หน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัย


การมีส่วนร่วมเป็นหัวข้อสำคัญหนึ่งขององค์กรธรรมรัฐ

ตอนที่คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีม.วลัยลักษณ์ เสนอชื่ออธิการบดีคนใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้จัดประชุมประชาคมมวล.(วงเล็กมาก)เพื่อรายงานสรุปการทำงานเหมือนการทำAAR เผอิญผมเข้าไปนั่งฟังในช่วงท้ายๆโดยไม่ได้ตั้งใจ (เพราะนั่งรออาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมซึ่งเป็นประธานสรรหา)

ที่จริงผมได้เข้าร่วมประชุมประชาคมมวล.ตั้งแต่เริ่มกระบวนการสรรหาโดยไม่ได้ตั้งใจเช่นกัน (ก็เป็นเหมือนครั้งนี้ คือแวะไปปรึกษาและเรียนเชิญอาจารย์ไพบูลย์เป็นวิทยากรร่วมประชุมเรื่ององค์กรการเงินชุมชน) ผมไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องดังกล่าวเท่าไรนัก แต่ก็ได้แสดงความเห็นไปว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการสรรหาอธิการบดีของประชาคมมวล.ไม่ควรมาเริ่มกันก่อนหมดวาระ4-5เดือน มันจะเหมือนกับการเลือกตั้งผู้แทนที่ประชาชนมีส่วนร่วมตอนกาบัตรเท่านั้นซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น

ตอนทำAAR อาจารย์ไพบูลย์ได้ยกประเด็นนี้เข้าสู่ที่ประชุมโดยเสนอว่าคณะกรรมการสรรหาควรมีหน้าที่ต่อไปตลอดวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยอาจเปลี่ยนเป็นคณะที่ปรึกษาที่ทำหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องจนถึงการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ในอีก4ปีข้างหน้า

ที่จริงการมีส่วนร่วมเป็นหัวข้อสำคัญหนึ่งขององค์กรธรรมรัฐซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (มวล.เป็นองค์กรธรรมรัฐ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล) และจะว่าไปแล้วก็เป็นหัวใจของการพัฒนาเป็นองค์กรเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการความรู้ของปีเตอร์ แซงเก้ด้วย ประกอบด้วย 3 กลุ่มคำคือ ร่วมฝัน สร้างทีมเรียนรู้และแบบแผนจิตสำนึก ซึ่งปรากฏอยู่ในคำขวัญของมหาวิทยาลัย (active learning)

การมีส่วนร่วมเป็นทั้งพลังดึงและพลังขับเคลื่อนให้คนในองค์กรเชื่อมโยงภาพฝันเพื่อเสริมพลังกาย/ใจของกันและกัน เป็นพลังพุ่งและหมายเป้าที่สำคัญ ซึ่งเชื่อมโยงและนำไปสู่กระบวนการทำงานเป็นทีมด้วย

จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ

ผมคาดหวังให้กลไกคณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเพื่อเสริมการทำหน้าที่ตามโครงสร้างของหน่วยพัฒนาองค์กร

สำหรับผมแล้วเป็นเรื่องสำคัญที่เร่งด่วนมาก
ถ้าแคลงใจในระดับของความรุนแรง อาจเริ่มจากการตรวจอาการก่อนก็ได้ครับ

หน้าที่นี้น่าจะเป็นของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งก็คือหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #มวล.
หมายเลขบันทึก: 73817เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เรื่องน่ากลัวที่ต้องทำให้กระจ่าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท