เกม ทุนนิยมและประชาธิปไตย


เกมนี้อาจจะไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต

 มีคนบอกว่าระบบทุนนิยมไปด้วยกันได้ดีกับประชาธิปไตย
น่าสนใจว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านของทุนนิยมในรัฐประชาธิปไตยครึ่งใบหรือในกระดาษจะเป็นอย่างไร? จะเป็นอย่างประเทศไทยใช่หรือไม่?

ถ้าประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมและตระหนักรู้ในหน้าที่และสิทธิ
เรามีวัฒนธรรมและได้ปลูกฝังเรื่องเหล่านี้กันมากน้อยแค่ไหน?

ถ้าทุนนิยมคือ การแข่งขันในเกมที่ยุติธรรม
เราได้วางระเบียบไว้อย่างยุติธรรมมากน้อยเพียงไร?
และเราถูกบังคับ/กดดันให้ต้องยอมรับระเบียบที่อยุติธรรมด้วยหรือไม่?

เกมนี้อาจจะไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต

แต่ก็อาจจะเป็นเกมเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้เช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 73829เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทุนนิยมปล่อยให้ปัจเจกเติบโต โดยอาจมีการสะสมทุนเป็นเป้าหมาย  

ประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ปัจเจกทุกคนมีสิทธิ์มีเสียง  ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วม  จึงมีโอกาสที่จะคานอำนาจต่อรองกัน ซึ่งทุนนิยมไม่ได้สนใจตรงนี้

ประชาธิปไตยที่อ่อนแอจึงเปิดโอกาสให้ปัจเจกสะสมทุนเพื่อตนเองได้มาก โดยไม่สามารถสร้างกลไกมาคานอำนาจได้

ถ้าเกมนี้ถูกทำซ้ำ ก็หวังว่าจะเกิดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนกติกา  แต่ในบางสังคมก็ป่วยสาหัสเกินกว่าจะเรียนรู้ได้ทันการ

เกม กับ เป้าหมายชีวิต จะสัมพันธ์กันขนาดไหน ยังมองไม่ออก   แต่เป้าหมายชีวิตจะบอกว่า  เราจะเดิมพันกับเกมนี้อย่างไร แค่ไหน 

การสะสมทุนอาจเป็นปัญหาในตัวมันเอง?

ปัจเจกที่เป็นคนซึ่งมีช่วงเวลาของชีวิต เมื่อตายไป ทุนที่สะสมไว้ควรเฉลี่ยคืนให้ส่วนรวมในรูปภาษีมรดกอย่างเหมาะสม
ถ้ากติกาในเกมกำหนดไว้เช่นนี้
เกม"ทุนนิยม"จะไม่น่ารังเกียจสักเท่าไร

ถ้าไม่มีการแข่งขันแพ้-ชนะก็ทำให้ขาดประสิทธิภาพ ขาดรสชาติของชีวิต   

แต่สะสมทุนไว้มากเพื่ออะไร หากไม่สนุกในเกม เพราะตายไปทุนก็เข้ากองกลางเป็นส่วนใหญ่

สมดุลที่เป็นไปตามกฏการแข่งขันของดาร์วินและ หยิน-หยางคือการเรียนรู้เพื่ออยู่ในเกมและทำให้เกม(ทุนนิยม)น่าสนใจมากขึ้น

 

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สะสมทุนเป็นปัญหาแน่  ด้วยทรัพยากรที่จำกัด  ถามว่า เอาที่ไหนมาสะสม ถ้าไม่ใช่มาจากธรรมชาติ มาจากคนอื่น  

คืนร่างกายให้ผืนดิน คืนทุนให้แผ่นดินโดยระบบภาษีมรดกเป็นเรื่องควรกระทำอย่างยิ่ง

แต่คนชั้นกลางหรือชั้นสูงที่เป็นผู้เขียนกฎหมายย่อมไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้น

ประชาธิปไตยที่แท้ต้องสร้างคนฐานรากให้เข้มแข็งพอที่จะเข้ามาร่วมกำหนดทิศทางสังคม

การแข่งขันทำให้เกิดประสิทธิภาพได้ พอๆกับ "การตายหมู่" ... ในทางตรงข้าม  ประสิทธิภาพอาจเกิดได้จาก "ความร่วมมือ" เช่นกัน

สำหรับดิฉันเอง  การแข่งขันกับคนอื่นน่าเหนื่อยมากกว่าน่าสนุก   การแข่งกับตัวเองสนุกกว่า  พัฒนาคน พัฒนาสังคมได้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท