ก้าวใหม่ของขบวนพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราช


ก้าวสู่การบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนทั้งแนวคิดและคนทำงานและลงลึกในกระบวนการจัดการทีมเรียนรู้

อาจารย์จำนงโทรศัพท์มาเล่าความคืบหน้าการอบรมBlogและแจ้งว่าได้รับเลือกเป็นBlogดีเด่น(อีกแล้ว) ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

การพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชต้องการเป้าหมายที่มาจากการฝันร่วมกัน ซึ่งจะเป็นที่มาของความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ

ในส่วนของภาครัฐโดยการนำของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้ขับเคลื่อนโครงการKMเมืองนครอย่างต่อเนื่อง วางเป้าไว้6ปี เพื่อไปสู่ชุมชนอินทรีย์(เรียนรู้/พอเพียงและสุขภาวะ) จังหวัดพยายามเชื่อมโยงกับภาคชุมชนผ่านเครือข่ายยมนาและอบต.(ท้องถิ่น-ยังขาดเทศบาลและอบจ.)

ภาคชุมชนโดยเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนนำโดยผญ.โกเมศร์ ทองบุญชูและคณะได้เชื่อมโยงกับมสช.โดยการสนับสนุนของสสส. ในส่วนงานนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตที่ดี

พอช.ร่วมกับภาคชุมชนมีแผนพัฒนาตำบลนำร่อง50ตำบลในนามหน่วยประสานความร่วมมือภาคประชาชน

พม.กำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ร่วมกับภาคประชาสังคม

สกว.กำลังเข้ามาสร้างความร่วมมือให้เป็น1ในจังหวัดนำร่องตามแนวทางABC research

ศูนย์คุณธรรมก็ให้ความสำคัญอยากเข้ามาหนุนโครงการKMเมืองนคร

นอกจากนี้ ในขบวนชุมชนด้านองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนก็กำลังขับเคลื่อนงานบูรณาการกองทุนระดับตำบล/จังหวัด เชื่อมโยงการเรียนรู้เป็นยุทธศาสตร์การทำงานระดับประเทศ
ในขณะที่เครือข่ายยมนาเองก็ทำงานเชิงรุกกับทุนทรัพยากรธรรมชาติในโครงการปลูกต้นไม้เปลื้องหนี้

ภาคธุรกิจได้รับการเชื่อมโยงโดยกลไกคณะทำงานของพม.แต่ยังไม่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับแนวทางABC research ที่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยงภาคีธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมด้วยโดยใช้ฐานความรู้และการทำงานร่วมกันเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีฐานงานวิจัยในฝ่ายต่างๆอยู่ในพื้นที่นครศรีธรรมราช เช่น งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น และงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นต้น

ทราบว่าผญ.โกเมศร์ ทองบุญชูได้ชักชวนผองเพื่อนร่วมหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในวันที่29ม.ค.นี้

ผมเห็นว่า สถานะการณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ซับซ้อนเช่นนี้ ต้องการการทำงานแบบเครือข่าย เพื่อนช่วยเพื่อนหนุนเสริมกันทั้งข้อมูลความรู้และการจัดการ เพราะเรามีทั้งประเด็นชาติที่ใช้พื้นที่เป็นตัวเดิน มีประเด็นสำคัญในพื้นที่ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นอกจากการแชร์ความฝัน เป้าหมายปลายทางและรายทางร่วมกันแล้ว ยังต้องการทีมทำงานเฉพาะทางจำนวนมากด้วย

ทีมBlogของอาจารย์จำนงเป็นทีมหนึ่งที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระดับพื้นที่ อาจารย์บอกว่าทีมงานจะนัดพบกันเดือนละครั้ง ก่อนพบกันจะคุยกันทางBlogก่อน โดยจะขยายงานลงไปให้ถึงBlogตำบลโดยเชื่อมโยงกับอบต.

ทีมคุณอำนวยเริ่มไป1ครั้งแล้ว ผมเห็นว่าเราต้องสร้างทีมคุณอำนวยที่เป็นวิทยากรกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งเวทีทางการและไม่เป็นทางการให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกับคุณลิขิตในอำเภอและตำบล

ในการพบปะกันเดือนละครั้งของวงคุณเอื้อ แต่ละหน่วยงานจะสรุปความก้าวหน้าของการเดินงานพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชเล่าสู่กันฟัง เป็นวงเรียนรู้ที่เข้ามาเสริมวงประชุมเป็นทางการของภาคราชการ

หวังว่าจะสามารถเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่ อาชีวะศึกษาและอุดมศึกษาเข้ามาร่วมงานได้เพิ่มขึ้น

หวังว่าวงเรียนรู้คุณเอื้อจะขยายการมีส่วนร่วมเป็นภาคีทุกภาคส่วน

เรากำลังก้าวสู่การบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนทั้งแนวคิดและคนทำงานและลงลึกในกระบวนการจัดการทีมเรียนรู้

หนทางยังอีกยาวไกล

หมายเลขบันทึก: 73826เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ปัทมาวดี โพชนุกูล

 "ประเด็นชาติ" ที่ใช้พื้นที่เป็นตัวเดิน เป็นการตอบโจทย์ของหน่วยงาน   น่าจะใช้ประเด็นพื้นที่เป็นตัวตั้ง แล้ว "เลือก"ประเด็นชาติที่เหมาะๆมาช่วยตอบโจทย์พื้นที่    บางที อาจต้องให้ "ชาติ" ช่วยสร้างประเด็นใหม่ๆ มาช่วยพื้นที่  ดังเช่น ประเด็นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ (ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ)

ที่เห็นล่าสุด ชาวประมงเปลี่ยนไปทำกรงนกกันหลายครอบครัว  เพราะรายได้แน่นอนกว่า  นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชาวประมง  ซึ่งใช้ได้แล้ว  หรือ พื้นที่ต้องช่วยกันหาทางเลือกที่ยั่งยืนกว่านี้

ถือว่าเป็นความเห็นจากคนนอกพื้นที่นะคะ ผิดถูกอย่างไรก็ต้องขออภัยด้วย 

เป็นกำลังใจให้ขบวนเมืองคอนค่ะ

 

ดีใจที่ได้เจอพี่ภีม (ขออนุญาตเรียกพี่)  ตอนนี้คงไม่ต้องสงสัยแล้วนะครับว่าผมเป็นใคร

ชาวประมงที่อาจารย์ปัทมาวดีว่า คงเป็นที่บ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลานี่เอง  ผมไม่รู้ว่า ชาวประมงพื้นที่อื่นเขาหาทางออกกันอย่างไร

พี่ภีมครับ  ถ้าจะตั้งโจทย์ว่า ตอนนี้เรื่องเร่งด่วนที่สุดของพื้นทีคืออะไร   เรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วนของพื้นที่คืออะไร  ไม่ทราบว่าจะพอมีคำตอบไหมครับ

ถ้าไทยไม่เกาะ FTA แล้วไทยจะตกกระแส  ไทยก็เลยเสียเวลาไปคิดนโยบายด้านนั้น ทั้งๆที่มันอาจจะไม่ได้สำคัญอะไรจริงๆกับประเทศ (ผมไม่รู้นะ)

ในทำนองเดียวกัน ถ้าพื้นที่ไม่เกาะประเด็นชาติ จะตกกระแส ทำให้พื้นที่ต้องไปพยายามทำประเด็นชาติ ทั้งๆที่มันอาจไม่ได้สำคัญอะไรจริงๆกับพื้นที่ รึเปล่า (ผมไม่รู้อีกเหมือนกัน)  แต่ถ้าประเด็นชาติกับประเด็นพื้นที่สอดคล้องกัน  ก็ถือว่าดีที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท