สื่อสารกับผู้ป่วยมะเร็ง


หน่วงความคิดของตนเองไว้ รับฟังผู้ป่วยก่อน
ผมเพิ่งมีโอกาสไปบรรยายร่วมกับพี่อานนท์..อาจารย์อานนท์ วิทยานนท์ จิตแพทย์ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คนคนเดียวกับรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะแพทย์ สงขลาฯ ในงานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทยที่จังหวัดตรังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ความจริงผมไม่ได้บรรยายหรอกครับ แค่ไปทำหน้าที่เกริ่นนำให้วิทยากรตัวจริง คือพี่อานนท์ ได้พูดทั้งหมด

สิ่งที่ผมเกริ่นนำในวันนั้น มี ๒ ประเด็นครับ
            ๑. คำพูดของเราในฐานะแพทย๋หรือผู้ดูแลผู้ป่วย บางครั้งดูดี ด้วยความปรารถนาดี แต่ผู้ป่วยอาจไม่รับรู้ รับฟัง หรือบางทีถึงกับ..เคือง..เราก็มี 
ผมเอาการ์ตูนในบทความเรื่อง ABC of palliative care. Communication with patients, families, and other professionals. ที่ตีพิมพ์ใน
BMJ. 1998 Jan 10;316(7125):130-2.
Click here to read 
เป็นการนำเข้าเรื่อง
ผมยังเอารูปขึ้นในบันทึกไม่ได้ ขออนุญาตบรรยายแล้วกันนะครับ เป็นรูปคุณหมอพูดกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยท่าทางเป็นมิตรว่า
"I'm afraid you've got a serious illness, 
but we've decided it's BEST 
not to tell you what it is"

หรือจะลองกลับไปอ่านเรื่อง ทำใจให้สบาย.. ของผมดูก็ได้นะครับ

๒. ผลงานวิจัยของผม เรื่อง Cancer disclosure ในผู้ป่วยรังสีรักษา ซึ่งผมจะหาทางย่อยให้ฟังทีหลังนะครับ

สิ่งที่ผมอยากจะเล่าในที่นี่ คือ ความประทับใจในการบรรยายของพี่อานนท์มากกว่า โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า
- คนเรามีมุมมองในเรื่องต่างๆ ของชีวิตแตกต่างกัน ตามพื้นฐานของเรา ความคิดเห็นของเราแต่ละคนจึง..แตกต่าง..กันได้อย่างเกินคาด
- เมื่อความเห็นของคนเราต่างกันได้ถึงขนาดนั้้น แล้วทำไมถึงต้องเอาความเห็นของเราเป็นใหญ่ 

อาจารย์จึงแนะนำให้้เรา

- หน่วง..ความคิดของตนเองไว้ก่อน เปิดใจรับฟังผู้ป่วยเสียก่อน
-แล้วเราจะสามารถ..ร่วม..แก้ปัญหากับเขาได้ดียิ่งขึ้น ในบริบทของผู้ป่วยเอง 
หมายเลขบันทึก: 73804เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท