What is palindromic rheumatism?


 

คิดว่าไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้วมั้ง ที่เผชิญกับความทรมานกับอาการปวดซึ่งหาสาเหตุไม่เจอ รู้ว่ามันปวดที่ข้อที่กระดูก ไปหาหมอ ตรวจเลือดก็แล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรผิดปกติเด่นชัดที่สามารถวินิจฉัยออกมาว่าเป็นอะไรกันแน่

เนื่องจากเดี๋ยวก็ปวดตรงนั้น เดี๋ยวก็ปวดตรงนี้ บางทีก็เข่า บางทีก็ข้อมือ มันบวมแดงขึ้นมาแล้วก็หาย แต่ทิ้งความปวดต่อให้อีกหลายวัน ที่ร้ายหนักคือปวดที่คอ จำได้ว่าตอนนั้นหยุดงานเกือบ 3 สัปดาห์ ใส่ฟิลาเดเฟียคอลล่า (เรียกง่ายๆว่า ปลอกคอดีมั้ย ใครเห็นตกใจ ถามว่า คอหักเหรอ ? )  อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์

ทรมานกายพอทนได้ แต่ทรมานใจนี่สิแย่ เพราะบทมันจะมาก็ attack ขึ้นโดยไม่บอกกล่าว บทจะหาย ก็หายแบบไม่ทิ้งร่องรอย เวลา attack  ก็ปวดสุดจะบรรยาย จนบางครั้งต้องใช้ยาฉีดแก้ปวดเพื่อระงับ

แล้วเพราะมันไม่ทิ้งร่องรอย และหาที่มาที่ไปไม่เจอว่าเป็นอะไรกันแน่ มันจึงทรมานใจมากๆ ตรงเวลาที่มีคนถามว่า "ตกลงเป็นอะไร  ? " มันเหมือนถูกมองโดยสายตาที่บอกว่า ตรวจแล้วหาอะไรไม่เจอ ความจริงไม่ได้เป็นอะไร แต่สำออยไปรึเปล่า ?

จนในที่สุด เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ก็ได้เจอกับอาจารย์หมอ Rheumato ท่านหนึ่ง และท่านก็ได้ลงความเห็นวินิจฉัยว่า โรคนี้มีอยู่จริง นั่นคือเป็น palindromic rheumatism   ทั้งยังได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ให้ฟังอย่างละเอียด ความทรมานในใจจึงค่อยสร่างซาลง

 

มีคนไข้จำนวนมากที่เป็นเช่นนี้  นั่นคือทุกข์ทรมานกับอาการบางอย่าง แต่หลังจากพบแพทย์แล้วไม่สามารถหาคำวินิจฉัยได้ว่าเป็นอะไร คนไข้เหล่านี้บางครั้งก็ถูกเข้าใจผิด ว่า Psychosomatic บ้าง  คิดไปเองบ้าง  

บนวอร์ดเคยเจอคนไข้คนหนึ่งเป็นเนื้องอกที่ตับอ่อน แล้วจะมีอาการเป็นลมบ่อยจากน้ำตาลในเลือดต่ำ ช่วงแรกตรวจหาอะไรไม่เจอ  เธอทุกข์มรมานใจมาก  จากสายตาผู้คน (บางทีก็รู้ตัวว่าตัวเองคิดไปเองว่าคนอื่นคิดอย่างนั้น) ที่มองเธอ อาจจะหาว่าเธอเรียกร้องควมสนใจ 

จนตอนหลังเนื้องอกโตมากขึ้น อาการเป็นหนักขึ้น จึงตรวจเจอ  เธอบอกว่าต่อให้รู้ว่าเป็นเนื้อร้าย แต่เธอก็ยังรู้สึกดีใจ ที่อย่างน้อยก็รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร รู้สาเหตุที่มาของอาการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นโรคร้ายแค่ไหน แต่ก็ยังดีกว่าต้องตายโดยไม่รู้ว่าอะไรกันแน่ที่ฆ่าตัวเอง

นั่นจึงทำให้เราได้คิดว่า ยังมีโรคอีกหลายโรคซึ่งหาเจอได้ยาก หรือยังอยู่ในระยะเริ่มต้น บางทีการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาจจะยังบ่งบอกอะไรไม่ได้  สิ่งที่คนไข้เหล่านั้นทุกข์ทรมานที่สุดจึงไม่ได้มาจากโรคที่เป็น หากแต่เป็นจากที่ "ตนเองเป็นอะไรก็ไม่รู้" ต่างหาก

ดังนั้น..การตรวจหาอะไรไม่เจอ ไม่ได้บอกว่าคนไข้คนนั้นไม่ได้เป็นอะไร เพราะเราดูแลคนไข้ ไม่ได้ดูแลที่ผลเลือดหรือผล x-ray แต่เราดูแลที่ "คน" ว่าไม่สุขสบายตรงไหน  การช่วยเหลือแก้ไขความเจ็บปวด ทรมานให้เขา โดยรักษาตามอาการไปก่อน และการให้กำลังใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

 

กลับมาที่ palindromic rheumatism กันต่อ วันนี้นึกอย่างไรก็ไม่รู้ ลองเข้าไป search หาเจ้าโรคนี้ในเนตดู พบว่ารายละเอียดก็ไม่ได้ต่างกับที่อาจารย์หมอท่านนั้นอธิบายให้ฟัง  เผื่อว่าท่านใดสนใจ จึงขออนุญาตเอาบทความที่  search เจอมาเก็บในนี้บางบทความ 

ขอบคุณค่ะ

 

.............................

 

What is palindromic rheumatism?

Palindromic rheumatism is a rare type of inflammatory arthritis. It's characterized by recurrent attacks of painful swelling of the joints and surrounding tissues.

The attacks usually affect only one or two joints at a time. They start abruptly and can last for hours or days. The attacks may recur with unpredictable frequency — from every few days to every few months. Although palindromic rheumatism can recur over many years, it doesn't usually cause permanent joint damage.

Palindromic rheumatism typically affects people between the ages of 20 and 50. No single test can confirm a diagnosis. A doctor may make a diagnosis based on medical history and signs and symptoms.

Treatment can be challenging because the attacks are so difficult to predict. Once an attack starts, treatment may include:

Nonsteroidal anti-inflammatory drugs
Intra-articular injections with corticosteroids
Oral prednisone
To help prevent attacks, your doctor may prescribe:

Colchicine, an anti-inflammatory medication
Disease-modifying antirheumatic drugs (DMARDs)

------------------------------------------------------
ที่มา ::  http://www.mayoclinic.com/health/palindromic-rheumatism/HQ01171

 

 

Palindromic Rheumatism

Palindromic Rheumatism describes a syndrome where there are recurrent episodes of pain swelling warmth and stiffness of joints.

The problem usually involves 2 or 3 joints, which have onset over hours and last days - weeks, before subsiding. However episodes of recurrence form a pattern, with symptom free periods between attacks lasting for weeks to months.

In 30-40 percent however they become more frequent and may develop into Rheumatoid arthritis. Similarly, Rheumatoid factor can become positive over years.
The large joints are most commonly involved.
The soft tissues - are also involved with the swelling of the periarticular tissues, especially heel pads and the finger pads.
Nodules may be found in the subcutaneous tissues.

Constitutionally, the patient may or may not have a fever, and swelling of the joints.

Blood tests may show an elevation of the ESR and CRP, but are otherwise unremarkable.
Rheumatoid factor may be present especially in the group that is likely to develop Rheumatoid arthritis.

The therapy is difficult as the episodes are transient and antiinflammatories are not very helpful.
The episodes however have been reduced by several second line agents - especially Intramuscular gold, or colchicine.
Penicillamine and antimalarials have been used in some trials.

---------------------------------------------
ที่มา ::~ 
http://www.arthritis.co.za/palindrome.html  

 

 

 

Palindromic Rheumatoid Arthritis

Palindromic rheumatoid arthritis (PRA) is a condition where there are recurrent attacks of pain and swelling around the joints mainly in fingers and knees or there may be nodules below the skin. The attack can last for hours or even last for few days. It is a chronic disease in which various joints of the body get stiff, swell, inflamed and there can be a loss of function.

 CAUSES OF PRA

The exact cause for this disease is not known. It is caused due to abnormal immune system activity as it is an autoimmune disease. The joint tissues are attacked by the immune system of the person’s own body. An inherited factor can also be the cause for increasing palindromic rheumatoid arthritis.

SYMPTOMS OF PRA

There are various signs and symptoms of this disease and they are:-

  • Pain and swelling in the joints mainly in the hands and feet
  • Low grade fever
  • Loss of motion of the affected joints
  • Fatigue which can be severe at any time
  • Aching or stiffness of the joints and muscles
  • Loss of strength in muscles which are attached to the affected joints
  • General sense of not feeling well
  • Deformity of the joints

RISK FACTORS OF PRA

  • If the person is exposed to an infection like bacteria or virus that can cause this disease
  • Smoking cigarettes over a long period of time
  • If the person is getting older then there are more chances of PRA as it increases with age.
  • If the person is a female

WHEN TO SEEK MEDICAL ADVICE

If the person is suffering with discomfort and swelling in the multiple joints then one should contact the doctor immediately. The person is having side effects from arthritis medications so one should seek medical advice. There can be number of side effects and they are changes in bowel habits, constipation, nausea and abdominal discomfort.

DIAGNOSIS OF PRA

First of all the doctor will thoroughly examine the person and conduct a physical examination for diagnosing this disease. Various tests are also performed by the doctor such as:-

  • Blood tests – This test is done to measure erythrocyte sedimentation rate or to find for an antibody known as rheumatoid factor.
  • Imaging – X-rays are taken for the joints to find out the type of arthritis whether it is osteoarthritis or rheumatoid arthritis.

TREATMENT OF PRA

Various treatments are available for palindromic rheumatoid arthritis and they are:-

Surgical treatments

  • Joint replacement surgery – When joints are severely damaged then medicines and therapies are unable to prevent joint destruction. In that case joint replacement surgery is done which helps in reducing pain or restoring joint function.
  • Prosorba column – This treatment removes certain antibodies from the body which leads to pain and inflammation in the joints.

Non surgical treatments

  • Nonsteroidal anti-inflammatory drugs – These drugs include aspirin, indomethacin, tolmetin etc which helps the person in relieving pain and inflammation.
  • Corticosteroids – The medications such as medrol and prednisone are used to get relieve from acute symptoms and slow joint damage.
  • TNF blockers
  • Antidepressant drugs

The person can also treat this disease by taking self care such as one can do some exercises, eating a balanced diet, controlling weight and many more.

-----------------------------------------------------

ที่มา ::  http://www.arthritiscure.org/PALINDROMIC-RHEUMATOID-ARTHRITIS.htm 

คำสำคัญ (Tags): #palindromic#rheumatism
หมายเลขบันทึก: 73783เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2007 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 04:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ต้องขอคุณพระคุณมากเลยค่ะที่ได้กรุณา ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ซึ่งตัวดิฉันเองก็มีอาการเช่นนี้เหมือนกัน ไปตรวจเลือดเมื่อปี 2544 หมอบอกว่าผลแลปปกติ ก็ให้ยามาทานเป็น non steriod ดิฉันก็เถียงอยู่ในใจว่าไม่ได้เป็นอะไรได้ไง คนปวดตามข้อนิ้วมือมากขนาดนี้ แต่ก็ไม่ได้พูดออกไป อาการปวดก็เป็นๆหายๆ แต่ไม่ทรมานมาก พออยู่ได้ มาปีนี้รู้สึกว่าอาการปวดจะมีตลอดเวลา มีปวดข้อเข่าด้วยแต่ไม่มากเป็นพอรู้สึกว่าผิดปกติ จนดิฉันคิดมากว่าจะเป็นโรคพุ่มพวงหรือเปล่า( SLE )ไม่กล้าไปหาหมอกลัวรับความจริงไม่ได้ วันนี้ก็ดีใจที่ได้เปิด blok และคิดว่าเราอาจจะเป็นโรคนี้ก็ได้ ยังไงถ้ามีอะไรใหม่ๆก็ช่วยแนะนำด้วยนะคะ ว่างๆเชิญแวะเยี่ยม chompig บ้างนะคะมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาฝากค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ยินดีมากๆที่ได้รู้จักค่ะ
  • แล้วจะแวะไปเยี่ยมที่บล็อกนะคะ

 

  • แหะ ๆ แปลมะออกอะครับ ศัพท์การแพทย์ยาก ๆ ทั้งนั้นเลย ตอนนี้ดีขึ้นหรือยังครับ?

 

สวัสดีค่ะ อจ. Kae

  • ตอนนี้ดีขึ้นแล้วค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ ^__^
  • เพิ่งไปอ่านความลับของ อจ. มาตะกี้เอง
  • แสดงว่าพวกเราออนไลน์พร้อมกันนะเนี่ย
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

 

^_____^

แล้วแนวทางรักษายังไงเหรอครับ ผมก็เป็นอยู่ครับ

ผมก็เป็นอยู่เดิมคิดว่าออกกำลังกายมากเกิน

หรือเป็นเกาต์

แต่เจาะดูดน้ำในเข่าไปตรวจก็ไม่เจอ

สุดท้ายมาเจออจ.หมอทางรูมาโตท่านก็อธิบายให้ฟังถึงโรคชื่อยาก ๆ เนี่ย

ตอนนี้กำลังตัดสินใจว่าจะทานยาดีหรือเปล่า

เพราะคุณหมอท่านนึงก็บอกว่าถ้าเป็นไม่บ่อยไม่ควรทานเพราะมี effect เยอะ

แต่อีกท่านก็บอกว่าทานได้เพราะโดสต่ำมาก

ยาที่จะกินชื่อไฮดรอกซี่คลอโรควิน อะไรเนี่ยแหละ

เป็นยาต้านมาเลเรียนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท