คลังสมองของชาติ


ทุกวันนี้แม้แต่ขอทานก็ต้องลงทุน บางคนขึ้นรถไฟฟ้า BTS. ไป-กลับ เท่าไหร่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าแต่งตัว เรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนทั้งนั้น
    สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม  ฟังดูคล้ายกับเรี่องธนาคารความดีของชาวบล็อกเรา ที่ผมเคยเสนอไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้  สำนักงานคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดี ดินแดง กรุงเทพ ท่านพลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธาน เท่าที่อ่านดูตามเทียบเชิญมาให้ไปเป็นวิทยากร เขาบอกว่า หน่วยงานแห่งนี้ได้จัดหลักสูตร พัฒนาผู้นำตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ปีนี้จัด 5 รุ่น ผมจับผลัดจับผลูไปเป็นวิทยากรให้ตั้งแต่รุ่นแรก วันนี้เป็นการบรรยายในหัวข้อ
หลักคิดและประสบการณ์สร้างความเข้มแข็งชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
    
  มันไม่ง่ายเลยที่จะพูดเรื่องนี้ให้เป็นที่เข้าใจระดับไม่ทำไม่ได้! เพราะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องเกิดจากความตระหนักภายในตัวตนของแต่ละคน แต่เมื่อมีรายการคุณขอมาก็ต้องไป ทำหน้าที่มนุษย์ตามบัญชาแห่งสวรรค์     
   ในช่วง2-3 ปีมานี้ผมพูดเรื่องดังกล่าวนี้ไม่น้อยกว่า 30 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ตามโรงแรม ตามมหาวิทยาลัย ที่มหาชีวาลัยก็มีคนตามมาดูมาฟังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเดือนหนึ่งหลายคณะ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำเสนอไว้เป็นPower-Point ในหัวข้อภูมิสังคม เป็นสื่อที่ทางมหาวิทยาลัยขออนุญาตจำหน่าย
 
 วันที่31มกราคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดอีก ชวนไปคุยในหัวข้อนวัตกรรมชุมชนที่ยั่งยืน ไปๆมาๆผมจะเป็นพวกขี้คุยหรือนักปฏิบัติดีละนี่ ที่พูดๆนี่ก็ใช่ว่าจะพอเพียงแล้ว ยังขาดๆเกินๆอยู่เหมือนกับคนอื่นนั่นแหละ แต่..เราก็ตั้งหลักใจไว้ว่าจะไปหาหลักชัยแห่งความพอเพียงให้ได้
  
   ท่านเคยสังเกตไหมครับว่า ทำไมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถึงไปไม่ถึงไหน มันเกิดปัญหาอะไร ในเมื่อมันเป็นเรื่องที่ใครๆก็ว่าดี ประเด็นนี้น่าศึกษาวิจัยนะครับ  ดีกว่าที่จะก้าวข้ามขั้นไปทำตามสูตร ว่ามันจะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ แต่วิธีที่จะรู้ว่าทำอย่างไรมันจะไปถึงจุดหมายปลายทางนี่ ไม่ค่อยจะมีใครพูดถึง
   ในการอบรมชาวบ้านหลายครั้ง ผมได้ทราบเหตุผลแปลกๆห้วนๆว่า  เขารู้ว่ามันดีแต่หวนมาทำไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขผูกรัดไว้ยิ่งกว่าโดนมัดด้วยด้ายตราสังข์ เช่น
  1. ภาระหนี้สิน
  2. สภาพความเสื่อมโทรมของพื้นที่ทำกิน
  3. มีข้อจำกัดในการเลือกกิจกรรมเพาะปลูก เช่น ความแห้งแล้งทิ้งช่วงยาวเกินไป ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจัยเสี่ยงสูง
  4. ระบบการจำหน่ายไม่แน่นอน ด้านการตลาดตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง
  5. ปัจจัยการผลิตอยู่ในมือคนอื่น
  6. ความรู้ความสามารถยังด้อย
  7. ใจฝ่อเพราะทำอาชีพนี้มานานแต่ไม่เห็นช่องทางที่จะรุ่งเรื่อง

    เมื่อข้อมูลออกมาเช่นนี้ก็ใช่ว่าจะหมดหวัง  มีกระแสเสียงจากคนบางกลุ่มที่บอกว่ามันดีนะ ฉันทำได้ผลนะ กำลังตื่นตัวตื่นใจที่จะรวมพลังกันยืนหยัดขึ้นมาประกาศว่าควรจะทำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ  เช่น  กลุ่มอโศก กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มวังน้ำเขียว เขาเหล่านี้มีความต้องการที่จะดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ยังมีความยั้งคิด มีเชื้อความพอเพียงอยู่ในหัวใจ ตระหนักชัดว่าสุขใดไม่มีเสมอเหมือนความ สงบสุข

    ที่ผมว่าไม่ง่าย  เพราะไม่ใช่ใครก็ทำได้ทันที โดยเฉพาะพวกที่ติดเงื่อนไป6-7ข้อข้างบนนั้น แสดงว่าถ้าจะออกแบบส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คงไม่ใช่การพูดถึงวิธีทำการเกษตรเท่านั้น แท้ที่จริงเศรษฐกิจพอเพียง คือวินัยของชีวิตและสังคม ไม่ว่าใครจะประกอบอาชีพสาขาไหน อยู่ในตำแหน่งอะไร เป็นยาจกหรือเศรษฐี ควรดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจะดีที่สุด

   ทุกวันนี้แม้แต่ขอทานก็ต้องลงทุน บางคนขึ้นรถไฟฟ้า BTS.  ไป-กลับ เท่าไหร่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าแต่งตัว เรื่องเหล่านี้เป็นต้นทุนทั้งนั้นมาตรฐานความพอเพียงนอกจากจะขึ้นอยู่กับความพอใจแล้ว ยังมีมาตรฐาน ISO อะไรอีกบ้าง

   ในฐานะที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งเต็มไปด้วยมันสมองของชาติ จะมาช่วยชาติติดอาวุธเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง นับเป็นเรื่องที่ดี ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เวลาเขาพูดถึงการเกษตร เขาหมายถึงความมั่นคงด้านอาหาร ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะกองทัพ ต้องเดินด้วยท้อง ใครๆไหนอื่นก็ยังมีท้องมีใส้อยู่กันทุกคน ดังนั้นถ้าว่างก็ขอความกรุณาช่วยกันใคร่ครวญให้ดี ว่าจะเอาตัวเองไปวางไว้ตรงไหนในหลักการเศรษฐกิจพอเพียง.

  ถ้ารักในหลวง ก็มาช่วยกันทำให้พระราชดำริของพระองค์ ปักธงลงในผืนแผ่นดินขวานทองแห่งนี้ ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า พสกนิกทุกคนมีหัวใจเป็นสีทอง ร่วมร้องเพลงชาติไทย และใส่ใจเศรษฐกิจพอเพียงกันถ้วนหน้า ก็น่าจะเป็นของขวัญที่เราช่วยกันทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระองค์ท่านในวาระที่ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา  ดีไหมครับ

หมายเลขบันทึก: 73837เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2007 01:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนครูบาครับ

  • ผมคิดว่าที่คนไม่ลงมือทำทั้งที่เห็นด้วยก็เพราะลึกๆแล้วใจยังอยากรวย
  • ผมเห็นคนหลายคนยอมรับเหตุผลในหลายเรื่อง แต่ทำไม่ได้ตามเหตุผลเพราะสำนึกสูงสุดยังไม่เกิดขึ้น
  • เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมว่ายากกว่าการมุ่งหาความรวย เพราะการมั่งหาความรวยนั้นความทะยานอยากมีมากก็เดินต่อไปได้  แต่ความพอเพียงนี้ต้องใจมาก่อน จิตสำนึกมาก่อนหากไม่เกิดขึ้นแล้ว พอเพียงเป็นแค่คำที่พูดกันด้วยเหตุผลเท่านั้นเอง

เป็นเรื่องยากก็ว่ายากนะครับ  แต่แม้ว่ายากผมก็สนับสนุนเต็มที่เลยเพราะเป็นทางออกของประเทศชาติ และสังคมเราทุกวันนี้ครับ

ตอบ ท่านบางทราย

 คงเป็นเรื่องมาตรฐานกิเลศ ของแต่ละคนตามที่ท่านว่า

ขอบคุณสำหรับความเห็น ขออนุญาตเอาไปขายต่อนะครับ

  • มาหาความรู้ครับครูบา
  • มีหลายปัจจับมากครับ
  • แถวบ้านผมน่าจะเป็นข้อนี้ครับ
  • มีข้อจำกัดในการเลือกกิจกรรมเพาะปลูก เช่น ความแห้งแล้งทิ้งช่วงยาวเกินไป ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจัยเสี่ยงสูง
  • ขอบคุณมากครับผม

ครูพัก  ก็แอบมาลักจำอยู่เสมอครับ

เลยรวบรวมสิ่งที่เคย "ลักจำ"  เก็บเอาไว้ ในพกห่อ   สักวันที่มีโอกาสจะเปิดพกห่อเหล่านี้ออกมาใช้บ้างครับ

 พกห่อที่ยังเก็บเอาไว้....

 ย้อนฟังมหาชีวาลัย...สะท้อนมหา'ลัยชีวิตของตัว 

คนสร้างความรู้ ที่กิ่ง อ. แคนดง จ.บุรีรัมย์

คนสร้างความรู้ ที่กิ่ง อ. แคนดง จ.บุรีรัมย์ (ตอน 2)

 

 

 แท้ที่จริงเศรษฐกิจพอเพียง คือวินัยของชีวิตและสังคม  ชอบประโยคนี้มากค่ะ

เรียน ครูบาสุทธินันท์

  • จากสภาพ และข้อจำกัดหลายประการดังที่ท่านครูบาสุทธินันท์ได้กล่าวมาจึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจสำหรับพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับ ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรดี ผมจะขอเป็นกำลังใจตลอดไปนะครับ
  • อีกประเด็นหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ เลือกดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ ภาระที่ต้องส่งลูกเรียนหนังสือ   เนื่องจากการส่งลูกเรียนจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก     โดยเฉพาะเรียนในระดับมหาวิทยาลัย พี่น้องเกษตรกรจึงเกรงว่าจะมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายให้กับลูก  ดังนั้นจึงดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะให้ได้มาซึ่งเงินเพื่อส่งให้ลูกได้เรียน ได้อยู่ ได้กิน จึงเกิดความลังเลและตัดสินใจไม่ได้ครับ
  • จึงเป็นความทุกข์ ที่ยังหาทางออกไม่ได้ ไม่ทราบเราจะผลักกดันหรือหาแนวทางอย่างไรดีครับเพื่อจะให้มีความสุขอย่างแท้จริง

ด้วยความเคารพ

อุทัย

  ..ที่คิดอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ

ทั้งๆที่รู้..รู้แล้วรู้อีก เราก็ยังทำอะไรไม่ค่อยจะได้

พลังเรา พลังไทย ทำไมมันถึงห่างชั้นเขาเหลือเกิน

ประเทศที่พลังสังคมบกพร่อง จะสร้างปรากฏการณ์เสมือนจริงให้สบายใจ และเข้าใจผิดๆ บทความนี้เขียนมาแบบโยนหินถามทาง ว่าคนไทยกำลังคิด และทำ อย่างไร กับเรื่องพระราชดำริ

พูดและเขียนกันเกลื่อน รักในหลวง หว่างลูกหลาน ห่วงนั้นห่วงนี่ แต่ไม่ทำอะไรให้เป็นหมากเป็นผล จะเล่นกลกับชีวิตจริงทำไม นะ ไทยเอ๋ย..

เท่าที่มีการให้ความเห็นในช่วงที่ให้ ถาม-ตอบ

  1. ทุกคนอยากเห็น เศรษฐกิจพอเพียงเชิงรูปธรรม
  2. แต่ ไม่มีคนทำ อย่างจริงจัง
  3. โบ้ยให้คนอื่นทำ ตัวเองจะนั่งดู
  4. เจ้าภาพ ยังไม่เข้มแข็ง
  5. ไม่ตระหนักว่านี่ คือหน้าที่พัฒนาสังคมที่ทุกคนควรรับผิดชอบ ถ้ารักในหลวงจริง

ตอบ

P

ชอบ แท้ที่จริงเศรษฐกิจพอเพียง คือวินัยของชีวิตและสังคม 

เมื่อชอบแล้วจะแปลงความชอบให้เป็นพลังส่วนเสริมเรื่องนี้ ดีไหมครับ

ผมเห็นด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท