระงับข้อพิพาทให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2546 และทรัพย์สินทางปัญญาฯ ให้เสร็จภายในการประชุม MC 5 (10-14 กันยายน 2546 ที่แคนคูน ประเทศเม็กซิโก) 2. ข้อพิพาททางการค้า ในขณะนี้ไทยมีเรื่องสำคัญที่อยู่ระหว่างกระบวนการระงับข้อพิพาท หรือกระบวนการหารือ หลายเรื่อง ได้แก่ เรื่องน้ำตาลกับสหภาพยุโรป และสินค้าไก่หมักเกลือกับสหภาพยุโรป เรื่องสัปปะรด ผักสดกับออสเตรเลีย ข้อพิพาทที่มีการฟ้องร้องหรือยกขึ้นหารือและประสบผลสำเร็จมีเช่นการที่สหรัฐห้ามนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าการจับกุ้งไปฆ่าเต่าทะเลและเรื่องที่สหภาพยุโรปให้  GSP  ปลาทูนาแก่กลุ่มประเทศ    ACP   ทำให้ภาษีนำเข้าปลาทูนาเป็น 0 ขณะที่ไทยต้องเสียถึงร้อยละ 24 และใช้เวลาเจรจา 2 ฝ่ายมาเป็นเวลาหลายปี แต่จากผลของการเจรจาใน   WTO ขณะนี้ภาษีลดลงมาแล้วครึ่งหนึ่ง ผลกระทบกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  มีดังนี้1.   ในระยะสั้น  จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในกิจการที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 8 ข้อข้างต้น โดยจะต้องมีการวางแผนการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการ ในด้านการผลิต เช่น การวางแผนการผลิตสินค้า การส่งเสริมในด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น หรือความรู้ของปัจเจกบุคคลให้มีความสามารถสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น2.   ในระยะยาว   จะต้องมีการวางแผนการศึกษาอย่างต่ำตั้งแต่ระดับมัธยมขึ้นไปให้มีความรู้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน เช่น การสื่อสาร ภาษา การผลิต งานบริการ เป็นต้น รวมทั้งสร้างนิสัยในการอ่านหนังสือให้แก่คนไทย โดยการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก สรุป การที่จะให้คนไทยมีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ หรือ สังคมโลก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องช่วยกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่จะเมื่อมีผลประโยชน์ต่อตนเองเท่านั้นขอแสดงความเคารพ..พรพรรณ  นฤมิตเศรษฐกุล รหัส 4903801010016 
พรพรรณ นฤมิตเศรษฐกุล
เรียน อาจารย์ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ         ตามที่ท่านอาจารย์ได้ให้ทำ Case study เรื่องวิสัยทัศน์ขององค์กร  ดังนี้วิสัยทัศน์เป็นองค์กรหลัก ในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนบรรลุสุขภาวะที่ดี โดยการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวข้างต้น ได้จากการทำวิเคราะห์ SWOT และพันธกิจขององค์กร ซึ่ง  พันธกิจ มีดังนี้*    ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี ด้านระบบบริการสุขภาพ*    ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาด้านระบบบริการสุขภาพแก่องค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และประชาชน*    พัฒนาระบบ กลไก และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์ และผลสำเร็จแก่ราชการและประชาชน ขอแสดงความเคารพน.ส.พรพรรณ  นฤมิตเศรษฐกุล รหัส 4903801010016 
พรพรรณ นฤมิตเศรษฐกุล
เรียน อาจารย์พจนาถ  ซีบังเิกิดเมื่อวันที่  20 มกราคม  2550 ได้เรียนเรื่อง Balanced Scorecard และEmployees Engagement นั้น นอกจากได้รับความรู้ตามที่อาจารย์ได้เตรียมมาแล้ว ยังได้รับความอื่น ๆ เพิ่มเติมค่ะ เช่น อุปนิสัย 7 ประการ ได้แก่  1.  รู้จักเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง           2. ให้คิดเริ่มต้นจากจุดจบก่อน           3. ให้เลือกทำสิ่งที่สำคัญก่อน           4. ให้คิดแบบชนะ           5. ฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ           6. 1+1 ต้องมากกว่า 2            7.หัด ฝึกฝนให้เป็นนิสัย   สำหรับเรื่อง Balanced Scorecard และ  Employees Engagement  อาจารย์พจนาถ สามารถทำให้ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยการให้ทำ workshop  เรื่อง Balanced Scorecard ซึ่งสามารถในการนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ สำหรับเรื่อง Employees Engagement  ได้แนะนำและให้แบบสอบถาม ที่สามารถนำมาปฏิบัติได้สรุป สิ่งที่ได้รับจากการเรียน ทั้ง Balanced Scorecard และ Employees Engagement  มีประโยชน์ทั้งในด้านการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันค่ะ ............ขอบคุณมากค่ะ

ขอแสดงความเคารพ

..พรพรรณ  นฤมิตเศรษฐกุล รหัส 4903801010016
 
นายพิพัฒน์ อรรถเอี่ยม
เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนักศึกษา  MPA3  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกท่านกระผมนายพิพัฒน์  อรรถเอี่ยม  วันนี้ขออนุญาตเขียนถึงการจากไปของเพื่อเราคือ  จ่าสิบเอกสราวุฒิ  นอมน้อย  หรือ  โอ๋   เมื่อวันที่  21  มกราคม  2550    ขณะนี้ได้มีการสวดพระอภิธรรมที่วัดเขา  อำเภอปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   จนถึงวันที่  24  มกราคม  2550  จะประชุมเพลิงในวันที่  25  มกราคม  2550  เวลา  16.00  น.   หากท่านใดมีเวลาว่างจะไปก็เชิญได้ตามวันเวลาดังกล่าว   เมื่อวันที่  22  มกราคม  2550   กระผมและเพื่อนๆ ประมาณ  15  ท่าน  ได้นำพวงหรีดไปเคารพศพและนำเงินช่วยในการทำบุญโดยใช้เงินของพวกเราทั้งหมดส่วนหนึ่ง   และเงินที่พวกเราที่ไปได้ทำบุญเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ก็ขอให้ดวงวิญญาณของจ่าสิบเอกสราวุฒิ   นอมน้อย  ไปสู่สุขติด้วยเทอญการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นข้อคิดสำหรับพวกเราในฐานะที่เรียนมาทางด้าน  MPA   ถ้ามีโอกาสได้ไปทำงานทางด้านนี้จะได้ช่วยแก้ปัญหาให้อุบัติเหตุเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นอีก   อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะเกิดจากแก๊งค์รถมอเตอร์ไซต์ซิ่งหรือเกิดจากเสาไฟฟ้ามิได้มีเครื่องป้องกันก็ตามที    ผมขอยกตัวอย่างสะพานลอยคนเดินข้ามของกรุงเทพฯ  แท่งคอนกรีตตัวสะพานจะวางบนหัวเสาเฉยๆ อาศัยน้ำหนักของตัวมันเอง   เมื่อก่อนไม่มีเครื่องป้องกันหากรถบรรทุกวิ่งไปชนเสาตัวคอนกรีตก็จะร่วงทันทีอะไรจะเกิดขึ้น   แต่ปัจจุบันขอขอบคุณท่านผู้ว่ากรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าท่านใด   ท่านเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ท่านเลยทำกำแพงคอนกรีตป้องกันไว้แล้วทุกต้น   เฉกเช่นเดียวกันหม้อแปลงไฟฟ้าที่ตกลงมาทับเพื่อนของเราก็วางไว้เฉยๆ  และด้านล่างก็ไม่มีเครื่องป้องกัน   อาจจะเป็นเพราะกรณีนี้นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งและก็เกิดขึ้นกับเพื่อนของเราแล้ว   กรณีแก๊งค์มอเตอร์ไซต์ซิ่งก็เหมือนกัน   ถ้ามีการตรวจตรากันตลอดเวลาไม่ให้พวกนี้รวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับบุคคลอื่นได้   แต่ตอนนี้ยังทำอะไรไม่ได้ก็ขอให้หลีกเลี่ยงในวันศุกร์ , วันเสาร์  หลังเวลา  24.00  น.  ไปแล้ว  บริเวณถนนสายที่ตัดใหม่ๆ มักจะมีรถเหล่านี้มาแข่งกันหากเกิดอุบัติเหตุก็จะถูกรุมทำร้ายได้    สิ่งที่กระผมเขียนในวันนี้เป็นการฝึกหัดเขียนหากมีข้อความใดผิดพลาดหรือกระทบผู้ใดก็ขอกราบขออภัยมา    ที่นี้ด้วย   หากเป็นประโยชน์ก็ขอมอบบุญกุศลนี้ให้กับจ่าสิบเอกสราวุฒิ  นอมน้อยด้วย    ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข    อีกครั้งที่ได้กรุณาแนะนำวิธีการและติชมการเขียนของพวกเราด้วย  ขอบคุณครับเมื่อวันที่  20  มกราคม  2550  อาจารย์ได้เข้าสอนเป็นสัปดาห์ที่  2   ได้ให้ความรู้และทฤษฎียากๆ หลายทฤษฎี  เช่น ทฤษฎี HRDS , ทฤษฎี 3 วงกลม , ทฤษฎีทน 8 ประเภท , ทฤษฎี 5K ใหม่ , การออกแบบทรัพยากรมนุษย์  และยังให้ปรัชญา  อย่าบ้าปริญญาให้บ้าปัญญา   ทำให้ได้รับความรู้มากมาย   และนอกจากนี้ยังได้รับความรู้ทาง  Blog  จากแนวความคิดของเพื่อนๆ แต่ละท่านอีกด้วย รายงานเสนออาจารย์  3  ข้อ ดังต่อไปนี้1.   วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision )1.1        วิสัยทัศน์(Vision) คือภาพความสำเร็จที่องค์กรอยากจะเห็นในอนาคต(To be)    ทั้งผู้บริหารองค์กร และบุคลากรภายในองค์กรที่ต้องการเห็นร่วมกัน  และมีความคิดมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จนั้นในทางปฏิบัติ  โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และเป็นภาพความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องจากภายนอกในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทีมงานที่รับผิดชอบดำเนินการ  สามารถที่จะได้มาด้วยการกำหนดประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบร่วมกันในแต่ละประเด็น ดังนี้-          หลักการหรือความเชื่อที่องค์กรยึดถือกันมาแต่อดีตคืออะไร-    ลักษณะของสินค้าหรือบริการ/ขอบข่าย/แนวทางการดำเนินงาน  ในช่วงปัจจุบันและอนาคตที่องค์กรจะดำเนินการคืออะไร-          อะไรคือสิ่งที่องค์กรมีความมุ่งมั่นหรือผูกพันที่จะดำเนินการให้สำเร็จสำหรับวิสัยทัศน์ขององค์กรของบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่กระผมทำอยู่นั้น  คือ-    มุ่งมั่นที่จะก้าวไปเป็นผู้รับเหมาระดับแนวหน้าในงานโยธาและงานก่อสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ-          ดำเนินโครงการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด-    จัดหามาตรการด้านความปลอดภัยและพัฒนาสภาพในการทำงานแก่พนักงานเพื่อเป็นการจูงใจให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน1.2       พันธกิจขององค์กร (Mission)  เป็นสิ่งที่องค์กรต้องดำเนินการเพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นจริง (What to do)  โดยกำหนดบทบาทขององค์กรที่ตั้งใจจะทำในระยะเวลาที่กำหนด  โดยคำนึงถึงสินค้าหรือบริการขององค์กร  ผู้รับบริการ  เทคโนโลยี  หรือวิธีการที่ใช้ในการดำเนินงาน  และความรับผิดชอบขององค์กรต่อสาธารณะ  พันธกิจของหน่วยงานของกระผมประกอบด้วย-          การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม-          การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้-          สร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง1.3       เป้าประสงค์ขององค์กร (Goals)  เป็นการระบุถึงความคาดหวังขององค์กรว่าองค์กรต้องการทำอะไรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  เพื่อให้พันธกิจขององค์กรที่ระบุไว้ประสบผลสำเร็จ  การกำหนดเป้าประสงค์จะต้องระบุเป็นลักษณะที่ค่อนข้างจะท้าทายแต่องค์กรต้องปฏิบัติตามได้  เป้าประสงค์ขององค์กรนี้เป็นกรอบชี้นำสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการถ่ายทอดกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ  เป้าประสงค์ขององค์กรแยกเป็น  2  ประเภท  ได้แก่ 1) เป้าประสงค์ระยะยาว  2) เป้าประสงค์ระยะสั้น1.4       กลยุทธ์ (Strategies)  เป็นโครงร่างหรือภาพรวมของวิธีทางต่างๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  การกำหนดกลยุทธ์เป็นการระบุถึงแนวทาง  วิถีทาง  หรือขั้นตอนการดำเนินงานว่า  องค์กรควรทำอย่างไรให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์  โดยเขียนเป็นถ้อยแถลงที่ชัดเจน  เพื่อที่ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าในและสามารถนำไปปฏิบัติได้  การกำหนดกลยุทธ์จึงเป็นกิจกรรมในการพิจารณาทางเลือกในการดำเนินงานของหน่วยงานในช่วงอนาคตในลักษณะของข้อความเชิงบรรยาย  ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน  เหตุผลความจำเป็น  ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของบุคคล  ฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้นหลังจากที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  และประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว  ในขั้นต่อไป  ก็คือการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามพันธกิจ  และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้แล้วนั่นเองกลยุทธ์ขององค์กร 4 รูปแบบ1  จุดแข็ง-โอกาส (OS)  ใช้กลยุทธ์ ลุย-เร่ง-ขยาย  คือ  เป็นสถานการณ์ที่แสดงว่า  องค์กรมีจุดแข็งมาก  รวมทั้งสภาวการณ์ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เอื้อโอกาสให้แก่องค์กรหลายประการ2  จุดอ่อน-โอกาส (OW)  ใช้กลยุทธ์ พัฒนา-ลองเสี่ยง-ปรับปรุง  เป็นสถานการณ์ที่มีจุดอ่อนภายในองค์กร  แต่ยังมีโอกาสจากสภาวการณ์  และปัจจัยภายนอกพลิกฟื้นสถานการณ์แก้ไขจุดอ่อน3  จุดแข็ง-อุปสรรค/ข้อจำกัด(ST)  ใช้กลยุทธ์แปลงอันตรายสู่โอกาส-ไม่เสี่ยง-รักษาสภาพ  คือเป็นสถานการณ์ที่องค์กรมีจุดแข็งภายใน  แต่สภาวการณ์ภายนอกเป็นอุปสรรค/ข้อจำกัด  ภาวะคุกคาม  หรือสถานการณ์ที่เลวร้าย4  จุดอ่อน-อุปสรรค/ข้อจำกัด(WT)  ใช้กลยุทธ์ถอย-ลด-เลิก-โอน-ย้าย  สถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่องค์กรไม่ปรารถนา 
นายพิพัฒน์ อรรถเอี่ยม
เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนักศึกษา  MPA3  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกท่านกระผมนายพิพัฒน์  อรรถเอี่ยม  วันนี้ขออนุญาตเขียนถึงการจากไปของเพื่อเราคือ  จ่าสิบเอกสราวุฒิ  นอมน้อย  หรือ  โอ๋   เมื่อวันที่  21  มกราคม  2550    ขณะนี้ได้มีการสวดพระอภิธรรมที่วัดเขา  อำเภอปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   จนถึงวันที่  24  มกราคม  2550  จะประชุมเพลิงในวันที่  25  มกราคม  2550  เวลา  16.00  น.   หากท่านใดมีเวลาว่างจะไปก็เชิญได้ตามวันเวลาดังกล่าว   เมื่อวันที่  22  มกราคม  2550   กระผมและเพื่อนๆ ประมาณ  15  ท่าน  ได้นำพวงหรีดไปเคารพศพและนำเงินช่วยในการทำบุญโดยใช้เงินของพวกเราทั้งหมดส่วนหนึ่ง   และเงินที่พวกเราที่ไปได้ทำบุญเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ก็ขอให้ดวงวิญญาณของจ่าสิบเอกสราวุฒิ   นอมน้อย  ไปสู่สุขติด้วยเทอญการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นข้อคิดสำหรับพวกเราในฐานะที่เรียนมาทางด้าน  MPA   ถ้ามีโอกาสได้ไปทำงานทางด้านนี้จะได้ช่วยแก้ปัญหาให้อุบัติเหตุเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นอีก   อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นครั้งนี้จะเกิดจากแก๊งค์รถมอเตอร์ไซต์ซิ่งหรือเกิดจากเสาไฟฟ้ามิได้มีเครื่องป้องกันก็ตามที    ผมขอยกตัวอย่างสะพานลอยคนเดินข้ามของกรุงเทพฯ  แท่งคอนกรีตตัวสะพานจะวางบนหัวเสาเฉยๆ อาศัยน้ำหนักของตัวมันเอง   เมื่อก่อนไม่มีเครื่องป้องกันหากรถบรรทุกวิ่งไปชนเสาตัวคอนกรีตก็จะร่วงทันทีอะไรจะเกิดขึ้น   แต่ปัจจุบันขอขอบคุณท่านผู้ว่ากรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าท่านใด   ท่านเห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ท่านเลยทำกำแพงคอนกรีตป้องกันไว้แล้วทุกต้น   เฉกเช่นเดียวกันหม้อแปลงไฟฟ้าที่ตกลงมาทับเพื่อนของเราก็วางไว้เฉยๆ  และด้านล่างก็ไม่มีเครื่องป้องกัน   อาจจะเป็นเพราะกรณีนี้นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งและก็เกิดขึ้นกับเพื่อนของเราแล้ว   กรณีแก๊งค์มอเตอร์ไซต์ซิ่งก็เหมือนกัน   ถ้ามีการตรวจตรากันตลอดเวลาไม่ให้พวกนี้รวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับบุคคลอื่นได้   แต่ตอนนี้ยังทำอะไรไม่ได้ก็ขอให้หลีกเลี่ยงในวันศุกร์ , วันเสาร์  หลังเวลา  24.00  น.  ไปแล้ว  บริเวณถนนสายที่ตัดใหม่ๆ มักจะมีรถเหล่านี้มาแข่งกันหากเกิดอุบัติเหตุก็จะถูกรุมทำร้ายได้    สิ่งที่กระผมเขียนในวันนี้เป็นการฝึกหัดเขียนหากมีข้อความใดผิดพลาดหรือกระทบผู้ใดก็ขอกราบขออภัยมา    ที่นี้ด้วย   หากเป็นประโยชน์ก็ขอมอบบุญกุศลนี้ให้กับจ่าสิบเอกสราวุฒิ  นอมน้อยด้วย    ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข    อีกครั้งที่ได้กรุณาแนะนำวิธีการและติชมการเขียนของพวกเราด้วย  ขอบคุณครับเมื่อวันที่  20  มกราคม  2550  อาจารย์ได้เข้าสอนเป็นสัปดาห์ที่  2   ได้ให้ความรู้และทฤษฎียากๆ หลายทฤษฎี  เช่น ทฤษฎี HRDS , ทฤษฎี 3 วงกลม , ทฤษฎีทน 8 ประเภท , ทฤษฎี 5K ใหม่ , การออกแบบทรัพยากรมนุษย์  และยังให้ปรัชญา  อย่าบ้าปริญญาให้บ้าปัญญา   ทำให้ได้รับความรู้มากมาย   และนอกจากนี้ยังได้รับความรู้ทาง  Blog  จากแนวความคิดของเพื่อนๆ แต่ละท่านอีกด้วย รายงานเสนออาจารย์  3  ข้อ ดังต่อไปนี้1.   วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision )1.1        วิสัยทัศน์(Vision) คือภาพความสำเร็จที่องค์กรอยากจะเห็นในอนาคต(To be)    ทั้งผู้บริหารองค์กร และบุคลากรภายในองค์กรที่ต้องการเห็นร่วมกัน  และมีความคิดมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จนั้นในทางปฏิบัติ  โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และเป็นภาพความสำเร็จที่ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องจากภายนอกในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือทีมงานที่รับผิดชอบดำเนินการ  สามารถที่จะได้มาด้วยการกำหนดประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบร่วมกันในแต่ละประเด็น ดังนี้-          หลักการหรือความเชื่อที่องค์กรยึดถือกันมาแต่อดีตคืออะไร-    ลักษณะของสินค้าหรือบริการ/ขอบข่าย/แนวทางการดำเนินงาน  ในช่วงปัจจุบันและอนาคตที่องค์กรจะดำเนินการคืออะไร-          อะไรคือสิ่งที่องค์กรมีความมุ่งมั่นหรือผูกพันที่จะดำเนินการให้สำเร็จสำหรับวิสัยทัศน์ขององค์กรของบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่กระผมทำอยู่นั้น  คือ-    มุ่งมั่นที่จะก้าวไปเป็นผู้รับเหมาระดับแนวหน้าในงานโยธาและงานก่อสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ-          ดำเนินโครงการต่างๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด-    จัดหามาตรการด้านความปลอดภัยและพัฒนาสภาพในการทำงานแก่พนักงานเพื่อเป็นการจูงใจให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน1.2       พันธกิจขององค์กร (Mission)  เป็นสิ่งที่องค์กรต้องดำเนินการเพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นจริง (What to do)  โดยกำหนดบทบาทขององค์กรที่ตั้งใจจะทำในระยะเวลาที่กำหนด  โดยคำนึงถึงสินค้าหรือบริการขององค์กร  ผู้รับบริการ  เทคโนโลยี  หรือวิธีการที่ใช้ในการดำเนินงาน  และความรับผิดชอบขององค์กรต่อสาธารณะ  พันธกิจของหน่วยงานของกระผมประกอบด้วย-          การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม-          การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้-          สร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง1.3       เป้าประสงค์ขององค์กร (Goals)  เป็นการระบุถึงความคาดหวังขององค์กรว่าองค์กรต้องการทำอะไรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม  เพื่อให้พันธกิจขององค์กรที่ระบุไว้ประสบผลสำเร็จ  การกำหนดเป้าประสงค์จะต้องระบุเป็นลักษณะที่ค่อนข้างจะท้าทายแต่องค์กรต้องปฏิบัติตามได้  เป้าประสงค์ขององค์กรนี้เป็นกรอบชี้นำสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการถ่ายทอดกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ  เป้าประสงค์ขององค์กรแยกเป็น  2  ประเภท  ได้แก่ 1) เป้าประสงค์ระยะยาว  2) เป้าประสงค์ระยะสั้น1.4       กลยุทธ์ (Strategies)  เป็นโครงร่างหรือภาพรวมของวิธีทางต่างๆ ที่จะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  การกำหนดกลยุทธ์เป็นการระบุถึงแนวทาง  วิถีทาง  หรือขั้นตอนการดำเนินงานว่า  องค์กรควรทำอย่างไรให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์  โดยเขียนเป็นถ้อยแถลงที่ชัดเจน  เพื่อที่ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้เข้าในและสามารถนำไปปฏิบัติได้  การกำหนดกลยุทธ์จึงเป็นกิจกรรมในการพิจารณาทางเลือกในการดำเนินงานของหน่วยงานในช่วงอนาคตในลักษณะของข้อความเชิงบรรยาย  ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน  เหตุผลความจำเป็น  ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของบุคคล  ฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ดังนั้นหลังจากที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  และประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว  ในขั้นต่อไป  ก็คือการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามพันธกิจ  และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้แล้วนั่นเองกลยุทธ์ขององค์กร 4 รูปแบบ1  จุดแข็ง-โอกาส (OS)  ใช้กลยุทธ์ ลุย-เร่ง-ขยาย  คือ  เป็นสถานการณ์ที่แสดงว่า  องค์กรมีจุดแข็งมาก  รวมทั้งสภาวการณ์ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เอื้อโอกาสให้แก่องค์กรหลายประการ2  จุดอ่อน-โอกาส (OW)  ใช้กลยุทธ์ พัฒนา-ลองเสี่ยง-ปรับปรุง  เป็นสถานการณ์ที่มีจุดอ่อนภายในองค์กร  แต่ยังมีโอกาสจากสภาวการณ์  และปัจจัยภายนอกพลิกฟื้นสถานการณ์แก้ไขจุดอ่อน3  จุดแข็ง-อุปสรรค/ข้อจำกัด(ST)  ใช้กลยุทธ์แปลงอันตรายสู่โอกาส-ไม่เสี่ยง-รักษาสภาพ  คือเป็นสถานการณ์ที่องค์กรมีจุดแข็งภายใน  แต่สภาวการณ์ภายนอกเป็นอุปสรรค/ข้อจำกัด  ภาวะคุกคาม  หรือสถานการณ์ที่เลวร้าย4  จุดอ่อน-อุปสรรค/ข้อจำกัด(WT)  ใช้กลยุทธ์ถอย-ลด-เลิก-โอน-ย้าย  สถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่องค์กรไม่ปรารถนา 2. วัฒนธรรมองค์กร (Corporate culture)  เป็นระบบของค่านิยมร่วม  ความเชื่อ  และอุปนิสัยภายในองค์การที่มีปฏิกิริยากับโครงสร้างที่เป็นทางการ  เพื่อกำหนดบรรทัดฐานของพฤติกรรม (Behavioral  norms)  เมื่อเริ่มทำงานพนักงานต้องเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานขององค์การที่เขาเข้ามาทำงานใหม่  รวมทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมบริษัทที่แสดงถึงค่านิยมและมาตรฐานซึ่งชี้แนะเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล  อันเป็นการกำหนดทิศทางทั้งหมดขององค์การวัฒนธรรมบริษัทจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลบริษัท  จัดสรรทรัพยากร  ตัดสินใจโครงสร้างขององค์การ  สร้างระบบที่ต้องนำมาใช้ติดสินบุคคลที่จะจ้าง  ตามความเหมาะสมของงานและพนักงาน  รวมทั้งการให้รางวัล  วัฒนธรรมยังตัดสินเกี่ยวกับสิ่งที่บริษัทให้คำจำกัดความว่าเป็นปัญหาและโอกาส  ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์และต้องแสดงบทบาทในการสร้างรูปแบบวัฒนธรรมขององค์การข้อเสีย  วัฒนธรรมของบริษัทมีผลกระทบต่อความพอใจในการทำงานของพนักงาน  ซึ่งมีผลกระทบเช่นเดียวกับระดับและคุณภาพของการปฏิบัติงานของพนักงาน  อย่างไรก็ตามพนักงานอาจมีการประเมินลักษณะความแตกต่างด้านวัฒนธรรมขององค์การ  โดยบุคคลหนึ่งอาจรับรู้วัฒนธรรมองค์การในทางลบ  แต่บางคนอาจรับรู้ในทางบวกก็ได้พนักงานที่ไม่พอใจอาจต้องออกจากองค์การไปเพื่อหางานใหม่ที่มีวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับตนข้อดี  ปัจจุบันธุรกิจจะได้รับการกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแข่งขันวิธีการวางรูปแบบของวัฒนธรรมบริษัทก็คือการพัฒนาองค์การ  ซึ่งบริษัทอาจหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพ  เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน  และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบางอย่างของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทเป็นอย่างมาก 3. องค์การการค้าโลก หรือ WTO  มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ  คือWTO  เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General  Agreement  on  Tariffs  and  Trade : GATT )  จัดตั้งเมื่อวันที่  1  มกราคม  2538  เป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ  ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)  มีสมาชิกจัดตั้งเริ่มแรก  76  ประเทศ  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ปัจจุบัน WTO  มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น  147  ประเทศ ( สมาชิกล่าสุด คือ เนปาล )  ไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่  28  ธันวาคม  2537  เป็นสมาชิกลำดับที่  59  มีสถานะเป็นสมาชิกก่อตั้ง  ขณะนี้มีประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอีก  24  ประเทศ  ประเทศที่สำคัญอาทิ  รัสเซีย  ซาอุดิอาระเบีย  เวียดนาม  ลาว  เป็นต้น  มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก  WTO  ด้วยกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ  90  ของการค้าโลก  และการขยายตัวของจำนวนสมาชิกจะมีผลให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับด้วย ผลกระทบกับการบริหารราชการภาครัฐ1.  มาตรการทางด้านภาษีศุลกากรทำให้สินค้าภายในประเทศของเราขายไม่ได้ราคาเกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการภายในประเทศ2.  ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความรู้ทางด้านภาษา  ด้าน IT  เพื่อให้ทันต่อระบบการค้าเสรี สรุป  ทรัพยากรมนุษย์ ( Human  resource )  เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อม  มีความจริงใจ  และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  หรือเป็นบุคคลในองค์กรที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้  ดังนั้นองค์กรจึงมีหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร  ซึ่งจะต้องวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย  สิ่งที่กระผมได้เรียนรู้นี้สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาองค์กรของกระผมและทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ที่เคารพ 

        สำหรับงานที่ท่านอาจารย์ได้นำไปวิเคราะห์  ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้

     ดิฉันปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานเขตปทุมวัน วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ เศรษฐกิจรุ่งเรือง ศูนย์เมืองแฟชั่น สร้างสรรค์การท่องเที่ยว  ซึ่งสำนักงานเขตปทุมวันได้มีพันธกิจในการพัฒนาสำนักงานเขตดังนี้        1. มีการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย        2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ        3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน        4. ประชาชนได้รับบริการทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานทั้งในและนอกระบบอย่างทั่วถึง        5. ประชาชนมีคุณภาพทีดี มีจิตสำนึกด้านศิลปะวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย        6. เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเิพียง        7. มีการให้ประโยชน์ที่ดินใ้ห้เป็นตามผังเมือง และมีสภาพภูมิทัศน์ที่เป็นระเบียบ เรียบร้อยสวยงาม        8. การบริหารจัดการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม        9. ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและรวดเร็วอย่างทั่วถึง        เนื่องจากสำนักงานเขตปทุมวัน  อยู่ในพื้นที่แหล่งศูนย์รวมแฟชั่น  แหล่งท่องเที่ยว  พื้นที่เศรษฐกิจ  การที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ  น่าจะนำทฤษฎี  HRDS มาใช้ในการบริหารองค์กรวิเคราะห์ว่า WTO เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาคราชการ

        ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้  WTO คือองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่เป็นเวทีเจรจาการค้าและระงับข้อพิพาทของประเทศสมาชิก  เป็นองค์กรที่ดูแลด้านกฎระเบียบ

การค้าระหว่างประเทศซึ่งจัดทำในรูปแบบของความตกลงระดับพหุภาคีการที่เข้าเป็นสมาชิกของ WTO  มีผลต่อการบริหารงานของระบบราชการคือ         1.ทำให้ภาคราชการจัดระบบการปฏิบัติงานที่ทันสมัย  เพื่อประโยชน์ในการเจรจาธุรกิจการค้า        2. ทำให้ระบบราชการต้องพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา เพิ่มพูนทักษะ ให้สามารถเข้าไปเจรจาต่อรองทางการค้าได้        3. ทำให้สร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นข้อกำหนดของ WTO ส่งผลให้คนไทยในภาครัฐเกิดการอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศ        4. ทำให้เปิดตลาดเสรีทางการค้าและลดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ช่วยให้คนไทยมีรายได้มากขึ้น ส่งผลต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของประเทศวัฒนธรรมขององค์กรคือสำนักงานเขตปทุมวันมีดังนี้ข้อดี          1. มีการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานไปในทิืศทางเดียวกัน                2. มีการมอบหมายคำสั่งให้ปฏิบัติงาน                3. ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ผู้อาวุโสข้อเสีย       1. เมื่อกำหนดกลยุทธ์แล้วต้องปฏิบัติตามนั้น  จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ลำบาก                 2. งานที่ได้รับมอบหมายไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ  ทำให้งานที่ปฏิบัติไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

                3. ในบางครั้งความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาอาจจะไม่ถูกต้อง  ดังนั้นควรที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นบ้าง

กล่าวโดยสรุปได้ว่าการที่จะนำพาองค์กร

ไปสู่ความสำเร็จต้องมีการวางแผน วิสัยทัศน์  ศึกษาวัฒนธรรมในองค์กร ตลอดจนเีีีรียนรู้วิธีการที่จะนำทฤษฎีต่าง ๆ มาประกอบในการบริหารองค์กร                        เรียน อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ที่เคารพ           จากการที่เข้าเรียนอาจารย์  ได้ประโยชน์จากทฤษฎี Balanced Scorecardคือ  ให้รู้จักการสร้างความสมดุลในระบบบริหารงานราชการ  ดังนี้        1. Customer Perspective  ต้องมองความต้องการของประชาชนว่าหวังจะได้รับอะไรจากข้าราชการ เช่น การให้บริการที่ดี การได้รับเงินงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่น        2. Internal Process Perspective กระบวนการบริหารภายในองค์กร  ต้องจัดทำกลยุทธ์การบริหารให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจมากที่สุด        3. Learning and Growth Perspective  ต้องมองทิศทางขององค์กรในอนาคตว่าต้องบริหารงานอย่างไรที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ        4. Financial Perspective ต้องมองได้ว่าประชาชนที่มาติดต่อต้องการได้รับสิ่งใดจากเรา        และจากทฤษฎี Employees Engagement  ที่มีองค์ประกอบด้วย        1. Stay คือต้องให้คนในองค์กรปฏิบัติงานอยู่ด้วยความเต็มใจ        2. Say คือต้องให้คนในองค์กรพูดถึงองค์กรในแง่ทีีดี  ภาคภูมิใจในองค์กร        3. Serve ตลอดเวลาที่อยู่ในองค์กรต้องมีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงาน         สรุปได้ว่า  ทั้งทฤษฎี Balanced Scorecard และ ทฤษฎี Employees Engagement  สามารถที่จะนำมาเป็นหลักในการบริหารคนองค์กรที่ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรได้เป็นอย่างดี         นักศึกษา รปม.ุร่น 3ณัฐพร  บุญยะรหัส 49038020009 

เรียน อาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ก่อนอื่นต้องขอไว้อาลัยให้กับ พี่โอ๋    ..สราวุธ   นวมน้อย ขอให้พี่จงไปสู่สุขคติ หลับให้สบายนะพี่ 

 

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 อาจารย์ได้ให้เสนอความคิดเห็นพร้อมกับวิเคราะห์เกี่ยวกับองค์กรของตน ด้านเป้าหมายองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร

 

องค์กรของผม เป็นองค์การที่มีขนาดกลาง มีพนักงานประจำ 45 คน และพนักงานรายวัน 20 คน ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า Premium (สินค้าสำหรับที่ Promotion ต่างๆ) 

 

1.  เป้าหมายของบริษัทฯ ก็เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจทั่วไป คือ ผลกำไร และการครองตลาด ซึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้สิ่งหนึ่ง นอกเหนือ ไปจากตัวสินค้า  นโยบายการดำเนินงาน ก็คือ บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยพนักงานทุกคนต้องมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่  มีความซื่อสัตย์ต่องาน ต่อองค์กร และต่อตัวเอง ซึ่งบริษัทฯ เองก็มีโครงการต่าง ๆ ที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

การจัดสัมมนาของแผนกต่างๆ เพื่อให้พนักงานในแผนกทำงานด้วยความเข้าในเนื้องานของตนเองมากยิ่งขึ้น และสร้างความสามัคคีภายในแผนกกันเอง

การส่งพนักงานไปดูงานต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานของตนเอง เพื่อให้พนักงานมีความทันสมัย สามารถแข่งกับคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา

 

2.  การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ การสร้างความซื่อสัตย์  ความสามัคคี การมีระเบียบวินัย การมีสัมมาคารวะ ของพนักงานในองค์กร ซึ่งพนักงานในองค์กรต้องปฏิบัติต่อกันเอง และบุคคลภายนอก

 

WTO (World Trade Organization) “องค์การการค้าโลก เป็นองค์การระหว่างประเทศ มีหน้าที่ที่สำคัญ ๆ คือ
1. ดำเนินการบริหารและวางกลไกเพื่อให้มีการปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลงต่าง ๆ
2. จัดให้มีการเจรจาการค้าภายใต้ความตกลงฉบับต่างๆ และให้มีการปฏิบัติตามผลการเจรจานั้น
3. ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ให้มีความสอดคล้องกันในนโยบายการค้าและการเงิน เพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก

การที่ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของ WTO ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ ที่เหล่าประเทศสมาชิกได้ร่วมตกลงกันไว้ มีผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ของระบบราชการไทย  คือ

บุคลากรของรัฐจะต้องทำความเข้าใจกับข้อตกลงต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และในขณะเดียวกันต้องรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศด้วย

บุคลากรของรัฐจะต้องรู้ถึงผลกระทบของ WTO ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เพื่อทำเตรียบแผนการรองรับกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น ผลกระทบทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรทางด้านทุน ทรัพยากรแรงงานของประเทศ  รวมไปถึงกฎหมายต่าง ๆ ในประเทศ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อรองรับกับการปฏิบัติตามกฎของ WTO ได้แก่ การวางแผนการศึกษาของชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศด้านต่าง ๆ เป็นต้น

 

เรียนท่าน อ.พจนารถ   ซีบังเกิด  ที่เคารพ  จากการเรียน  Balance  Scorecard  และ  Employees  Engagement     ในวันอาทิตย์ที่  21  ..50

Balance Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นที่นิยมขององค์กรต่างๆ ที่จะตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดและถูกต้องตามวัฒถุประสงค์ที่องค์ขององค์กรที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ และยังวัดประสิทธิภาพของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร   เพราะผู้บริหารเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย ผลลัพธ์ของการวัดแต่ละครั้งจะเป็นตัวชี้วัดให้ผู้บริหารปรับปรุงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ด้านการบริการลูกค้าด้านและการจัดการภายในองค์กร   ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตขององค์กร

ขอแสดงความเคารพ นายนัฐพงษ์ นิลศิริ รหัส 49038010015

   
น.ส.อรณา ยี่เข่งหอม รหัสประจำตัว 49038020002
สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  นาคสุข และอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ทีมงาน เพื่อนนักศึกษา MPA รุ่น 3 และชาว Blog ทุกท่าน *** เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ท่านอาจารย์จีระ ได้ดำเนินการสอนในกระบวนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์การเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมามีหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากหลายเรื่อง  ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการทำงานและปรับใช้กับชีวิตส่วนตัวได้ทั้งสิ้นส่วนประเด็นที่อาจารย์ให้คิดเป็นการบ้านคือ 1. วิสัยทัศน์ขององค์กร  ดิฉันทำงานที่สำนกงานเทศบาลเมืองอ้อมน้อย  ซึ่งเป็นองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  มีหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นเทศบาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  โดยทางเทศบาลได้มี  วิสัยทัศน์  คือ  สังคมคุณภาพ  สงบสุข  ปลอดสิ่งเสพติด  ปราศจากมลพิษ  ประชาชนพึ่งตนเองได้  สามารถดำรงชีวิตตามควรแก่อัตภาพในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง  องค์กรชุมชนเข้มแข็ง  มีส่วนร่วมในการพัฒนา   โดยมี พันธกิจ  คือ  เพื่อดำเนินการพัฒนาสู่สังคมคุณภาพที่มีความสมดุลพอดี  ประชาชนได้รับความสะดวกในการอยู่อาศัยมีสุขภาพอนามัยที่ดีได้รับการพักผ่อนหย่อนใจและการนันทนาการตามสมควร  สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถปรับตัวได้กับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคม  ดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและคุณค่าทางสังคมที่ดี  ตลอดจนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม  ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพคนโดยส่งเสริมการศึกษา  การคิดเป็น  ทำเป็น  สามารถเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่  ให้สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนไป  รวมถึงการส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย  การพึ่งพาซึ่งกันและกัน  การสร้างคุณค่าและจิตสำนึก  พัฒนาทัศนคติและค่านิยมของชุมชน  ให้มีความเอื้ออาทร  สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข*************2.  WTO มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรหรือราชการอย่างไร  WTO หรือองค์การค้าโลก คือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกประเทศในโลกเข้าร่วมการเป็นสมาชิก และเป็นเวทีเพื่อใช้เจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า เพื่อที่จะได้ทำการค้าขายในรูปแบบและกติกาเดียวกัน และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO และสนับสนุนแนวทางการค้าเสรี  ประเทศไทยจึงเข้าไปมีบทบาทในเวทีการค้าระหว่างประเทศ   ส่วนการทำงานในระบบราชการของประเทศไทยจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้น  เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศตะวันตก  โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคราชการดังนี้  คือ***********1 .ส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันกับต่างประเทศ  และให้มีการเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษเพื่อจะได้สามารถเจรจาต่อรองกับต่างประเทศ2.ปรับปรุงระบบการบริหารราชการ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานของระบบราชการ ให้พร้อมรองรับความทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์   โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีระเบียบวินัยในการรับราชการ  ทำงานให้ดีมีคุณภาพ  มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี  มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้   3. วัฒนธรรมองค์กร  (ข้อดี-ข้อเสีย)    คือ วัฒนธรรม / ค่านิยม / วิธีการหรือแนวทางที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน  ซึ่งอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อไม่ดีที่ไม่ควรนำมาปฏิบัติ และไม่ได้เป็นกฎระเบียบและข้อบังคับที่องค์กรกำหนดให้ปฎิบัติ  เช่น 1.     เวลาเช้าพอมาถึงที่ทำงาน พนักงานก็จะยังไม่ทำงานเลย แต่จะเดินออกไปกินข้าวหรือนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ แล้วจึงเริ่มทำงานตอน  9 โมงเช้าไปแล้ว2.       เวลาพักเที่ยงก็จะออกก่อนเวลาและกับมาทำงานเกือบบ่าย 2 โมง3.       ทำงานเหมือนเดิมทุกวัน  ไม่สนใจว่าคนอื่นทำอะไร โดยคิดว่างานใครงานมันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว   ข้อดีคือ
  • การทำงานแบบเดิมทุกวันทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้าน
ข้อเสียคือ·       พนักงานไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ไม่มีการพัฒนาตนเองให้ทันกับยุคเทคโนโลยี่·       พนักงานไม่มีความผูกพันกับองค์กร  เพราะขาดแรงจูงใจที่ดีในการปฎิบัติงาน******สรุป*****การบริหารราชการในปัจจุบัน  องค์กรจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  และมีความรู้ในด้านเทคโนโลยี่  และภาษาต่างประเทศ  เพราะว่าการบริหารขององค์กรในปัจจุบันนี้ไม่ได้แข่งขันกับองค์กรในประเทศเท่านั้น  แต่ต้องมีการแข่งขันและทำการค้ากับประเทศตะวันออก และประเทศตะวันตก   ฉะนั้นถ้าเราไม่หันมาใส่ใจและพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ  เราก็จะไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้เลย******************************----------------------------------------------------------------สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์อาจารย์ยม  นาคสุข   และอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด   ดิฉันได้มีโอกาสได้เรียนเรื่อง BALANCE SCORECARD และ EMPLOYEES ENGAGEMENT ของอาจารย์ พจนารถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม2550 ได้รับความรู้และประสบการณ์การทำงานของอาจารย์มากมาย   และอาจารย์ยังได้สั่งการบ้านคือให้สรุปเรื่องที่อาจารย์สอนส่งทาง (Blog)  ดังนี้  Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานที่มีความสำคัญ ซึ่งองค์กรต่างๆ  ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้เพื่อตรวจสอบและติดตามผลการทำงานขององค์กรว่า ได้ดำเนินงานไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมและทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ส่วนเรื่องของ Employees Engagement  ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ขององค์กร เช่น   เป็นกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความผูกพันกับองค์กร ***********สุดท้ายนี้***********ถ้าองค์กรได้นำทฤษฎีทั้งสองอย่างมาพัฒนาใช้กับองค์กรอย่างจริงจัง  องค์กรเหล่านั้นก็สามารถเจริญก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใว้************นางสาวอรณา     ยี่เข่งหอม   รหัสประจำตัว  49038020002    รปม. 3   มหาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  [email protected]         
กิตติพงษ์ รั้งท้วม

ต้องจำใจต้องจำจากต้องจำพราก

 

แม้จะยาก ที่จะลืม ต้องขื่นขม

 

ต้องเข้าใจ วาระท้าย ความเป็นคน

 

หนีไม่พ้น ต้องจากไกล ชีวาวาย

 

แม้ต้องอยู่ ไกลแสนไกล ใจคิดถึง

 

ยังคำนึง ถึงความดี มิจางหาย

 

ที่ต้องพรากจากกันไกลแค่ความตาย

 

ยังไม่สาย ของคนอยู่ รีบทำดี

  

ขอแสดงความเสียใจและอาลัยพี่โอ๋มา ณ ที่นี้

 

กิตติพงษ์ รั้งท้วม

 

49038020006

 รปม. 3 มรภ.สวนสุนันทา เรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม อาจารย์พจนารถ

การศึกษาในวันเสาร์ที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมานั้น ผมได้เรียนรู้ ทฤษฎีใหม่ๆจากอาจารย์จีระเพิ่มขึ้น แต่วิธีการนำมาใช้นั้นผมยังคิดว่าคงต้องมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรแต่ละองค์กรมากกว่า สำหรับวิสัยทัศน์ขององค์กร คือ หมาเฝ้าบ้าน  หมายถึง ต้องคอยตรวจสอบความ อยุติธรรมในสังคม เปิดเผยให้ประชาชนรับทราบด้วยความเป็นกลาง และเป็นธรรม วัฒนธรรมขององค์กร คือ การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว มีใจรักและเสียสละเวลาในการทำงานเพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่มีความ ถูกต้อง เป็นกลาง และรวดเร็ว เรื่องของ WTO กับการบริหารจัดการกับราชการไทยนั้น WTO เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ โดยมี WTO (องค์การการค้าโลก) เป็นฝ่ายกำกับดูแล ราชการไทยนั้นเป็นการทำงานเพื่อความสุขของประชาชน         การทำการค้าระหว่างประเทศจะโดยภาครวมทั่วโลก WTO จะเป็นผู้ดูแลให้เกิดความยุติธรรม หรือแม้จะเป็นการตกลงระหว่างประเทศที่เราเรียกกันว่า FTA เช่น ไทยกับจีน เป็นการค้าที่ตกลงกันเองของ 2 ประเทศ        การเจรจาทางการค้านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเทื่อมีการเจรจาและตกลงทำสัญญากัน ผู้ที่มีบทบาทในการเจรจาก็คือราชการไทย        ราชการจะต้องคำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นหลัก โดยการตรึกตรองว่าการจะทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศใดนั้น ต้องแน่ใจว่าประโยชน์จะต้องเกิดขึ้นกับประชาชน ไม่ใช่ว่าผลประโยชน์จะตกเป็นของคนใดคนหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนั้น ความสำคัญของราชการไทยที่จะทำการค้าระหว่างประเทศหรือการค้าระดับโลกราชการไทยต้องมีวิธีการที่จะต้องรอบคอบ เห็นประโยชนเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ต้องอธิบายให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลในการทำการค้ากับต่างชาติว่าแท้จริงแล้วใครได้ประโยชน์ที่สุด  

เรียนอาจารย์พจนารถ

 ในวันอาทิตย์ที่ 21 ม.ค. ที่ได้ศึกษา  (Balanced scorecard) เป็นการใช้ทฤษฎีวัดระดับคุณภาพขององค์กร ผู้นำ รวมไปถึงพนักงาน  อีกทั้งได้เรียนรู้ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน (Employee engagement for sustainable growth)สิ่งที่ผมที่ผมจะนำไปใช้คือการใช้ความรู้ที่ได้ศึกษานำไปวัดผลตัวเองแล้วแก้ไขตัวเองในการร่วมงานกับผู้อื่น จนวันที่มีโอกาสได้เป็นผู้นำผมจะใช้ความรู้ทั้งหลายพัฒนาองค์กรและพนักงานให้ประสิทธิภาพและมีความสุขกับงาน                        

 

นางสาววิภาวี ชมะโชติ
สวัสดีค่ะอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 อาจารย์จีระได้ให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี HRDS ,  HR Architecture , ทฤษฎี 3 วงกลม , ทฤษฎีทุน 8 ประเภท , การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน , การบริหารองค์กรที่เป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก และแนวคิดในการทำงานของ ดร. อำนวย วีรวรรณ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้และแนวคิดมากมายที่สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กร ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ดังนี้         1. วิสัยทัศน์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานของวุฒิสภา ภารกิจหลักของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้แก่ 1.1 การให้บริการและสนับสนุนวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภาในด้านการประชุมวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร การต่างประเทศ งานธุรการ และสวัสดิการ1.2 การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของวุฒิสภาให้แก่สาธารณชน                 เป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานตามภารกิจดังกล่าวคือ การทำให้วุฒิสภาสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและเป็นหนึ่งในสถาบันหลักในการพัฒนาประชาธิปไตยของชาติ         จากวิสัยทัศน์ที่ว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะเป็นองค์กรที่ มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานของวุฒิสภา นั้น คำว่า มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ หมายถึงค่านิยมหลักที่เน้นการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะยึดมั่นร่วมกัน โดยสิ่งที่จะต้องพยายามเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่                - การสืบสานการปฏิรูปการเมือง                - การตั้งมั่นในหลักการ                - การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                 - การทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์                - ธรรมาภิบาล                - การพัฒนาทรัพยากรบุคคล                - ความเป็นทีมในการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์กร                - มุ่งเน้นการบริการที่เป็นเลิศ        2. การเป็นสมาชิก WTO มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐอย่างไร        การเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้จึงจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้                    2.1 ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากขึ้นเพื่อให้เป็นประชาชนมีคุณภาพ โดยภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายในด้านการศึกษา โภชนาการ ครอบครัว สิ่งแวดล้อม คุณธรรมและจริยธรรม2.2 ภาครัฐควรส่งเสริมด้านเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกับต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ2.3 ภาครัฐควรให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมโดยการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในอนาคต 2.4 ภาครัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนเรียนภาษาอื่นนอกจากภาษาไทย เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน  เป็นต้น เนื่องจากในการติดต่อการค้าระหว่างประเทศต้องใช้ภาษาต่างประเทศ 2.5 ภาครัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดการบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในการพัฒนาประเทศมีความเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาช้าเนื่องจากการไม่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ และการที่ผู้บริหารองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการองค์กรอย่างแท้จริง         3. วัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ                 3.1 การให้ความเคารพนับถือผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้บุคลากรมีความอ่อนน้อมถ่อมต้น อันเป็นคุณธรรมจริยธรรมอย่างหนึ่ง                 3.2 การให้ความดีความชอบที่เป็นระบบอุปถัมภ์มากกว่าการพิจารณาความสามารถ ซึ่งมีข้อเสีย คือ ทำให้คนที่ไม่มีประสิทธิภาพไม่คิดพัฒนาตนเอง และทำให้คนที่ตั้งใจทำงานเสียขวัญและกำลังใจ                3.3 การทำงานเป็นทีม ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้เกิดความอบอุ่นในการทำงาน                สำหรับการเรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับอาจารย์พจนารถ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550 ดิฉันรู้สึกว่าอาจารย์พจนารถเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการองค์กรอย่างมาก อีกทั้งอาจารย์มีแนวคิดที่ดีหลายอย่างที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ BALANCED SCORECARD ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน์ลงสู่การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการควบคุมผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านลูกค้า (Customers) ด้านกระบวนการภายในองค์กร (Internal Business Processes)  ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Growth) และด้านการเงิน (Financial) นอกจากนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง EMPLOYEES ENGAGEMENT ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร ซึ่งการนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในองค์กรจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศชาติค่ะ         สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่มีความปรารถนาดีต่อลูกศิษย์ สังคมและประเทศชาติค่ะ                  
กัลย์สุดา พันธเสน รหัส 49038020003 รปม.รุ่น 3
กัลย์สุดา      พันธเสน   รปม.  รุ่น  3  รหัส  49038020003  เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์    อาจารย์ยม   นาคสุข  และและอาจารย์พจนาถ  ซีบังเกิด 

                จากการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เมื่อวันที่  20   มกราคม  2550    ที่ผ่านมามีความรู้สึกว่าไม่เครียด  แต่กลับมีความรู้สึกว่ายิ่งเรียนเรายิ่งได้รู้อะไรดี ๆ  ขึ้นมากเป็นประโยชน์กับตัวเองมาก  สิ่งที่ไม่รู้ก็ได้รู้สิ่งที่รู้แล้วก็ได้รู้มากขึ้น  ท่านอาจารย์ ศ ดร.จีระได้นำบทความที่ท่านอาจารย์เขียนจากความจริง  เรื่อง  ดนัยมอบความสุขให้คนไทย  มาให้ศึกษาวิเคราะห์และได้นำเทป  เปิดอก อำนวย   วีระวรรณ.   มีข้อคิดดี ๆ ที่ประทับใจมาก  สอนเกี่ยวกับ  ทฤษฎี  3  วงกลม    ดูว่าองค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพหรือไม่  คือ วงกลมที่   1   ดู    Context   การมีองค์กรที่เข้มแข็ง  การนำ  IT  มาใช้  ระบบองค์กรที่คล่องตัว  process  ของงาน  การนำ  data  และ  knowledge  มาสร้างมูลค่าเพิ่ม   วงกลมที่  2   ดู  Competencies  ต้องมีความสามารถพิเศษที่เหมาะกับงาน   วงกลมที่   3.  ดู   Motivation  แรงกระตุ้นแรงจูง

 และท่านอาจารย์ได้ให้งานทำเป็นการบ้าน  3  ข้อ  คือ  1.   เรื่องวิสัยทัศน์ขององค์กรคืออะไร  ดิฉันทำงานอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า  วิสัยทัศน์ขององค์กรคือ  บริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน  ส่งเสริมท้องถิ่นให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  สิ่งแวดล้อมปราศจากมลพิษ  ระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน  เศรษฐกิจเข้มแข็ง  สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ในความรู้สึกของดิฉันคิดว่า วิสัยทัศน์ขององค์กรค่อนข้างจะทำได้ยาก เพราะการที่จะบริหารจัดการภายในองค์กรตามวิสัยทัศน์นั้นต้องพึ่งทุกด้าน  ต้องมีการร่วมมือกันระหว่าง  ข้าราชการ  สมาชิก อบต.กำนันผู้ใหญ่บ้าน  ลูกจ้าง  ประชาชนภายในท้องถิ่น นั้น ๆ    แต่ที่สำคัญเราต้องเริมที่องค์กรของเราก่อน  อบรมให้ข้าราชการ พนักงาน  ลูกจ้าง  รักองค์กร  มีความคิด  เรียนรู้ ที่จะนำมารพัฒนาองค์กรและท้องถิ่น  พร้อมที่จะสืบสานต่อ  และจัดให้ประชาชนได้เรียนรู้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นว่าทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์  ทำอย่างไรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเอง  ทำอย่างไรสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่จึงปราศจากมลพิษ  และตรวจสอบความต้องการระบบสาธารณูปโภคที่มีอยู่  ส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชนโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  การพึ่งพาตนเองส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ส่งเสริมสนับสนุนภาคเกษตรกรรม  อุตสาหกรรมและการบริการ  สรุป การที่จะทำให้ได้ตามวิสัยทัศน์นั้น  ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีของการพัฒนาตำบล  ต้องมีความถูกต้อง  โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้  และป้องกันการทุจริตในทุกด้าน ด้วยการมีใช้  HR ที่ดี  ต้องรู้เป้าหมายว่าจะทำยังไง วิสัยทัศน์ที่ดีนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ   8   ประการ ดังนี้
1.   Future Oriented         =          มุ่งเน้นอนาคต
2.   Utopian                     =      
เต็มไปด้วยความสุข
3.   Appropriate               =      
ความเหมาะสม
4.   Reflect High Ideals    =      
สะท้อนความฝันสูงสุด
5.   Clarify Purpose         =      
อธิบายจุดมุ่งหมาย
6.   Inspire Ethusiansm    =      
บันดาลความกระตือรือร้น
7. Reflect the Uniqueness=       
สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว
8.
   Ambition                  =       ความมักใหญ่ใฝ่สูง                  (2).   องค์การการค้าโลก  WTO.  มีผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการอย่างไร                WTO  คือ  องค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเวทีเจรจาการค้าและระงับข้อพิพาทของประเทศสมาชิก  เป็นองค์กรที่นำโดยสมาชิก  (member  driven  organization)  ดูแลรับผิดชอบด้านกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศซึ่งจัดทำในรูปแบบของข้อตกลงระดับพหุภาคี  WTO  มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ  คือ                  1.  ภาคราชการต้องจัดให้มีระบบการทำงานที่ทันสมัย  ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการรวบรวมข้อมูลเพื่อให้มีศูนย์รวมข้อมูลทางการค้าที่สำคัญเพื่อใช้ประโยชน์ในการเจรจา2.  ทำให้เกิดความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรภาคราชการและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศทำให้มีภูมิปัญญาด้านศักยภาพเพื่อสามารถเจรจาต่อรอง3.  ทำการแข่งขันทางการค้าได้  มีผลให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาการเรียนการศึกษาของประเทศเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้(3)  วัฒนธรรมขององค์กรคืออะไร  ข้อดีข้อเสียคืออะไร1.   วัฒนธรรมขององค์กรคือ  ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดข้อดี     คือ  การที่เราปฏิบัติตามคำสั่งถือเป็นการดีทำงานจากคำสั่งถือเป็นการอ้างอิงได้ข้อเสีย  คือ  บางครั้งสิ่งที่เราต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาในเรื่องที่ไม่ถูกต้องเราก็ต้องทำ2.  วัฒนธรรมการทำงานโดยยึดถือกฎระเบียบ  ปฏิบัติงานตามขั้นตอนข้อดี    คือ  การทำงานโดยยึดถือกฎระเบียบ  ปฏิบัติงานตามขั้นตอนทำให้งานทำให้งานถูกต้องมีประสิทธิภาพข้อเสีย  คือ  ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานเกิดความไม่พอใจกับประชาชนที่เข้ามาติดต่อกับองค์กร3.  วัฒนธรรมการทำงานแบ่งงานกันทำเป็นส่วน  ส่วนใครส่วนมัน                ข้อดี    คือ  การแบ่งงานเป็นส่วนถือเป็นความรับผิดชอบที่ต้องรับผิดชอบเฉพาะงาน                ข้อเสีย  คือ  ตอนไม่มีใครอยู่ผู้อื่นไม่สามารถทำงานแทนกันได้ถือว่าไม่ใช่หน้าที่          สรุป  การทำตามวัฒนธรรมขององค์กรนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย    แต่เราต้องเลือกที่จะทำให้ถูกต้องได้  โดย  ยึดเอา ความถูกต้อง  มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล  ทำอย่างโปร่งใส  มีความเป็นธรรม   เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม255   ดิฉันได้มีโอกาสเรียนกับ อาจารย์พจนาถ ซีบังเกิด  เป็นผู้หญิงเก่งบุคคลหนึ่งที่น่าสนใจมากท่านเพียบพร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ  ความเก่ง  และที่สำคัญท่านเป็นบุคคลที่น่ารักมาก  อาจารย์สอน  เรื่อง BALANCE SCORECARD และ EMPLOYEES ENGAGEMENT  น่าสนใจมาก    และประทับใจในความเป็นผู้หญิงเก่งที่มีการคิดแบบ POSITIVE THINKING เป็นอย่างมาก  ดิฉันตั้งใจจะนำ BSC ไปปรับใช้กับชีวิตและการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธที่วางไว้ให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตและเป้าหมายขององค์กร และจะนำ   EMPLOYEES ENGAGEMENT  ไปปรับวัฒนธรรมการทำงานของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร พัฒนาความสัมพันธ์กับลูกน้อง-หัวหน้า-ลูกค้า พัฒนาความเป็นผู้นำ  ทำชีวิตให้ WORK / LIFT BALANCE  พัฒนาความสามารถการในการทำงาน สร้างโอกาสในการพัฒนาและความก้าวหน้าในอนาคตสามารถที่จะตั้งเป้าหมายของเราในอนาคตได้ [email protected]
เรียนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด จากการเรียนวันที่ 20 - 21 มกราคม 2550 นั้น ได้เรียนรู้แนวคิดและทฤษฎี หลายประเด็นของอาจารย์ทั้งสองท่านและได้รับมอบหมายหลายหัวข้อดังจะได้อธิบายต่อไปนี้คือ วิสัยทัศน์ขององค์กร “มุ่งมั่น สรรค์สร้างพลังงานโลก” เป้าหมายในการดำเนินงานของบริษัท เอ็กซอน โมบิล คือการเป็นผู้นำด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของประเทศไทย เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายนี้เราต้องดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการปฏิบัติงานและด้านการเงินอย่างดียิ่งและอย่างต่อเนื่อง โดยต้องคำนึงถึงมาตรฐานการดำเนินงาน และจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทควบคู่กันไปด้วย บริษัทตระหนักดีว่าคุณภาพของพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างยิ่งในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ดั้งนั้น ด้วยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มาตรฐานวิชาชีพชั้นสูงและความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของฝ่ายจัดการและพนักงานทุกคน จะเป็นสิ่งที่รับประกันความเป็นผู้นำและความสำเร็จของบริษัททั้งในปัจจุบันและอนาคต พนักงานทุกท่านมีส่วนช่วยในการมีความคิดริเริ่มและปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของบริษัท ส่วนวิธีการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายนั้น ก็มีความสำคัญเทียบเท่ากับเป้าหมาย ที่ได้ตั้งไว้เช่นกัน ดั้งนั้น บริษัทจึงคาดหมายว่าทั้งฝ่ายจัดการและพนักงานทุกท่านจะเคารพและปฏิบัติตามนโยบาย ตลอดจนจรรยาบรรณทางธุรกิจด้วยมาตรฐานอันสูงสุด บริษัท เอ็กซอน โมบิล (บริษัท)ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทปิโตรเลียมและปิโตรเคมีชั้นนำของโลก เพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายนี้ เราจะต้องดำเนินธุรกิจบริษัทให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งในด้านการเงินและการปฏิบัติงานที่ดียิ่งอย่างต่อเนื่องและในขณะเดียวกันเราจะต้องยึดถือจรรยาบรรณทางธุรกิจที่มีมาตรฐานสูงสุดในการประกอบธุรกิจของเรา สิ่งที่กล่าวมานี้ถือเป็นพื้นฐานของพันธะที่บริษัทมีต่อบุคคลที่บริษัทติดต่อด้วย นโยบายจรรยาบรรณทางธุรกิจ นโยบายของบริษัท เอ็กซอน โมบิล (บริษัท) คือ การปฏิบัติตามกฎหมายทั้งมวลที่ใช้กับธุรกิจการค้าอย่างเคร่งครัด นโยบายของบริษัทมิได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ถึงแม้ว่ากฎหมายจะยอมให้ทำได้ แต่บริษัทก็จะเลือกทำในทางที่ซื่อตรงที่สุด ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเป็นความจริงที่ต้องยอมรับ แต่ความซื่อตรงนั้นย่อมไม่มีใดตำหนิได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัฒนธรรมใด ความไม่ซื่อตรง ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด ย่อมมีช่องทางให้มีการวิพากษ์ไปในทางที่เสียหายและทำลายขวัญ ความมีชื่อเสียงที่มั่นคงในการดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณนับว่าเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่าของบริษัท บริษัทคาดหมายให้พนักงานบริษัทปฏิบัติตามมาตรฐานความซื่อตรงของบริษัท บริษัทจะไม่ยอมรับพนักงานผู้ที่ได้ผลงานมาโดยการละเมิดกฎหมาย หรือโดยการกระทำที่ไร้จรรยาบรรณ บริษัทจะสนับสนุนและคาดหมายให้พนักงานแต่ละคนให้กำลังใจและยกย่องเพื่อนพนักงานที่ปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องเพื่อดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานทางจรรยาบรรณของบริษัท นโยบายเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการคุกคามผู้อื่นในสถานที่ทำงาน บริษัท เอ็กซอน โมบิล (บริษัท) มีนโยบายห้ามการคุกคามผู้อื่นในทุกรูปแบบในเรื่องเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สีผิว เพศ ศาสนา เชื้อชาติ สถานการณ์เป็นพลเมือง อายุ ความพิการทางกายและทางจิต หรือสถานะที่ทำงานมานาน นอกจากนี้แล้วนโยบายการคุกคามในรูปแบบอื่น แม้ว่าความประพฤติดังกล่าวอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ถือว่าไม่เป็นที่ยอมรับในสถานที่ทำงานของบริษัท วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ก็คือ จัดให้มีสภาพการทำงานซึ่งเสริมสร้างการให้เกียรติซึ่งกันและกันของพนักงานและการมีความสัมพันธ์ในการทำงานซึ่งปราศจากการคุกคามกล่าวโดยเจาะจง คือ บริษัทห้ามการคุกคามผู้อื่นในรูปแบบใดๆไม่ว่าต่อพนักงาน ผู้รับเหมา ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและลูกค้า ตามนโยบายของบริษัท การคุกคามผู้อื่นเป็นความประพฤติที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีจุดประสงค์ หรือผลในการ 1.ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่น่าเกรงกลัว ไม่เป็นมิตรหรือก้าวร้าว 2.แทรกแซงการทำงานของพนักงานอย่างไม่ชอบด้วยเหตุผล หรือมีผลกระทบต่อโอกาสในการสร้างงานของพนักงาน บริษัทจะไม่ยอมให้มีการคุกคามผู้อื่น โดยรูปแบบของการคุกคามประกอบด้วยการลวนลามด้วยวาจาหรือทางกายและวัตถุคำกล่าวหรือการพูดจาในเรื่องเพศ ชาติ พันธุ์หรือด้วยประการอื่นที่จาบจ้วงหรือการเลือกปฏิบัติทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องต่างๆดังกล่าวเท่านั้น พนักงานทุกคนรวมถึงหัวหน้างานและผู้จัดการจะถูกลงโทษทางวินัยไปจนถึงการเลิกจ้าง หากกระทำการที่เป็นการคุกคามผู้อื่นพนักงานผู้ซึ่งเชื่อว่าตนเองถูกคุกคามควรจะรายงานเหตุการณ์ทันทีต่อหัวหน้างาน ผู้บริหารระดับสูง หรือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลการร้องทุกข์ทั้งจะได้รับการสอบสวนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง บริษัทจะเก็บรักษาการร้องทุกข์ดังกล่าวไว้เป็นความลับอย่างดีที่สุด โดยจะเปิดเผยข้อมูลให้เฉพาะแต่ผู้ที่จำเป็นหรือมีสิทธิ์จะต้องรู้เท่านั้น พนักงานหรือหัวหน้างานใดๆ สังเกตเห็นหรือทราบเรื่องการคุกคามผู้อื่นควรจะแจ้งให้หัวหน้างาน ผู้บริหารระดับสูงหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลทราบทันที ไม่ควรคิดว่าบริษัทจะทราบถึงปัญหาเอง โปรดแจ้งข้อร้องทุกข์และความกังวลให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้ทราบเพื่อดำเนินขั้นตอนการแก้ไข จะไม่มีการดำเนินการในทางลบใดๆที่เป็นผลกระทบต่อพนักงานผู้ซึ่งรายงานปัญหาเกี่ยวกับการคุกคามที่อาจเกิดมีขึ้น ดังนั้นพนักจึงสามารถแจ้งหรือรายงาน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแก้แค้น หากมีข้อสงสัยว่าอย่างไรจะถือว่าจะถือว่าเป็นพฤติกรรมการคุกคามผู้อื่น โปรดติดต่อหัวหน้างานหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล *บริษัท ไทยซีเซ็นเตอร์ จำกัด บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัดมหาชน เป็นบริษัทในเครือเอ็กซ่อนโมบิล มีเป้าหมายนโยบายเดียวกัน วัฒนธรรมองค์กร ปี พ.ศ. 2437 บริษัทอันเป็นต้นกำเนิดของการดำเนินธุรกิจ เอสโซ่ ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักของชาวไทยในฐานะสาขาบริษัทแสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ของสหรัฐอเมริกา มีนายชาร์ลส์ โรเบิร์ตเป้นผู้จัดการ ปัจจุบันดำเนินธุรกิจค้าน้ำมันและได้ขยายฐานลูกค้าไปยังต่างจังหวัดอาคาสำนักงานใหญ่ อาคารเอสโซ่ทาวเวอร์ บนถนนพระราม4 จุดเด่นขององค์กร ในฐานะบริษัทในเครือเอ็กซ่อนโมบิลและบริษัทเก่าแก่มานานมีความได้เปรียบในแง่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบริษัทในเครือซึ่งก็ไดใช้แนวคิดเหล่านี้ในการสร้างสิ่งใหม่ๆเพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจพลังงาน จุดด้อยขององค์กร ในฐานะบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจทางด้านปิโตรเลียม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์และเป็นธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมได้เอสโซ่จึงยึดถือและปฏิบัติตามระบบบริหารการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม (OIMS - Operations Integrity Management System) ส่วนองค์การการค้าโลก (WTO) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจคือระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี WTO มีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ตามความพร้อมของประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก กฎกติกาต่างๆ ของ WTO ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment: S&D) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคีได้ WTO จึงเป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเจรจาเพื่อพัฒนาและสร้างกฎกติกาใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง การเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณี (Rights and Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของ WTO นอกจากช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้ง ผู้ค้าและผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้ เนื่ององค์การค้าโลกมีประโยชน์หลายด้านที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิกและประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกนั้นเพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบันและโลกแห่งเทคโนโลยีสู่ระบบ global การนำมาใช้ระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยคือนำเทคโนโลยีขนส่งเช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟลอยฟ้า ให้Link กับ Airport เพื่อการขนส่งจะได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับในระบบราชการใช้แนวคิด ให้ราชการไปศึกษาดูงานต่างประเทศเพื่อจะได้นำแนวคิดหรือจากการได้ศึกษาดูงานนำมาพัฒนาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมให้ระบบราชการได้ใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน จากการศึกษา Balance Scorecard จากอาจารย์พจนารถ มีประโยชน์มากทีเดียว สิ่งที่ได้รับทุกๆคนคือการนำแนวคิดไปใช้ในชีวิตประจำวันการวางแผนในอนาคตว่าจะต้องกำหนดเป้าหมายชีวิตอย่างไรและการนำทฤษฎีแนวคิดไปปรับใช้กับองค์กรซึ่งจะต้องมีการวางแผนกำหนดเป้าหมายมีนโยบายในการดำเนินงานอย่างไรถึงจะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นายรุ้ง โลนุช
เจริญพร อาจารย์ ยม และผู้อ่านทุกท่าน ก่อนอื่นอาตมาขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติของพี่โอ๋ซึ่งได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุ อาจารย์และเพื่อนๆคงจะทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์แล้วอยากจะบอกว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก แต่ชีวิตนี้สำคัญนัก” เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ จะไปดี ไปร้าย เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้นพึงสำนึกให้จงดีแล้วจงเลือก เลือกให้ดีเถิด คนเราทุกคนนี้ที่เกิดมายากนักที่จะมีอายุถึง 100 ปี ซึ่งก็ถือว่าน้อย แต่ตอนที่เรามีชีวิตอยู่นี้มันสำคัญนักซึ่งเราสามารถที่จะเลือกทำ เลือกเป็นได้ก็อยู่ที่เราตัดสินใจที่จะทำ ว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ทำแล้วได้อะไร ก่อนที่เราจะลงมือทำอะไรนั้นจะต้องมีการคิดวางแผนในการดำเนินงานต่างๆแล้วค่อยลงมือทำ ชีวิตเรานี้ก็เหมือนกันจะต้องมีการวางแผนในการดำเนินชีวิตเพราะฉะนั้นจงคิดให้ดีคิดให้รอบคอบแล้วลงมือทำ ทำตามแผนที่วางไว้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายเราลองมาทำแผนชีวิตกันลองดูนะครับให้เรากำหนดชีวิตปัจจุบันนี้ว่าอายุเราตอนนี้อายุเท่าไร? แล้วคิดว่าเราจะจากโลกนี้ไปประมาณอายุเท่าไรดี? แล้วในเวลาที่เหลือนั้นเราจะทำอะไรได้บ้างให้กับตัวเองก็ดี ให้กับสังคมก็ดี ให้กับประเทศชาติก็ดี แล้วเราจะต้องใช้จ่ายในชีวิตที่เหลือนี้คิดเป็นเงินสักเท่าไร? โดยการเอาอายุที่เราคิดว่าจะจากโลกนี้ไปลบด้วยอายุปัจจุบัน แล้วลองคำนวณดูว่าเหลือกี่ปีกี่วันแล้ววันหนึ่งๆเราจะต้องใช้จ่ายเท่าไรหลังจากนั้นก็นำไปคูณกับจำนวนวัน ก็จะได้จำนวนเงินที่เราจะต้องใช้ในชีวิตที่เหลือโดยประมาณ เช่นปัจจุบันนี้อาตมาอายุ 24 ปี อาตมาคิดว่าขออยู่โลกนี้ชัก 70 ปีแล้วกัน ก็เอา 70-24 เท่ากับ 46 เพราะฉะนั้นอาตมาจะมีชีวิตอยู่โลกนี้ 46 ปีคิดเป็นวันก็ประมาณ 16,790 วัน สมมติว่าอาตมาต้องใช้เงินวันล่ะ 300 บาท ก็เอา 300 คูณกับ 16,790 วัน เท่ากับ 5,037,000 เพราะฉะนั้นเวลาที่เหลือ 46 ปีนี้อาตมาจะต้องใช้เงินประมาณ 5,037,000 บาท อาตมาจะต้องหาเงินให้ได้ตอนที่มีแรงอยู่นี้เพื่อที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายต่อไป แล้วชีวิตเราที่เหลือในแต่ละช่วงเราจะทำอะไรที่เกิดประโยชน์ให้กับตนเอง สังคม และประเทศชาติบ้างล่ะ ลองนำไปคิดคำนวณดูกันนะครับ แต่อย่างไรก็ตามในโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอนเพราะฉะนั้นเราทั้งหลายก็อย่าได้ประมาทจงตั้งอยู่บนความไม่ประมาท เมื่อมีโอกาสแล้วจงทำทำในสิ่งที่ดี สิ่งที่เกิดประโยชน์ อาตมาก็ขอฝากให้เราทั้งหลายลองนำไปคิดพิจารณาแล้วลงมือทำก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้ทำกัน ก็ขอเจริญพร พระธวัชชัย ละครคิด
นางมยุเรศ เชยปรีชา
เรียน ศ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข          จากการเรียนกับศ.ดร.จิระ  เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 ทำให้ได้รับความรู้ต่อยอด เพิ่มขึ้นอีกหลายๆเรื่อง  ทฤษฏี HRDS ทฤษฏี 3 วงกลม ทฤษฏี 8 Ks    HR  Architecture   ซึ่งแสดงให้เห็นภาพทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่า ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ซึ่งมีการบูรณาการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  และในวันนั้นอาจารย์ยม ได้อุตส่าห์สละเวลาอันมีค่าของท่านมาเยี่ยมเยียนพวกเราชาว รปม.รุ่น 3 ทำให้พวกเรามีกำลังใจ ในการเรียนเพิ่มมากขึ้น   และศ.ดร.จีระ ได้มอบหมายให้ทุกคนทำการบ้านส่ง 3 ข้อดังนี้1. วิสัยทัศน์ขององค์กร Vision  2. วัฒนธรรมองค์กร 3. การค้าโลกหรือ WTO เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไรและมีผลกระทบต่อระบบราชการอย่างไร 1.วิสัยทัศน์ของกระทรวงพลังงาน  เป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการส่งเสริมและกำกับดูแลให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศ และการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีบูรณาการ เพื่อก่อให้เกิดการาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในราคาเป็นธรรม  ส่งเสริมการแข่งขันระหว่าง ภาคเอกชน  สร้างทางเลือกในการใช้พลังงานแก่ผู้บริโภค  รวมทั้งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์พลังงานและมีบทบาทสำคัญ ในการซื้อขายพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ  ทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาสังคมเป้าหมายขององค์กรคือการใช้พลังงานในประเทศมีประสิทธิภาพสูง ประเทศไทยมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการไปอีก 50 ปี ประชาชนมีพลังงานใช้อย่างทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคการจะทำให้กระทรวงพลังงาน บรรลุตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวคือ เป็นกระทรวงสมรรถนะสูงได้นั้น ผู้นำองค์กรควร ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อน โดยการนำทฤษฎีองค์กรและทฤษฏี HR ต่างๆมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การบริหารงาน  การจัดการและการกำหนดนโยบาย ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจด้านพลังงานของประเทศ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานสอดคล้องอย่างมีระบบ บรรลุเป้าหมาย และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวม ซึ่งเป้าหมายจะสำเร็จได้หากผู้นำทุกระดับให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   สนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้  อย่างจริงจังและต่อเนื่อง   ตัวข้าราชการทุกคนต้องใฝ่รู้  เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร  องค์กรนั้นจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน            2. วัฒนธรรมขององค์กร  คือมีการส่งเสริมให้บุคลากรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีทุนให้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร   เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เน้นการทำงานเป็นทีมโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  มีการใช้ระบบการวางแผนเป็นเครื่องมือในการทำงาน ข้อดีคือข้าราชการทุกคนในหน่วยงานมีความก้าวหน้าในอนาคต โดยมีปัจจัยจูงใจ  ข้อเสีย อาจเกิดอาการสมองไหล เมื่อเรียนจบแล้วยังไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพราชการทำให้ลาออก ไปทำงานเอกชน  องค์กรสูญเสียบุคลากร 3. การค้าโลกหรือ WTO เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไรและมีผลกระทบต่อระบบราชการอย่างไร    องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าและจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน เป็นเวทีในการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นกลไกตรวจสอบทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก  WTO มีผลกระทบในเรื่องของการแข่งขันที่สูงมากประเทศต้องแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลกบุคลากรขององค์กรต่างๆต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยต้องมีศักยภาพในการที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ในเรื่องภาษาเพื่อที่จะสามารถเจรจาต่อรองการแข่งขันทางการค้าได้เข้าใจ ต้องมีการทดลองและวิจัยสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอเพื่อความเป็นหนึ่ง ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศ  สรุป องค์กรทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ ผู้นำองค์กรจะต้องมองเห็นว่า คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งต้องมีการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ เมื่อคนในองค์กรได้รับการพัฒนาแล้ว ก็จะทำให้องค์กรพัฒนาและสุดท้ายก็คือประเทศก็จะได้รับการพัฒนาไปด้วย ตามลำดับ มยุเรศ  เชยปรีชา    รหัส 49038010003  [email protected]    
พระมหาอรุณ เฮียงฮม 49038020014
เจริญพร  ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์ยม นาคสุข                 ขออารัมภบทถึงการจากไปของเพื่อนในห้อง รป.ม. รุ่น 3 โอ้โอ่อนิจจังชีวิต ? ลาทีแสนอาลัยใจจะขาด.....ลาอำลาทั้งที่ใจไม่อยากลา.....  เอ่ยวาจาใจก็สั่นสะท้านไหว.....  หยดน้ำตาเออท้นล้นหทัย ....โอ๋จากไป ลาลิ่วลับ ไม่กลับมา...สู่สุคติสุขเถิดสราวุฒิ  นวมทอง .......เพื่อนพ้องน้องพี่อาลัยยิ่ง!!!   จากบรรยากาศที่แสนเศร้าสู่ภวังค์การเรียนรู้(เพื่อ 20 คะแนน)นั้น  สัปดาห์แรกผู้เขียนไม่ได้เข้าชั้นเรียน จึงโดนข้อหา โดดร่ม  และสัปดาห์ที่  2   จึงรับเต็มๆ สำหรับความรู้และทฤษฎี (ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยในความแปลกใหม่)   เช่น ทฤษฎี HRDS , ทฤษฎี 3 วงกลม , ทฤษฎีทน 8 ประเภท , ทฤษฎี 5K   และ อ.จีระยังพูดย้ำให้นักศึกษาพยายามพัฒนาตนเอง โดยเน้นคำว่า อย่าทำตัวเองให้กระจอก (รู้สึกว่า ชัดเจน และ ชัดถ้อยชัดคำอย่างแท้จริง) และมีการมอบหมายสัมภาระให้ทุกคนได้ดำเนินการตามอัตภาพ (แปลว่าชีวิตใครชีวิตมัน)   โดยส่วนงานของข้าพเจ้านั้น มีดังนี้คือ       1)เป้าหมายขององค์กร :  การปกครองคณะสงฆ์ ข้าพเจ้าพยายามในการหาเป้าหมายในวงกว้างของการปกครองคณะสงฆ์แล้ว  แต่ไม่ปรากฏให้เห็น (หรือเพราะหาไม่เจอเองรึเปล่า) เพราะไม่มีรูปแบบ ไม่มีปรัชญา  ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มีพันธกิจ และ ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน (จึงรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังและเวิ้งว้างหาฝั่งไม่เจอ)2) วัฒนธรรมภายในองค์กรของข้าพเจ้านั้น คือรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ที่มีปัญหาที่ต้องเยียวยา และหาทางออกให้กับองค์กรตัวเอง ดังนี้ 2.1 ด้านรูปแบบการปกครองการงานล่าช้า ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน     ไม่มีทิศทางที่แน่นอน  ควรใช้รูปแบบของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยให้คณะสงฆ์ในแต่ละท้องถิ่นมีสิทธิในการที่จะวางแผน  ตัดสิน  ดำเนินการ ตรวจสอบ และประเมินผลงานของตน โดยอยู่ภายใต้กรอบพระธรรมวินัยเดียวกัน  เช่นเดียวกับฝ่ายอาณาจักร คือ อบต. อบจ. เป็นต้น   ร่วมคิด ร่วมวางแผน แล้วเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน2.2        ด้านองค์การการปกครององค์การในการปฏิบัติงาน ควรมีเพื่อรองรับพระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถ  มิใช่ให้อยู่โดยไร้ทิศทาง ซึ่งอาจทำให้ต้องลาสิกขาในที่สุดได้ และควรเปิดโอกาสให้พระที่มีความรู้ความสามารถ โดยการสอบคัดเลือกศักยภาพ ทดสอบปฏิภาณไหวพริบ และแสดงวิสัยทัศน์ เข้าไปปฏิบัติงานในองค์การที่สำคัญ มากกว่าที่จะใช้ระบบอุปถัมภ์ในหมู่คณะของตน               และในส่วนการพิจารณาคัดเลือก-เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นยศ ไม่ควรให้องค์การปกครองเป็นฝ่ายพิจารณาตัดสิน เพื่อลบคำครหาในเรื่องระบบพวกพ้อง (ชงเองกินเอง) ควรจัดตั้งคณะสงฆ์ที่เป็นกลาง อิสระจากคณะสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครอง เป็นผู้พิจารณาเลือก โดยร่วมกับคฤหัสถ์ฝ่ายรัฐ ตรวจสอบคัดเลือกตามเห็นสมควร  และเห็นว่าอภิสิทธิ์ทางสมณศักดิ์ไม่จำเป็นจะต้องมีเฉพาะในวัดพระอารามหลวงเท่านั้น  ควรยึดหลักพระสงฆ์ที่ทุ่มเทสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม เช่นวัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี  วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี และวัดไผ่ล้อม  .ตราด เป็นต้น2.3        ด้านการบริหารจัดการการบริหารงาน ไม่ชัดเจน ไม่กระตือรือร้น   เพราะพระเถระฝ่ายบริหารจัดการบางรูปโดยมากจะมีภารกิจในเรื่องสนองศรัทธาประชาชน(รับกิจนิมนต์) มากกว่าที่จะคิดค้นคว้า วางแผน ตรวจสอบ และประเมินการทำงานขององค์การ  จึงควรให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งในระยะเวลา 2-4 ปี แล้วเว้นวรรคทางการบริหารการปกครองไป 2 สมัย แล้วจึงจะสามารถที่จะดำรงตำแหน่งทางการบริหารจัดการปกครองอีกได้ (ควรจัดตั้งให้มีองค์กรสงฆ์อิสระ มีหน้าที่ตรวจสอบประเมินผลคุณสมบัติว่าจะให้เป็นต่ออีกได้หรือไม่) เหตุผลประการดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถสร้างความกระฉับกระเฉงในการบริหารจัดการได้ดี        2.4 ด้านมหาเถรสมาคมกรรมการมหาเถรสมาคม             ไม่ควรยึดหลักว่า  "ยิ่งแก่ยิ่งขลัง"                ควรปลดระวางตำแหน่ง เมื่ออายุ 60-70 ปี และควรเลือกสรรจากแต่ละภูมิภาคในประเทศในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อเป็นการรับทราบปัญหาคณะสงฆ์ไทยอย่างทั่วถึงสรุป  การปกครองคณะสงฆ์  ควรมีการปฏิรูปการปกครองและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนเพียงรูปแบบ แต่ไม่เปลี่ยนเนื้อหาตามกรอบของพระธรรมวินัย และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคณะสงฆ์ตามระบบราชการคณะสงฆ์ เพื่อให้ประชาชนได้มีสิทธิต่อความรุ่งเรืองและเสื่อมของพระพุทธศาสนา เพื่อคานอำนาจสงฆ์และอำนาจรัฐที่พยายามผลักดันอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในทางที่ไม่ถูกต้อง 3) องค์การการค้าโลก (WTO) มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ :  ประเทศไทยเป็นสมาชิก  WTO  ซึ่งมีสมาชิกประมาณ  150  ประเทศทั่วโลกมาจากต่างภาษา  ต่างวิถีชีวิตและต่างวัฒนธรรม   ต้องมีการเจรจาหาข้อตกลงทางการค้า  เพื่อประเทศไทยได้ก้าวสู่ความเป็นสากลที่อยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน ดังนั้น ประเทศเทศไทย จึงต้องมีการขยับองคาพยพของโครงสร้างในสังคมเพื่อความอยู่รอด   เช่น             1)   การพัฒนาบุคลากร  มีการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ภาษาอย่างน้อยไม่ตำกว่า 2 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   ซึ่งต้องมีในหลักสูตรการศึกษาระดับชาติ   2)   พัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ   นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ  พัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัย  ให้บริการที่รวดเร็ว  มีระบบการเก็บข้อมูลที่ทันสมัย    ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการทำงานของข้าราชการให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกนุวัตน์  3)  การแข่งขันในตลาดโลกทำให้ต้องเรียนรู้และพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์  ให้มีคุณภาพเทียบเท่าสินค้าต่างประเทศ   4)   สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการคุ้มครอง   ประเทศไทยมีศิลปะซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบรรพบุรุษ  เป็นภูมิปัญญาไทย จะได้รับการคุ้มครอง    5)  เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นกฎเกณฑ์สำคัญของ WTO มีผลทำให้คนไทยมีจิตสำนึก อนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมบ้าง  เราต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายเห็นถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกับชีวิตความเป็นอยู่และช่วยกันสอดส่องดูแล สรุป องค์การการค้าโลก (WTO)มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐ โดยทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ดังนั้น การจะเท่าทันและมีพัฒนาการในส่วนที่ดีได้นั้น จะต้องมีการบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น ...การสร้างคนคือการสร้างชาติ  การพัฒนาคนคือการพพัฒนาชาติ...  เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.... ***พระมหาอรุณ  เฮียงฮม รป.ม. รุ่น 3***
พระธวัชชัย ละครคิด
เจริญพร ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ วันนี้พูดถึงว่าด้วย องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี วัตถุประสงค์ของ WTO คือ WTO มีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป (progressive liberalization) ตามความพร้อมของประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก กฎกติกาต่างๆ ของ WTO ได้กำหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา (Special and Differential Treatment: S&D) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคีได้ WTO จึงเป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเจรจาเพื่อพัฒนาและสร้างกฎกติกาใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรองรับกับวิวัฒนาการของการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการค้าโลกที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง การเป็นสมาชิกของ WTO ทำให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณี (Rights and Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ความตกลงต่างๆ ของ WTO กฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของ WTO นอกจากช่วยส่งเสริมให้การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมแล้ว ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้ง ผู้ค้าและผู้ลงทุน ผู้ผลิตและส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้ ซึ่งปัจจุบันนี้มีสมาชิกกว่า 150 ประเทศ ซึ่งไทยได้เป็นหนึ่งในสมาชิก WTO องค์กรนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพราะฉะนั้นไทยจะต้องมีการเรียนรู้เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ การค้าการลงทุน กลยุทธ์ต่างๆ ด้านมาตรฐานของสินค้า และทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งประหยัดและรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการแข่งขันของการค้า โดยเฉพาะนักธุรกิจและพนักงาน ข้าราชการ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงกฎระเบียบวิธีการข้อตกลงกับ WTO ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบกับคู่แข่งประเทศต่างๆ ประเด็นที่ 2 วิสัยทัศน์ขององค์กร (โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดผ่องพลอยวิริยาราม) คือ “ บริหารจัดการที่ดี มีวินัยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมนำสังคมดำรงพระศาสนา” วัฒนธรรมองค์กร ได้แก่การประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นศูนย์รวมของชุมชน พระธวัชชัย ละครคิด
นมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MPA 3 และท่านผู้สนใจทุกท่าน 

ผมชื่นชม นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา ทุกท่าน ที่มีการพัฒนาการด้านการเขียน blog  อย่างรวดเร็ว

เป็นจุดเด่น ที่น่าคิดวิเคราะห์ ว่าเหตุใด นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา จึงได้มีการเขียน Blog ในนี้ ได้ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ  นักศึกษาช่วยกันหาคำตอบ ซิครับ แล้ว ร่วมแชร์ไอเดียกันไว้ตอนท้ายของแต่และบทความ "อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ นักศึกษา MPA 3 สนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่ เขียน บทความใน blog ได้ดี"  ดีกว่า blog อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด อะไรคือปัจจัยดังกล่าว  ขอให้นักศึกษา แชร์ไอเดียตรงนี้  เพื่อให้อาจารย์ได้ศึกษาต่อไป ขอชื่นชมพระคุณเจ้า ท่านเขียนบทความใน blog ที่แล้ว กล่าวถึง การวางแผนชีวิต บทเรียนชีวิต จุดเริ่มต้น จุดสุดท้าย ให้ข้อคิดได้ดี  สำหรับเพื่อน น.ศ. ที่เสียชีวิตไป พระท่านก็กล่าวถึงได้อย่างเตือนให้ผู้อ่านมีสติ ได้ปัญญา  นี่เป็นแนวการเขียนที่สุดยอด   นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านได้สติ ได้ปัญญา ไปด้วย ผมได้โทรหา น.ศ.บางท่านเมื่อวานนี้ เพื่อถามข่าวคราว ทำให้ทราบว่า เพื่อนที่เสียชีวิตได้ทำการบำเพ็ญกุศล ไปเรียบร้อยแล้ว ที่ จ.นครศรีธรรมราช และมีพวกเราบางคนไปร่วมงาน ขอชื่นชมความมีน้ำใจของเพื่อนนักศึกษาที่สละเวลาไป    ผมแนะนำให้นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา จะทำบุญ 50 วัน 100 วันอะไรก็ตาม ที่วัด ซึ่งพระคุณเจ้าที่เป็นนักศึกษา ประจำอยู่ เพื่อใช้โอกาสนี้ ทำบุญร่วมกันและร่วมอุทิศส่วนกุศล ให้เพื่อน ถ้าทำได้ วันไหน บอกผมด้วย ผมจะขอไปด้วยคน  

และแนะนำให้นักศึกษา นัดพบกันเป็นระยะ เพื่อกระชับความสัมพันธ์  ค่าใช้จ่ายก็ให้เป็นประเพณี คือทุกคน แชร์เท่ากัน  อาจจะกำหนดเป็น KPI ของรุ่นว่า พบปะเดือนละครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง 6 โมงเย็น ถึง ประมาณ สามทุ่ม

 
  • ชั่วโมงแรก ลงทะเบียน  รับประทานอาหารร่วมกัน
  • ชั่วโมงที่สอง เชิญนักวิชาการมาบรรยายเกี่ยวกับ รัฐประศาสนศาสตร์ องค์ความรู้ต่าง ๆ
  • ชั่วโมงที่สาม สรุป ผลการดำเนินกิจกรรมของรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนร่วมรุ่น รุ่นพี่ รุ่นน้อง ปัญหา อุปสรรคที่พบ แนวทางแก้ไข และการนัดประชุมครั้งต่อไป และสุดท้ายด้วยสังสรรค์ และปิดการประชุม 
 

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เป็นวัฒนธรรมของชาว MPA 3 สวนสุนันทา ถ้าทำได้ และทำต่อเนื่อง กล้าท้าทายที่จะทำ ก็จะเป็นนวตกรรมของ MPA 3 ของสวนสุนันทา  ปูทางไว้ให้รุ่นต่อ ๆ ไปด้วย 

นักศึกษาทุกคนต้องช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน  เริ่มด้วยการสร้างทีมงาน สร้างสังคมการเรียนรู้ ครับ

ขอให้ทุกคนโชคดี

นมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MPA 3 และท่านผู้สนใจทุกท่าน 

 

ผมชื่นชม นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา ทุกท่าน ที่มีการพัฒนาการด้านการเขียน blog อย่างรวดเร็วเป็นจุดเด่น ที่น่าคิดวิเคราะห์ ว่าเหตุใด นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา จึงได้มีการเขียน Blog ในนี้ ได้ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ 

นักศึกษาช่วยกันหาคำตอบ ซิครับ แล้ว ร่วมแชร์ไอเดียกันไว้ตอนท้ายของแต่และบทความ "อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ นักศึกษา MPA 3 สนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่ เขียน บทความใน blog ได้ดี"  ดีกว่า blog อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด อะไรคือปัจจัยดังกล่าว  ขอให้นักศึกษา แชร์ไอเดียตรงนี้  เพื่อให้อาจารย์ได้ศึกษาต่อไป 

 

ขอชื่นชมพระคุณเจ้า ท่านเขียนบทความใน blog ที่แล้ว กล่าวถึง การวางแผนชีวิต บทเรียนชีวิต จุดเริ่มต้น จุดสุดท้าย ให้ข้อคิดได้ดี  

 

สำหรับเพื่อน น.ศ. ที่เสียชีวิตไป พระท่านก็กล่าวถึงได้อย่างเตือนให้ผู้อ่านมีสติ ได้ปัญญา  นี่เป็นแนวการเขียนที่สุดยอด   นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังทำให้ผู้อ่านได้สติ ได้ปัญญา ไปด้วย 

 

ผมได้โทรหา น.ศ.บางท่านเมื่อวานนี้ เพื่อถามข่าวคราว ทำให้ทราบว่า เพื่อนที่เสียชีวิตได้ทำการบำเพ็ญกุศล ไปเรียบร้อยแล้ว ที่ จ.นครศรีธรรมราช และมีพวกเราบางคนไปร่วมงาน ขอชื่นชมความมีน้ำใจของเพื่อนนักศึกษาที่สละเวลาไป    

 

ผมแนะนำให้นักศึกษา MPA 3 สวนสุนันทา จะทำบุญ 50 วัน 100 วันอะไรก็ตาม ที่วัด ซึ่งพระคุณเจ้าที่เป็นนักศึกษา ประจำอยู่ เพื่อใช้โอกาสนี้ ทำบุญร่วมกันและร่วมอุทิศส่วนกุศล ให้เพื่อน ถ้าทำได้ วันไหน บอกผมด้วย ผมจะขอไปด้วยคน

  

และแนะนำให้นักศึกษา นัดพบกันเป็นระยะ เพื่อกระชับความสัมพันธ์  ค่าใช้จ่ายก็ให้เป็นประเพณี คือทุกคน แชร์เท่ากัน  อาจจะกำหนดเป็น KPI ของรุ่นว่า พบปะเดือนละครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง 6 โมงเย็น ถึง ประมาณ สามทุ่ม

 
  • ชั่วโมงแรก ลงทะเบียน  รับประทานอาหารร่วมกัน
  • ชั่วโมงที่สอง เชิญนักวิชาการมาบรรยายเกี่ยวกับ รัฐประศาสนศาสตร์ องค์ความรู้ต่าง ๆ
  • ชั่วโมงที่สาม สรุป ผลการดำเนินกิจกรรมของรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนร่วมรุ่น รุ่นพี่ รุ่นน้อง ปัญหา อุปสรรคที่พบ แนวทางแก้ไข และการนัดประชุมครั้งต่อไป และสุดท้ายด้วยสังสรรค์ และปิดการประชุม 
 

กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เป็นวัฒนธรรมของชาว MPA 3 สวนสุนันทา ถ้าทำได้ และทำต่อเนื่อง กล้าท้าทายที่จะทำ ก็จะเป็นนวตกรรมของ MPA 3 ของสวนสุนันทา  ปูทางไว้ให้รุ่นต่อ ๆ ไปด้วย 

นักศึกษาทุกคนต้องช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้สถาบัน  เริ่มด้วยการสร้างทีมงาน สร้างสังคมการเรียนรู้ ครับ

 

ขอให้ทุกคนโชคดี

ยม

น.ส.สกัลวลี กลิ่นนุช รหัส 49038020008
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1.เป้าหมายขององค์กร คือ การบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อราชการและพัฒนาท้องถิ่นให้ทุกคนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสร้างชุมชนให้แข็มแข็งต้านภัยยาเสพติด 2. WTO องค์กรการค้าระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อองค์กรการบริหารราชการอย่างไร เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ประเทศทางทิศตะวันตกวางเอาไว้พื่อที่จะให้ทุกประเทศในโลกเข้าร่วมการเป็นสมาชิก ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59 จากสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น การทำงานในระบบราชการของประเทศไทยจึงต้องพัฒนาศักยภาพให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวขึ้นสู่เวทีโลกได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ระบบราชการมีส่วนเกี่ยวข้องกับ WTO คือ 1. เป็นการเปิดการค้าเสรี ทำให้โลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น มีสินค้าหลากหลาย ทำให้ราคาสินค้าต่ำลง 2. ต้องปรับระบบการบริหารราชการ ปรับวัฒนธรรมในการทำงานของระบบราชการ ให้พร้อมรองรับความทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ 3. การปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าของประเทศที่นำเข้ามาทำให้ราคาสินค้าลดลง ประเทศไทยส่งออกสินค้าเข้าไปขายในประเทศอื่นได้มากขึ้น สินค้านำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาถูกลง คนไทยจะหันไปซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้า 3.วัฒนธรรมขององค์กรของท่านมีอะไรบ้าง วัฒนธรรมขององค์กรที่ทำงานอยู่นั้นเป็นงานระบบราชการซึ่งที่มีมานานนั้นก็คือระบบอุปภัมภ์ หรือ ระบบเด็กเซ่นนั้นเอง ซึ่งตนเองก็ต้องขอยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเด็กเซ่นเช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีญาติทำงานอยู่ที่นี่ก็คงไม่ได้ทำงานราชการ แค่ เป็นลูกจ้างชั่วคราวก็ต้องใช้เซ่น ซึ่งตนเองก็เคยสอบเป็นข้าราชการมาเกือบ 10 ครั้ง แล้วก็ยังสอบไม่ได้เสียที เพราะไม่มีเซ่นไม่มีเงิน เพราะการเป็นข้าราชการเมืองไทยตอนนี้เซ่นไม่พอต้องมีเงินด้วย ซึ่ง ซีละ 100,000 บาท ซึ่งเซ่นกันตั้งแต่ ซี 1 ยันปลัด เลยก็ว่าได้ ซึ่งปัญหาของเด็กเซ่นที่ได้มาเป็นข้าราชการของกองที่ทำงานคือพวกนี้ทำงานไม่เป็นหัวสมองกวง ชอบชี้นิ้วใช้งานถ้างานที่รับ ผิดชอบผิดพลาดก็อ้างว่าใช้คนนี้ทำใช้คนนั้นทำ ซึ่งไม่ถูกต้องตน เองรับผิดชอบงานมาถึงใช้คนอื่นทำต้องรับผิดชอบเพราะก่อน เสนอนายต้องตรวจทานเสียก่อนเวลาว่างก็คุยโทรศัพท์ นั่งแต่งหน้า ประจบนาย ไปวัน ๆ ซึ่งระบบเด็กเซ่นทำให้ได้คนไม่มีคุณภาพ และ ไม่มีอุดมการณ์มาทำงาน ทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น เรียน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด เรียนเรื่องอะไร Balanced Scorecard แต้มที่จดทุกเรื่องในธุรกิจเรียนแล้วรู้สึกอย่างไร เรียนแล้วรู้สึกชอบเรื่องประสบการณ์ต่างแดนของ อ.พจนารถมาก ซึ่งอ.จิระ บอกว่าตอนนี้เรื่องภาษาเป็นเรื่องสำคัญซึ่งตนเองก็เห็นด้วยและชอบที่อ. พจนารถ เล่าว่าไม่เคยชอบภาษาอังกฤษ เลยและตัวอาจารย์เองต้องทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ ซึ่งตนเองก็เห็นด้วยและคิดว่าถ้าจบโท แล้วจะเรียน ภาษาต่อ เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง และศักดิ์ศรีของมหาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของเรา เพราะคนภายนอกจะเห็นว่าเด็กราชภัฏไม่เก่งเรื่องภาษา เรียนแล้วได้อะไร เรียนแล้วได้ My Life’s Scorecard Goal : มีเงินพอใช้ตลอดชีวิตหลังเกษียน ทำให้มีการตั้งเป้าหมายและรู้ว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสียรู้จักการเก็บออมและกลยุทธที่จะนำมาใช้ ทำให้คิดถึงคนรอบข้างและปั้นปลายของชีวิตที่เหลืออยู่ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ความแน่นอนคือการไม่แน่นอนบางครั้งวันนี้เราอาจจะมีชีวิตอยู่แต่ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ว่าเราจะตายเมื่อใด อย่างเพื่อนของเราที่จากไป จ.อ.สราวุฒิ นวมน้อย หรือพี่โอ๋ ซึ่งวันนี้อาจจะเหลือแค่ชื่อและความทรงจำของพวกเราเท่านั้น แต่ความดีของพี่จะอยู่ในใจของพวกเราตลอดไป เพราะฉะนั้นเราควรทำทุกวันที่เหลืออยู่ให้มีความสุขและมีคุณค่า ต่อตนเอง เพื่อน ครอบครัว และสังคม คนดี ๆ เมื่อจากไปใคร ๆ ก็คิดถึง ด้วยรักและอาลัย
พิพัฒน์ อรรถเอี่ยม
ซีเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และอาจารย์ พจนารถ บังเกิด จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 50 รู้สึกดีใจมากที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านHR   โดยตรงอาจารย์มีประสบการณ์กว่า 30ปี เป็นกันเองกับนักศึกษา ยิ้มแย้มแจ่มใส เสียดายที่ได้เรียนกับอาจารย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่ถึงอย่างไรก็ตามความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ก็มากพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานของกระผมได้เป็นอย่างดี อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่อง Balanced Scorecard   และ Employees Enggagement เรียนจบแล้วอาจารย์ได้ให้ทำงานในห้องคือ ให้ทำ My life,s Scorecord โดยอาจารย์คอยให้คำแนะนำจนเข้าใจ  กระผมขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่าน และขอขอบคุณอาจารย์ ยม นาคสุข ที่คอยให้คำแนะนำ มา ณ ที่นี้ด้วยรายงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในวันนี้คือสิ่งที่ได้เรียนรู้  Fas คือเรื่อง Balanced Scorecard,Employees    Engagement และอาจารย์สอดแทรกประสบการณ์ในด้านการทำงานให้พวกเรารับรู้ความรู้สึก Fill ได้รับความรู้แปลกใหม่ที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ ได้รู้วิธีการแนวความคิดใหม่ๆที่จะนำมาพัฒนาคนในองค์กรเอาไปทำอะไร Think ความรู้ที่ได้มาสามารถนำไปฝึกอบรมและสร้างแรงจูงใจของคนในหน่วยงานของผมจะทำให้เพิ่มประสิทิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นเอาไปใช้อะไรกับมัน Ass นำสิ่งที่เรียนรู้มา เช่น Balanced Scorecard กำหนดวัตถุประสงค์ตามต้องการและบริหารงานตามวัตถุประสงค์นั้นสรุป จากการที่ได้เรียนมาทั้งหมดสามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากอาจารย์นำไปใช้และนำไปพัฒนาหนว่ยงานของกระผมและผมจะนำเอาความรู้ที่ได้รับมานี้ทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป                
พิพัฒน์ อรรถเอี่ยม
เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 50 รู้สึกดีใจมากที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านHR   โดยตรงอาจารย์มีประสบการณ์กว่า 30ปี เป็นกันเองกับนักศึกษา ยิ้มแย้มแจ่มใส เสียดายที่ได้เรียนกับอาจารย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่ถึงอย่างไรก็ตามความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ก็มากพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานของกระผมได้เป็นอย่างดี อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่อง Balanced Scorecard   และ Employees Enggagement เรียนจบแล้วอาจารย์ได้ให้ทำงานในห้องคือ ให้ทำ My life,s Scorecord โดยอาจารย์คอยให้คำแนะนำจนเข้าใจ  กระผมขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่าน และขอขอบคุณอาจารย์ ยม นาคสุข ที่คอยให้คำแนะนำ มา ณ ที่นี้ด้วยรายงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในวันนี้คือสิ่งที่ได้เรียนรู้  Fas คือเรื่อง Balanced Scorecard,Employees    Engagement และอาจารย์สอดแทรกประสบการณ์ในด้านการทำงานให้พวกเรารับรู้ความรู้สึก Fill ได้รับความรู้แปลกใหม่ที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ ได้รู้วิธีการแนวความคิดใหม่ๆที่จะนำมาพัฒนาคนในองค์กรเอาไปทำอะไร Think ความรู้ที่ได้มาสามารถนำไปฝึกอบรมและสร้างแรงจูงใจของคนในหน่วยงานของผมจะทำให้เพิ่มประสิทิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นเอาไปใช้อะไรกับมัน Ass นำสิ่งที่เรียนรู้มา เช่น Balanced Scorecard กำหนดวัตถุประสงค์ตามต้องการและบริหารงานตามวัตถุประสงค์นั้น

สรุป จากการที่ได้เรียนมาทั้งหมดสามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากอาจารย์นำไปใช้และนำไปพัฒนาหนว่ยงานของกระผมและผมจะนำเอาความรู้ที่ได้รับมานี้ทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป

นายภานุพงษ์ พิศรูป รหัส 49038020005
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ที่อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องการเป็นผู้ใฝ่รู้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การปลูกฝังตั้งแต่เกิดอย่างไร อนาคตก็จะได้อย่างนั้น ทำให้มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาเป็นวงจรชีวิตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนจะกระทบสิ่งที่เกิดขึ้นที่หลัง  และที่อาจารย์ได้ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์ขององค์การ วัฒนธรรมองค์กร และ WTO กับระทบระบบราชการ ซึ่งขออธิบาย ดังนี้             1.)  วิสัยทัศน์องค์กร          กรุงเทพมหานครได้กำหนดวิสัยทัศน์คือ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น  ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม        เพื่อให้การพัฒนากรุงเพทมหานครสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ข้างต้น จึงกำหนดให้มียุทธศาสตร์การพัฒนา และเป็นการกำหนดภารกิจที่หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญ ที่จะรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพดำเนินการ โดยแบ่งยุทธศาสตร์เป็น 9 ด้าน ได้แก่1.      การแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจรด้วยการจราจรทางเลือกและระบบอัจฉริยะ2.      การจัดการสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน3.      การเสริมสร้างความปลอดภัยและบรรเทาสาธารณภัย4.      การสร้างโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานสำหรับคนทุกวัย5.      การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในเชิงรุกและจิตสำนึกด้านศิลปวัฒนธรรม6.      การส่งเสริมเศรษฐกิจเมืองและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็ง7.      การวางผังเมืองและพัฒนาเมือง เพื่อความสวยงาม น่าอยู่อย่างยั่งยืน8.      การบริหารจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล9.      การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเมืองด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ         ซึ่งในหน่วยงานที่กระผมสังกัดอยู่คือ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีการกำหนดวิสัยทัศน์ คือ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นองค์กรหลักด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชี้นำและผลักดันนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ  เป้าประสงค์ของหน่วยงาน คือ1.      หน่วยงานมีความสามารถในการจัดทำแผนและนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล2.      มีแผนที่บูรณาการอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันทุกระดับ3.      มีระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน4.      มีกลุ่มเครือข่ายประชาคมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร5.      มีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่หน่วยงานสามารถใช้ได้อย่างทั่วถึง6.      มีระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน การบริหาร และการบริการประชาชน7.      มีมาตรฐานระบบสารสนเทศและบูรณการฐานข้อมูลให้สามารถเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้8.      บุคลกรของกรุงเทพมหานครมีศักยภาพ ความรู้และทักษะด้านแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ9.    มีระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ 2.)  วัฒนธรรมในองค์กร  อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่าสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เป็นองค์กรในการจัดทำแผนและนำแผนไปสู่การปฏิบัติของกรุงเทพมหานคร จึงจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลากรให้ทำงานอย่างมืออาชีพและมีความเชี่ยวชาญ เพราะปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่สังคมเห็นการเรียนรู้ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมในองค์กรจึงเป็นลักษณะการบริหารงานแบบทำงานเป็นทีม  จุดแข็ง  คือ  -       บุคลากรในองค์กรมีความสามารถความถนัดเฉพาะทาง-       มีโครงสร้างนโยบาย ข้อกำหนด แนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อลดความผิดพลาดของงาน-       มีระบบการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ-       มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร-       มีฐานข้อมูลที่เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงานจุดอ่อน  คือ-       การทำงานเป็นทีม เมื่อมีคนมากก็ย่อมที่จะมีปัญหาในเรื่องของความคิด การตัดสินใจที่หลากหลาย-       จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติ เนื่องจากมีการเกษียณ ตาย ลาออก จะไม่มีอัตราทดแทน-       การประเมินผลตัวชี้วัด หากบุคลากรมีความเข้าใจไม่ชัดเจน จะทำให้ผลประเมินที่ได้มาไม่ตรงตามความเป็นจริง 3.) WTO มีผลกระทบต่อระบบราชการไทย    WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบราชการ คือ1.      การตลาดเปิด  การลดภาษีศุลากรสินค้าอุตสาหกรรม ห้ามเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ ถ้าไม่เคยมีการเก็บอยู่ก่อน หรือไม่ได้แจ้งไว้ในข้อผูกพัน  สินค้าเกษตร  ทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้เปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน สำหรับประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรทั้งภายในและส่งออก สิ่งทอและเสื้อผ้าให้มีการเปิดเสรี แทนการใช้ข้อตกลงสิ้นค้าระหว่างประเทศ โดยให้ยกเลิกการกำจัดการนำเข้าภายใต้ MFA 2.      กฏระเบียบการค้า มีการปรับปรุงและกำหนดการค้าที่สำคัญ ว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัย ให้ประเทศกำหนดระดับความปลอดภัยและตรวจสอบสินค้านำเข้า ให้สอดคล้องกับมาตรฐานประเทศ3.      ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า กำหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัติ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ การออกแบบวงจรรวม   4.      การค้าบริการ กำหนดกรอบตกลงว่าด้วยการค้าบริการ โดยมีหลักการสำคัญ เช่น หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความโปร่งใส การเปิดเสรีตามลำดับ
นางมยุเรศ เชยปรีชา รหัส 49038010003

 เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

       จากการเรียนวันที่ 21 มกราคม 2550 อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ BALANCED SCORECARD ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน์ลงสู่การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการควบคุมผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านลูกค้า (Customers) ด้านกระบวนการภายในองค์กร (Internal Business Processes)  ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Growth) และด้านการเงิน (Financial) นอกจากนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง EMPLOYEES ENGAGEMENT ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร ซึ่งการนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในองค์กรจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศชาติวิธีการวางแผนชีวิต My Life’s Scorecard ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนชีวิต

เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

    การเรียนวันที่ 21 ม.ค. 2550   ได้เรียนรู้เรื่องBalanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น การเรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิต การจัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและปรับการทำงานของเราได้ในอนาคต

พระมหาอรุณ เฮียงฮม 49038020014
เจริญพร  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา อาตมาได้เรียนแนวคิด Balanced scorecard ซึ่งเป็นทฤษฎีวัดระดับคุณภาพขององค์กร ผู้นำ รวมไปถึงพนักงาน   พบว่าวิชาดังกล่าวเป็นแนวคิดสมัยใหม่ในการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยการวัดหรือการประเมินอันจะทำให้องค์การเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียว และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การดังนั้น วิชาการที่ได้ในวันนั้น จึงเป็นศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับปัจจุบันซึ่งป็นโลกของการแข่งขัน และนำมาปรับใช้ในองค์กรของเราให้มีการพัฒนาความมั่นคงต่อไป   ***พระมหาอรุณ  เฮียงฮม*** 
นส.สมธนิษฐ์ มงคลชาติ รหัส 49038010030

เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

         การเรียนวันที่ 21 ม.ค. 2550   ได้เรียนรู้เรื่องBalanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น การเรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิต การจัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและปรับการทำงานของเราได้ในอนาคต

        อาจารย์ค่ะเมื่อสักคร่ต้องขออภัยอาจารย์ด้วยลืมใสชื่อค่ะ

สิบตรีต่อตระกูล ศรีลาภา รหัส 49038010005
เรียน  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมณ์ วันที่ 20 มกราคม 2550  ผมได้ดู ซีดี เปิดอก ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้ข้อคิดจาก การทำให้เราเป็นคนที่กล้าคิดกล้าทำ การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ท่านอาจารย์จีระได้ให้แนวคิดในเรื่อง การใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องทำตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็น และวันที่ 21 มกราคม 2550 อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดให้เกียรติมาบรรยายเรื่อง หลักการใช้ Balanced Scorecard มาใช้ในการวางแผนการทำงานปรับปรุงคุณภาพให้ดี 1)วิสัยทัศน์ขององค์กร  มุ่งมั่นที่จะผลิตและเสริมสร้างให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษามีความรู้ ความสามารถและเกิดทักษะในเหล่าสายวิทยาการ เพื่อเป็นกำลังพลที่มีศักยภาพในการพัฒนาหน่วยงานและประเทศชาติ อีกทั้งยังได้เสริมสร้างจรรยาบรรณและยึดมั่นใน    ชาติ     ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์  มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2) วัฒนธรรมภายในองค์กร  ซึ่งก็ได้แก่ องค์กรของผมเป็นกรมการเงินทหารบก ดูแลรับผิดชอบเรื่องการใช้จ่ายมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการคุ้มค่าและประหยัด และเพิ่มทักษะในการทำงาน ข้อดี คือ มีจุดประสงค์เดียวกัน โดยมีโครงสร้างภาระงานที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน กำลังพลส่วนใหญ่ได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และยังได้สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันภายในองค์กรเนื่องจากมีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน ข้อเสีย ก็คืออาจมีกำลังพลบางส่วนที่ใช้เวลานี้ไปทำอย่างอื่นซึ่งผิดวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ 3. WTO ที่มีผลกระทบต่อระบบราชการ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ประเทศทางทิศตะวันตกวางเอาไว้เพื่อที่จะให้ทุกประเทศในโลกเข้าร่วมการเป็นสมาชิก ประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59 จากสมาชิกทั้งหมด 150 ประเทศ ภายใต้กระบวนการเปิดเสรีทางการค้าของ WTO อำนาจอธิปไตยของชาติกำลังถูกถ่ายโอนจากคนในชาติไปสู่องค์กรนอกประเทศ ที่ถูกควบคุมโดยประเทศมหาอำนาจเพียงไม่กี่ประเทศ การเปิดตลาด การให้คนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจถูกดำเนินการไม่ใช่ด้วยมติที่เกิดจากกลไกภายในประเทศ จริงอยู่ที่รัฐวิสาหกิจมีปัญหาด้านประสิทธิภาพและความโปร่งใสซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข ขณะนี้ทางออกที่ถูกเสนอสู่สังคมมีเพียงการขายให้กับเอกชนเท่านั้น ซึ่งวิถีทางนี้ไม่เคยพิสูจน์ได้เลยว่าสามารถให้ความมั่นคงด้านสวัสดิการต่าง ๆ ต่อประชาชนได้ ยิ่งถ้าหากเราเข้าไปผูกพันภายใต้ WTO เมื่อใดความเป็นไปได้สูงที่เอกชนจะเป็นไปตามหลักการผลักดันของบรรษัทข้ามชาติ    
นายกอบกิตติ กวีสุนทรกุล รหัส 49038010038
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์

  การเรียนในวันที่ 20 มกราคม 2550  วันนี้ผมได้ความรู้หลายอย่างมากคือ ใช้หลักการ 7 Habits เพื่อพัฒนาตนเอง การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ และการบริหารผลการทำงาน (Performance Management) โดยใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เช่น Balanced Scorecard และการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ KPI เพื่อให้ทุกคนในองค์การทำงานในทิศทางเดียวกัน       

วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ  เป้าหมายวัตถุประสงค์ที่จะทำงานให้สำเร็จ (องค์กรอิสระ) ถ้าเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้  ตัวของเราเองต้องใฝ่รู้ เพื่อนำความรู้พัฒนาองค์กร 

WTO มีผลกระทบกับระบบราชการ    ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกWTO  ซึ่งมีสมาชิกประมาณ  150  ประเทศทั่วโลก มีการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงทางการค้า  นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หลาย ๆ ด้านทำให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่เวทีโลก   ได้แก่

 

1.   การพัฒนาบุคลากร  มีการส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ภาษาอย่างน้อยสองภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ    เพื่อการเจรจาต่อรองจะได้ไม่เสียเปรียบต่างชาติ   

2.   พัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ   นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ  พัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัย  ให้บริการที่รวดเร็ว  มีระบบการเก็บข้อมูลที่ทันสมัย  สะดวกกับการค้นหาอ้างอิง  ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีการทำงานของข้าราชการให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์             3.  การแข่งขันในตลาดโลกทำให้ต้องเรียนรู้และพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์  ให้มีคุณภาพเทียบเท่าสินค้าต่างประเทศ   

4.   สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

จะได้รับการคุ้มครอง   ประเทศไทยมีศิลปะซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบรรพบุรุษ  เป็นภูมิปัญญาไทย จะได้รับการคุ้มครอง    

  วัฒนธรรมองค์กร  ได้แก่  การให้ความสำคัญกับงานการมีส่วนรวมในด้านความคิดเพื่อผลิตชิ้นงานที่ดี และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

 ข้อดี   คือ มีความสามัคคี  ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด  มีความผูกพัน

ข้อเสีย คือ เมื่อมีหลายคน ความคิดก็แตกต่างกันไปทำให้บางครั้งเกิดความเห็นไม่ตรงงานล่าช้า
สมธนิษฐ์ มงคลชาติ
เรียน   ท่านอาจารย์จีระ              จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  20  มค.  50  ท่านอาจารย์ได้ให้ความรู้หลายเรื่อง เช่น  การฝึกทักษะการอ่านแล้วจับประเด็นให้เร็ว   สอนให้รู้จักกับทฤษฎี HRDS =  Happiness, Respet, Dignity, Surtaninability   และการสร้างวิสัยทัศน์.ให้กับองค์กรว่า  เราจะต้องรู้เป้าหมายองค์กรก่อนแล้วจึงกำหนดยุทธศาสตร์ได้    อาจารย์ได้เล่าถึงประสบการณ์ให้ฟังหลายเรื่อง  ....ฟังแล้วเพลิน.....ฟังแล้วคิด.....ฟังแล้วต้องตอบคำถามให้ได้.......สุดท้ายท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้หาข้อมูลเป้าหมายองค์กรของเราว่ามีอะไรบ้าง    มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร  แล้วนำเสนออาจารย์      ข้าพเจ้าฯ    ขอนำเอา  Vision, Strategy, Mission  รวมทั้งจุดอ่อน  จุดแข็งขององค์กรอิสระแห่งหนึ่งมานำเสนอท่านอาจารย์  ดังต่อไปนี้ค่ะ  องค์กรอิสระแห่งนี้   มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการศาลยุติธรรมเช่น  การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี  การบริหารการเงิน  การพัสดุ  การวางแผนเกี่ยวกับบุคลากร  การบริหารจัดการอาคารสถานที่  งานทางวิชาการและงานส่งเสริมงานตุลาการ  ซึ่งลักษณะของงานเหล่านี้เป็นไปตามลักษณะของการบริหารองค์กรหรือหน่วยงาน  และที่สำคัญคือการสนับสนุนงานตุลาการอันเป็นภาระหลักให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ  มีประสิทธิภาพและเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรม     มีบทบาทภารกิจ   1) กำหนดนโยบายการบริหารด้านบุคลากร  งบประมาณและแผนงานให้เป็นไปตามหลักการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good  Governance)  2) ดำเนินการด้านเลขานุการของณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.)  คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.)   3)สรรหาอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและธุรการ  พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพและทักษะอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง   4) ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายและระบบงานของศาลยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล  5) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน  กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิผลและมูลค่าผลงานต่อหน่วย  (Unit Cost)   6)  ประสานงานกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง   มีวิสัยทัศน์(Vision)      เป็นสถาบันหลักในการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  ด้วยความเที่ยงธรรม  รวดเร็วและเสมอภาค  ภายใต้หลักนิติธรรม  (The  Rule  of  Law)  มี 5 พันธกิจเชิงยุทธศาสตร์  (Mission and  Strategy)   1) อำนวยความยุติธรรม  พิจารณาพิพากษาคดี  ไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น   และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน   2) สนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม  3) ประสานความร่วมมือกับยุทธศาสตร์ชาติด้านข้อพิพาทในเชิงเศรษฐกิจภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  4) สนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือด้านการยุติธรรมทั้งในและระหว่างประเทศ  5) ให้บริการประชาชนและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน     จุดแข็ง (Strength)   สภาพแวดล้อมภายในทำให้ทราบว่าผู้บริหารทุกระดับส่วนใหญ่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย   ได้รับการพัฒนาโดยการฝึกอบรมมีความซื่อสัตย์สุจริต  มีทัศนคติที่ดีต่องานและมีความภูมิใจในองค์กร  รักษาความลับของทางราชการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ธุรการที่มีบุคลิกดี  มีสุขภาพแข็งแรง  มีอ่อนน้อมต่อตุลาการ  ปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบโดยเคร่งครัด   มีอาคารสถานที่ที่ทันสมัย  สง่าและสวนงาม  มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น  คอมพิวเตอร์    บันทีกคำพยานด้วยระบบดิจิตอล โทรสาร  โทรศัพท์  มือถือ  ระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์    ระบบงานมีความยืดหยุ่น  วิธีการพิจารณาคดีเปิดโอกาสให้คู่ความสู้คดีอย่างเปิดเผยและต่อเนื่องทำให้การพิจารณาคดีมีความเป็นธรรม  ผู้บริหารมีนโยบายเร่งรัดการพิจารณาคดีและมีกองผู้ช่วยสำหรับช่วยงานผู้พิพากษา  ศาลชำนาญพิเศษมีระบบบริหารและกระบวนพิจารณาคดีที่ต่อเนื่องรวดเร็วและทันสมัย    จุดอ่อน (Weakness)   การแต่งตั้งโยกย้ายบ่อยเกินไปทำให้บุคลากรขาดความสันทัดจัดเจนในการใช้กฎหมายเฉพาะด้านและกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน   เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ความรู้จำกัดเฉพาะด้าน  ยึดติดกับการทำงานแบบเดิมๆ  ระดับผู้บริหารส่วนใหญ่ขาดความรู่ในการบริหารงาน  สอนงานและกำกับการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา  งบประมาณฯ ที่ได้รับมีจำนวนจำกัด   ต้องใช้เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางเสริม  และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการมีบ่อยเกินไปทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย   การจัดระบบบริหารงานยังไม่เหมาะสมทำให้การประสานงานยุ่งยาก  โดรงสร้างยังขาดการรองรับการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง   การให้บริการประชาชนล่าช้าเนื่องมาจากปริมาณงานมากและต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด    อย่างไรก็ตามองค์กรแห่งนี้เป็นหน่วยงานอิสระปราศจากอำนาจทางการเมือง  สามารถบริหารงบประมาณได้เอง  แลกำลังปรับโครงและระบบบริหารให้มีขนาดกระทัดรัดเพื่อเร่งพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้น   ยึดมั่นในความเป็นธรรมและรอบคอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคม จึงจำเป็นต้องรักษามาตรฐานความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด  พร้อมกับพัฒนางานด้านประชาสัมพันธ์เพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชน                          WTO  ส่งผลกระทบต่อการบริหารองค์กรภาครัฐ   คือ  ภาครัฐต้องจัดให้มีระบบการทำงานให้ทันสมัยมากขึ้นและต้องพัฒนาคนในองค์กรให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่   โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนของไทยเราที่ต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศต้องพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอไม่เป็นรองชาติอื่นๆ  ดังนั้น WTO กับ HR เป็นขบวนการที่จะต้องควบคู่กันไป  เพราะการดำเนินนโยบายต่าง ๆ  ระบบการค้าระหว่างประเทศ หรือการค้าโลกนั้น จะต้องอาศัยข้าราชการ เอกชน ที่มีความรู้ความสามารถ มีวินัย มีการทำงานที่โปร่งใส มีการปฏิบัติที่ดี และมีประสิทธิภาพเพียงพอเข้าใจกฎระเบียบของ trade fecilitation การลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคการค้า มีการเจรจาต่อรอง ลดข้อขัดแย้ง มีการอุดหนุนการค้า ต่างๆ  ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์ ทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการค้าสำคัญต่อการพัฒนา และสนับสนุนประเทศไทยของเราให้พัฒนาได้ก้าวทันโลกอยู่เสมอ         ท้ายนี้ของฝากของจารย์จีระฯ    กล่าวก่อนจะจบการเรียนในวันนั้นว่า  อาจารย์จะไม่หายไปไหน   ถ้าอาจารย์ไม่ได้มาสอนแล้วขอให้พวกเราทบทวนและปฏิบัติ  พร้อมทั้งเสาะแสวงหาความรู้ต่อยอดของอาจารย์ที่มีอยู่มากมายหวังว่านักศึกษาคงทำได้                                                                                                                                                                                                                        
ตัวอย่างข้อสอบกลางภาค 6 ข้อ อาจารย์จะเลือกให้สอบ 3 ข้อ
1.      มีคนเขาพูดว่าระบบราชการใช้ประสิทธิภาพแค่ 30% รัฐวิสาหกิจ 40% และเอกชน 60% (ใช้ทฤษฎี 3 วงกลม อธิบายประเด็นต่าง ๆ)
2.      มีคนบอกว่าการเกิด Productivity ในประเทศไทยและระบบราชการมีปัญหาเพราะไม่ค่อยจะมองเป็นปัญหา
3.      โลกาภิวัตน์กระทบระบบราชการในด้าน + และ - อย่างไร? ยกตัวอย่างระบบที่มีปัญหา
4.      เรื่องความสามารถในการแข่งขันไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่ธุรกิจจะต้องทำเท่านั้น แต่จะต้องรวมตัวกันระหว่างภาคราชการและธุรกิจ
5.      จากข้อความต่อไปนี้ ท่านสามารถนำมา apply กับทฤษฎี 8 K’s, 5 K’s และ 3 วงกลมอย่างไร
o     Listen and Learn.
o     Fail often to succeed early.
o     Ask for ideas before asking for resources.
o     Surround yourself with enthusiastic volunteers.
o     Build business and financial models early, but be skeptical.
o     Thank the thinkers, praise the participants.
o     Trust the process.    
6.   อธิบายตาราง 2 ตารางว่าแตกต่างกันอย่างไร และเกี่ยวกับ Paradigm Shift อย่างไร
“I’m too busy.”   “I’m out of energy; give me some help.”
“I can’t work with her.”   “She is different; how do we relate?”
“Doesn’t this violate who we are?”   “How do I plug into this?”
“This won’t work.”   “I can’t visualize it.”
“I’ll flight you to the death on this one”   “I feel excluded from the version.”
“Why do we have to work in team”   “Show me how to collaborate.”
“No way will this be fairly done.”   “Will I be rewarded?”
“Change, change, change-that’s all we hear.”   “I don’t know how to adapt.”
กลุ่ม 5 (โต๊ะนักข่าว)

เรียนอาจารย์จีระ

 

 

        เมื่อวันเสาร์ที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ทบทวนทฤษฎี 8 H – 8 K, ความแตกต่างของทุนมนุษย์กับทุนทางปัญญา, ภาวะผู้นำองค์กร วิเคราะห์ทฤษฎี แซม วอร์ตัน และดูเทปรายการของ อาจารย์ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

 

        สิ่งที่เรา (โต๊ะนักข่าว) ประมวลความรู้ที่ได้จากการศึกษาในวันที่ 27 ม.ค.นั้น คือ ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นประเด็นที่เราได้สรุปกันออกมา

 

        ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น หมายถึง ต้องริเริ่มกันตั้งแต่งอยู่ในครรภ์มารดาตลอดจนคลอดออกมา ส่งเสริมให้การศึกษา ให้โภชนาการที่ดี มีจริยธรรม สั่งสมประสบการณ์ชีวิต เรียนรู้สร้างปัญญา

 

        จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานที่พร้อมจะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ

 

การศึกษาและการเติบโตในอาชีพการทำงานนั้น ต้องใช้ประสบการณ์ ใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานให้เกิดการยอมรับ สั่งสมบารมี สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ เรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ ช่วยพัฒนาประเทศ

 

 

ดังนั้น คน องค์กร ประเทศ จะเจริญเติบโตได้ จะต้องใช้เวลา สั่งสมความรู้และประสบการณ์ เปรียบเสมือนต้นไม้ ที่ต้องเพาะเมล็ด เป็นกล้าพันธุ์ ลดน้ำ ใส่ปุ๋ย รอวันที่จะเจริญเติบโต เพื่อที่จะออกดอก ออกผล นั่นเอง  กลุ่ม 5 (โต๊ะนักข่าว)กิตติพงษ์ รั้งท้วม, เสารถ แสนสุข, วิภาวี ชมะโชติ, พรพรรณ นฤมิตเศรษฐกุล, ธิติกา ชมะโชติ, ร้อยตรีหญิง ผลึกพร อนันตพงษ์, นุชรี อรรถีโภค,  ปราณีต น่วมเปรม               
นส.ศุลีพร ม้าไว รหัส 49038010019

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ ,

  อาจารย์ยม   นาคสุข และอาจารย์

พจนารถ  ซีบังเกิด

 

        จากที่เรียนในวันที่ 20-21 มกราคม 2550 การเรียนในสองวันนี้เป็นการเรียนแบบสบายไม่เครียด ความรู้ที่อาจารย์ได้มอบให้มีมากทฤษฏี HRDS ทฤษฏี 3 วงกลม ทฤษฏี 8 Ks    HR  Architecture  และอาจารย์ได้อธิบาย

ถึง

1 วิสัยทัศน์ขององค์กร    ดิฉันทำงานอยู่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่า สะดวก ประหยัด ปลอดภัย ซึ่งมีนโยบายการบริหารงาน ก็เพื่อให้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยพนักงานทุกคนต้องมีทัศนคติที่ดีต่องานที่ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ 

2.  วัฒนธรรมองค์กร เกี่ยวกับจัดสวัสดิการให้กับพนักงาน ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย หรือมีอุบัติเหตุของพนักงาน ซึ่งในหน่วยงานมีทั้งข้อดีและข้อเสียคือ

 ข้อดี  1. มีการบริหารงานที่กำหนดเป้าหมายชัดเจน

         2. มีความสามัคคีในสาย

งานที่ปฏิบัติ

ข้อเสีย

         1.    การแต่งตั้งโยกย้ายมีการวิ่งเต้นใช้เงิน

        2.    เมื่อกระผิดความผิดไม่มีการลงโทษทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเบื่อหน่าย

3.    WTO ผลกระทบกับระบบราชการ   เป็นองค์กรระหว่าง

ประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น  ความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO มี 3 กลุ่ม คือ มีผลกระทบต่อระบบราชการคือ

1.การเปิดตลาด  การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม(รวมสินค้าประมง) ในส่วนของ สินค้าเกษตร ทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน  สิ่งทอและเสื้อผ้า ให้มีการเปิดเสรีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แทนการใช้ข้อตกลงสินค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ(MFA)

2.กฎระเบียบการค้า มีการปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ เช่น  ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า แต่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาดและวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เป็นการลดโอกาสที่อาจมีประเทศผู้นำเข้าใช้มาตรการนี้เพื่อกีดกันการค้าอย่างเป็นธรรม ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน โดยกำหนดประเภทของการอุดหนุนไว้อย่างชัดเจนว่า การอุดหนุนประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม  ประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่เมื่อทำแล้วอาจถูกมาตรการตอบโต้ นอกจากนั้นยังได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนเพื่อการตอบโต้สินค้าเข้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อให้แต่ละประเทศถือปฏิบัติ

3.เรื่องใหม่ๆ มีการจัดทำข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการในเรื่องที่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ของแกตต์กำกับมาก่อนหรือหากมีก็น้อยมาก ได้แก่

 

-ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า(TRIPS)

 

-การค้าบริการ(GATS) กำหนดกรอบตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ

 

-มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า(TRIMS)

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด

               การเรียน Balanced Seorecard เป็นเครื่องมือในการบริหารชนิดหนึ่ง  เป็นการสื่อสารให้พนักงานเข้าใจถึงเป้าหมายหลักขององค์กร ทำให้มีตัวชี้วัดเป็นการจดบันทึก ว่าองค์กรบรรลุถึงเป้าหมายต่าง ๆ ที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 4 มุมมองคือ Financial , Short-term , Lead , Internal ทั้งหมดเป็นสิ่งที่องค์กรเราต้องใส่ใจและสร้างความสมดุล

นายสรศักดิ์ ขันติสมบูรณ์ รหัส 49038010017
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์ ,  อาจารย์ยม   นาคสุข          และอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  

     1 วิสัยทัศน์ขององค์กร    ผมทำงานอยู่ กรมที่ดิน มีวิสัยทัศน์

เป็นองค์การที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิการถือครองที่ดินของรัฐ และประชาชน มุ่งเน้นการให้บริการโดยการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพ

 

2.    วัฒนธรรมองค์กร เป็นการให้บริการการดำเนินการออกหนังสือ

แสดงสิทธิในที่ดินให้ราษฎร บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ รังวัดออกหนังสือสำหรับที่หลวงในที่ดิน สาธารณประโยชน์และในที่ราชพัสดุ การรังวัดและทำแผนที่ และจัดที่ทำกินให้ประชาชนตามประมวลกฎหมายที่ดิน

ข้อดี   ให้บริการออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้กับราษฎร์ด้วยความถูกต้อง

ข้อเสีย  การให้บริการยังช้า ยังไม่นำเทคโนโลยีมาใช้เท่าที่ควร

 

3.    WTO ผลกระทบกับระบบราชการ   เป็นองค์กรระหว่าง

ประเทศที่พัฒนามาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศหรือแกตต์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538

มีสมาชิกเริ่มแรก 76 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น  ความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO มี 3 กลุ่ม คือ มีผลกระทบต่อระบบราชการคือ การเปิดตลาด  การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม(รวมสินค้าประมง) ในส่วนของ สินค้าเกษตร ทุกประเทศต้องยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า โดยให้ปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการภาษีศุลกากรแทน  สิ่งทอและเสื้อผ้า ให้มีการเปิดเสรีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แทนการใช้ข้อตกลงสินค้าสิ่งทอระหว่างประเทศ(MFA) กฎระเบียบการค้า มีการปรับปรุงและกำหนดกฎระเบียบการค้าที่สำคัญ เช่น  ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า แต่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาดและวิธีการไต่สวนการทุ่มตลาดให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เป็นการลดโอกาสที่อาจมีประเทศผู้นำเข้าใช้มาตรการนี้เพื่อกีดกันการค้าอย่างเป็นธรรม ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน โดยกำหนดประเภทของการอุดหนุนไว้อย่างชัดเจนว่า การอุดหนุนประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม  ประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่เมื่อทำแล้วอาจถูกมาตรการตอบโต้ นอกจากนั้นยังได้กำหนดแนวปฏิบัติในการไต่สวนเพื่อการตอบโต้สินค้าเข้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อให้แต่ละประเทศถือปฏิบัติ

 

 

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด   

 

ความรู้เกี่ยวกับ BALANCED SCORECARD ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน์ลงสู่การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการควบคุมผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านลูกค้าด้านกระบวนการภายในองค์กร  ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านการเงิน  การสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร ซึ่งการนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในองค์กรจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศ

นายมงคล กิจสมโภชน์ รหัส 49038010032

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด 

 

 

ความรู้เกี่ยวกับ BALANCED SCORECARD ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน์ลงสู่การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ EMPLOYEES ENGAGEMENT  ไปปรับวัฒนธรรมการทำงานของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรรวมทั้งเป็นเครื่องมือในการควบคุมผลการดำเนินงานทุกของพนักงานในองค์กร ซึ่งการนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้ในองค์กรจะทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร สังคมและประเทศ  การจัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและปรับการทำงานของเราได้ในอนาคต

ศรีปัญญา วัชนาค รปม. 3 รหัส 49038010022

เรียน  ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  อาจารย์พจนารถ  ที่เคารพ

 

          เมื่อวันที่  21  มกราคม 2550  ได้เป็นลูกศิษย์  อาจารย์พจนารถ 

ซีบังเกิด  ซึ่งเป็นผู้หญิงเก่งอีกคน  ท่านได้นำประสบการณ์เรื่องการทำงาน   การเปลี่ยนงานจาก  PR  มาเป็น  HR  มาเล่าให้ฟังซึ่งทำให้รู้ว่า  คนที่จะประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ  ไม่ใช่ได้มาง่าย ๆ  จะต้องมีการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา   

        อาจารย์เล่าให้ฟังหลายเรื่องทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็ตาม  จะต้องมีเรื่อง HR เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ   ได้รู้เรื่อง  Baby  Boomer    Baby  Bluster     อุปนิสัย  7       ประการที่ทำให้ประสบความสำเร็จ  ได้เข้าใจเรื่อง Balanced  Scorecard ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด

 

            สำหรับเรื่อง Employees  Engagement  อาจเป็นเรื่องเก่าของเอกชน  แต่เป็นเรื่องทันสมัยมากสำหรับหน่วยงานราชการ ขณะนี้หลายแห่งกำลังจะเริ่มดำเนินการต่อจาก  HR  Scorecard   อาจารย์นำมาสอนทำให้ได้ความรู้และแนวทางที่จะดำเนินการต่อได้   ซึ่งเป็นประโยชน์และสามารถนำไปปรับใช้ได้   ตั้งแต่การพัฒนาตนเอง  ครอบครัวและองค์กร

 

           หน่วยงานจะพัฒนาอย่างยั่งยืน  จะต้องมุ่งมั่นและพยายามสร้างคนให้มีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง    และอย่าลืมเรื่องความผูกพันกับองค์กร  ถึงแม้คนจะเก่งดีหากไม่มีความผูกพันกับองค์กรก็ไม่มีความหมาย

 
ศรีปัญญา  วัชนาค

[email protected]

 

 

 

 


นายภานุพงษ์ พิศรูป รหัส 49038020005

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด   

 

BALANCED SCORECARD ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดการวัดผลงานทางการปฏิบัติการ เช่น ด้านความพึงพอใจของบุคคลในองค์กร กระบวนการภายใน การบริหาร และการเรียนรู้และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

การจัดทำ BSC  ต้องเริ่มต้นด้วยกระบวนการทางด้านกลยุทธ์ก่อน คือ การวิเคราะห์ทางด้านกลยุทธ์ และการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้ได้กลยุทธ์หลักขององค์กร

ดังนั้นการเรียนรู้และความสามารถของบุคลากรในองค์กร จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจนอกเหนือไปจากทรัพย์สินและผลประกอบการทางด้านการเงิน

นายกอบกิติ กวีสุนทรกุล รหัส 49038010038

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด   

 

BALANCED SCORECARD  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดการวัดผลงานทางการปฏิบัติการ การเชื่อมโยงและสร้างความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ขององค์กร กับหน่วยงานต่าง ๆ และพนักงานแต่ละคน ให้เกิดการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ก่อนการทำ BALANCED SCORECARD  ต้องมี

1.    Vision  สังคมยอมรับ  Mission หาความรู้เพิ่มเติม Corporate Values  เพื่อความสำเร็จ

2.    เป้าหมายองค์กร

3.    Strategies ขององค์กรและหน่วยงาน สร้างคุณค่ามีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ นำเทคโนโลยีทันสมัยมา ตอบสนองรวดเร็วสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

นายประเวฃ ลิกขะไชย รหัส 49038020010

เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด   

 

การเรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิต จัดระเบียบชีวิต My Life’s Scorecard การใช้ BALANCED SCORECARD  ช่วยสร้างสมดุลระหว่างการวัดผลงานทางด้านการเงิน กับการวัดผลงานทางด้านการปฏิบัติการ เช่น ความพึงพอใจของบุคลในองค์กร กระบวนการในการให้บริการ ความเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การใช้ BSC เป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ทำให้องค์กรมีตัววัดที่ชัดเจน และมุ่งมั่นแต่สิ่งที่สำคัญ มีเหตุและผลทำให้องค์กรได้รับความไว้วางใจ ได้รับการสนับสนุน มีเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันได้

 

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์

 
                  จากการเรียนกับอาจารย์จีระ  เมื่อวันเสาร์ที่  
27 ม.ค.2550 

ซึ่งเป็นครั้งที่ 3  ก่อนเริ่มเรียนอาจารย์ได้นำนักศึกษายืนไว้อาลัยการเสียชีวิตของจ่าเอกสราวุฒิ  นวมน้อย   และถามว่าอาจารย์พจนารถมาสอนนักศึกษาได้อะไรบ้าง   ได้สอนเรื่องทฤษฎี   8 K’s   ซึ่งเกิดจากประสบการณ์การทำงานจริง  ทุนมนุษย์กับทุนทางปัญญามีความแตกต่างกันอย่างไร  ให้ดูเทปสัมภาษ์  ดร. ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  และให้ทุกกลุ่มสรุปความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร  และให้ทุกกลุ่มสรุปผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในวันนี้

 

                  กลุ่มมะม่วงสุก   ได้คุยกันว่าควรจะสรุปความรู้ที่ได้รับให้แตกต่าง   จะได้ไม่ซ้ำกันและหาโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกับกลุ่มอื่นหากมีโอกาส  สิ่งที่สรุปคิดว่าจะมีประโยชน์นำมาใช้เป็นตัวอย่าง  และต่อยอดในการพัฒนาตนเองและองค์กรได้  ดังนี้              

            1.  เรื่องบัญญัติ 10 ประการของ Sam  Walton  ประกอบด้วย

-   จะทำอะไรต้องเน้นความสำเร็จ ความรู้สึกร่วม มี Passion

-    ถ้าประสบความสำเร็จอย่าเก็บไว้คนเดียวแบ่งปัน 

     ความสำเร็จให้ทุกคนในองค์กร  ยกย่องคนที่มีส่วนร่วม

                 -    สร้างแรงจูงใจให้ตนเองและผู้อื่น

-    การทำงานอย่าเก็บข้อมูลไว้คนเดียว ต้องถ่ายทอดให้ผู้อื่น

-    แสดงความชื่นชมและยินดีกับความสำเร็จของพนักงาน

-    มีเวลาฉลองความสำเร็จ

-    รับฟังความคิดเห็นของพนักงานและเรียนรู้จากพนักงาน

     (Listen  and  learn)

-    เน้นลูกค้าให้มากกว่าความพอใจ

-    ควบคุมค่าใช้จ่าย

-    สู้กับความเจ็บปวด อย่างทำตัวแบบเดิมทำตัวให้แตกต่าง 

     กับคนอื่นทำงานที่ท้าทาย

 

            2.    ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมีผลงานเป็นที่ยอมรับ  จะต้องมีความความมุ่งมั่น    ความตั้งใจ   ความใส่ใจ    ที่จะศึกษาและเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง  โลกมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาต้องรู้ให้ทันการเปลี่ยนแปลง     

 

            3.  ชนะอะไรไม่ยิ่งใหญ่เท่าชนะใจตนเองและการให้อภัยให้โอกาส

 

1.            เห็นอะไร  อ่านอะไร  ให้สังเกต  จดจำ  วิเคราะห์  บันทึกจะได้เรียนรู้ต่อเนื่อง  และหมั่นฝึกฝนทบทวน

 

2.            หาตัวอย่างการสร้างแรงบันดาลใจ  แรงจูงใจที่จะเรียนรู้  การเรียนรู้จะต้องเรียนจากความจริง  ต้องไม่ลืมรากเหง้า

                     

             

การเรียนรู้มีมากมายหลายวิธี   หากมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ

เรียนรู้ลองมองหาวิธีการที่จะเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเราจะต้องมีแน่นอนอย่างน้อย   1  วิธีที่สะดวกและเหมาะสมกับตัวเรา   ค่อย ๆ  ศึกษา  เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาที่ละก้าว  การเรียนรู้จะต้องใช้เวลา     ที่สำคัญจะต้องเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้  เดี๋ยวนี้

 

พิพัฒน์    อรรถเอี่ยม    ประเชิญ    คำมี

ศรีปัญญา  วัชนาค      วิไลวรรณ   วิไลเลิศ

รุ้ง           โลนุช                  

               

 

 

ผลงานร่วมเฉพาะกิจ(อ.จีระ - อ.ปิยะ)

เรียน อาจารย์จีระ อ.ประกาย อ.ปิยะ

 

 

        เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา  หลังจากได้พบกับอาจารย์ประกาย อาจารย์ปิยะ สิ่งที่ได้เรียนรู้ประเด็นหลัก ในวันนี้ คือ  คน องค์กร โลก มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ 

 

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กร ชาติ หรือว่า โลก

 

นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนไปตามธรรมชาติ ทั้งที่เกิดขึ้นจากทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์  เช่น ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง เป็นต้น

 

แต่ภาระหนักอยู่ที่ คน เพราะไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป คน ต้องตามให้ทันเสมอ (ทันสมัย ทันโลก)

 

สิ่งที่เป็นปัญหานั้นไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหา คือ เรากลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับความจริง

 

ดังนั้น การเรียนในวันนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น ในทุกๆเรื่อง สร้างแรงจูงให้คนรอบข้างได้รู้ ได้เข้าในสิ่งที่เราจะเปลี่ยน แล้วฟันฝ่าอุปสรรคไปอย่างเข้าใจ และใช้อุปสรรคสอนเราให้เราได้เรียนรู้ให้เกิดปัญญา

 

และสิ่งที่อาจารย์ปิยะ ได้มอบหมายงานไว้ในวันนี้ คือ

 

การทำตารางการคิดแผนงานโดย การสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยน (กรณีตัวอย่าง)

 

เรื่อง พัฒนาบุคลากรฝ่ายศิลป์ (จัดรวมแผนก) ของสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับหนึ่ง

 

เหตุผล คือ องค์กรต้องการที่จะเพิ่มจำนวนหน้า ให้มากขึ้น จาก 36 หน้า เป็น 40 หน้า แต่ไม่ต้องการที่จะรับพนักงานเพิ่ม เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่หากรวมแผนกที่มีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ทำงานร่วมกันก็จะลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้

 

ซึ่งฝ่ายศิลป์แยกย่อยเป็น 2 แผนก คือ ฝ่ายภาพ (ใช้โปรแกรม photoshop, illustator)  ส่วน ฝ่ายรูปแบบหน้า (ใช้โปรแกรม page maker) หาก 2 แผนกใช้โปรแกรมได้ทั้ง 3 โปรแกรม ก็จะสามารถสร้างผลงานชิ้นเดียวกันได้

 

โดยองค์กรจะเพิ่มเงินเดือนให้สำหรับการรวมแผนกครั้งนี้ ซึ่งผู้บริหารเห็นว่าการรวมแผนก เพิ่มงาน เพิ่มเงินเดือน คุ้มค่ากว่าการจ้างคนเพิ่ม

  

โดยจะจัดแผนดังต่อไปนี้

  

1.จัดฝึกอบรมพนักงานฝ่ายศิลป์ 2 แผนก ให้ใช้โปรแกรมการทำงานได้ทั้ง 3 โปรแกรม คือ photoshop, illustrator, page maker โดยใช้เวลาอบรม 3 สัปดาห์ ใช้วิทยากรแลกเปลี่ยนความรู้กันเอง และหัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบงานนี้

 

1.1 อบรม photoshop ใช้เวลา 1 สัปดาห์ สิ่งที่คาดหวัง คือ ต้องใช้เป็น สิ่งที่ต้องสนับสนุน คือ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ทันสมัย หัวหน้ารับผิดชอบ ติดตามผลวันต่อวัน

 

1.2 อบรม illustator ใช้เวลา 1 สัปดาห์ สิ่งที่คาดหวัง คือ ต้องใช้เป็น สิ่งที่ต้องสนับสนุน คือ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ทันสมัย หัวหน้ารับผิดชอบ ติดตามผลวันต่อวัน

 

1.3 อบรม page maker ใช้เวลา 1 สัปดาห์ สิ่งที่คาดหวัง คือ ต้องใช้เป็น สิ่งที่ต้องสนับสนุน คือ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ทันสมัย หัวหน้ารับผิดชอบ ติดตามผลวันต่อวัน

 

2.การประเมินผล สิ่งที่คาดหวัง คือ ใช้เป็น 3 โปรแกรม ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ สิ่งที่สนับสนุน คือ ให้ความรู้ใหม่ ซึ่งหัวหน้าและพนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน การติดตามผล ต้องทำทุกวัน เนื่องจาก รูปแบบของงานนี้คือ สื่อสิ่งพิมพ์รายวันมีผลงานออกในทุกๆวัน

  ดังนั้น สิ่งที่เห็นได้จากข้อมูลนี้ คือ ปัญหา คือการเพิ่มหน้า แต่ไม่ต้องการเพิ่มพนักงาน กระบวนการคือสร้างความเข้าใจให้พนักงานพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนลักษณะงาน

และจัดทำกระบวนการเป็นขั้นตอนอย่างมีเป้าหมายในระยะเวลาที่จำกัด

  

สวัสดี

 

  กิตติพงษ์ รั้งท้วม, มยุเรศ เชยปรีชา, เสาวรส แสนสุข, สุภาภรณ์ สุขเกษม, ละอองแก้ว จันทร์เทพ, พรกมล สมวงศ์, นุชรี อรรถีโภค      
กลุ่มผู้ก่อการ...ดี

เรียน  อาจารย์ทุกท่าน และสวัสดีเพื่อน ๆ สมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทุกคน 

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่  28  มกราคม 2550  อาจารย์ปิยะได้ตั้งโจทย์ให้พวกเราได้แบ่งกลุ่มระดมพลังสมองคิดการดี และทำการดีร่วมกันว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในองค์กร  เราจะมีกระบวนการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร  ทางกลุ่มได้ตอบคำถามของอาจารย์ปิยะ โดยการใช้ทฤษฏี 2 R วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และมองความเป็นจริงที่เกิดขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ  การเมือง  สภาพสังคม  เทคโนโลยี  คู่แข่งขัน  ในยุคโลกาภิวัฒน์  ได้ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตนเองให้สามารถอยู่รอดได้ในกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการติดต่อสื่อสารที่มีความรวดเร็ว  เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และแข่งขันกันตลอดเวลา แม้แต่ในภาคราชการ ก็จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพในการให้บริการแก่ประชาชน  ไม่ใช่แค่ปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน แต่ต้องทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจสูงสุดด้วย  ดังนั้น  ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย  สมบูรณ์  และถูกต้องในการบริหารงานและตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ  จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร  และเพื่อพัฒนาคุณภาพในการให้บริการแก่ประชาชน  จึงต้องมีแผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์  แม่นยำ  เที่ยงตรง  เชื่อถือได้ 

 

        แผนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน มีดังนี้

 

        1.   การประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลง  การประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับ โดยให้เข้าใจแนวทางและความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน  และการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน

 

2.   การกำหนดวิสัยทัศน์   ตั้งเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุงการปฏิบัติงานร่วมกัน 

 

3.   การฝึกอบรมบุคคลเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านสารสนเทศ  โดยกำหนดหลักสูตรเป็น 3 ระยะ  ดังนี้ คือ ในระยะแรก  จะเป็นการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงาน   ระยะที่สอง  เป็นการฝึกอบรมเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน  และการฝึกอบรมภายหลังการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงเพื่อดูความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน

 

4.   การวางระบบการติดตามและประเมินผลในทุกขั้นตอน  จากการบันทึกผล  การรายงานผล  การสำรวจความพึงพอใจของประชาชน  และการเสนอแนวทางแก้ไขในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน

 

ผลที่คาดหวังจากแผนงานที่ได้วางไว้  มีดังนี้

 

1.   ลดค่าใช้จ่าย 30  %   จากค่าวัสดุสำนักงาน  เช่น  กระดาษ  แฟ้ม  และค่าจ้างที่ลดลงจากการลดอัตรากำลังบุคคล

 

2.   การให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนเร็วกว่าเดิม 70 %   ลดขั้นตอนการทำงานและประหยัดเวลา

 

3.   ข้อมูลมีความถูกต้อง  สมบูรณ์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

 

4.   บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะด้าน IT และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน 60 %

 

        สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุน  มีดังนี้

 

        1.   การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมของทุกคนในทุกขั้นตอน

 

        2.   งบประมาณดำเนินการ

 

        3.   วิทยากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

        แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน มีระยะเวลา  2  ปี  โดยมีผู้รับผิดชอบ   คือ   ตนเองร่วมทำกับหัวหน้าและหน่วยงานอื่นในบริษัท   แผนงานจะสำเร็จได้  ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะ หัวหน้าต้องเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน   หน่วยงานอื่น ๆ ต้องให้ความร่วมมือ   ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะด้าน IT รองรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน    แผนงานจึงจะสำเร็จและจัดให้มีการติดตามผลทุก 3 เดือน 

 

ทั้งนี้  หัวใจสำคัญของการวางแผนงานเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการขององค์กรภาครัฐ  มิได้อยู่ที่แผนงานที่ดีเลิศ  แต่มีสาระสำคัญอยู่ที่การแปลงแผนงานไปสู่การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว  แม่นยำ  เที่ยงตรง  และเชื่อถือได้ แผนงานที่เลวแต่ได้รับการนำไปปฏิบัติจริงในวันนี้ ย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรมากกว่าแผนการทีดีเลิศแต่ไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ เพราะอย่างน้อยที่สุดจะทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติตามแผนงานที่เลวในอดีต

 

ผู้ร่วมก่อการ

1. นส.สมธนิษฐุ์  มงคลชาติ

2. นส.พรยุพา    คัมภีรญาณนนท์

3. นส.อชิรญา    ผูกมี

4. นส.นันทพร   สิงห์ตุ่ย

5. นส.นลินธร    ลือเสรษฐสิทธ์

กลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์
กราบสวัสดีอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ ยม  นาคสุข, อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด, อาจารย์ประกาย  ชลหาญ และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 3 ทุกท่าน ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ ฯ และทีมงาน ที่มีความมุ่งมั่นอย่างสูงที่จะมาให้ความรู้กับพวกเรา รปม.รุ่น 3 เพราะทราบมาว่า อาจารย์ได้ติดภารกิจและแทบไม่ได้พักผ่อน แต่ก็ยังอยากที่จะให้ความรู้แก่พวกเรา จนได้พักผ่อนเพียง 3 ชม. อย่างไรก็ดีขอให้อาจารย์พักผ่อนบ้างนะครับเป็นห่วงสุขภาพอาจารย์เกรงว่าถ้าร่างกายไม่แข็งแรง หรือเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ประเทศไทยจะขาดคนเก่งอย่างอาจารย์ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไทยไป           วันนี้ขอรายงานเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับหลังจากการเรียนกับอาจารย์จีระ ในวันเสาร์ที่ 27 ม.ค.50 ที่ผ่านมา กล่าวคือในช่วงเช้าอาจารย์จีระได้กล่าวถึงความแตกต่างกันในเรื่องความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางพื้นฐานความรู้ระหว่างเด็กในเมืองและเด็กชนบทไม่ว่าจะเป็นด้านโภชนาการ, พื้นฐานวิชาคณิตและวิทยาศาสตร์ เป็นต้น          ต่อมาอาจารย์จีระก็พูดถึงเรื่องทุนมนุษย์และทุนทางปัญญาและยังหยิบเอาหนังสือของ แซม วอลตัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ 10 ประเด็นด้วยกัน คือ1.ต้องมุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กรและต้องมีอารมณ์ร่วมกับผลสำเร็จนั้น2.เมื่อประสบผลสำเร็จแล้วให้แบ่งปันความสำเร็จให้กับทุกคนในองค์กร โดยการยกย่อง      ผู้ที่มีส่วนร่วมทุกคน3.ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเองและผู้ร่วมงานเกิดแรงกระตุ้นที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ4.การทำงานอย่าเก็บข้อมูลไว้คนเดียวให้ถ่ายทอดให้คนอื่นด้วย5.ถ้างานนั้นหรือผู้ร่วมงานประสบความสำเร็จให้ชื่นชมและร่วมยินดีต่อความสำเร็จนั้น   ด้วย6.เมื่อประสบผลสำเร็จให้มีการฉลองกับผลความสำเร็จนั้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ7.ควรรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร8.การทำอะไรก็แล้วแต่ควรทำให้ลูกค้าได้รับมากกว่าที่ลูกค้าพึงพอใจ9.ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินความจริง10.ต้องต่อสู้กับความเจ็บปวดและชอบการทำงานที่ท้าทาย          อาจารย์ยังได้กล่าวถึง Heritage : คือการไม่ลืมรากเหง้าของตนเองซึ่งอยู่ใน 8 H ‘s โดยได้ยกตัวอย่างความเป็นคนชนบท          ส่วนในช่วงบ่ายนั้นอาจารย์จีระได้เปิดเทปการสนทนาระหว่าง อาจารย์จีระ  กับ  ดร.ปุระชัย ซึ่งเป็นการคุยกันถึงความใฝ่รู้และวิธีการเรียนรู้ของดร.ปุระชัย ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า ทั้งอาจารย์จีระและดร.ปุระชัยนั้นมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีเหมือนกันและได้มีการปลูกฝังให้เกิดการรักการอ่านชอบที่จะศึกษาอยู่ตลอดเวลาจวบจนมาถึงปัจจุบันและต่อไปยังอนาคตเพราะท่านทั้งสองได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้นั้นไม่มีวันจบสิ้นและสามารถที่จะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาด้วย            สรุปคือตลอดทั้งวันนั้นอาจารย์จีระได้พยายามชี้ให้เห็นว่าคนเรานั้นไม่ได้มีอะไรที่ต่างกันเลย แต่สิ่งที่จะทำให้คนเกิดความแตกต่างกันได้นั้น มาจากความสนใจ ใคร่รู้ในตัวเองและความพยายามมุ่งมั่นที่จะไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมอุดมการณ์ 
  1. ร.ท.ปริญญา  รื่นเสือ
  2. ส.ท.ต่อตระกูล  ศรีลาภา
  3. นายสรศักดิ์  ขันติสมบูรณ์
  4. นายธนู  พุกชาญค้า
  5. นายนัฐพงษ์  นิลศิริ
  6. นายกิตติศักดิ์  ดวงแก้ว
  7. นายจิรพัฒน์  ศรีจั่น
กลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์
ภูมิใจ เสนอ อ.ปิยะ ตางรางการคิดแผนงาน ( Business Objective Action Plan ) แผนงาน     การพักรับประทานอาหารในตอนกลางวันของข้าราชการไทย แผนงานที่จะทำ (Activities)-         ปรับปรุงอุปนิสัยของข้าราชการในการพักรับประทานอาหารโดยการใช้ Key Card เป็นตัว Check เวลาการเข้าออกของเวลางาน-         อบรมการปลูกจิตสำนึกการตรงต่อเวลาในการเข้าออกการทำงาน-         สร้าง Modle เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน-         จัดสรรเวลาให้เหลื่อมกันในการพักรับประทานอาหาร ผลที่คาดหวัง (Expected Result)-         ข้าราชการมีระเบียบวินัยเรื่องเวลาในการรับประทานอาหารมากขึ้น กำหนดการแล้วเสร็จ (Deadline)-         3 เดือน สิ่งที่ต้องการสนับสนุน (Need resources)-         ผู้บังคับบัญชา และ ผู้ร่วมงาน หน้าที่/ผู้รับผิดชอบ (Responsibilities Person)-         ตนเอง-         ร่วมทำกับหัวหน้า-         หัวหน้า ควมถี่ในการติดตามผล(กับหัวหน้า) (Monitoring)-         ทุกสัปดาห์  สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมอุดมการณ์ 
  1. ร.ท.ปริญญา  รื่นเสือ
  2. ส.ท.ต่อตระกูล  ศรีลาภา
  3. นายสรศักดิ์  ขันติสมบูรณ์
  4. นายธนู  พุกชาญค้า
  5. นายนัฐพงษ์  นิลศิริ
  6. นายกิตติศักดิ์  ดวงแก้ว
  7. นายจิรพัฒน์  ศรีจั่น
 
สวัสดีลูกศิษย์ทุกคนก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อลูกศิษย์ จ... สราวุฒิ  นวมน้อย  หรือคุณโอ๋ซึ่งประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน ผมก็อยากให้พวกเราไว้อาลัยให้กับ คุณโอ๋ อีกครั้งนี้ ณ ที่นี้ ผมยังจำได้ดีว่าคุณโอ๋เป็นลูกศิษย์ที่มีความตั้งใจ และใฝ่รู้มากคนหนึ่ง เห็นได้จากการที่เขาได้เข้ามาร่วมเขียนแสดงความคิดเห็นใน Blog แห่งนี้ ก็เป็นที่น่าเสียดายที่เราสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าไปอีกท่านหนึ่ง สำหรับการเรียนการสอนในวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ก็ยังได้รับความสนใจจากลูกศิษย์อย่างดีก็ต้องขอขอบคุณที่ทุกคนเริ่มสนใจการเรียนรู้กันมากขึ้น และวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนฝึกคิด วิเคราะห์หาเหตุผลและแนวทางให้กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราต่อไปเพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สำหรับในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าอาจารย์ได้มอบให้ อ.ประกายกับทีมไปให้ความรู้แทนก็ขอให้ทุกคนนำความรู้ที่ได้มาเล่าให้ฟังที่นี่ด้วยนะครับ                                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์
สวัสดีลูกศิษย์ทุกคน
ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อลูกศิษย์ ... สราวุฒิ  นวมน้อย  หรือคุณโอ๋ซึ่งประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน ผมก็อยากให้พวกเราไว้อาลัยให้กับ คุณโอ๋ อีกครั้งนี้ ณ ที่นี้ ผมยังจำได้ดีว่าคุณโอ๋เป็นลูกศิษย์ที่มีความตั้งใจ และใฝ่รู้มากคนหนึ่ง เห็นได้จากการที่เขาได้เข้ามาร่วมเขียนแสดงความคิดเห็นใน Blog แห่งนี้ ก็เป็นที่น่าเสียดายที่เราสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าไปอีกท่านหนึ่ง สำหรับการเรียนการสอนในวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ก็ยังได้รับความสนใจจากลูกศิษย์อย่างดีก็ต้องขอขอบคุณที่ทุกคนเริ่มสนใจการเรียนรู้กันมากขึ้น และวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนฝึกคิด วิเคราะห์หาเหตุผลและแนวทางให้กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราต่อไปเพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สำหรับในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าอาจารย์ได้มอบให้ อ.ประกายกับทีมไปให้ความรู้แทนก็ขอให้ทุกคนนำความรู้ที่ได้มาเล่าให้ฟังที่นี่ด้วยนะครับ                                                 
                                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

สวัสดีครับ ลูกศิษย์กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และชาว Blog ทุกท่าน

          ในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม นี้ ถือเป็นการสอนครั้งที่ 3 ของผมครับ สำหรับการสอนในวันนั้น  ผมจะเน้นเรื่องภาวะผู้นำ ครับ 

แต่ก่อน ที่ผมจะได้เริ่มสอนนั้น ผมได้เริ่มเปิดประเด็นการสอน โดย..

1. ให้นักศึกษาดู และวิเคราะห์ ทฤษฎี 8K’s  เฉพาะเรื่อง ทุนมนุษย์ กับ ทุนทางปัญญา ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  มีตัวแปรใดสามารถอธิบายได้ และตัวชี้วัด คืออะไร ครับ  

         กลุ่มที่ 5 บอกว่า ทุนมนุษย์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปฏิสนธิ และมีการสะสมมาตั้งแต่แรกเกิด

         กลุ่มที่ 4 บอกว่า ถ้าจะวัดทุนทางปัญญานั้น สามารถวัดได้จากผลงาน ว่าทำอะไรเพื่อส่วนร่วม หรือไหม

          กลุ่มที่ 2 บอกว่า ถ้าจะวัดความแตกต่างนั้น น่าจะดูจาก IQ น่าจะเป็นส่วนประกอบหนึ่ง

          กลุ่มที่ 1 บอกว่า ลองเปรียบเทียบกับและศึกษาในเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญา น่าจะเป็นตัวบ่งบอกถึงทุนทางปัญญาได้ส่วนหนึ่ง

          สำหรับ ผมนั้น ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องความแตกต่างและการวัด ทุนมนุษย์ กับ ทุนทางปัญญา ดังนี้ คือ  สำหรับคน 2 คน ที่มี ทุนมนุษย์ เท่ากัน เนื่องจากมีการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้ และการเรียนหนังสือ และจบการศึกษาที่เหมือนกัน แต่ความสำเร็จของคน 2 คนนั้น ไม่เหมือนกัน ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับทุนทางปัญญาครับ ซึ่งทุนทางปัญญานั้น จะสามารถวัดได้ว่าคนนั้น มีความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมมากน้อยเพียงใดครับ  แต่อย่างไร ผมคิดว่า ยังมีตัวแปรที่จะวัดทุนทางปัญญาได้อีกหลายตัว ซึ่งผมอยากให้นักศึกษาลองคิดดูครับว่ามีอะไรบ้าง

2. ต่อมาผมได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ กับ คุณพจนารถ ซีบังเกิดว่าได้รับอะไรบ้าง

          ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ครับ  -  เรื่อง Balance Scorecard

-          เรื่องทฤษฎี วงกลม วงนอกหมายถึงสังคม วงในหมายถึงการทำตัวเราให้ดีที่สุด

-          กรณีศึกษาของ Starbuck ที่ ให้ Empower พนักงาน เพื่อให้บริการมีคุณภาพมากขึ้นครับ

-          การวิเคราะห์ตนเอง กับ องค์กรว่า มีตนมี Value ที่สอดรับกับองค์กรหรือไม่อย่างไร และจะทำอะไรได้บ้าง

-          ฯลฯ

3. ผมได้สรุปหนังสือ เรื่องหนึ่งที่พูดถึงความสำเร็จของ Wall Mart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีก ที่ตั้งอยู่ในรัฐอาเคนซอ รัฐที่มีประชากรรายได้ไม่สูง แต่ประกฎว่า Wall Mart ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนติดอันดับหนึ่งของร้านค้าปลีกของโลก ซึ่ง Mr.Sam Walton ได้สรุปความสำเร็จ ไว้ 10 อย่าง ดังนี้คือ

       1. เน้น Success ความสำเร็จขององค์กร เน้นการมีส่วนร่วม

       2. ถ้ามีความสำเร็จในองค์กร ให้แบ่งปันความสำเร็จให้ทุกคนในองค์กร

       3. การเป็นผู้นำที่ดีต้องมี Motivation สร้างแรงจูงใจทั้งตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

       4. พยายามถ่ายทอดข้อมูล และงานอย่างชัดเจนสู่บุคคลอื่น ๆ

       5. เมื่อพนักงานหรือผู้ร่วมงานประสบความสำเร็จ แสดงความชื่นชมและยินดีต่อความสำเร็จอันนั้น

       6. มีเวลาฉลองความสำเร็จร่วมกัน

       7. รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน และลูกน้องและเรียนรู้จากเขา  (Listen and Learn)

       8. เน้นความสำคัญกับลูกค้าให้เกิดความรู้สึกที่มากกว่าความพอใจ (Beyond Expectation or Customer Delight)

       9. ควบคุมค่าใช้จ่าย

       10. สู้กับความเจ็บปวด และชอบการทำงานที่ท้าทาย

     หลังจากนั้น ผมได้ให้แต่ละกลุ่มเลือก ปัจจัยความสำเร็จที่ชอบมากลุ่มละ 1 ข้อ ว่าจะนำไปปรับใช้ในองค์กรได้อย่างไร

              กลุ่มที่ 4       ชอบข้อ 4 เรื่องพยายามถ่ายทอดข้อมูล และงานอย่างชัดเจนสู่บุคคลอื่น ๆ เพราะว่า

              - การที่ตัวเองพัฒนาแล้ว ถ้าสามารถให้องค์กรพัฒนาตามด้วย จะก่อให้เกิดความสำเร็จต่อภาพรวม ตัวอย่างเช่น การสร้างชุมชนการเรียนรู้  และ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน  โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ถ้ามีการ Shareข้อมูลมากขึ้นก็น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่านี้

              กลุ่มที่ 5      ชอบข้อ 3 เรื่องการเป็นผู้นำที่ดีต้องมี Motivation สร้างแรงจูงใจทั้งตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ   

              - ความสำเร็จนั้นต้องมาจากจุดเริ่มต้น จึงคิดว่า Motivation นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรู้สึกอยากทำงานให้สำเร็จ โดยยกตัวอย่าง น.ส.พ.ข่าวสด ได้เน้นให้นักข่าว มี Vision ร่วมกัน คือ เป็นผู้นำข่าว เหนือ น.ส.พ.ไทยรัฐ และ เน้นในเรื่องการทำงานเป็นแบบครอบครัว

              ซึ่งทั้งนี้ ผม ก็ได้เสริมว่า Motivation นั้น มี 2 ชนิด คือ Motivation ด้านบวก และด้านลบ ซึ่งก็ควรดูให้ดี เพื่อให้สอดรับกับองค์กร และไม่ควรมี Motivation ในด้านลบเกิดขึ้นในองค์กร ครับ

              กลุ่มที่ 6   ชอบข้อ 6  เรื่อง มีเวลาฉลองความสำเร็จร่วมกัน

              ได้คิดว่าการที่ได้มีเวลาอยู่ร่วมกัน และฉลองความสำเร็จร่วมกันนั้น จะสามารถสร้างความใกล้ชิด และความเข้าใจ มากขึ้นในการทำงานครับ

              กลุ่มที่ 1    ชอบข้อ 3 เรื่องการเป็นผู้นำที่ดีต้องมี Motivation สร้างแรงจูงใจทั้งตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ   

              คิดว่า แต่ละคนมี Motivation ไม่เหมือนกัน เราต้องศึกษาและรู้ว่า Motivation แต่ละคนคืออะไร เพื่อให้แต่ละคนรู้สึก มีความสุขกับการทำงานและสามารถทำงานสู่ความสำเร็จได้

               กลุ่มที่ 2   ชอบข้อ 10 สู้กับความเจ็บปวด และชอบการทำงานที่ท้าทาย

              การทำอะไรในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ  และมีความอดทนนั้น ถือเป็นงานที่ท้าทาย และสามารถเป็นคนที่ผู้อื่นไม่สามารถเหมือนเราได้ ซึ่งการสู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่อยากเป็นนั้น เราก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

              นอกจากนั้น อาจารย์ได้ถามว่า วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก ศาสนาพุทธอย่างไร  ทำให้ได้คำตอบว่า

              เป็นในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากเน้นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  และวิชานี้ สอนให้มนุษย์นั้น ต้องพัฒนาการเรียนรู้ตลอดเวลา สอนให้คนเป็นคนอย่างสมบูรณ์ ซึ่งคิดว่ามนุษย์ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ นั้น ได้ตรงกับหลักของพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน

              กลุ่มที่ 3 ชอบข้อ 2 ถ้ามีความสำเร็จในองค์กร ให้แบ่งปันความสำเร็จให้ทุกคนในองค์กร

              เป็นเรื่องที่สำคัญ เช่นการ ให้ Reward การให้เกียรติซึ่งกันและกัน  การให้ Bonus ตามผลงาน ถ้าบริษัทมีกำไรมากขึ้น เช่น เซ็นทรัล ฯ

      4. ผมได้ยกทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี ในเรื่อง Heritage คือ การรู้จักรากเหง้าของตนเอง และเรื่องทุนทางวัฒนธรรม มาเสริมด้วยครับ เพราะก่อนที่ พัฒนาตนเองนั้น เราต้องรู้ว่าเราเก่งอะไร มีพื้นเพอย่างไร มีทุนนั้นมากน้อยเพียงใดครับ

                   นอกจากนี้ ผมได้เรียนถาม พระคุณเจ้าในกลุ่ม 1 ถึง การเรียนรู้ในวันนี้ ว่าได้อะไร  ซึ่งพระคุณเจ้าได้พูดถึง ภาคอีสาน ว่าขาดทุนมนุษย์แต่ไม่ได้ขาดทุนทางปัญญา แม้ว่าเรียนหนังสือน้อย แต่มีภูมิปัญญาสูง และวัดในภาคอีสานนั้น จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชุมชน ตั้งแต่เกิดจนตาย 

                   ผม จึงได้ฝากไว้ว่า น่าจะเกิด Blog ระหว่างศาสนาพุทธด้วยกัน กับการสร้างมูลค่าเพิ่ม

        5. ในช่วงบ่าย ผมได้เปิดเทป รายการฯ ผมกับ ดร.ปุระชัยให้นักศึกษาดู และให้วิเคราะห์ ว่ามีผม และดร.ปุระชัยมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และถ้าทั้งสองท่านมีความสามารถในการเรียนรู้ จะช่วยงานของทั้งสองท่านอย่างไร

ดร.ปุระชัย เรียนรู้แล้วนำมาประยุกต์ใช้

               เรียนรู้จากชีวประวัติของคนอื่น

              ยังไม่ได้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่สังคมในวงกว้างมากนัก

ดร.จีระ    

        เรียนรู้แล้วนำมาต่อยอด หาแนวคิดของตัวเอง

        พยายามที่จะเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น

        มีความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่สังคม

        มีความกระหายความรู้ และเมื่อรู้แล้วก็อยากจะถ่ายทอดหรือสอนให้คนอื่นเรียนรู้ คิดเป็น  

สิ่งที่เหมือนกัน

       มีครอบครัวเป็นพื้นฐานที่ดี

       ใฝ่รู้

       เรียนรู้ข้ามศาสตร์

       6. ก่อนจบ ผมได้ฝากการบ้านให้นักศึกษาฟังวิทยุ คลื่นความคิด 96.5 MHz ที่ผมพูดอยู่เป็นประจำทุกวันพุธ   และสำหรับพุธที่ 31 มกราคม นี้ นั้นนักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อการเรียนรู้ ส่งมาที่ Blog นี้ ครับ

                               จีระ  หงส์ลดารมภ์

วรวรรณ ส่องพลาย รปม.3 รหัส 49038010035
เรียน  ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ .อาจารย์ยม  นาคสุข .อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิดและเพื่อน ชาว blog ทุกคน               เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550 ได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 3  แม้ว่าอาจารย์จะมีภารกิจคืนวันศุกร์  แต่อาจารย์ยังมาสอนพวกเราด้วยความตั้งใจที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้  ซึ่งทำให้เราเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบอย่างสูง ของท่าน และทำให้เห็นว่าท่านเป็น   role model ของนักศึกษาทุกคน              อาจารย์พูดถึง Health ซึ่งเป็น  1 ใน  8 ของทฤษฎี 8H’ s บอกถึงคนเราต้องมีสุขภาพอนามัยที่ดี สมบูรณ์  เมื่อสุขภาพดี จิตใจดี สมองแจ่มใส  ก็สามารถคิด สร้างสรรค์สิ่งดีๆได้อีกมากมาย และอาจารย์สอน วิเคราะห์ทุนมนุษย์และทุนปัญญา  2 ใน 8 ของทฤษฎี 8 K’s  มีข้อแตกต่างกัน ทุนมนุษย์ มาจากการสะสมจากการเรียนรู้ตั้งแต่เล็กจนโตได้จากการเรียนจนจบปริญญา ส่วนทุนทางปัญญา มาจากความสามารถในการแสวงหาความรู้ มาคิด วิเคราะห์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง  อาจารย์สอนถึง 10 ประเด็นแห่งความสำเร็จ ของ Sam Walton ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการปฎิบัติงาน  การทำงานต้องมี Motivation ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนา โดยที่ Motivation ไม่จำเป็นต้องเป็น เงินทอง แต่อาจเป็นคำชมเชยที่ทำให้ผู้รับฟังเกิดกำลังใจในการทำงานได้ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การทำงานต้องทำในสิ่งทีท้าทาย เพราะสิ่งที่ท้าทายบางคนมักไม่กล้าทำ แต่เราควรจะเผชิญกับสิ่งนั้น และพยายามทำมันให้สำเร็จ และสำหรับการรับฟังบทสัมภาษณ์ระหว่างอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และ ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์ ได้รู้ถึงสถาบันครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นที่สามารถสร้างคนๆหนึ่งได้  เช่นอาจารย์จิระ และ ดร.ปุระชัยที่เริ่มต้นมาจากครอบครัวที่สนใจให้บุตร หลานของตนเองมีการเรียนรู้ตั้งแต่เล็กๆ จึงชอบที่จะอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก และจากการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่กระตุ้นที่จะหาความรู้ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เช่นที่ ดร.ปุระชัย อ่านหนังสือ(โธมัส อัลวา เอดิสัน,ประธานาธิบดี ดไวต์ ไอก์ ไอเซนฮาวร์)นำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ส่วนอาจารย์จิระจะอ่านหนังสือ(สงคราม 6 วัน ระหว่างยิวกับอาหรับ)เพื่อเป็นแนวคิดของตนเองและต่อยอดเพิ่มความรู้ให้มากขึ้นทั้งแบ่งปันและให้ผู้อื่นได้รู้จักที่จะแสวงหาความรู้มาสู่ตนเอง ส่วนการสอนเรื่องภาวะผู้นำเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์สามารถที่จะทำให้องค์กรพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้              สรุป จากการเรียนกับอาจารย์ อาจารย์ได้พยายามที่จะให้ทุกคนเห็นความสำคัญของตนเองที่เป็นมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรที่มีค่า และควรจะต้องทำตนเองให้มีค่าโดยรู้จักที่จะแสวงหาความรู้ จากที่ต่างๆให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องเป็นผู้ที่รู้จริงตรงประเด็น และสามารถคิด วิเคาระห์ ต่อยอดความรู้ให้ได้  เพื่อประโยชน์ของตน และผู้อื่น ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีสารพัดรูปแบบ                             วรวรรณ    ส่องพลาย รปม.3 รหัส 4903810035[email protected]
วรวรรณ ส่องพลาย รปม.3 รหัส 49038010035
เรียน  ศ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ .อาจารย์ยม  นาคสุข .อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิดและเพื่อน ชาว blog ทุกคน               เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550 ได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งที่ 3  แม้ว่าอาจารย์จะมีภารกิจคืนวันศุกร์  แต่อาจารย์ยังมาสอนพวกเราด้วยความตั้งใจที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้  ซึ่งทำให้เราเรียนรู้ถึงความรับผิดชอบอย่างสูง ของท่าน และทำให้เห็นว่าท่านเป็น   role model ของนักศึกษาทุกคน              อาจารย์พูดถึง Health ซึ่งเป็น  1 ใน  8 ของทฤษฎี 8H’ s บอกถึงคนเราต้องมีสุขภาพอนามัยที่ดี สมบูรณ์  เมื่อสุขภาพดี จิตใจดี สมองแจ่มใส  ก็สามารถคิด สร้างสรรค์สิ่งดีๆได้อีกมากมาย และอาจารย์สอน วิเคราะห์ทุนมนุษย์และทุนปัญญา  2 ใน 8 ของทฤษฎี 8 K’s  มีข้อแตกต่างกัน ทุนมนุษย์ มาจากการสะสมจากการเรียนรู้ตั้งแต่เล็กจนโตได้จากการเรียนจนจบปริญญา ส่วนทุนทางปัญญา มาจากความสามารถในการแสวงหาความรู้ มาคิด วิเคราะห์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง  อาจารย์สอนถึง 10 ประเด็นแห่งความสำเร็จ ของ Sam Walton ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการปฎิบัติงาน  การทำงานต้องมี Motivation ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนา โดยที่ Motivation ไม่จำเป็นต้องเป็น เงินทอง แต่อาจเป็นคำชมเชยที่ทำให้ผู้รับฟังเกิดกำลังใจในการทำงานได้ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การทำงานต้องทำในสิ่งทีท้าทาย เพราะสิ่งที่ท้าทายบางคนมักไม่กล้าทำ แต่เราควรจะเผชิญกับสิ่งนั้น และพยายามทำมันให้สำเร็จ และสำหรับการรับฟังบทสัมภาษณ์ระหว่างอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และ ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์ ได้รู้ถึงสถาบันครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นที่สามารถสร้างคนๆหนึ่งได้  เช่นอาจารย์จิระ และ ดร.ปุระชัยที่เริ่มต้นมาจากครอบครัวที่สนใจให้บุตร หลานของตนเองมีการเรียนรู้ตั้งแต่เล็กๆ จึงชอบที่จะอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก และจากการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่กระตุ้นที่จะหาความรู้ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เช่นที่ ดร.ปุระชัย อ่านหนังสือ(โธมัส อัลวา เอดิสัน,ประธานาธิบดี ดไวต์ ไอก์ ไอเซนฮาวร์)นำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ส่วนอาจารย์จิระจะอ่านหนังสือ(สงคราม 6 วัน ระหว่างยิวกับอาหรับ)เพื่อเป็นแนวคิดของตนเองและต่อยอดเพิ่มความรู้ให้มากขึ้นทั้งแบ่งปันและให้ผู้อื่นได้รู้จักที่จะแสวงหาความรู้มาสู่ตนเอง ส่วนการสอนเรื่องภาวะผู้นำเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์สามารถที่จะทำให้องค์กรพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้              สรุป จากการเรียนกับอาจารย์ อาจารย์ได้พยายามที่จะให้ทุกคนเห็นความสำคัญของตนเองที่เป็นมนุษย์ที่เป็นทรัพยากรที่มีค่า และควรจะต้องทำตนเองให้มีค่าโดยรู้จักที่จะแสวงหาความรู้ จากที่ต่างๆให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องเป็นผู้ที่รู้จริงตรงประเด็น และสามารถคิด วิเคาระห์ ต่อยอดความรู้ให้ได้  เพื่อประโยชน์ของตน และผู้อื่น ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีสารพัดรูปแบบ                             วรวรรณ    ส่องพลาย รปม.3 รหัส 4903810035[email protected]

เรียน   ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  อาจารย์ประกาย  อาจารย์ปิยะ

 

                วันอาทิตย์ที่  28 มกราคม 2550  อาจารย์ประกาย  และอาจารย์ปิยะ  ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ดี  มาถ่ายทอดหลายเรื่อง   เช่น   Change  Management   ถามนักศึกษาว่าทำไมจะต้องเปลี่ยนแปลง

หลายคนตอบโดยนำทฤษฎี  2 R’s  และ  P E S T   มาประยุกต์ใช้ได้ดี

 

 

ทำให้เห็นว่ามีการพัฒนาด้านการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์ได้

การปรับความคิด    ความรู้    พฤติกรรม    หากเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งพฤติกรรมจะเปลี่ยน   เรื่องภาวะผู้นำ

                ผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลง (Leading  Change)

                1. สร้างแนวร่วมการเปลี่ยนแปลง(Greating A Shared Need)

                2. มีวิสัยทัศน์ชัดเจน (Shaping A Vision)

                3. สรุปข้อตกลงให้ชัดเจน (Mobilization  Commitment)

                4.   Making  Change  Set

                5.  ตรวจสอบประเมินผลทุกขั้นตอน(Monitoring   Progess)

               

 

สำหรับโจทย์ที่อาจารย์ปิยะ ให้ระดมความคิดเห็น 2 ข้อเป็นกลุ่ม

ขอตอบดังนี้  1) จะเปลี่ยนแปลงอะไรในองค์กร มีวิธีการและขั้นตอนอย่างไร

 

                 สภาพปัจจุบันขององค์กร มีการจ่ายเงินรางวัล  มีการพิจารณาเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน   จะมีปัญหาเรื่องไม่มีเครื่องมือที่ใช้วัดผลงานอย่างเป็นระบบ  ผู้บังคับบัญชาใช้ความรู้สึกในการประเมิน  ไม่มีความยุติธรรม   ระบบอุปถัมภ์   เด็กนาย   นักการเมืองฝาก   ทำให้เกิดการแตกแยก คนตั้งใจทำงานหมดขวัญกำลังใจ  ทำให้ผลงานไม่มีประสิทธิภาพ   วิธีการแก้ไขโดยนำการเปลี่ยนแปลง   เสนอแผนงานการนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานมาใช้  (Performance  Management)

 

ขั้นตอนดำเนินการ

1.      เสนอเรื่องนำระบบประเมินผลการปฎิบัติงานมาใช้  ในการเสนอแผนงานจะสรุปปัญหา  วิธีการ  ข้อดี  ข้อเสีย  ผลกระทบ อย่างไรบ้าง

2.      กำหนดเป้าหมายทิศทาง ว่าบุคลากรทุกคนจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมทุกคน

3.      จัดทำระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน   อาจเชิญที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์มาร่วมดำเนินการ   กำหนดเป้าหมาย  ตัวชี้วัด   กำหนดเกณฑ์   วิธีการประเมินผลงานร่วมกัน

4.      ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนในองค์ให้รับรู้ว่ามีการนำระบบมาใช้

5.      ทดลองนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานมาใช้กับหน่วยงานนำร่องก่อน  เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือ

6.      ติดตามประเมินผล  ทุกขั้นตอน    หากมีปัญหาอุปสรรค จะต้องปรับปรุงแก้ไข 

7.      ผู้บริหารระดับสูง  กำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานให้ชัดเจน   ประกาศใช้ให้ทุกคนรับรู้อย่างทั่วถึง

 

ผลที่คาดหวัง

-         มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่โปร่งใส  เป็นธรรม  ตรวจสอบได้

-         เพื่อจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม

-         เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาบุคลากร (IDP)

-         เพื่อใช้วางแผน  Sucession  Plan

-         สร้างการเรียนรู้ในองค์การ เพื่อพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพ

 

สิ่งที่ต้องการสนับสนุน

-         ผู้บริหารเห็นชอบ และประกาศเป็นนโยบายชัดเจน

-         งบประมาณในการจัดทำระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน

-         เทคโนโลยี  ที่ใช้ในการประมวลผลการประเมิน

 

ความถี่ในการติดตามผลกับหัวหน้า

-         ระหว่างที่ระบบ PM ยังไม่เสร็จ จะติดตามทุกเดือน

เพื่อดูว่ามีความคืบหน้า  ปัญหาอุปสรรคอะไร

-         เมื่อนำระบบ PM มาใช้ มีการติดตามทุก 3 เดือน

ประเมินผลงานทุก  6 เดือน

 

ข้อ  2   ศึกษากรณีบริษัทกระดาษไทยรุ่ง จำกัด (มหาชน) และตอบคำถาม

1.      ปัญหาที่เกิดกับหัวหน้างานผลิต  ลูกน้องขาดงานบ่อยมาก

ส่งงานช้า  ท้อแท้เบื่อหน่ายไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน  เนื่องมาจากไม่มีเครื่องมือหรือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน  ไม่มีข้อตกลงถึงเป้าหมายการปฏิบัติงาน   ประเมินตามความรู้สึกของหัวหน้า    แก้ไขโดยตกลงเป้าหมายและวิธีการประเมินผลอย่างเป็นธรรม   มีการสอนงาน  ให้ความรู้

เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

                2.   ปัญหาการลาออกของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น   สาเหตุจากหัวหน้างาน   วิธีการแก้ไขคือส่งหัวหน้างานไปพัฒนาเรื่องภาวะผู้นำ  

หัวหน้าที่ดี ต้องหาวิธีทำให้ลูกน้องทำงานมีผลงานที่ดี   หาวิธีการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาให้ได้    ต้องสร้างแรงจูงใจ   สร้างความ

ผูกพันธ์กับองค์กร   คนจะมีผลงานที่ดีได้จะต้องมีความรู้และแจงจูงใจ  

หัวหน้าที่ดีจะต้อง

                 1)   เป็น  Pathfinder  หาทางเดินให้ลูกน้องโดยกำหนดเป้าหมาย  วิธีการร่วมกันอย่างชัดเจน

                2) Aligning   ปรับทิศทางเป้าหมายให้สอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน

                3)  Empowerment  กระจายอำนาจการตัดสินใจ

                4)  Role  Model    เป็นแบบอย่างที่ดี

 

               

                ปัญหาในองค์กรจะมีอยู่สองเรื่องคือเรื่องระบบงาน และเรื่องคน  การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาองค์กร  จะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนก่อน  

 

กลุ่ม  4  (กลุ่มมะม่วงสุก)

พิพัฒน์    อรรถเอี่ยม

ประเชิญ   คำมี

ศรีปัญญา  วัชนาค

วิไลวรรณ   วิไลเลิศ

รุ้ง            โลนุช

กลุ่มสองของพระคุณเจ้า
เรียน  ศาสตราจารย์  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีมงานการกระตุก กระตุ้น กระทุ้งนักศึกษาของท่านอาจารย์ ด้วยลีลา ท่วงท่าและน้ำเสียงตามอัตลักษณ์ เพื่อให้ศิษย์ตื่นที่จะเรียนรู้ทุกเสี้ยววินาทีนั้น ทำให้นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 3  หมดสิทธิ์ที่จะง่วง จำต้องบากบั่นขมีขมันขยันขันแข็ง หากไม่รู้สิ่งใดก็ต้องรู้ ไม่เป็นก็ต้องทำให้เป็น!!!  ดั่งปณิธาน ความสำเร็จไม่ได้มาโดยความบังเอิญ แต่ปูลาดหนทางเดินมาด้วยการทำงานหนัก ความเจ็บปวด และคราบน้ำตา หรือ การทำงานหนักไม่เคยทำร้ายใคร แต่มันกลับจะยิ่งทำให้เรานั้นมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น .....คณะศิษย์จึงเคารพ ศรัทธา เทิดทูน และชื่นชมในอุดมการณ์และจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูผู้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาและผู้ทรงประสบการณ์อันล้ำค่าของพวกเรา  เช้าวันเสาร์ที่ 27 มกราคมที่ผ่านมานั้น ได้สัมผัสกับบรรยากาศอันอบอวลอึมครึมสืบเนื่องเพราะการจากไปอย่างฉับพลันทันด่วนของ โอ๋ เพื่อนร่วมห้อง ทำให้เพื่อนพ้องน้องพี่ต่างวิพากษ์วิจารณ์รำพึงรำพันพร่ำถึง สุดแสนว้าเหว่ วังเวง และหดหู่ละห้อยหา.........  และทันทีทันใดนั้น บรรยากาศที่แสนเศร้าได้ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เมื่อท่านอาจารย์ได้ย่างกรายเข้ามาทักทายคณะศิษยานุศิษย์ สติสัมปชัญญะได้ปรับตัวตื่นเพื่อพร้อมที่จะเรียนรู้ได้เข้ามาแทนที่ การเรียนรู้ในวันนี้นั้น การมีปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญ  อาจารย์สิ้นสุดการทักทาย/สอบถามสารทุกข์-สุขศิษย์ แล้วให้คณะเพื่อนนักศึกษาทุกคนยืนไว้อาลัยด้วยความสงบแด่เพื่อนผู้จากไป.....สราวุฒิ  นวมทอง... แต่นั้นแล้ว ประเดิมด้วยทฤษฎี 8K’s  เฉพาะเรื่อง ทุนมนุษย์ กับ ทุนทางปัญญา ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  โดยให้นักศึกษาชี้ชัดความแตกต่างจนเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งพอสรุปเป็นแนวได้ว่าทุนมนุษย์และทุนทางปัญญานั้น ล้วนมีแหล่งมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว โรงเรียน สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องอิงเอื้อและพรากออกจากกันมิได้ เพราะทั้ง 2 ชนิดนั้นคือหัวใจของการพัฒนาชาติอย่างแท้จริงและได้กล่าวประเด็นหลักในความสำเร็จของ Wall Mart ได้สรุปความสำเร็จ ไว้ 10 ประการ  หากเมื่อประมวลทั้งหมดแล้วจะเห็นว่าการบริหารงานตามแนวทางทั้ง 10 ประการนั้นก็คือ หลักประชาธิปไตย โดยได้พบหลักการมีส่วนร่วมของภาวะผู้นำและผู้ตาม คุณธรรม  ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการทำงาน และความโปร่งใส ซึ่งบ้านเราเรียกชื่อกันว่า หลักธรรมาภิบาลช่วงบ่ายมีการเปิดเทป รายการของ ดร.จีระ กับ ดร.ปุระชัย แล้วให้วิเคราะห์ ว่า ดร.จีระ และ ดร.ปุระชัยมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? พบว่าทั้งสองไม่ว่าด้วยชาติวุฒิ วัยวุฒิ และปัญญาวุฒิ ไม่แตกต่างกันนัก แต่ถ้าเปรียบด้านอุปนิสัยการกระตุ้นสังคม เน้นระดับปัจเจก ต้องให้ อ.จีระ  เป็นประเภทดุเดือด  เร้าใจ และท่วงท่าที่ท้าทาย ส่วนอาจารย์ปุระชัยจะเป็นแนวหน่อมแน้มแต่หนักแน่น เรียบๆ เรื่อยๆ เลิศลึกจากจัดระเบียบสังคม   ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านทั้ง 2 ที่เคารพ ย่อมมีเจตประสงค์เดียวกัน นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อให้เป็นไปในสิ่งที่สังคมนั้นต้องการก่อนยุติการเรียนในวันนั้น สัมภาระใหม่ในคราวต่อไปคือการใจจดใจจ่อฟังวิทยุคลื่นความคิด 96.5 MHz ในวันพุธ 31 มกราคม ที่จะถึงนี้ แล้วบันทึกส่ง Blog ว่าที่ฟังนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อการเรียนรู้บ้าง ? ...กรณีดังกล่าวได้ทำให้ข้าพเจ้านั้นที่ไม่เคยฟังวิทยุ  ต้องขวนขวายไปซื้อวิทยุ AM/FM ยี่ห้อธานินทร์ 1 เครื่อง จากตลาดคลองถม ขนาดหิ้วไปหิ้วมาแบบพกพาสะดวก  (เพราะการศึกษาคือการลงทุน)   ทั้งนี้ก็เพื่อการตื่นที่จะเรียนรู้อย่างแท้จริง...   (หาใช่เพื่อ 20 คะแนนแต่ประการใดไม่ ?)……                                             กลุ่ม 21. อรุณ  เฮียงฮม                      2. ธีระชัย  ไชยมะโน     3. กิตติ  เพลินจิตต์4. วรวรรณ  ส่องพลาย          5. ณัฐพร  บุญยะ   6. อรณา  ยี่เข่งหอม    7. กัลย์สุดา  พันธเสน           8.รักษิณา  อิ้วสวัสดิ์    
กลุ่ม 3 ผู้รักการเรียนรู้ รปม. ราชภัฏสวนสุนันทา
เรียน   ศ.ดร.จีระ / อ.ยม / อ.พจนารถ / อ.ประกาย / อ.ปิยะ / ทีมงาน / เพื่อนกลุ่ม รปม. และเพื่อนๆชาว Blog ทุกคน   จากการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์    เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550  ได้รับความรู้   และประสบการณ์ที่ดีมากมาย อาจารย์จีระ ได้มอบหมายงานโดยการสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันเสาร์ให้ส่งทาง Blog ทำให้กลับมาทบทวนว่าเรียนแล้วได้อะไรบ้าง เป็นวิธีการที่ดีมาก ความจริงได้รับความรู้หลายเรื่อง แต่สรุปสาระได้ดังนี้ค่ะทฤษฎี  Motivation      เป็นทฤษฎีที่สำคัญเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ทำงานมีความเต็มใจในการทำงานและมุ่งมั่นเพื่อให้เกิดความสำเร็จของงาน  การชักจูงโน้มน้าวหรือผูกใจให้เพื่อความสำเร็จขององค์กรประกอบด้วย 
  • การมีระบบโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม  และเน้น Pay for Performance  ซึ่งเป็นระบบคุณธรรม และ
    การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในองค์กร
  • การมีโอกาสและความก้าวหน้าในงานและองค์กร
  • การมีส่วนร่วม
  • การทำงานท้าทาย
  • การทำงานเป็นทีม
  • การให้รางวัลพิเศษ
    ทฤษฎีทุน 8 ประการ ใช้เป็นแนวทางการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มีดังนี้
  • Human Capital  หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี
  •  Intellectual Capital  หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามีทุน (Capital) ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญา       หรือ Intellectual Capital  เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูง แต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม
  •  Ethical Capital  หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝังให้มีทุนทางจริยธรร
  • Happiness Capital    หรือ     ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่คนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือสุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
  • Social Capital  หรือ ทุนทางสังคม หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคม ซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม
  • Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนแล้วนั้น เราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน
  • Digital Capital    หรือ         ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • Talented Capital  หรือทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10 Suceess Factors of Sam Walton เพื่อให้เรียนรู้ว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงระดับโลกมีแนวทางการทำงานอย่างไร  โดยสามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ที่ประกอบด้วย 10 ปัจจัย คือ

1. การทำงานที่เน้นความสำเร็จขององค์กร

2. เมื่อมีความสำเร็จในองค์กรอย่าเก็บเอาไว้

    แบ่งปันสมาชิกในองค์กรเพื่อให้ทุกคนร่วมกัน

    ภาคภูมิใจในความสำเร็จ เป็นการสร้างขวัญ

    กำลังใจให้มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จต่อไปอีก  

    (Rewards)

3. การมี  Motivation ให้บ้าคลั่งไปสู่ความสำเร็จ

4. การทำงานอย่าเก็บข้อมูลไว้คนเดียว พยายาม 

    ถ่ายทอดข้อมูลให้ชัดเจน

5. ถ้าพนักงานประสบความสำเร็จ ให้แสดงความ

    ชื่นชมต่อความสำเร็จนั้น (Recognition)

6. เมื่องานสำเร็จ มีเวลาฉลองร่วมกันในความ

     สำเร็จ

7. เมื่อมีความสำเร็จสิ่งแรกที่ต้องทำ  คือ ต้อง

    รับฟังความคิดเห็นและเรียนรู้จากเขา  

    (Listen and Learn)

8. การทำงานที่เน้นลูกค้าเสมอ  ต้องแน่ใจว่า

    ลูกค้าได้มากกว่าความพอใจหรือความคาดหวัง

     ที่มีอยู่    

    (Beyond Expectation or Customer Delight)

9. ควบคุมเรื่องค่าใช้จ่าย

    10. สู้กับความเจ็บปวด ชอบการทำงานที่ท้าทาย    ในตอนท้าย  จากการดูเทป VDO เรื่องสังคมการเรียนรู้ของ ท่าน ดร.จีระและท่านปุระชัย   นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ที่มีแนวความคิดที่เหมือนและต่างกันในหลายๆด้าน  ได้เห็นแนวคิดที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองต่อไป  โดย ท่านปุระชัยมีความคิดเน้นความอบอุ่นของครอบครัวเป็นพื้นฐานที่สำคัญ  ส่วน ดร. จีระ ได้ต่อยอดการเน้นความสำคัญที่ดีของครอบครัวให้กระจายไปสู่สังคม  โดยงานที่ ดร. จีระทำเป็นการเน้นสังคมองค์รวม  แบ่งปันให้โอกาสผู้ด้อยโอกาสให้ได้มีโอกาสหาความรู้ที่ดีโดย ดร. จีระ ลงมือทำเอง จัดกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ   เป็นเพียงการสรุปเนื้อหาภายในกลุ่ม   3

เท่านั้นค่ะ  ก่อนจบขอเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า  การได้เรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับอาจารย์หลายๆ ท่านที่ผ่านมา  ได้รับความรู้เกินความคาดหวังมากค่ะ  สวัสดีค่ะ

รายชื่อสมาชิก กลุ่ม 3 รปม.

(รุ่น 3) ม. ราชภัฏสวนสุนันทา

1. 49038010002 นางสาวนันทพร  สิงห์ตุ่ย

2. 49038010003 นางมยุเรศ เชยปรีชา

3. 49038010007 นางสุภาภรณ์    สุขเกษม

4. 49038010008  นางสาวละอองแก้ว    

    จันทร์เทพ

5. 49038010014 นางสาวพรกมล  สมวงศ์

6. 49038010039 นางเปรมหทัย  

    พึ่งบุญ ณ อยุธยา

7. 49038020007   นางสาวอชิรญา   ผูกมี

กลุ่ม 3 ผู้รักการเรียนรู้ รปม. ราชภัฏสวนสุนันทา
เรียน ศ.ดร.จีระ / อ.ยม / อ.พจนารถ / อ.ประกาย / อ.ปิยะ / ทีมงาน / เพื่อนกลุ่ม รปม. และเพื่อนๆชาว Blog ทุกคน จากการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2550  ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ดีมากมาย จากอาจารย์ประกายและอาจารย์ปิยะ ให้ความรู้มากมายในการนำมาใช้กับหน่วยงาน/อง์กร ในชีวิตประจำวัน และได้ให้ paper กรณีศึกษา บริษัท กระดาษไทยรุ่ง จำกัด (มหาชน) ส่งทาง Blog เรื่องการประเมินผลพนักงานคำถาม  1. คุณคิดว่าอะไรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวหน้างานผลิตคนนี้ และคุณจะหาทางแก้ไขได้อย่างไรบ้าง การแก้ไขปัญหาตามแนวทางของพระเจ้าอยู่หัวฯก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้   1) ทำอะไร
 2) ทำอย่างไร
 3) ทำเพื่อใคร
 4) ทำแล้วได้อะไร  
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวหน้างานผลิต  คือ  ปัญหาผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่เป็นระดับผู้ใต้บังคับบัญชาตกต่ำ  เพราะขาดขวัญกำลังใจในการทำงานที่ดี  อันเนื่องมาจากบริษัทไม่มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพยุติธรรมและไม่มีการสื่อข้อความอย่างถูกต้องเพื่อสร้างความเข้าใจให้พนักงานทราบ  โดยมีรายละเอียดของปัญหาของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทนี้   คือ  บริษัทไม่มีเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน  ไม่มีการนำเป้าหมายงาน  ตัวชี้วัด  และผลการทำงานตามตัวชี้วัด ที่ชัดเจนมาวัดผล    ทำให้หัวหน้างานต่างประเมินผลงานลูกน้องตามแนวทางที่ตนเองเห็นว่าถูกต้องเหมาะสม  เช่น  บางคนประเมินเฉพาะเรื่องการมาทำงานตรงต่อเวลาและการหยุดงาน ของลูกน้อง  บางคนประเมินตามฐานะของลูกน้อง เห็นว่าลูกน้องฐานเงินเดือนต่ำก็ประเมินให้ได้เกรดสูงเพื่อให้ลูกน้องได้เงินเดือนขึ้นสูง  บางคนประเมินความสามารถลูกน้องเพียงด้านเดียว คือ ขายของได้เยอะ ใครขายได้น้อยก็ไม่มีผลงาน   ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่เป็นธรรมในการประเมินผลงานของพนักงานทั้งบริษัท1.      ไม่มีการสื่อข้อความหรือสร้างความเข้าใจให้ลูกน้องที่ถูกประเมินทราบว่า ที่ได้รับผลการประเมินนั้นเกิดจากอะไร  ทำให้ลูกน้องเข้าใจว่า หัวหน้าไม่มีความเป็นธรรมทำให้ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะเห็นว่า ผลงานที่ดีไม่ได้นำไปสู่การตอบแทนที่ดี  นอกจากนี้ ยังทำให้พนักงานไม่มีความภักดีต่อองค์กร  ไม่มุ่งมั่นทำงานเพื่อองค์กร  และพร้อมที่จะลาออกไปทำงานที่อื่น2.      ระบบการประเมินผลการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพนอกจากทำให้ขวัญกำลังใจพนักงานเสีย  ผลงานตกต่ำแล้ว  ยังเป็นการทำลายระบบการทำงานเป็นทีม  ทำให้พนักงานแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันด้วยการหาทางแก้ไขสำหรับเรื่องนี้ คือ ต้องปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทนี้ให้มีประสิทธิภาพ  มีหลักเกณฑ์ชัดเจน  ต้องอบรมหัวหน้างานให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประเมินผลงาน  และต้องจัดให้เป็นระบบการปรึกษาหารือกันระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง  เพื่อสร้างความไว้วางใจ  สร้างทีมเวอร์ค  และ สร้างความเป็นธรรมภายในบริษัท2.      ขอเสนอแนวทางแก้ไขแก่บริษัท กระดาษไทยรุ่ง จำกัด (มหาชน) คือ1.      บริษัทต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าหมายงาน  แผนกลยุทธ์ การทำงานที่ชัดเจน2.      สื่อสารวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายงาน และแผนกลยุทธ์ ให้พนักงานทุกระดับชั้นได้ทราบและเข้าใจ  และมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน3.      นำเป้าหมายงานขององค์กรมากระจายให้ทุกหน่วยงานจัดทำเป็นเป้าหมายหน่วยงาน  และกระจายต่อเป็นเป้าหมายงานของพนักงานแต่ละคน  สื่อสารให้พนักงานทราบเป้าหมายงานที่พนักงานแต่ละคนต้องทำให้สำเร็จ4.      ปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ  ออกแบบฟอร์มการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดการทำงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้มาเป็นเกณฑ์ในการประเมินผล5.      จัดให้มีการประเมินผลโดยอบรมหัวหน้างานให้เข้าใจระบบการประเมินผลที่ดี  การสื่อข้อความกับลูกน้อง  เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งสองฝ่าย  และสร้างความเป็นธรรม6.      บริษัทต้องกำกับดูแลให้การขึ้นเงินเดือน การให้เงินรางวัล การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เป็นไปอย่างยุติธรรม ตามผลการทำงานของพนักงานอย่างแท้จริงทั้งนี้  เมื่อบริษัทกระดาษไทยรุ่ง ฯ มีการจัดการตามรายละเอียดข้างต้น ก็จะทำให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีแก่พนักงาน  บริษัทจะสามารถรักษาคนดีไว้ได้  คนดีมีกำลังใจในการสร้างผลงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อัตราการลาออกจะลดลง  ผลประกอบการของบริษัทจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายท้ายที่สุดนี้ การวิเคราะห์ตามกรณีศึกษาในกลุ่ม 3 สามาราถเรียนรู้ และสามารถเสนอแนะวิธีการใช้เครื่องมาวัดพฤติกรรม การกระทำของคนที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างได้อย่างเหมาะสมและเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้ต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมรายชื่อสมาชิก กลุ่ม 3 รปม. (รุ่น 3) ม. ราชภัฏสวนสุนันทา1. 49038010002              นางสาวนันทพร        สิงห์ตุ่ย2. 49038010003              นางมยุเรศ               เชยปรีชา3. 49038010007              นางสุภาภรณ์           สุขเกษม4. 49038010008              นางสาวละอองแก้ว   จันทร์เทพ5. 49038010014              นางสาวพรกมล         สมวงศ์6. 49038010039              นางเปรมหทัย           พึ่งบุญ ณ อยุธยา7. 49038020007              นางสาวอชิรญา        ผูกมี
กลุ่มผู้ก่อการ รปม.

กลุ่มผู้ก่อการ...ดี เรียน อาจารย์ทุกท่าน และสวัสดีเพื่อน ๆ สมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทุกคน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2550 อาจารย์ปิยะได้ตั้งโจทย์ให้พวกเราได้แบ่งกลุ่มระดมพลังสมองคิดการดี และทำการดีร่วมกันว่า     “ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในองค์กร     เ ราจะมีกระบวนการจัดการกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร”     ทางกลุ่มได้ตอบคำถามของอาจารย์ปิยะ โดยการใช้  ทฤษฏี   2   R       วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และมองความเป็นจริงที่เกิดขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง สภาพสังคม เทคโนโลยี คู่แข่งขัน ในยุคโลกาภิวัฒน์      ได้ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตนเองให้สามารถอยู่รอดได้ในกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการติดต่อสื่อสารที่มีความรวดเร็ว เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง        และแข่งขันกันตลอดเวลา แม้แต่ในภาคราชการ ก็จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพในการให้บริการแก่ประชาชน ไม่ใช่แค่ปฏิบัติงาน  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน แต่ต้องทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจสูงสุดด้วย ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย สมบูรณ์ และถูกต้องในการบริหารงานและตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และเพื่อพัฒนาคุณภาพในการให้บริการแก่ประชาชน จึงต้องมีแผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ แม่นยำ เที่ยงตรง เชื่อถือได้ แผนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน มีดังนี้

1. การประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลง การประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับ โดยให้เข้าใจแนวทางและความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน และการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน

2. การกำหนดวิสัยทัศน์           ตั้งเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุงการปฏิบัติงานร่วมกัน

3. การฝึกอบรมบุคคลเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านสารสนเทศ

โดยกำหนดหลักสูตรดังนี้ คือ

ในระยะแรก จะเป็นการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงาน

ระยะที่สอง เป็นการฝึกอบรมเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน

ระยะที่สามการฝึกอบรมภายหลังการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงเพื่อดูความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน

ระยะที่สี่ การวางระบบการติดตามและประเมินผลในทุกขั้นตอน จากการบันทึกผล การรายงานผล การสำรวจความพึงพอใจของประชาชน

การเสนอแนวทางแก้ไขในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ผลที่คาดหวังจากแผนงานที่ได้วางไว้ มีดังนี้

1. ลดค่าใช้จ่าย 30 % จากค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ แฟ้ม และค่าจ้างที่ลดลงจากการลดอัตรากำลังบุคคล

2. การให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนเร็วกว่าเดิม 70 % ลดขั้นตอนการทำงานและประหยัดเวลา

3. ข้อมูลมีความถูกต้อง สมบูรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ95

4. บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะด้าน IT และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน 60 %

สิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุน มีดังนี้

1. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมของทุกคนในทุกขั้นตอน

2. งบประมาณดำเนินการ

3. วิทยากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการประชาชน มีระยะเวลา 2 ปี โดยมีผู้รับผิดชอบ    คือ       ตนเองร่วมทำกับหัวหน้าและหน่วยงานอื่นในบริษัท แผนงานจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะ หัวหน้าต้องเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน หน่วยงานอื่น ๆ ต้องให้ความร่วมมือ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะด้าน IT รองรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน แผนงานจึงจะสำเร็จและจัดให้มีการติดตามผลทุก 3 เดือน ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการวางแผนงานเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการขององค์กรภาครัฐ มิได้อยู่ที่แผนงานที่ดีเลิศ แต่มี สาระสำคัญอยู่ที่การแปลงแผนงานไปสู่การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ แผนงานที่เลวแต่ได้รับการนำไปปฏิบัติจริงในวันนี้ ย่อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรมากกว่าแผนการทีดีเลิศแต่ไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ เพราะอย่างน้อยที่สุดจะทำให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติตามแผนงานที่เลวในอดีต

 ผู้ร่วมก่อการ

1. นส.สมธนิษฐุ์ มงคลชาติ

2. นส.พรยุพา คัมภีรญาณนนท์

3. นส.อชิรญา ผูกมี

4. นส.นันทพร สิงห์ตุ่ย

5  นส.นลินธร ลือเสรษฐสิทธ์

6. นางเปรมหทัย  พึ่งบุญ ณ อยุธยา

กลุ่มสอง พระคุณเจ้าละผู้ร่วมก๊วน
เรียน ศ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม อาจารย์พจนารถอาจารย์ประกาย อาจารย์ปิยะ  และเพื่อนๆ ชาว blog ทุกคน                      เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2550 เรียนกับอาจารย์ประกาย และอาจารย์ปิยะ ทั้ง 2 ท่านแล้ว รู้สึกเหมือนได้กำไร อาจารย์จะสอนเรื่อง Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลง   Change Management  เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลมาจากผู้นำมีวิสัยทัศน์ ที่จะทำให้องค์กร มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์กร และสามารถที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่นได้  Change Management  จะกระทบต่อผู้ปฎิบัติงาน และหัวหน้าหรือผู้นำจะต้องมีหน้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึง  Change Management  ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของภาวะผู้นำด้วย            อาจารย์ได้สอนให้ว่าการเป็นหัวหน้าหรือผู้นำต้องรู้จักการบริหารคน ทำให้คนมีผลงาน ใช้ระบบ คุณ นะ ทำ  ต้องสอนให้ลูกน้องทำงาน ใช้คนให้เป็น เพื่อให้มีผลงาน แต่ขณะเดียวกันหัวหน้าหรือผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่างด้วย  โดยหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่สำคัญคือ Motivation แรงผลักดันที่ขับเคลื่อนให้คนทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก    Individual คนจะทำงานได้ต้องมี  Ability  และมี Motivation การสร้างคนต้องสร้างตัวเองก่อน นอกจากนี้อาจารย์จะสอนถึง             หน้าที่  HR1.เรียนรู้ และพัฒนาตนเอง2.พัฒนาหัวหน้า ทำตัวอย่างดีๆให้หัวหน้าดู3.พํฒนาเพื่อนร่วมงาน            หัวหน้าที่ดีมี 4 บทบาท 1.ต้องเป็น PATHFINDER เป็นผู้หาทางเดินให้คนอื่น 2.ALIGNING ทำให้ทุกคนไปในแนวทางเดียวกัน 3.ตัองรู้จักกระจายอำนาจ มอบอำนาจในการตัดสินใจ 4.ROLE MODEL เป็นแบบอย่างที่ดี           นอกจาก 4 บทบาทแล้วการทำงานต้องมีระบบและระบบที่นำมาใช้ต้องแน่นอน ได้ผล การทำงานต้องมีการวัดผล หัวหน้าต้องรู้ความต้องการของคน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนความคิด จะทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง เห็นพ้องต้องการที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว เมื่อมีการวัดผลงาน จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นได้          สำหรับ case study ที่อาจารย์มอบหมายให้สำหรับกลุ่ม 2กลุ่มพระคุณเจ้ากับผู้ร่วมก๊วน มีการคิดแผนงานดังนี้ แผนงานการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsource)           แผนงานที่จะทำ      1. การกำหนดนโยบายแผนงานการจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นนโยบายขององค์กร      2.ปรับพฤติกรรม สร้างความรู้,ความเข้าใจของพนักงานในการมีการจัดจ้างบุคคลภายนอกมาปฏิบัติงาน  ให้เข้าใจว่าการจัดจ้างบุคคลภายนอกมาเพื่อช่วยกันปฎิบัติงาน ไม่ได้มาทำงานแทนพนักงานประจำที่มีอยู่แล้ว แต่มาเพื่อการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร                3.มีการฝึกอบรม outsource เพื่อให้ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมายจากแต่ละหน่วยงาน และจัดให้ outsource ไปปฎิบัติงานในแต่ละหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย       4.ประเมินผลงานของ outsource เป็นรายบุคคลทุกๆ 1 เดือนว่าเมื่อเมื่อมี outsource มาปฏิบัติงาน แต่ละหน่วยงานมีผลงานอย่างไร       ผลที่คาดหวัง    1.ผลงานแต่ละหน่วยงานงานเพิ่มขึ้น  25 %  งานดี รวดเร็วขึ้น        2.งบประมาณค่าใช้จ่ายเงินเดือน,โบนัส ,สวัสดิการพนักงานลดลง 30 %      3. กำไรเพิ่มขึ้น   15 %  (เมื่อลดต้นทุนทำให้ผลประกอบการโดยรวมเพิ่มขึ้น)        กำหนดการแล้วเสร็จ     ระยะเวลาการจัดจ้างบุคคลภายนอก ภายใน 1เดือนหลังจากการกำหนดแผน       สิ่งที่ต้องการสนับสนุน     การยอมรับ outsource ของพนักงานประจำ โดยจะต้องยอมรับถึงผลงาน ของ outsource  ตัว outsource  และแผนการจัดจ้างบุคคลภายนอกว่าเป็นประโยชน์สำหรับองค์กร         หน้าที่/ผู้รับผิดชอบ      พนักงานประจำร่วมกับหัวหน้า แต่จะเน้นบทบาทของหัวหน้าในการประสานระหว่างพนักงานประจำและ outsource ทุกหน่วยงานที่มี outsource  ปฏิบัติงาน      ความถี่ในการติดตามผล      ประเมินผลทุกสิ้นเดือน จนถึงรอบสัญญาจ้าง      อนุมัติ โดย HR         สรุปในองค์กรใดที่มี Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำที่จะมีการนำการเปลี่ยนแปลง  และสามารถที่จะจัดการการเปลียนแปลงนั้นได้ ซึ่งถือเป็นบทบาทของผู้นำที่จะสามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้                           ...............................   พระคุณเจ้าและผู้ร่วมก๊วน    1. พระมหาอรุณ  เฮียงฮม   2. พ.ท.ธีรชัย  ไชยมะโน   3. นายกิตติ  เพลินจิตต์   4. น.ส.วรวรรณ  ส่องพลาย   5. นางณัฐพร  บุญยะ   6. นางรักษิณา  อิ้วสวัสดิ์   7. นางกัลย์สุดา  พันธเสน   8.  น.ส.อรณา  ยี่เข่งหอม 
กลุ่มสอง พระคุณเจ้าและเพื่อนร่วมก๊วน รปม.3
เรียน ศ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม อาจารย์พจนารถอาจารย์ประกาย อาจารย์ปิยะ  และเพื่อนๆ ชาว blog ทุกคน                      เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2550 เรียนกับอาจารย์ประกาย และอาจารย์ปิยะ ทั้ง 2 ท่านแล้ว รู้สึกเหมือนได้กำไร อาจารย์จะสอนเรื่อง Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลง   Change Management  เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลมาจากผู้นำมีวิสัยทัศน์ ที่จะทำให้องค์กร มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์กร และสามารถที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่นได้  Change Management  จะกระทบต่อผู้ปฎิบัติงาน และหัวหน้าหรือผู้นำจะต้องมีหน้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึง  Change Management  ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของภาวะผู้นำด้วย            อาจารย์ได้สอนให้ว่าการเป็นหัวหน้าหรือผู้นำต้องรู้จักการบริหารคน ทำให้คนมีผลงาน ใช้ระบบ คุณ นะ ทำ  ต้องสอนให้ลูกน้องทำงาน ใช้คนให้เป็น เพื่อให้มีผลงาน แต่ขณะเดียวกันหัวหน้าหรือผู้นำต้องทำตัวเป็นแบบอย่างด้วย  โดยหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่สำคัญคือ Motivation แรงผลักดันที่ขับเคลื่อนให้คนทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก    Individual คนจะทำงานได้ต้องมี  Ability  และมี Motivation การสร้างคนต้องสร้างตัวเองก่อน นอกจากนี้อาจารย์จะสอนถึง             หน้าที่  HR1.เรียนรู้ และพัฒนาตนเอง2.พัฒนาหัวหน้า ทำตัวอย่างดีๆให้หัวหน้าดู3.พํฒนาเพื่อนร่วมงาน            หัวหน้าที่ดีมี 4 บทบาท 1.ต้องเป็น PATHFINDER เป็นผู้หาทางเดินให้คนอื่น 2.ALIGNING ทำให้ทุกคนไปในแนวทางเดียวกัน 3.ตัองรู้จักกระจายอำนาจ มอบอำนาจในการตัดสินใจ 4.ROLE MODEL เป็นแบบอย่างที่ดี           นอกจาก 4 บทบาทแล้วการทำงานต้องมีระบบและระบบที่นำมาใช้ต้องแน่นอน ได้ผล การทำงานต้องมีการวัดผล หัวหน้าต้องรู้ความต้องการของคน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนความคิด จะทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง เห็นพ้องต้องการที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว เมื่อมีการวัดผลงาน จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นได้          สำหรับ case study ที่อาจารย์มอบหมายให้สำหรับกลุ่ม 2กลุ่มพระคุณเจ้ากับผู้ร่วมก๊วน มีการคิดแผนงานดังนี้ แผนงานการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsource)           แผนงานที่จะทำ      1. การกำหนดนโยบายแผนงานการจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นนโยบายขององค์กร      2.ปรับพฤติกรรม สร้างความรู้,ความเข้าใจของพนักงานในการมีการจัดจ้างบุคคลภายนอกมาปฏิบัติงาน  ให้เข้าใจว่าการจัดจ้างบุคคลภายนอกมาเพื่อช่วยกันปฎิบัติงาน ไม่ได้มาทำงานแทนพนักงานประจำที่มีอยู่แล้ว แต่มาเพื่อการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร                3.มีการฝึกอบรม outsource เพื่อให้ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมายจากแต่ละหน่วยงาน และจัดให้ outsource ไปปฎิบัติงานในแต่ละหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย       4.ประเมินผลงานของ outsource เป็นรายบุคคลทุกๆ 1 เดือนว่าเมื่อเมื่อมี outsource มาปฏิบัติงาน แต่ละหน่วยงานมีผลงานอย่างไร       ผลที่คาดหวัง    1.ผลงานแต่ละหน่วยงานงานเพิ่มขึ้น  25 %  งานดี รวดเร็วขึ้น        2.งบประมาณค่าใช้จ่ายเงินเดือน,โบนัส ,สวัสดิการพนักงานลดลง 30 %      3. กำไรเพิ่มขึ้น   15 %  (เมื่อลดต้นทุนทำให้ผลประกอบการโดยรวมเพิ่มขึ้น)        กำหนดการแล้วเสร็จ     ระยะเวลาการจัดจ้างบุคคลภายนอก ภายใน 1เดือนหลังจากการกำหนดแผน       สิ่งที่ต้องการสนับสนุน     การยอมรับ outsource ของพนักงานประจำ โดยจะต้องยอมรับถึงผลงาน ของ outsource  ตัว outsource  และแผนการจัดจ้างบุคคลภายนอกว่าเป็นประโยชน์สำหรับองค์กร         หน้าที่/ผู้รับผิดชอบ      พนักงานประจำร่วมกับหัวหน้า แต่จะเน้นบทบาทของหัวหน้าในการประสานระหว่างพนักงานประจำและ outsource ทุกหน่วยงานที่มี outsource  ปฏิบัติงาน      ความถี่ในการติดตามผล      ประเมินผลทุกสิ้นเดือน จนถึงรอบสัญญาจ้าง      อนุมัติ โดย HR         สรุปในองค์กรใดที่มี Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำที่จะมีการนำการเปลี่ยนแปลง  และสามารถที่จะจัดการการเปลียนแปลงนั้นได้ ซึ่งถือเป็นบทบาทของผู้นำที่จะสามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้                           ...............................   พระคุณเจ้าและผู้ร่วมก๊วน    1. พระมหาอรุณ  เฮียงฮม   2. พ.ท.ธีรชัย  ไชยมะโน   3. นายกิตติ  เพลินจิตต์   4. น.ส.วรวรรณ  ส่องพลาย   5. นางณัฐพร  บุญยะ   6. นางรักษิณา  อิ้วสวัสดิ์   7. นางกัลย์สุดา  พันธเสน   8.  น.ส.อรณา  ยี่เข่งหอม
วรวรรณ ส่องพลาย รหัส 49038010035 รปม.3
เรียน  ศ ดร. จิระ  หงส์ลดารมภ์/อาจารย์ทุกท่าน เพื่อนๆ              วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2550 นี้มีโอกาสได้ฟังอาจารย์จิระ คุยกับคุณ นาตยา  ทางวิทยุคลื่นความคิด 96.5 fm  ถึงเรื่อง สื่อต่างประเทศวิจารณ์ถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึงประเทศไทยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และสร้างสังคม เพื่อเป็นรากฐานความมั่นคงของประเทศ เป็นประเทศเดียวที่ใช้ และเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับระบอบทุนนิยม (ระบอบทักษิโณมิก)ว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่สามารถที่จะแข็งขันกับเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ได้กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่เป็นที่ยอมรับจากหลายๆประเทศ  ทั้งยังเปรียบเทียบว่าทุนนิยมหรือระบอบทักษิโณมิกทำมานาน 5 ปี และได้ผล แต่เศรษฐกิจพอเพียงยังไม่ทำอะไรเลย             ข้อวิจารณ์ดังกล่าวดิฉันว่าถูกต้องตามที่อาจารย์พูดไว้ว่า เงิน มีอำนาจสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ แต่อยากรู้จังว่าเวลาตายไปเอาไปให้ยมบาลได้รึเปล่า เพื่อจะได้ไม่ต้องลงกระทะทองแดง รู้สึกว่าทักษิณคงยังไม่รู้สึกตัวว่าขาดจริยธรรมขนาดกู่ไม่กลับแล้วละคะ อยากรู้จังว่าอะไรที่จะทำให้สำนึกได้  สำหรับคนที่ไม่รู้คุณของแผ่นดินคนนี้             ชาวต่างประเทศบางคนยังไม่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ได้ทดแทนเศรษฐกิจแต่เป็นปรัชญาที่ทำให้เศรษฐกิจอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด คิดว่าถ้าชาวต่างชาติซึ่งถือตนเป็นปัญญาชน ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงคงจะต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น ปรัชญาที่มีแนวคิดคือ            1.สร้างภูมิคุ้มกัน บริหารความเสี่ยง เช่นรู้จักใช้เงินที่ได้มาสำหรับทำอะไร เก็บอย่างไร เพื่อไว้ใช้ในอนาคต หรือเมื่อถึงคราวจำเป็น            2.มีเหตุมีผล จะทำสิ่งใดคิดอย่างรอบคอบ ได้ประโยชน์แต่ต้องไม่เอาเปรียบผู้อื่น            3.เดินสายกลางพอประมาณ รู้กำลังของตนเองที่มีความสามารถระดับไหน ทำให้พอดีไม่มากไม่น้อย            สำหรับปัญหาของทักษิโณมิก            1.ขาดคุณธรรม จริยธรรม  ทักษิณเป็นนายกฯคนเดียวที่มีคดีมากที่สุด อายุเท่าไรนะจึงจะขึ้นศาลหมด เอาผลประโยชน์ให้วงศาคณาญาติคนสนิท ใกล้ชิด แทบทั้งสิ้น มีคอรัปชั่นมากที่สุด เช่น สนามบินสุวรรณภูมิเปิดได้แค่ 3-4 เดือน มีสิ่งต่างๆที่ส่อให้เห็นความไม่โปร่งใส  สารพัดจะทุจริต            2.ทักษิโณมิกได้ผลแค่ระยะสั้น ระยะยาวเกิดปัญหามากมาย ใช้เงินงบประมาณของประเทศเป็นนโยบายประชานิยมเพื่อประโยชน์ของตนเอง เช่น กองทุนหมู่บ้านทำให้คนไม่เคยมีหลงผิด แทนที่จะสอนว่าควรนำเงินที่ได้ไปทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว ไม่ใช้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ประเทศขยายตัวระยะสั้น แต่เป็นหนี้สาธารณะ ต้องหาเงินมาใช้ไปอีกนาน            3.ทักษิณทำอะไรไม่มองประชาชนอย่างแท้จริง ใช้ประชาชนเป็นแค่ฐานอำนาจ  ประโยชน์กระจุกที่ญาติ โดยการใช้อำนาจไม่ชอบธรรม อาศัยเป็นรัฐบาลคะแนนเสียงมาก แทรกแซงองค์กรต่างๆ          แม้ว่าทักษิณจะมีข้อดีที่คิดเร็ว คิดนอกกรอบ นวัตกรรมเก่ง แต่ถ้าคนเก่ง ไม่เป็นคนดี ไม่มีทุนทางจริยธรรม  ไม่สามารถอยู่อย่างยั่งยืนได้ เพราะคนเก่ง ต้องเป็นคนดีด้วย คือต้องมีทั้งทุนทางจริยธรรม และทุนทางปัญญา จึงจะเกิดทุนแห่งความยั่งยืนตามมา         สำหรับประเทศไทยวิธีที่จะแก้ปัญหา  มีคนที่กล้าพูด  และต้องเป็นผู้มีความรู้ นักวิชาการ สื่อต่างๆ ร่วมกัน  ชี้แจงชาวต่างประเทศซึ่งมีระบบความคิดที่ดี จะสามารถเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้                            สาธุ หวังว่าเวรกรรมคงมีจริง  กรรมใดใครก่อก็รับไปนะ                         วรวรรณ  ส่องพลาย รปม.3 รหัส 49038010035
กราบสวัสดี ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์  และทีมงาน และเพื่อนๆ  MPA. รุ่น 3  ทุกคน*********วันนี้ อ. จีระ ได้มอบหมายงานให้ฟังรายการวิทยุทางคลื่นโมเดลเรดิโอ  96.5  FM.  เวลา  19.30 น.  ซึ่งเป็นช่วง เวทีความคิดเห็น  โดยออกอากาศทุกวันพุธ มีพิธีกรดำเนินรายการ 2  คน  คือ คุณนาตยา  และ ศ.ดร. จีระ ร่วมสนทนากัน เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคมที่ประชาชนในปัจจุบันให้ความสนใจ  ก่อนอื่นดิฉันต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่แค่ได้ฟังรายการวิทยุคลื่นนี้มาก่อน เพราะว่าที่บ้านค้าขายด้วยพอกลับจากทำงานมาก็ต้องช่วยทางบ้านขายของต่อ  จะมีเวลาว่างก็  2  ทุ่มครึ่งไปแล้ว  แต่พอ อ.จีระ  สั่งให้ฟัง  แล้วส่งการบ้านทาง Blog   ดิฉันจึงได้มีโอกาสฟัง   และขอบอกว่ารายการที่ อ.จีระ  จัดได้มีเนื้อหาสาระและประโยชน์ต่อผู้ฟังมากมายจริงๆ และมีความทันสมัยทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เพราะอาจารย์ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลาอันยาวนานมาถ่ายทอดและร่วมให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจและสังคมของไทยและยังเสนอแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ  ที่ได้สนทนาด้วย***********และประเด็นที่ อ.จีระ  และคุณนาตยา  นำมาเสนอในวันนี้เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการที่ต่างประเทศเปรียบเทียบระบบเศรษฐกิจแบบทักษิโนมิคของอดีตนายกทักษิณกับระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และต่างชาติยังวิจารณ์ว่าระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน  เพราะเป็นยุคโลกาภิวัตน์  เป็นยุคที่ไร้พรมแดนต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศ   ซึ่งผิดกับระบบเศรษฐกิจแบบทักษิโนมิคหรือระบบทุนนิยมของนายกทักษิณที่สามารถนำมาใช้ได้จริงและแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมและพิสูจน์ได้  โดยสรุปได้จากเศรษฐกิจที่ผ่านมาของระบบทักษิณ   ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายจึงทำให้เกิดเป็นประเด็นที่ อ.จีระ และ คุณนาตยา  ต้องนำมาสนทนาเพื่อเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  เพื่อให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้รับฟังรายการวิทยุได้เกิดความเข้าใจ  และไม่สับสน  ซึ่งประเด็นที่  ศ.ดร.จีระ  ได้พูดถึงก็คือ  ประเด็นที่ชาวต่างชาวพูดเปรียบเทียบพระเจ้าอยู่หัวกับอดีตนายกทักษิณนั้น  จริงๆ  แล้วต่างชาติไม่น่าเอาพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวไทยไปเปรียบเทียบกับอดีตนายกทักษิณซึ่งเป็นสามัญชนธรรมดา  ซึ่งเป็นอันไม่สมควรอย่างยิ่ง   และประเด็นที่สองคือ  พูดว่าระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง  ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าใช้ได้จริง  ซึ่ง  ศ.ดร. จีระ ได้กล่าวแย้งและให้ความคิดเห็นว่า  ระบบเศรษฐกิจแบบพอพียง  นั้นนำมาใช้ได้จริง  เพราะถ้าเรามองย้อนกับไปเมื่อ ปี 2540  ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นฟองสบู่แตก  ถ้าเรานำระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้  คือใช้จ่ายอย่างประหยัด   ไม่ไปกู้ยืมเงินต่างประเทศ  ประเทศไทยก็คงไม่เกิดฟองสบู่แตก   และ ศ.ดร. จีระ  ยังเสริมอีกว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยได้มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง  และท่านยังทรงเป็นนักประดิษฐ์ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้มากที่สุดอีกด้วยซึ่งยังไม่มีพระมหากษัติรย์องค์ใดทำได้มาก่อน  และในยุคเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน  ศ.ดร.ท่านให้ความคิดว่าระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงน่าจะเหมาะสมกับประเทศมากที่สุด  เพราะที่ประเทศไทยเกิดปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเพราะมัวแต่หลงผิดกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  แบบทักษิณ  คือ บอกจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  โดยการแก้ปัญหาความยากจน  โดยการนำเงินไปให้ประชาชนกู้ยืมในรูปกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งแทนที่จะแก้ปัญหาความยากจนกับทำให้เป็นหนี้มากขึ้น  และจนกว่าเดิม  ซึ่ง ศ.ดร.จีระ  ได้กล่าวว่านโยบายเศรษฐกิจแบบทักษิโนมิคไม่ได้ทำไปเพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจแต่เป็นการทำเพื่อเป็นการหาเสียง  โดยหลอกประชาชนให้เป็นฐานเสียงให้   และกอบโกยหาผลประโยชน์จากการเป็นนายกเพื่อหาประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองมากกว่าที่จะพัฒนาประเทศ  เช่น  การก่อตั้งสนามบินสุวรรณภูมิ  ซึ่งสร้างเสร็จได้ไม่ถึงปี  แต่กับพบกับปัญหาตามมามากมาย   ซึ่งจะได้ว่าระบบทักษิโนมิคของอดีตนายกทักษิณได้สร้างปัญหากับระบบเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน***********สรุป   ถ้าประเทศไทยยังไม่หันมาเห็นความสำคญกับระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คือ  ใช้จ่ายอย่างประหยัด  กินอยู่อย่างพอเพียง  ไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น  เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข  ไม่ไปเดือดร้อนใคร  แต่ถ้าเรายังหลงมัวเมากับความฟุ่มเฟ้อ และหลงใหลวัตถุนิยมแบบระบบทักษิณ  ต่อไปประเทศชาติจะล่มจม  เศรษฐกิจจะต้องต่ำ  ประเทศไทยจะเป็นหนี้ต่างชาติมากขึ้น  ได้ประชาชนชาวไทยได้กับไปคิดดูเอาเองแล้วกันว่าอย่างให้ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบไหน  และใครที่เห็นความสำคัญของประเทศชาติและประชาชนมากกว่ากัน  ถ้าคนไทยมีความคิดก็คงจะคิดได้และไม่หลงเชื่อกับข่าวที่ต่างชาติเผยแพร่ออกไป***********************น.ส.  อรณา  ยี่เข่งหอม  รหัสประจำตัว  49038020002    รปม. รุ่น  3
นางสาวอชิรญา ผูกมี รหัส 49038020007

เรียน ดร. จิระ  หงส์ลดารมย์  อาจารย์ทุกท่าน  และสวัสดีเพื่อนสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทุกคน

 

          เมื่อวันพุธที่ 31  มกราคม  2550  เวลา  19.30  น. รายการเวทีความคิด  ได้เริ่มต้นออกอากาศโดยเปิดบทเพลงที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังรายการทุกคนว่า ชีวิตของคนเรานั้นมีคนที่รักสักกี่คน  เราได้ทำอะไรเพื่อคนที่เรารักบ้าง  เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของคนในรุ่นนี้ ย่อมจะส่งถึงลูกหลานของเราในวันข้างหน้า  อย่างที่ดิฉันได้เปรียบเทียบการมีชีวิตอยู่ของคนในรุ่นหนึ่งกับการเดินทาง ว่ารอยเท้าของเขาเหล่านั้น ได้ทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง  การเดินทางตามระบอบทักษิโนมิกและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ทิ้งรอยเท้าทางความคิดและผลของการกระทำอะไรไว้ให้คนในรุ่นต่อไปบ้าง

 

ดร. จิระ  ได้กล่าวถึงระบอบทักษิโนมิก  และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เอาไว้ว่า  ระบอบทักษิโนมิกเป็นระบอบที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม  เพราะ 5 ปีของคุณทักษิณ เกิดข้อครหาเรื่องการคอร์รัปชั่น  ปัญหาแทรกแซงองค์กรอิสระ  นโยบายประชานิยมของคุณทักษิณเป็นนโยบายเฉพาะหน้าที่ส่งผลดีในระยะสั้น  แต่ในระยะยาวได้ก่อปัญหาไว้มากมาย เช่น นโยบายบัตรเครดิต นโยบายกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล  ทุกคนเห็นดีที่ได้กู้มาเพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า  แต่ไม่ใช่การแก้ปัญหาความยากจนที่แท้จริง ประชาชนไม่รู้  ต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้น

 

 ข้อดีของทักษิณ  คือ  คิดนอกรอบ  คิดเร็ว  และทำเป็น  แต่มีระบบการคิดที่มองประชาชนเป็นฐานอำนาจ  ทำอะไรผลประโยชน์ตกกับคนใกล้ชิด  แม้จะพูดถึงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง  แต่กลับดำเนินนโยบายแบบประชานิยมซึ่งสวนทางกับปรัชญาแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง  ที่เน้นความมีเหตุมีผล   การสร้างภูมิคุ้มกัน  และเดินสายกลาง

 

ในทัศนะของดิฉันคิดว่า  โดยหลักการปกครองแล้ว  ผู้นำที่ขาดจริยธรรมขั้นพื้นฐานในการปกครองประเทศ  ไม่ควรได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจให้บริหารประเทศ กรณีขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก โดยไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่คนยากจนต้องเสียภาษีหมด ชี้ให้เห็นว่าคุณทักษิณขาดความชอบธรรม  คิดถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก

 

จากกรณีที่สื่อต่างประเทศวิจารณ์แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่ประเทศไทยใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศว่าไม่สามารถแข่งขันกับเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ และยังไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ  ในขณะที่ทุนนิยมและระบอบทักษิโณมิกใช้ได้ผลในระยะเวลา 5 ปี  ดิฉันมองไม่เห็นว่าการพัฒนาที่เอาเงินเป็นตัวตั้ง และมีเป้าหมายที่กำไรสูงสุดนั้นจะนำพาประเทศไทยให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร เพราะการพัฒนาที่เอาเงินเป็นตัวตั้ง ก็ไม่แตกต่างอะไรกับการจับปลาให้ประชาชนกิน  เมื่อไม่สอนให้ประชาชนใช้เบ็ดตกปลา  เขาก็ไม่สามารถพึ่งตนเองได้  คิดไม่เป็น  ต้องคอยพึ่งพาและรอคอยความช่วยเหลือจากผู้อื่น คนในประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันสู้กับต่างประเทศไม่ได้  ประเทศก็ย่อมไปไม่รอดเช่นกัน  แต่แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้ประเทศอยู่อย่างยั่งยืน  เพราะจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยง  ให้คนรู้จักใช้เงิน  มีเหตุมีผล ไม่เอาเปรียบผู้อื่น  และเดินสายกลาง  รู้กำลังของตนเองว่ามีความสามารถระดับไหน ทำให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป  

 

นโยบายประชานิยม  เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ  แต่ไม่ยั่งยืนในระยะยาว  เพราะคนไทยคิดไม่เป็น  แต่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง  จะทำให้เราอยู่ได้ในระบบทุนนิยม  และแม้ว่าขณะนี้ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยจะสู้กับต่างประเทศไม่ได้  แต่ที่เราพอทำได้คือ  การสร้างตัวเองให้เข้มแข็ง  การศึกษาที่สอนให้คนไทยคิดวิเคราะห์เป็น  สร้างสังคมที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ดำรงชีวิตโดยยึดแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เหล่านี้ต่างหากที่จะช่วยติดอาวุธให้ประชาชนในประเทศอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในโลกทุนนิยม  

และหลังจากที่เราเดินทางมาได้สักระยะหนึ่ง  ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า  การเดินทางตามแนวคิดทักษิโณมิกโดยนโยบายประชานิยม ได้นำประเทศไปสู่การเป็นทาสของอำนาจเงินที่เป็นใหญ่ในโลกทุนนิยม   ที่เงินซื้อความเป็นมนุษย์ได้  แต่การเดินทางตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้สอนให้เราเป็นนายของเงิน  ใช้จ่ายอย่างพอเพียงแต่มีความสุขในชีวิตมากเกินพอเพียง

กราบสวัสดี ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานทุกๆคน เมื่อคืนวันที่ 31 ม.ค. 2550 ได้มีโอกาสฟังคลื่นวิทยุของอาจารย์จีระที่ 96.5 เวลา 19.00 เรื่องเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริและระบบทักษิโนมิกนั้น ดิฉันมีข้อคิดเห็นดังนี้ ระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริมุ่งเน้นให้ประชาชนดำรงตนอยู่ในความพอเพียงไม่ว่าจะเป็นความพอเพียงทางด้านการดำเนินชีวิตเช่น การใช้จ่าย หรือความพอเพียงทางด้านทัศนคติเช่น ไม่ก้าวร้าว พอเพียงที่จะไม่โลภไม่อยากได้ของของคนอื่น ให้ประชาชนดำเนินชีวิตอยู่ในทางสายกลาง ซึ่งอาจจะไม่ใช่ต้องการให้อดอยากหรือตระหนี่ถี่เหนียวแต่ให้รู้จักคิดหรือตรึกตรองก่อนที่จะใช้จ่าย ทำให้ต่างชาติอาจมองว่าไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่เกื้อกูลต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ต้องการให้มีการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการแข่งขันทางภาคการผลิต ส่วนระบบทักษิโนมิกสนับสนุนเศรษฐกิจแบบรากหญ้าเพื่อแก้ปัญหาความยากจนที่ปลายเหตุเนื่องจากเป็นการแจกเงินเพื่อให้ ประชาชนมีเงินโดยไม่รู้จักคุณค่าของเงิน นำเงินที่ได้ไปซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย จะเห็นได้ว่าระบบทักษิโนมิกนำระบบแสวงหากำไรแบบบริษัทมาใช้กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ไม่จำเป็นต้องดำเนินชีวิตแบบแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจเหมือนกับบริษัทเอกชน ปัญหาของทักษิโนมิก         ระบบประชานิยมทำให้ประชาชนพึงพอใจต่อผู้นำอะไรที่สร้างความสุขให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วก็จะทำ เช่น กองทุนหมู่บ้านให้ประชาชนกู้ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการใช้เงินเมื่อผู้นำเป็นที่พึงพอใจของประชาชนก็จะได้รับการเลือกหรือดำรงสมาชิกภาพความเป็นผู้นำเหมือนกับเลี้ยงหรือซื้อใจประชาชนด้วยเงิน ประชาชนจะไม่เห็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือแม้เห็นก็จะไม่รู้สึกยินดียินร้ายหรือเดือดร้อน

 

เจริญพร  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และคณะ

ความมุ่งหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ ก็คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนค่านิยมหรือทัศนคติเดิมๆ ที่เชื่อกันอย่างเชื่องๆ สืบมา เช่น คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด มีเงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่ ทำอย่างไรก็ได้ขอให้รวยแล้วทุกอย่างจะไปได้ดี ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก เป็นต้น   ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ได้เซาะแซะแทรกซึมในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพราะทุกวันนี้ผู้ใหญ่ปลูกฝังพร่ำสอนเด็กให้รู้จักแต่รักษาทรัพย์สินและชื่อเกียรติวงศ์ตระกูล  แต่ละเลยเกียรติภูมิแห่งปัญญา (วัตถุมันมีค่าเกินกว่าความดีของคน???ล่ะหรือ..)

 

ดังนั้น หากคนรุ่นปัจจุบันนึกถึงแต่ตัวเอง เอาแต่บริโภคและใช้ทรัพยากรของโลกจนเสื่อมโทรม โดยไม่คำนึงถึงคนรุ่นหลัง ไม่รู้ว่าลูกหลานของเราจะต้องได้รับผลกระทบที่ลำบากแสนสาหัสเพียงใดในอนาคต

เวลา 19.30 น. เสียงวิทยุธานินทร์  ได้ดังขึ้นกึกก้อง(จากกุฏิอย่างผิดปกติ) ที่คลื่น F.M. 96.5 MHz  การอดทนและรอคอย คลื่นเวทีความคิด ได้สิ้นสุดลงเมื่อเสียงดนตรีแบบเย็นๆ ต่อด้วยเสียงเพลง คนที่เรารัก  จับใจความได้ว่า ชีวิตหนึ่งชีวิต เรามีคนที่เรารักอยู่รอบตัวมากน้อยแค่ไหน  เราอยากจะให้คนที่เรารักนั้น มีความคิดต่อเส้นทางชีวิตที่เขาได้กำลังดำเนินนั้นดำรงอยู่อย่างไร ? ถ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนที่เรารักอยู่ในวัยเด็ก อีกเป็นเวลาหลายปี เราจะสร้างประเทศนี้เอาไว้ให้เขาอยู่ต่อไปอย่างไร ?   หรือเราจะสร้างเส้นทางนี้อย่างไร ?เอาไว้สำหรับคนที่เรารักนั้น  เสียงดีเจสาว ออกนามว่า นาตยา  แวววีรพุทธ อย่างชัดเจน พร้อมกับแนะนำอาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้มาร่วมพูดคุย

 

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง  ในวันนั้น อ.จีระได้โป๊ะเช๊ะระบบทักษิโณมิกส์มีข้อดีทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโต ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว  และผู้นำประเทศที่มีคุณสมบัติที่คิดนอกกรอบ  คิดเร็ว  ทำเร็ว    แต่ขาดจริยธรรมและคุณธรรม  ซึ่งการจะเป็นคนเก่งอย่างสมบูรณ์นั้น ต้องเป็นคนดีด้วย (มีเงินแต่ไม่กล้าใช้ จะว่าไปก็ยากจน  มีเกียรติ หากประพฤติต่ำช้า จะว่าไปก็ไร้เกียรติ)  ปัญหาจากนโยบายประชานิยมนั้นนับว่า ดีในระยะสั้น  แต่มีปัญหาระยะยาวคือค่านิยมที่รอคอยโชควาสนา ไม่มีความความขวนขวายในกิจกรรมของชีวิต ซึ่งในอนาคตจะทำให้สังคมไทยล่มสลายจากอันตรายที่ไม่ได้มองประชาชนว่ารับประโยชน์ แต่อยู่ที่พวกพ้องวงศาคณาญาติ   และมองประชาชนเป็นแค่ฐานอำนาจเบ็ดเสร็จ  หรือเป็นเหยื่ออำนาจทางการเมือง  (ลัทธิฉวยโอกาส)

อาจารย์จีระ ได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายประชานิยมของระบบทักษิโณมิกส์กับเศรษฐกิจพอเพียงสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถไปด้วยกันได้ เพราะหลักการประชานิยม คือทุน  สะสม  โลภ  ฟุ่มเฟือย  เบียดเบียน  และเห็นแก่ตัว ส่วนหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรินั้น คือ 1.การสร้างภูมิคุ้มกัน  2.การมีเหตุมีผล    3.การเดินสายกลาง แบบพอประมาณ (สมดุล   = พอตัว พออยู่ พออาศัย         พอกิน พอใช้ พอได้หรือ     พอมี พอเก็บ แต่พอมือ   พอใจ ไม่แย่งยื้อ คือรู้พอ)  ซึ่งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับว่าสื่อสารมวลชนนั้นให้คุณค่าและความสำคัญเพียงใดในการนำเสนอ

 

ส่วนประเด็นการแก้ปัญหาความยากจนนั้น อาจารย์จีระย้ำว่าความยากจนกับมนุษย์นั้นเป็นของคู่กัน ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาตลอดเวลาของชีวิตมนุษย์  แต่ทั้งนี้สังคมไทยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เขามีอยู่ แต่กลับถูกนักการเมืองเอารัดเอาเปรียบโดยการได้และใช้อำนาจทางการเมือง แล้วมาสร้างฐานธุรกิจให้กับพวกพ้อง พี่น้องและเครือญาติ    ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมไทย จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพราะการให้สิ่งมีคุณค่า คือการให้ปัญญาแก่คนที่เรารัก     

 

ชีวิตคือการเรียนรู้ โป๊ะเช๊ะอันยิ่งใหญ่ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ก็คือสร้างสัมพันธ์ทางสังคมด้วยการสู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา และชนะด้วยความรู้ บนฐานของคำว่า จงเป็นคนดี และ ยืนอยู่บนความถูกต้อง  ดังนั้น คณะนักศึกษา รป.ม. รุ่น 3 จึงชื่อว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาส่วนหนึ่งที่แยกภาค(อวตารจากอาจารย์)  เพื่อจะไปโอบอุ้ม สร้างสรรค์สังคมสืบต่อๆไป ขออำนวยพร.......

***พระมหาอรุณ  เฮียงฮม*** 
 

เจริญพร  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และคณะ

       ความมุ่งหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ ก็คือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนค่านิยมหรือทัศนคติเดิมๆ ที่ เชื่อกันอย่างเชื่องๆ สืบกันมา เช่น คนรวยทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด มีเงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่ ทำอย่างไรก็ได้ขอให้รวยแล้วทุกอย่างจะไปได้ดี ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก เป็นต้น   ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ได้เซาะแซะแทรกซึมในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เพราะทุกวันนี้ผู้ใหญ่ปลูกฝังพร่ำสอนเด็กให้รู้จักแต่รักษาทรัพย์สินและชื่อเกียรติวงศ์ตระกูล  แต่ละเลยเกียรติภูมิแห่งปัญญา (วัตถุมันมีค่าเกินกว่าความดีของคน???ล่ะหรือ..)

      

            ดังนั้น หากคนรุ่นปัจจุบันนึกถึงแต่ตัวเอง เอาแต่บริโภคและใช้ทรัพยากรของโลกจนเสื่อมโทรม โดยไม่คำนึงถึงคนรุ่นหลัง ไม่รู้ว่าลูกหลานของเราจะต้องได้รับผลกระทบที่ลำบากแสนสาหัสเพียงใดในอนาคต

          เวลา 19.30 น. ของค่ำวันพุธที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา เสียงวิทยุธานินทร์  ได้ดังขึ้นกึกก้อง(จากกุฏิอย่างผิดปกติ) ที่คลื่น F.M. 96.5 MHz  การอดทนและรอคอย คลื่นเวทีความคิด ได้สิ้นสุดลงเมื่อเสียงดนตรีแบบเย็นๆ ต่อด้วยเสียงเพลง คนที่เรารัก  จับใจความได้ว่า ชีวิตหนึ่งชีวิต เรามีคนที่เรารักอยู่รอบตัวมากน้อยแค่ไหน  เราอยากจะให้คนที่เรารักนั้น มีความคิดต่อเส้นทางชีวิตที่เขาได้กำลังดำเนินนั้นดำรงอยู่อย่างไร ? ถ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนที่เรารักอยู่ในวัยเด็ก อีกเป็นเวลาหลายปี เราจะสร้างประเทศนี้เอาไว้ให้เขาอยู่ต่อไปอย่างไร ?   หรือเราจะสร้างเส้นทางนี้อย่างไร ?เอาไว้สำหรับคนที่เรารักนั้น  เสียงดีเจสาว ออกนามว่า นาตยา  แวววีรพุทธ อย่างชัดเจน พร้อมกับแนะนำอาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้มาร่วมพูดคุย

           ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง  ในวันนั้น อ.จีระได้โป๊ะเช๊ะระบบทักษิโณมิกส์มีข้อดีทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโต ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว  และเป็นผู้นำประเทศที่มีคุณสมบัติที่คิดนอกกรอบ  คิดเร็ว  ทำเร็ว    แต่ขาดจริยธรรมและคุณธรรม  ซึ่งการจะเป็นคนเก่งอย่างสมบูรณ์นั้น ต้องเป็นคนดีด้วย (มีเงินแต่ไม่กล้าใช้ จะว่าไปก็ยากจน  มีเกียรติ หากประพฤติต่ำช้า จะว่าไปก็ไร้เกียรติ)  ปัญหาจากนโยบายประชานิยมนั้นนับว่า ดีในระยะสั้น  แต่มีปัญหาระยะยาวคือค่านิยมที่รอคอยโชควาสนา ไม่มีความความขวนขวายในกิจกรรมของชีวิต ซึ่งในอนาคตจะทำให้สังคมไทยล่มสลายจากอันตรายที่ไม่ได้มองประชาชนว่ารับประโยชน์ แต่อยู่ที่พวกพ้องวงศาคณาญาติ   และมองประชาชนเป็นแค่ฐานอำนาจเบ็ดเสร็จ  หรือเป็นเหยื่ออำนาจทางการเมือง  (ลัทธิฉวยโอกาส)

             อาจารย์จีระ ได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายประชานิยมของระบบทักษิโณมิกส์กับเศรษฐกิจพอเพียงสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่สามารถไปด้วยกันได้ เพราะหลักการประชานิยม คือทุน  สะสม  โลภ  ฟุ่มเฟือย  เบียดเบียน  และเห็นแก่ตัว ส่วนหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรินั้น คือ 1.การสร้างภูมิคุ้มกัน  2.การมีเหตุมีผล    3.การเดินสายกลาง แบบพอประมาณ (สมดุล   = พอตัว พออยู่ พออาศัย    พอกิน พอใช้ พอได้หรือ     พอมี พอเก็บ แต่พอมือ   พอใจ ไม่แย่งยื้อ คือรู้พอ)  ซึ่งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับว่าสื่อสารมวลชนนั้นให้คุณค่าและความสำคัญเพียงใดในการนำเสนอ

         ส่วนประเด็นการแก้ปัญหาความยากจนนั้น อาจารย์จีระย้ำว่าความยากจนกับมนุษย์นั้นเป็นของคู่กัน ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาตลอดเวลาของชีวิตมนุษย์  แต่ทั้งนี้สังคมไทยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เขามีอยู่ แต่กลับถูกนักการเมืองเอารัดเอาเปรียบโดยการได้และใช้อำนาจทางการเมือง แล้วมาสร้างฐานธุรกิจให้กับพวกพ้อง พี่น้องและเครือญาติ    ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมไทย จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพราะการให้สิ่งมีคุณค่า คือการให้ปัญญาแก่คนที่เรารัก     

     “ชีวิตคือการเรียนรู้ โป๊ะเช๊ะอันยิ่งใหญ่ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ก็คือสร้างสัมพันธ์ทางสังคมด้วยการสู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา และชนะด้วยความรู้ บนฐานของคำว่า จงเป็นคนดี และ ยืนอยู่บนความถูกต้อง  ดังนั้น คณะนักศึกษา รป.ม. รุ่น 3 จึงชื่อว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาส่วนหนึ่งที่แยกภาค(อวตารจากอาจารย์)  เพื่อจะไปโอบอุ้ม สร้างสรรค์สังคมสืบต่อๆไป ขออำนวยพร....

   *พระมหาอรุณ  เฮียงฮม*

นุชรี อรรถีโภค รปม.3 รหัส 49038010001
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์ และอาจารย์ทุกๆท่าน  อาจารย์ได้แนะแนวทางในการหาความรู้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คือ ฟังรายการในวันพุธที่ 31 ม.ค.50 เวลา 19.30 คลื่น FM 96.5 ซึ่งเป็นเวทีความคิดดำเนินการโดย ศ.ดร.จีระ และ คุณนาตยา  เริ่มต้นรายการด้วยการเปิด
เพลงคนที่เรารัก ในเนื้อเพลงจะพูดถึงชีวิตเราล้วนมีคนรักอยู่รอบตัวเราอยากให้คนที่เรารักมีความคิดต่อเส้นทางชีวิตอย่างไร เราจะสร้างประเทศให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสยืนอยู่บนโลกใบนี้อย่างไร
ประเด็นที่สำคัญในการสนทนาก็คือ สร้างเส้นทางสังคมและเศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเทียบกับระบบทักษิโนมิก ทักษิณกระตุ้นคนไทยให้มีความคาดหวังสูง จุดอ่อนของทักษิโนมิกคือไม่มีความเข้าใจในปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือเศรษฐกิจพอเพียงไม่รู้จักคำว่า พอ  ระบบทักษิโนมิกดีในช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้น ปัญหาของทักษิโนมิกคือทำโดยขาดคุณธรรม จริยธรรม มีคดีคอรัปชั่นมากรวมทั้งคนใกล้ชิด รมต.ที่เกียวข้องด้วย ในความเป็นจริงแล้วคนเก่งต้องมีความดีอยู่ด้วย เวลาทำอะไรไม่มองประโยชน์ของประชาชนโดยแท้จริงเพราะทำไปแล้วผลประโยชน์ตกอยู่ที่ญาติๆประโยชน์ตกอยู่กับคนใกล้ชิด ข้อดีของทักษิโนมิกคือ คิดเร็วทำเร็วทำแล้วให้ประชาชนมองเห็นได้ ตอนนี้กระแสของเศรษฐกิจพอเพียงกำลังนำเปรียบเทียบกับระบบทักษิโนมิกเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับได้ แต่ก็ควรจะนำข้อดีของทั้งสองระบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและประเทศชาติ อย่างเช่น เป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตครอบครัวความเป็นอยู่ในแต่ละครอบครัวก็อาจจะนำข้อดีของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ ส่วนทักษิโนมิกก็เป็นเรื่องของเศรษฐกิจของประเทศ แต่ไม่มีความยั่งยืนทำให้ประชาชนตกเป็นทาสของเงินอย่างเดียวเลือกผู้นำประเทศที่ใช้เงินเป็นอำนาจ ประเทศจะยั่งยืนอยู่ได้ก็ด้วยความรักสามัคคีของคนภายในชาติร่วมมือร่วมใจกัน มีจริยธรรมในตนเอง มีจิตสำนึกของความเป็นคนอย่าให้อำนาจเงินซื้อทุกอย่างได้
เปรมหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา
เรียน  . ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  คณะอาจารย์ทุกท่าน  และชาว Blog MPA 3 ทุกคน           ตามที่ท่านอาจารย์จีระได้แนะนำให้นักศึกษาฟังรายการวิทยุ  รายการเวทีความคิด  สถานีวิทยุ FM 96.5  วันพุธที่ 31 มกราคม เวลา 19.30-20.30 .  ซึ่งเป็นรายการสัมภาษณ์ ศ. ดร. จีระ  โดย คุณนาตยา แวววีระคุปต์  โดยหัวข้อที่คุยกันเป็นเรื่องร้อนๆ (Hot Issue) ซึ่งกำลังกล่าวขวัญกัน   กรณีอดีตนายกฯ ไปให้ข้อมูลผิดๆ กับสื่อต่างประเทศและโจมตีนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง    และสื่อต่างประเทศได้ออกบทวิจารณ์ว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงสู้ระบบทักษิโณมิกไม่ได้  และระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยถดถอย    ข่าวนี้ได้สร้างความไม่พอใจแก่คนไทยทั้งชาติ   ในประเด็นดังกล่าว  ท่านอาจารย์จีระได้ให้ความกระจ่างว่า    ความจริงแล้วหลักการระบบเศรษฐกิจพอเพียงและระบบทุนนิยมไม่มีความแตกต่างกันเท่าไร  ระบบเศรษฐกิจพอเพียงปรับรูปแบบเพื่อให้เข้ากับฐานะและสังคมวัฒนธรรมของคนไทย เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จากการใช้จ่ายเกินตัวอย่างไม่มีหลักการ   แต่ระบบทักษิโณมิกเป็นการดัดแปลงระบบทุนนิยมเช่นกัน  แต่ทำเพื่อประโยชน์ของตัวผู้นำและพวกพ้อง  มีการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายโดยใช้ฐานประชาชนบังหน้า  โดยอ้างว่าทำเพื่อประชาชน  แต่จริงๆ แล้วเป็นการทำเพื่อตนเอง   ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไปตกกับตนเอง พวกพ้อง และวงศาคณาญาติ   ถ้าระบบทักษิโณมิกดีจริงรัฐบาลชุดที่แล้วคงไม่ต้องถูกรัฐประหาร และอดีตนายกฯ คงไม่ต้องพบกับการฟ้องร้องมากมายเหมือนที่เห็นกันในปัจจุบัน     ท่านอาจารย์จีระได้ชี้เห็นปัญหาของระบบทักษิโณมิก  3 ด้าน คือ   1. เป็นการบริหารเศรษฐกิจที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม คนเราเก่งอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องเป็นคนดีด้วย    2.  โครงการต่างๆ ของระบบนี้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน  โครงการลดหนี้เกษตรกร ฯลฯ เป็นการทำที่ให้ผลดีระยะสั้นแต่ไม่เป็นการลงทุนที่ดีในระยะยาว และยังสร้างปัญหาทำให้คนหวังแต่รอคอยคนช่วย แทนที่จะพยายามช่วยตัวเองก่อน      3.  ผู้นำไม่จริงใจในการช่วยประชาชน  แต่ใช้ประชาชนเป็นฐานอำนาจเพื่อหาประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง    นอกจากนี้ ดร.จีระได้ชี้ให้เห็นว่า   ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสมกับประเทศไทย และได้มีการนำเสนอให้ต่างประเทศรับรู้แล้ว  เช่น จากการเดินทางไปประเทศในแถบเอเชียร่วมกับ ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล ก็ได้มีการนำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปพูดเผยแพร่ให้ต่างชาติเห็นประโยชน์  ซึ่งมีผลตอบรับคือได้รับการยอมรับและเข้าใจเป็นอย่างดี  หรือ อดีตเลขาธิการ UN โคฟี อานัน ก็เข้าใจดีในหลักการระบบเศรษฐกิจพอเพียง   ขณะเดียวกัน ระบบทักษิโณมิกเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศไทย เพราะคนไทยยังมีปัญหาความยากจนที่เป็นเรื่องเรื้อรังและทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข  รัฐบาลยังต้องแก้ไขเรื่องการศึกษา เพื่อให้คนไทยคิดเป็น  กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ทุ่มเงินทำเรื่องต่างๆ อย่างไม่คิดหน้าคิดหลังแล้วมาแอบอ้างว่า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว  ถ้ารัฐบาลชุดเก่ายังอยู่ในอำนาจเศรษฐกิจของไทยต้องเสียหายมากกว่านี้อีกแน่นอน    นอกจากนี้  ดร. จีระยังได้เรียกร้องให้นักวิชาการและสื่อต่างๆ ของไทย ช่วยกันนำเสนอและสร้างความเข้าใจในเรื่องระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นกว่านี้  สำหรับดิฉันเห็นด้วยกับความเห็นของท่านอาจารย์จีระอย่างมากๆ  ระบบทักษิโณมิกเป็นการใช้เงินอย่างผิดๆ ทำให้เกิดหนี้เสียซ่อนอยู่ในโครงการและหน่วยงานต่างๆ ถึง 1.5 แสนล้านบาท    และยังไม่สนับสนุนเรื่องการสร้างคนให้ยั่งยืน    แต่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อหวังผลระยะสั้น หาประโยชน์ให้ตนเอง    จงใจปล่อยให้คนไทยขาดการศึกษาที่ดีต่อไป เพื่อจะได้หลอกใช้เป็นฐานอำนาจให้ตนเอง   คนไทยจึงควรจะต้องตื่นตัวมากกว่านี้  ทุกคนต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ทั้งนักวิชาการ  หน่วยงานราชการ ต้องทำงานโดยเห็นกับประโยชน์ของประชาชนและของชาติเป็นหลัก  และประชาชนทุกคนในประเทศมีความเชื่อมั่นและดำเนินชีวิตตามแนวทางระบบเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะช่วยปัญหาของประเทศชาติที่มีอยู่ในขณะนี้สามารถคลี่คลายลงได้  ส่วนใครที่ไม่รักชาติไทย ถ้าเห็นชาติไหนดีกว่า ก็ให้เขาอาศัยอยู่ในชาตินั้นต่อไป    รายการวิทยุ 96.5 นี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า  ปัจจุบันรายการวิทยุไม่ได้เชยอย่างที่เราคิด  ถ้ามีการติดตามฟังอย่างสม่ำเสมอก็จะได้ข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ที่เป็นประโยชน์มีเนื้อหาสาระอย่างแท้จริง  และเป็นสื่อที่ไม่ต้องลงทุนมากเลย   (ท่านมหาอรุณเดินไปตลาดคลองถมสักครู่เดียวก็มีวิทยุธานินทร์ติดมือกลับมาแล้ว)    ข้อมูลบางอย่างจากวิทยุยังไม่ปรากฏในสื่ออื่นๆ  ดังนั้น การฟังวิทยุในสถานีที่ดีๆ ก็จะช่วยเปิดวิสัยทัศน์ของเราได้มาก  แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่คนต่างจังหวัดไม่สามารถรับคลื่นวิทยุได้เหมือนคนในกรุงเทพ  จึงทำให้ขาดข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น  รัฐบาลจึงควรมีหน่วยงานที่เข้ามาปรับปรุงเรื่องการให้ความรู้การสื่อสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนต่างจังหวัดโดยผ่านสื่อวิทยุให้มากขึ้น    จึงขอเรียนเสนอความเห็นมาเพียงเท่านี้    ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระที่แนะนำค่ะ     ด้วยความเคารพ    เปรมหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา  รหัส 49038010039
กลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์
เสนอ ท่านอาจารย์ ปิยะ งาน วันอาทิตย์ 28  มกราคม  2550ข้อที่ 1.  ตอบ   ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหัวหน้างานการผลิต ข้าพเจ้าคิดว่าขาดการปฎิสัมพันธ์ที่ดี  หัวหน้างานอาจไม่เข้าใจถึงปัญหาในการปฏิบัติงาน  หรือลองสำรวจตัวเองว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกน้องนั้นทำให้สร้างทัศนคติกับลูกน้องในด้านบวก หรือลบ  ตนเองมีทัศนคติ ( attitude ) กับลูกน้องคนนี้อย่างไร   เคยที่จะหาเรื่องชมมากกว่าเรื่องติหรือไม่  บรรยากาศในการทำงานของหน่วยงาน เป็น  negative  หรือ   positive  หากคิดดูแล้วการที่หัวหน้าประเมินผลการทำงาน เกรด  C  มันทำให้ลูกน้องหมดกำลังใจในการทำงาน  หรือ  ขาดแรงจูงใจ ( motivation )  บุคลากรในองค์กรต่างต้องการความก้าวหน้าทุกคน หากถูกประเมินผลที่ตำเกินไป โดยที่  ตนเองยังถามคำถามว่าทำไม  ย่อมไม่พอใจและรู้สึกว่าความตั้งใจในการทำงานไม่ได้ มีผลตอบแทนที่ดีกับเขาเลย          การแก้ปัญหา   อย่างแรกหัวหน้างานต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานที่พนักงานพึงพอใจ   และเป็นหัวหน้างานที่หมั่นให้กำล้งใจลูกน้อง  เริ่มตั้งแต่ตัวของหัวหน้าเอง   การที่ลูกน้องคนนี้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบและทำงานรอบคอบ  โดยเห็นได้จากการที่ลูกน้องคนนี้ส่งงานตรงตามเวลา  และทำงานได้ถูกต้องไม่ผิดพลาดเลย ก็ถือเป็นข้อดีควรได้รับคำชมเชย แต่ก็มีข้อเสียที่ ขาดการเรียนรู้และพัฒนา  ขาดความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ  ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้โดยการ เรียกลูกน้องมาอธิบายให้เขาเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น   หากยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขที่ดีขึ้น  ก็ควรเริ่มที่จะให้กำลังใจก่อนคำตำหนิ  แล้วเริ่มทำ  Coaching   แบบดังต่อไปนี้             1.    Coaching  For Managomg Performance Problems   คือการสอนงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื้งรัง หรือที่ไม่พึ่งประสงค์กับงาน  หรือ พฤติกรรมการทำงานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ  และประสิทธิภาพงาน             โดยเริ่มต้นจากการสร้างแรงจูงใจให้ลูกน้องต้องการพัฒนาแก้ไขปัญหาของตนเอง  และยอมรับถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  ลองพุดคุยหารือกับลูกน้องว่าอะไรที่เราสามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้  ลองให้เขาแก้ปัญหาหรือตัดสินใจด้วยตัวเองในบ้างเรื่อง  มอบหมายงานให้เขารู้จักคิดและพัฒนาตนเอง  ค่อยๆเริ่มต้นเมื่อเขาทำดีก็ชื่นชมหรือทำพลาดก็ให้กำลังใจ  ผมคิดว่าคนเราหากได้รับแรงจูงใจที่ดี  เขาสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง         แล้วก่อนมีการประเมินผลหัวหน้างานควรได้พูดคุยกับลูกน้อง ก่อนว่าอะไรที่ควรแก้ไข  ปรับปรุงและอย่าประเมินจนต่ำเกินไป เพราะจะทำให้ขาดกำลังใจ  และแรงจูงใจในการทำงานข้อที่ 2. ศึกษากรณีบริษัทกระดาษไทยรุ่ง จำกัด (มหาชน) และตอบคำถามตอบ  1.  ปัญหาที่เกิดลูกน้องขาดงานบ่อย ส่งงานช้าและผิดพลาด เกิดการท้อแท้เบื่อหน่ายในงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องมาจากขาดแรงจูงใจในการทำงาน และระบบการประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ ขาดการทำงานที่เป็นทีมไม่มีการวางข้อตกลงและเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลงานของลูกน้องหัวหน้างานทำตามความรู้สึกของหัวหน้างานเอง โดยขาดการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  วิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นคือกำหนดข้อตกลงและเป้าหมายร่วมถึงวิธีการประเมินผลงานอย่างเป็นธรรมรวมกัน มีการสอนงาน ให้ความรู้แก่พนักงานใหม่ จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพนักงานเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน  ว่าจะเกิดการเจริญก้าวหน้าในงาน2. ปัญหาการลาออกของพนักงาน  สาเหตุเกิดจากหัวหน้างาน วิธีการแก้ไขคือส่งหัวหน้างานไปอบรมพัฒนาในเรื่องภาวะผู้นำที่ดีควรเป็นเช่นไร 1. ต้องหาวิธีสร้างแรงจูงใจทำให้ลูกน้องทำงานและมีผลงานที่ดี  2. หาวิธีการหรือกระบวนการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้  3. สร้างความผูกพันธ์และความจงรักภักดีต่อองค์กรให้เกิดขึ้นในลูกน้อง  โดยหัวหน้าที่ดีจะต้องทำได้ดังนี้1) หาทางเดินให้ลูกน้องโดยกำหนดเป้าหมาย และวิธีการร่วมงานกันอย่างชัดเจน2) ปรับทิศทางเป้าหมายในการทำงานให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน3) ทำการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ ให้แก่ลูกน้องบ้าง4) เป็นแบบอย่างที่ดีหรอต้นแบบในเรื่องของการทำงาน  สมาชิกในกลุ่ม ผู้ร่วมอุดมการณ์ 
  1. ร.ท.ปริญญา  รื่นเสือ
  2. ส.ท.ต่อตระกูล  ศรีลาภา
  3. นายสรศักดิ์  ขันติสมบูรณ์
  4. นายธนู  พุกชาญค้า
  5. นายนัฐพงษ์  นิลศิริ
  6. นายกิตติศักดิ์  ดวงแก้ว
  7. นายจิรพัฒน์  ศรีจั่น
  8. นายภานุพงษ์  พิศรูป
            
นันทพร สิงห์ตุ่ย รหัส 49038010002 MPA รุ่น 3 ม.สวนสุนันทา

สวัสดีค่ะอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมย์ / อ. ยม / อาจารย์ทุกท่าน / ทีมงาน / เพื่อนสมาชิกชาว Blog ทุกคน สิ่งที่ท่าน อ.จีระ มอบหมายให้นักศึกษา รปม.ไปหาความเป็นจริงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์คือการติดตามข่าวสาร การเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเพื่อการใฝ่รู้ในรายการเวทีความคิด  เวลา 19.30 น.

วันพุธที่ 31  มกราคม  คลื่น F.M. 96.5 MHz โดยกล่าวถึงเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สอนคนจะต้องมีการใฝ่รู้ มีคุณธรรม มีจริยธรรม ซึ่งเป็นบทบาทของผู้นำที่สังคมต้องการเป็นแบบอย่างในวันนี้ มีเหตุมีผลเชิงวิทยาศาสตร์ มีความสุขแบบยั่งยืน . เน้นภูมิคุ้มกันตามสภาพชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันที่เกิดจากการเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้ประเทศอยู่อย่างยั่งยืน  ช่วยสร้างภูมิคุ้ม และมีชีวิตความอยู่รอดอาศัยทางสายกลางอยู่อย่างพอเพียง

ส่วนประเด็นที่กล่าวว่าระบบทักษิโณมิกส์ ที่นายกทักษิณนำมาใช้เพื่อเรียกคะแนนนิยม เพียงแต่นำแนวคิดของอดีตประธานาธิบดี Franklin D.Roosevelt ของสหรัฐอเมริกามาใช้เท่านั้นเอง คำว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" นั้น แม้จะฟังดึงดูดใจสักเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงคำขวัญที่แปรให้เป็นความจริงทางเศรษฐกิจไปไม่ได้เป็นช่องทางของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ความขัดแย้งทั้งภาคราชการและภาคเอกชนทั่วไปมีมากมาย ซึ่งก็ยังไม่มีข้อยุติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะสังคมขาดคุณธรรม ขาดจริยรรม เกิดการทุจริต เช่น กรณีของสนามบินสุวรรณภูมิ  โดยใช้เสียงข้างมากในรัฐบาลเก่า ปัญหาคุกคามด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในคำกล่าวที่ว่า "สิ่งที่เกินจริงย่อมอยู่ได้ไม่นาน" คงจะได้พิสูจน์ตัวตนอีกครั้งหนึ่ง ในอีกไม่ช้าไม่นาน

นางสาวนันทพร สิงห์ตุ่ย   MPA. รุ่น 3  

ม. ราชภัฏสวนสุนันทา  49038010002

               

 

 

 

 

 

 

 

 
เรียนท่านอาจารย์  จีระ    หงษ์ลดารมภ์   ที่เคารพ  จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  27  ม.ค.50  ท่านอาจารย์กรุณาให้ผมสรุปแนวคิดที่ได้ในรายการ  เวทีความคิด     ซึ่งออกอากาศในวันพุธที่  31  ม.ค.50   ทางสถานีวิทยุ  96.5  MHz.  ดังนี้   รายการเวทีความคิด  ออกอากาศสดกับคุณนาฏยา ฯ  เริ่มต้นด้วยการนำเพลง คนที่เรารัก  มานำเสนอเข้ารายการ  โดยมีความมุ่งหมายที่จะสื่อชวนให้คิดถึงชีวิตเราที่มีคนที่เรารักกี่คน  แล้วเขาเหล่านั้นมีความคิดอย่างไรกับการดำเนินชีวิตต่อไป  เด็ก  ๆ ที่กำลังเจริญเติบโตในสังคมจะดำเนินอย่างไร  เราจะสร้างเส้นทางสังคมเพื่อรองรับชีวิตที่กำลังเติบโตอย่างไร    อันนี้เป็นคำถามที่น่าคิดครับ  เพราะปัจจุบันสังคมเรากำลังสับสนว่า  จะเอาวัตถุนิยมหรือพอเพียงกันแน่   มันดีทั้งสองแนวคิดครับ   แต่ฐานความคิดแตกต่างกัน  อันหนึ่งเน้นเงิน  วัตถุ  ยิ่งรวยยิ่งดี  ยิ่งมีอำนาจ   แต่อีกอันเน้น ความสุขที่พอประมาณดำเนินทางสายกลาง  คงเป็นคำถามให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคิดเป็นการบ้านต่อ     คุณนาฏยา  เอ่ยถึงสื่อต่างประเทศที่เปรียบเทียบระบบทักษิโณมิก  กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ว่าเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่สามารถพิสูจน์ว่าได้ผลอย่างแท้จริง       ทำให้ท่านอาจารย์ ต้องรีบอธิบายว่าอาจเป็นเพราะต่างประเทศไม่เข้าใจปรัชญานี้พอ    หรือเป็นเพราะอำนาจเงินที่อดีตนายกทักษิณ  ยังมีอำนาจ   จึงสามารถชี้นำสื่อต่างประเทศได้     สื่อถูกครอบงำโดยอำนาจเงินของบริษัทที่หวังผลตอบแทน ท่านอาจารย์เปรียบเทียบระบบทักษิโณมิกว่ามีข้อเสีย  3   ข้อ กล่าวคือ 1. ขาดคุณธรรม   จริยธรรม  ทำให้เกิดปัญหาคอรัปชั่น  2.ระบบบริหารในระยะสั้นส่งผลดี  แต่ในระยะยาวมีปัญหา  ไม่ยั่งยืน  3.ระบบทักษิโณมิก ไม่ได้มองประชาชนเป็นผู้รับประโยชน์อย่างแท้จริง  เป็นเพียงฐานอำนาจทางการเมืองเท่านั้น  สำหรับปรัชญาพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  อาจารย์ให้เหตุผลโต้แย้งว่า   มีหลายประเทศในเอเชีย  มาขอ MODEL  เป็นตัวอย่างเช่น  จีน  เวียตนาม   หรือแม้แต่พม่าเอง  สาระสำคัญที่พระเจ้าอยู่หัว  ทรงอธิบายคือ  1. การสร้างภูมิคุ้มกัน  2.การมีเหตุผล  3.การเดินทางสายกลาง     ความจริงเศรษฐกิจพอเพียง  เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแบ่งปันทรัพยากรทุนนิยมให้เท่า ๆ กัน    ไม่ใช่ผลประโยชน์กระจุกตัวเฉพาะกลุ่มบุคคลในครอบครัว  เหมือนระบบทักษิโณมิก      มีข้อสังเกตข้อหนึ่งคือ เหตุใด  จึงเกิดประเด็นนี้ขึ้นมา        สถานการณ์อย่างนี้ในยุคที่อดีตนายกทักษิณ  หมดอำนาจ  และไม่มีบทบาททางการเมืองในประเทศ   อาจเป็นสิ่งบอกเหตุบางอย่างว่า  ทักษิณยังมีบทบาทในสายตาของต่างประเทศอยู่  หรือพูดง่าย ๆ คือ  ต่างประเทศยังให้การยอมรับอดีตนายกท่านนี้อยู่  และคาดหวังว่าในอนาคตคงจะได้ผลตอบแทนทางธุรกิจอย่างแน่นอน   สำหรับคนที่มาจะแก้ต่างในหัวข้อประเด็นร้อนนี้   น่าจะเป็นนักวิชาการ  หรือบุคคลที่ยอมรับจากสังคม  เช่น   ดร.ธันวา  จาก ม.เกษตรศาสตร์  หรือ  หมอประเวส  วะสี  หรือ  ดร.สุเมธ    จาก  กปร.   มากกว่าคนของ  คมช.  เพราะจะทำให้ภาพพจน์ดูดีกว่า     ท่านอาจารย์ชวนให้คิดถึงปัญหาของคนไทย  คือ  คนไทยคิดไม่เป็น    วิเคราะห์ไม่เป็น    ไม่แยกผลประโยชน์ออกจากนโยบาย    ความจริงระบบทักษิโณมิก  ก็คือ นโยบายที่อดีตนายกทักษิณนำเงินงบประมาณมาให้คนจนอย่างต่อเนื่อง   เช่น โครงการ  กองทุนหมู่บ้าน  โครงการ SML    โครงการโคล้านตัว  หรือ 30  บาท รักษาทุกโรค  เป็นโครงการที่ดี   แต่สอนให้คนไทยรอที่จะได้รับอย่างเดียว    ไม่กระตือรือร้น    ไม่ขนขวายจะคิดดัดแปลงวิธีการหารายได้    ข้าราชการส่วนใหญ่ทำงานเฉื่อยชา  ไม่มุ่งประโยชน์ไปที่ประชาชนอย่างแท้จริง  อย่างนี้ต่อให้นำเงินมาหมดประเทศไทย  ก็ไม่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่าประเทศไทยมีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน  ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ  เศรษฐกิจแบบพอเพียง  คือมีพออยู่  พอกิน  หากผลผลิตเหลือก็สามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้  ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น    สามารถพึ่งตนเองได้ที่สำคัญคือ ความยั่งยืน   พระองค์ท่านมิได้คาดหวังเรื่องผลกำไร    แต่ยึดหลักความคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน   มีความหนึ่งในพระบรมราโชวาท  ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้          ....... พอเพียงนี้หมายความว่า  มีกินมีอยู่  ไม่ฟุ่มเฟือย  ไม่หรูหราก็ได้  แต่ว่า  พอ    แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย  แต่ถ้าทำให้มีความสุข  ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ  สมควรที่จะปฏิบัติ ......               สรุป  กระผมยังเชื่อว่าแนวทางตามพระราชดำริ  เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาที่เหมาะสมกับประเทศไทย   การพัฒนาประเทศที่ยืนอยู่บนความสมดุลและยั่งยืน    จะต้องอาศัย   ความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวัง  ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างหลักพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์  สุจริต  มีสติ  สามารถเผชิญชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์   หรือยุคโลกของการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้  พร้อมกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าผาสุกทั่วกันอย่างแท้จริง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับขนานนามชาวโลกว่า  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา  ก็เนื่องมาจากพระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนพสกนิกรที่ยากไร้และด้อยโอกาสทั่วทุกภูมิภาคทรงสดับตรับฟังปัญหาทุกข์ยากของประชาราฎร์และทรงมีพระเมตตา   พระราชทานแนวทางการดำรงชีพ  เพื่อให้ประชาชนของพระองค์สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน  เมื่อเป็นเช่นนี้  ต้นแบบการศึกษาและพัฒนาที่แท้จริง ก็คือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นั่นเอง    ...................(การมีเงินมาก  ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขมากเสมอไป     ดูอย่างคนบางคนสิ  ยังไม่มีแผ่นดินอยู่เลย  สมัยนี้เวรกรรมติดจรวดนะ)   พ.ท.ธีรชัย     ไชยมะโน   49038010028    รปม.3
นายจิรพัฒน์ ศรีจั่น รปม.03 รหัส 49038020013 เมื่อ 31/01/2007
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์         เมื่อคืนของวันที่ 31 มกราคม 2550 เวลา 19.00 น. ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเปิดวิทยุคลื่น 96.5 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและระบบทักษิโนมิกของทักษิณ ระบบทักษิโนมิกเป็นระบบที่กระตุ้นคนไทยให้มีการคาดหวังสูงใช้จ่ายเงินอย่างเต็มที่และเกินตัว แก้ไขปัญญาหาที่ปลายเหตุเห็นได้จากการมีโครงการนำเงินมาแจกชาวบ้านอย่างที่บอกกันว่า มาให้ปลากับชาวบ้านแต่ไม่รู้จักสอนให้ชาวบ้านจับปลา ระบบทักษิโนมิก คือ คิดเร็ว ทำเร็ว ประชาชนเห็นภาพลักษณ์ในการทำงานของรัฐบาลชัดเจน ปัจจุบันนี้ผู้คนเริ่มหันกลับมาสนใจระบบเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น เศรษฐกิจพอเพียงคือ มีกิน มีใช้ ไม่ฟุ่มเฟือย และไม่เดือดร้อนต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง เราควรนำข้อดีของระบบเศรษฐกิจพอเพียงและระบบทักษิโนมิกดึงเอาข้อดีของแต่ละระบบออกมาประยุกต์ใช้กับตนเองและครอบครัวเรา คนไทยต่อไปก็จะไม่เดือดร้อนและประเทศชาติก็จะยั่งยืนด้วย

เรียน  อาจารย์จีระฯ

                เมื่อวันอาทิตย์ที่  28  มค.ที่ผ่านมานี้ อาจารย์ปิยะฯ  ได้มอบโจทก์ให้วิเคาะห์ปัญหาใน บ.กระดาษไทยรุ่ง ว่าบริษัทนี้ประสบปัญหาอะไร  และมีแนวแก้ไขอย่างไร  จึงขอออกไอเดียในการคิดอย่างเป็นระบบตามที่อาจารย์ได้สอนมาดังนี้คือ  ใคร  อะไร  ที่ไหน  อย่างไร 

                บริษัทนี้ผลิดกระดาษสาเพื่อการส่งออก  มียอดขายสูงมาโดยตลอด  แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีฐานะทางด้านการเงินเป็นอย่างงดี     แต่มียอดพนักงานลาออกจากงานสูงขึ้นเรื่อยๆ   และเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในบริษัท สาเหตุเกิดจาก                การพิจารณาผลงานของพนักงานเพื่อปรับเงินเดือนและโบนัสไม่เป็นธรรม     เพราะบริษัทให้ประเมินผลงานเป็นเกรด   โดยให้ผู้บริหารแต่ละหน่วยเป็นผู้เสนอมา   หากเห็นว่าพนักงานคนใดทำงานดีก็ให้เกรดเอ   รองลงมา เกรดบี  และต่ำสุดคือเกรดซี   แล้วบริษัทฯจะพิจารณาตามที่เสนอมานั้น     สร้างความไม่พอใจให้แก่พนักงาน เพราะการวัดผลงานไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นแต่เพียงนามธรรม  หากผู้บริหารรักใครชอบใครก็สามารถเขียนเกรดให้ได้โดยไม่จำเป็นต้องดูผลงานที่ทำจริง   ประกอบกับผู้บริหารรายงานไม่ตรงกับข้อเท็จจริง   ทำให้บริษัทพิจารณาโดยไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง  ผลออกมาทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่พนักงาน   ทำให้พนักงานหมดกำลังใจ  ท้อแท้  เกิดความเบื่อหน่าย   ทำให้ตัดสินใจลาออก   ปัญหาที่ตามมาคือบริษัทประสบปัญหาการขาดกำลังคน  อันจะทำให้บริษัทประสบปัญหายอดผลิตได้ในอนาคต แนวทางการแก้ไข                ประชุมหารือกับผู้บริหารเพื่อหาวิธีการประเมินผลงานของพนักงานให้ทุกฝ่ายยอมรับ  และส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นว่าควรจะทำอย่างไร   เพื่อให้การประเมินผลงานของบริษัทเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย   และประกาศให้พนักงานทราบทั่วกันถึงวิธีการดังกล่าว   พร้อมกับการเร่งสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงพนักงานเก่าผูกพันกับบริษัท   ส่งผลให้ยอดการผลิตสูงขึ้น กลุ่ม 1  พระธวัชชัย  ละครคิด, นส.พรยุพา  คัมภีรญาณนนท์, นส.สมธนิษฐ์  มงคลชาติ, นส.ศุลีพร  ม้าไว, ร.ต.อ.สุรเชรษฐ์  ยุ่นสมาน, นส.สกัลวลี  กลิ่นนุช, นายประเวช  ลิกขะไชย, นส.นลินธร  ลือเสรษฐสิทธิ์  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท