Man & Theories : 2


ในการบันทึก Man & Theores :1 ที่ผมกล่าวเกี่ยวกับว่า ทฤษฎีนั้น  คนเป็นผู้ "สร้าง" ขึ้นมา  "ไม่ใช่"ค้นพบ

ที่ว่าเรา "สร้าง"ขึ้นมานั้น เราสร้างขึ้นมาจาก "ความว่างเปล่า" หรือ ?

เราสร้างขึ้นมาจากสมองที่มีความรู้ "เป็นศูนย์" หรือ ?

ไม่ใช่ครับ

เพราะว่า  ช่วงที่เรามีความรู้เป็นศูนย์นั้น  ต้องเป็นช่วงต้นๆที่เราอยู่ในท้องมารดา

แต่เมื่อเราออกมาจากท้องมารดาแล้ว  เราต้องได้ความรู้มาจากการเรียนรู้ความรู้จากโลกภายนอก  รู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเรียนจบการศึกษาในระดับต่างๆ  ไปจนถึงระดับปริญญาเอก  และต่อๆไปเรื่อยๆ จนกระทั่งตาย !

ดังนั้น ในช่วงนั้น สมองของเราต้องมีความรู้

และถ้าเราสร้างทฤษฎีในช่วงนั้น  เราต้องสร้างทฤษฎีท่ามกลาง "ประวัติศาสตร์ของสมองที่มีความรู้" แล้ว

และความรู้นั้น "เป็นความรู้เชิงประจักษ์"

ทฤษฎีดังกล่าว จึง"ไม่ได้สร้างขึ้นจากสมองที่มีความรู้เป็นศูนย์" อย่างแน่นอน !

ทฤษฎีดังกล่าวจึง "เชื่อมต่อ" กับ "ความรู้" ดังกล่าว

และเมื่อครั้งหนึ่ง ทฤษฎีได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว  เราก็สามารถที่จะ "นิรนัย" (Deduce) เป็นข้อความจากทฤษฎีนั้น  เพื่อใช้เป็น "Hypothesis" ทดสอบทฤษฎีนั้น "ก็ย่อมได้" ครับ

ผลที่ได้จากการทดสอบ ก็จะเป็น "องค์ความรู้" ต่อไป นอกเหนือจากองค์ความรู้ประเภท "ข้อเท็จจริง" หรือ Facts ที่ได้จากการสังเกตโดยตรง

นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ "เชิงประจักษ์"

นักศึกษาระดับปริญญาโท  ปริญญาเอก  ก็ทำได้

โดยเฉพาะนักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย "ต้อง"ทำด้วยซ้ำไป ครับ

หมายเลขบันทึก: 73867เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กราบเรียน ดร.ไสว

"ความรู้" ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงในบันทึกนี้  มีความหมายเดียวกันกับคำว่า "ความรู้" ที่ปรากฏในคำว่า "การจัดการความรู้" หรือเปล่าครับ  แล้วที่เขาว่า "ความรู้ที่อยู่พ้นขอบเขตของตรรกะ" จัดว่าเป็น "ความรู้" หรือเปล่าครับ  หรือว่า มีความรู้ประเภทที่ว่านี้หรือเปล่าครับ
หากคำถามไม่เข่าท่า  โปรดอภัยด้วยครับ

ด้วยความเคารพ
นายสวัสดิ์ พุ้มพวง

เรียน ดร.สวัสดิ์ พุ่มพวง

(๑) "ความรู้" ตามความหมายของผม หมายถึง "สิ่งที่อยู่ในระบบความจำ" หรือ "การรู้สึกสัมผัส" หรือ "การรับรู้" ที่"สอดคล้องกับความเป็นจริงที่มีอยู่ในโลกภายนอก" ที่"สามารถทดสอบว่าถูกหรือผิดได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์"  และ / หรือ "ที่สามารถพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จได้ด้วยวิธีการทางตรรกะ" ครับ  ส่วนความรู้อื่นตามที่คุณว่านั้น  ผมไม่รู้คัรบ  เพราะผมไม่รู้ว่าเขานิยามอย่างไร

(๒) ความรู้ใดที่ทดสอบได้ด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์หรือพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางตรรกะว่าจริง(True) หรือเท็จ(False) ความรู้นั้นจัดว่าเป็น "ความรู้" ที่เป็น "จริง" ส่วน " ความรู้" ที่ "เป็นเท็จ" ก็คือ "ไม่รู้"ครับ

(๓) ถ้าเรานิยามว่า"ตรรกะ" เป็นวิชาที่ว่าด้วย "กฎของการให้เหตุผลว่า Valid / Invalid " แล้ว  ก็ลอง คิดดูให้ดีนะครับกับคำถามข้างบนนี้

ขอบคุณครับ (และก็แปลกใจตัวเองว่า เรากลายเป็นนักปรัชญาจำเป็นไปแล้วหรือนี่ !!)

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท