แนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบการเรียนแบบโครงงาน


เป็นการเรียนแบบผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เห็นของจริงก็จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ก้าวข้ามพ้น “กำแพง” ที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเขาได้
 

ระบบการเรียนแบบโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้แบบธรรมชาติ และมีลักษณะคล้ายคลึงกับ KM ธรรมชาติ ในแทบทุกมุมของการจัดการ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ที่อาจสามารถทำให้ผู้เรียนที่มี พหุปัญญา ด้านอื่นๆ ที่มีระดับ การเรียนรู้ต่ำ แต่มีทักษะการเรียนรู้ด้านหรือแบบอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นจุดตั้งต้น ในกระบวนการเรียนรู้ และสามารถนำเข้าสู่หลักการเรียนรู้ อย่างเป็นขั้นตอน แบบอริยสัจสี่ ในลักษณะการเรียนจนเป็นที่มาของของการคิดค้นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก สาขาต่างๆ ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่พบในด้านต่างๆ ค่อยๆแก้ทีละเปลาะ ทีละเรื่อง แบบคิดจากเล็กไปใหญ่ จนสามารถแก้ไขปัญหา สรุปแนวคิดมาเป็นทฤษฎีด้านต่างๆ

  

และเท่าที่ผมเรียนรู้มา ไม่มีใครเลยที่ตั้งทฤษฎีไว้ก่อนแล้วไปหาเหตุผลสนับสนุนทีหลัง อย่างที่ทำกันในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน

  

แล้วทำไมเราจึงทำเช่นนี้ และยังอ้างว่าเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ เสียอีก

 การทำเช่นนั้นน่าจะสนับสนุนการท่องจำเสียมากกว่า  

ประเด็นสำคัญ ก็คือ เราต้องการสร้างกระบวนการสอนที่สามารถช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มนักเรียนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่พอเพียงครบถ้วน อันประกอบด้วย

 

·        ผู้เรียนที่ได้รับการปลูกฝังความคิดว่า การเรียน คือการท่องจำ (Memory based) จนกลายเป็นนักท่องตำราไปสอบ ท่องพจนานุกรมเป็นเล่มๆ แต่ไม่ค่อยเข้าใจ จึงไม่เรียนรู้ ใช้ชีวิตเหมือนความจำในคอมพิวเตอร์ แค่พลิกคำถามนิดเดียวก็ตอบไม่ได้

 

·        ผู้เรียนที่ระบบสมองที่ต้องเริ่มคิดจากปัญหา สาเหตุ แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา ไปหาวิธีแก้ปัญหา ( Problem based Learning) จึงจะเรียนอย่างเข้าใจ และเรียนรู้ได้จริงๆ

 

·        ผู้เรียนที่ต้องพัฒนาทักษะ แบบทำเอง เห็นเอง จึงจะเรียนรู้ (โดยมีฐานการคิดของระบบการเรียนมาจาก Tacit knowledge เป็นหลัก) ที่ต้องซึ้ง และเกิดศรัทธา จึงจะเริ่มเรียนรู้ แค่ฟัง หรือเห็นภาพ ไม่สามารถทำให้เกิดความประทับใจหรือฝังใจ (Impression) พอเรียนรู้ได้

 ·        ผู้เรียนที่มีปัญหาเชิงผสมผสาน ของทั้งสามแบบข้างต้น    ดังนั้น ถ้าเป็นการเรียนแบบผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เห็นของจริงก็จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ก้าวข้ามพ้น กำแพง ที่ขัดขวางการเรียนรู้ของเขาได้  

สิ่งที่มีอยู่ในระบบสังคมไทยที่จะตอบสนองเขาได้ก็คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เป็นของตนเอง ที่หลายคนไม่ทราบ หรือ ไม่สนใจ จนทำให้เสียโอกาสของการใช้ภูมิปัญญาเหล่านี้ในการเรียนรู้ ที่สะท้อนถึง

 

·        แนวคิดเชิงวิเคราะห์ปัญหา  (Problem based)

 

·        แนวคิดเชิงการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา (Cause-effect relationships)

 

·        แนวคิดเชิงการค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (Technology development)

 ·        แนวคิดในการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา (Development options)  

หลักการทั้งสี่ข้อที่ขยายมาจาก อริสัจสี่นี้ จะสามารถนำภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่มีคนทำอยู่จริง มาอธิบายทั้งทางหลักทางวิทยาศาสตร์ หรือ ทฤษฎีต่างๆ ที่มีชีวิตจริง

  และ เชื่อมโยงเข้ากับสาระการเรียนรู้ทั้งแปด วิชาต่างๆที่เรียน และ การพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี   

แต่ต้องเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง ผู้รู้ซึ้งในภูมิปัญญา แลผู้รู้ซึ้งในเชิงวิชาการ จึงจะสามารถเชื่อมโยง ชุดความรู้ต่างๆเข้าหากัน จนทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้จริง และเป็นการใช้ทั้ง ครูคน ครูธรรมชาติ และครูเครื่องได้อย่างครบถ้วน แบบผสมผสานกัน คลุกเคล้ากลับไปกลับมาตามจังหวะที่ควรจะเป็น จึงจะทำให้กำแพงแห่งการรับรู้ ทะลายลงกลายเป็นการเรียนรู้ในที่สุด

  

นอกจากนี้ การอธิบายและใช้กระบวนการพัฒนาภูมิปัญญา เพื่อสนับสนุนการเรียนนั้น ยังต้องเน้นตามความสนใจ และการเรียนรู้ของเด็กก่อนการนำเข้าสู่สาระวิชา ที่ต้องทั้งวางแผนการสนับสนุนการเรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทั้งประเด็นความสนใจ ความถนัด และความสามารถในการเรียนรู้

  

จึงเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความคุ้นเคย และพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น

  ขอให้โชคดีครับ 
หมายเลขบันทึก: 73803เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ดีใจที่คิดใกล้เคียงกับอาจารย์
  • ผมทำเรื่องใครงงานภาษาอังกฤษครับ งานวิจัยนักศึกษาเริ่มจากปัญหาเหมือนกัน นักเรียนจะได้ทั้ง พุทธิพิสัย(Cognitive Domain )จิตพิสัย(Affective Domain)และทักษะทางภาษา(Language Skills) ที่ได้มากกว่านั้นคือทักษะทางด้านสังคม ความรับผิดชอบ ที่ผมชอบคือการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองครับอาจารย์
  • ขอบคุณมากครับผม
  • การทำงานประสานกันระหว่าง ผู้รู้ซึ้งในภูมิปัญญา แลผู้รู้ซึ้งในเชิงวิชาการ จึงจะสามารถเชื่อมโยง ชุดความรู้ต่างๆเข้าหากัน จนทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้จริง 
  •  ครูคน ครูธรรมชาติ และครูเครื่องได้อย่างครบถ้วน แบบผสมผสานกัน คลุกเคล้ากลับไปกลับมาตามจังหวะที่ควรจะเป็น 
  • ทำให้กำแพงแห่งการรับรู้ ทะลายลงกลายเป็นการเรียนรู้ในที่สุด
  • ทั้งสามประเด็นได้นำไปตั้งวงคุยกันในโรงเรียนแล้ว ได้เห็นแนวทางการทำงานหลายแนวทาง
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่ช่วยเปิดพื้นที่ทางความคิด    ครับผม
  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน
  • ทำให้ผมนึกถึงการเรียนการสอนของนักเรียนมัธยมที่อยู่ในเครือข่ายของกลุ่มอโศก ที่มีการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติจริง สภาพชีวิตจริง เมื่อเจอสภาพปัญหา จึงค้นหาคำตอบ พร้อมอธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ประกอบ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต และไฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

ด้วยความเคารพ

อุทัย  อันพิมพ์

เรียน...ท่านผู้อาวุโส

  • ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เม็กดำ1 ครับ
  • ผมเคยใช้โครงงานจัดกิจกรรมการศึกษาอาชีพของ  กศน. แต่เราเรียกของเราว่าการจัดการศึกษา อาชีพ หลักสูตรตามสภาพจริง  ชาวบ้านคิดเอง  ทำเอง...  ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนครับ...

                         ด้วยความเคารพ

                                      ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ
 

 

ขอบคุณครับคุณขจิต ท่านขุนพลเม็กดำ ครูราญ และคุณอุทัย ผมรู้สึกว่าได้ประเด็นเพิ่มเติมทุกครั้งที่ท่านแสดงความเห็น โดยเฉพาะคุณอุทัย เพิ่งเห็น "คม" ชัดๆวันนี้เอง ขอให้แสดงบ่อยๆนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท