ผลิตภัณฑ์ vs องค์กร


ในที่สุด เตาไมโครเวฟประจำครัวก็หมดอายุขัย หลังจากใช้มาสิบกว่าปีโดยไม่เคยมีปัญหางอแง

เป็นการใช้ที่คุ้มมาก ราคาการใช้ต่อวัน คงไม่ถึงวันละบาท ถือว่าใช้ดี ใช้ทน

ก็เลยติดใจ จะไปหายี่ห้อเดิม จะเอารุ่นประมาณเดิม ปุ่มแบบเดิม กว้างยาวแบบเดิม

พนักงานขายเครื่องไฟฟ้าที่ไปซื้อ พอได้ยินชื่อยี่ห้อก็หัวเราะ บอกว่า พี่ เขาเจ๊งไปนานแล้ว

...หน้าหนา ทนทาน.. หน้าไม่แตกครับ ฮะฮะ.. 

นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของผลจากระบบการประกันคุณภาพยุคใหม่

เราอยู่ในยุคที่ผลิตภัณฑ์มีอายุยืนนานกว่าองค์กรที่ผลิตมันขึ้นมาเสียอีก

โชคยังดีว่านี่เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ผมไำม่ได้หลั่งน้ำตาไว้อาลัยให้กับผู้ผลิตรายนี้ เพราะถือว่าเขาได้เงินผมไปแล้วแลกกับสินค้า เป็นการแลกเปลี่ยนที่ยุติธรรม ผมไม่ได้ติดค้างเขา เขาไม่ได้ติดค้างผม

แต่วันนี้ มีคนโทรไปกวนใจ เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน

เลยทำให้กล่องแพนโดราในสมองแตก สมองประมวลผลโยงทุกอย่างที่รู้จักให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน

เลยทำให้ฉุกใจขึ้นมาว่า เอ๊ะ ถ้านี่สินค้านี่ เป็นธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินล่ะ ?

อย่างเช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต...

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผลิตภัณฑ์มีอายุยืนนานกว่าองค์กรที่ผลิตมันขึ้นมา ?

ถ้าเจออย่างนั้น ผมคงต้องหลั่งน้ำตาไว้อาลัย..

 

หมายเลขบันทึก: 73741เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ด้วยเหตุนี้กระมัง.. ความหมายของคุณภาพที่ดีในยุคปัจจุบัน จึงไม่ได้อยู่ที่ความทนทาน ใช้งานได้นาน ...แต่เป็น ออปชั่นเยอะ  ใช้งานได้หลากหลาย อายุการใช้งานสัก 1-3 ปีก็พอ  (เพราะว่ามีประกันการใช้งานให้ 1 ปี จากนั้นใช้ต่ออีกสัก 1-2 ปีแล้วค่อยเสีย) แต่ถ้าใช้งานนานกว่านี้ ของก็ขายยาก แต่ถ้ามันพัง ลูกค้าค่อยมากซื้อใหม่ จะได้เพิ่มจำนวนยอดขายไงคะ

หมายเหตุ ::~ ทั้งหมดข้างบน คือประชดค่ะ  55555

     ในทางปฏิบัติถ้าต้องเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน จะมีกฎหมายรองรับครับ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือบริษัทประกันก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
  • อย่างแรก การดำเนินธุรกรรมต่างๆ ของสถาบันการเงินนี้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแล และกำกับโดยองค์กรเฉพาะ อย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ กรมการประกันภัย
  • หากมีเหตุสุดวิสัย สถาบันการเงินเหล่านั้น ขาดทุน ก็ต้องมีแผนการปรับปรุงกิจการ ซึ่งจะบอกถึงวิธีในการได้เงินใหม่เข้ามารักษาสภาพคล่องครับ เช่น การกุ้เงิน หรือการเพิ่มทุน หรืออื่นๆ
  • แต่หากจำต้องปิดกิจการจริง อาจใช้วิธีการควบรวมกิจการ แล้วโอนภาระต่างๆ เช่น เงินฝาก หรือกรมธรรม์ ไปให้บริษัทใหม่
  • ดังนั้นในทางปฏิบัติอาจไม่ต้องห่วงมากนักครับ
  • แต่ถ้าเป็นบริษัททั่วไปที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี และมีอายุการใช้งานมากกว่าบริษัทผู้ผลิตล่ะก็ ตัวใครตัวมันครับ เพราะคงไม่มีใครหาอะไหล่ได้อีก ยกเว้นคนที่พอจะมีความรู้เรื่องช่างบ้าง แล้วหาซื้อเศษวัสดุเก่าๆ มาลองปรับใช้ดู

ขอบคุณคุณMitochondria...

ที่ว่ามานั้น ผมเห็นด้วยว่าคือสิ่งที่เคยเป็น และจนวันนี้ ก็คงยังเป็นเช่นนั้นอยู่ 

เมื่อก่อน ถ้ากรมธรรม์มีปัญหา ผมรู้ว่าสมาคมประกันฯจะลงขันมารับช่วงความรับผิดชอบต่อ

แต่หลังจากไทยเซ็น FTA หลายฉบับในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมก็ไม่กล้าแน่ใจอะไรอีกเกี่ยวกับอนาคต

เช่น การที่องค์กรต่าง ๆ สามารถบริการทางการเงินได้อย่างหลากหลาย ครบวงจร ข้ามไปมาได้ง่ายขึ้น

  • ไฟแนนซ์กลายเป็นธนาคาร
  • บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เปิดธนาคาร
  • ศูนย์การค้าสามารถขายประกัน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ จะทำให้สนามการแข่งขันทางการค้าเปลี่ยนโฉมไป กฎกติกา โดยเฉพาะ มารยาท อาจเปลี่ยนไป

สมมติมียักษ์ใหญ่เข้ามาในวงการ และทำตัวแหกขนบ ทำให้ระบบป่วน เช่น ตัดราคากันอย่างไม่รับผิดชอบจนตัวเองเจ๊ง ถึงตอนนั้น ผมไม่คิดว่าจะมีใครกล้ามาแบกรับสิ่งที่คนอื่นก่อไว้

ผมอาจคิดมากไปเองก็ได้..

ไม่แน่ใจว่าได้รับข้อมูลมาถูกต้องหรือเปล่า เพื่อนที่จบทางด้าน Physics บอกว่าใช้ไมโครเวฟปรุงอาหารเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จริงเปล่า? ขอความรู้ด้วยค่ะ  ขอบคุณหลายๆ

ผลิตภัณฑ์พวกนี้เขามีมาตรฐานผลิตที่ดี

แต่ถ้ารั่ว ก็อันตรายครับ จึงควรถือหลักว่า เมื่อเปิดเครื่อง ก็ควรอยู่ห่าง ๆ เครื่องไว้หน่อย เพราะความรู้สึกคนเราไม่ไวพอที่จะรับรู้ว่าเครื่องรั่วหรือเปล่า โดยเราอาจตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะรั่วถ้าเห็นโลหะในเตาขึ้นสนิม

มีแหล่งข้อมูลให้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ ที่

http://www.osha.gov/SLTC/radiofrequencyradiation/healtheffects.html

 

 

 

 

  • หากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาทางเทคนิคของเครื่องไมโครเวฟ เช่นเครื่องรั่ว ก็คงเป็นไปตามที่อาจารย์วิบูลย์ว่าไว้ครับ อยู่ห่างๆไว้ก็ดีเหมือนกันครับ
  • แต่อีกปัญหาหนึ่งทางการแพทย์ คือ การที่ใช้ microwave ประกอบอาหาร นั้น โดยระบบของ microwave ไม่ได้ทำให้อาหารทั้งชิ้นมีความร้อนทั่วกันอย่างสม่ำเสมอทั้งชิ้น ดังนั้น เชื้อโรคต่างๆ รวมถึงไข่พยาธิ หรือตัวพยาธิอาจยังไม่ตายได้ ดังนันการทำอาหารด้วยไมโครเวฟ จึงอาจเกิดการติดเชื้อโรค หรือติดพยาธิจากการทำอาหารไม่สุกได้ครับ
  • พิสูจน์ได้ง่ายๆนะครับ ลองเอากุนเชียงสักชิ้นใส่เข้าไปในไมโครเวฟ แล้วกดปุ่มให้ไมโครเวฟทำงาน ร้อนจัด สัก 3-5 นาที ลองหั่นกุนเชียงดู จะพบว่าข้างในกุนเชียง ไหม้ ขณะที่ภายนอกยังดูเหมือนยังสุกไม่ดีครับ ดังนั้นอาหารที่มีการถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี จึงไม่ควรนำมาประกอบอาหารในไมโครเวฟครับ
ขอบคุณคุณไมโตและอาจารย์วิบูลย์มากค่ะ ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท